โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

คอสแซค

ดัชนี คอสแซค

วาดของคอสแซคซาโพโรเซียน คอสแซค (козаки́, kozaky; каза́ки́, kazaki; Kozacy, Cossacks) เดิมเป็นสมาชิกของกลุ่มทหารในยูเครน และทางตอนใต้ของรัสเซีย แต่ที่มาของคอสแซคยังคงเป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันในบรรดานักวิชาการอยู่ ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 15 กลุ่มคอสแซคซาโพโรเซียน (Zaporozhian Cossacks) ก็ได้ก่อตั้งกองทหารคอสแซค (Cossack host) ขึ้นในทุ่งหญ้าสเตปป์ในยูเครน (дике поле) ในบริเวณแม่น้ำนีพเพอร์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 กลุ่มคอสแซคดอน (Don Cossacks) ก็ได้ก่อตั้งกองทหารคอสแซคขึ้นอีกกองหนึ่งในบริเวณลุ่มแม่น้ำดอน กองทหารคอสแซคกองอื่นๆ ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นต่อมาทางตอนใต้ของเทือกเขายูราล, ไซบีเรีย และ คอเคซัส คอสแซคนีพเพอร์แห่งยูเครนมีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณหมู่เกาะนีพเพอร์ที่มีการสร้างเสริมการป้องกันทางทหาร เดิมคอสแซคเป็นอาณาจักรบริวารของเครือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย แต่ความกดดันทางสังคมและศาสนาจากเครือจักรภพทำให้คอสแซคประกาศตนเป็นสาธารณรัฐคอสแซค (Cossack Hetmanate) อิสระจากโปแลนด์-ลิทัวเนีย โดยการริเริ่มการการก่อการคเมลนิทสกี (Khmelnytskyi Uprising) ภายใต้การนำของโบห์ดัน คเมลนิทสกีในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปี..

18 ความสัมพันธ์: กองทัพรัสเซียกองทัพแดงการเหมารวมสหภาพโซเวียตสงครามกลางเมืองรัสเซียสงครามรัสเซีย-ตุรกีสงครามโลกครั้งที่สองอาณาจักรซาร์รัสเซียจักรวรรดิรัสเซียประวัติศาสตร์รัสเซียประเทศยูเครนประเทศรัสเซียนาซีเยอรมนีแม่น้ำวอลกาแม่น้ำนีเปอร์แม่น้ำเตเรกไซบีเรียเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

กองทัพรัสเซีย

กองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย (Вооружённые Си́лы Росси́йской Федера́ции) เป็นราชการทหารของประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย วันที่ 7 พฤษภาคม 2535 บอริส เยลต์ซินลงนามในคำสั่งประธานาธิบดีที่สถาปนากระทรวงกลาโหมรัสเซียและกำหนดให้หน่วยทหารกองทัพโซเวียตทั้งหมดในดินแดนสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียอยู่ใต้การควบคุมของรัสเซีย ประธานาธิบดีรัสเซียเป็นผู้บัญชาการทหารของกองทัพ จำนวนกำลังพลมีระบุในคำสั่งประธานาธิบดีรัสเซีย วันที่ 1 มกราคม 2551 มีการกำหนดทหาร 2,019,629 นาย รวมถึงทหาร 1,134,800 นาย ในปี 2553 สถาบันศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศประเมินว่ากองทัพรัสเซียมีกำลังพลประจำการราว 1,040,000 นาย และกองหนุน 2,035,000 นาย (ส่วนใหญ่เป็นอดีตทหารเกณฑ์)IISS Military Balance 2010, p. 222 หอบัญชีรัสเซียรายงานกำลังพลในกองทัพและได้รับค่าจ้างแท้จริงไว้ที่ 766,000 นายในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งไม่ตรงกับกำลังพลที่ระบุไว้ในคำสั่งประธานาธิบดี จนถึงเดือนธันวาคม 2556 กองทัพมีกำลังพลอยู่ที่ร้อยละ 82 ของกำลังพลที่ต้องการ.

ใหม่!!: คอสแซคและกองทัพรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพแดง

accessdate.

ใหม่!!: คอสแซคและกองทัพแดง · ดูเพิ่มเติม »

การเหมารวม

รูปลักษณ์ของโฮเมอร์ ซิมป์สันแสดงถึงการมองชายวัยกลางคนผิวขาวจากอเมริกากลางแบบเหมารวม การเหมารวม หรือ สามัญทัศน์ (Stereotype) คือ คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ สามัญทัศน์ไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้ การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน.

ใหม่!!: คอสแซคและการเหมารวม · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: คอสแซคและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามกลางเมืองรัสเซีย

งครามกลางเมืองรัสเซีย (Grazhdanskaya voyna v Rossiyi)Mawdsley, pp.

ใหม่!!: คอสแซคและสงครามกลางเมืองรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สงครามรัสเซีย-ตุรกี

งครามรัสเซีย-ตุรกี อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: คอสแซคและสงครามรัสเซีย-ตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: คอสแซคและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรซาร์รัสเซีย

อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย (Царство Русское หรือ Tsarstvo Russkoye, Tsardom of Russia) เป็นชื่อทางการ ของราชอาณาจักรรัสเซียที่เริ่มตั้งแต่การขึ้นเสวยราชย์ของซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียในปี ค.ศ. 1547 และสิ้นสุดลงเมื่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงก่อตั้งจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1721 คำว่า “Muscovite Tsardom” มักจะเป็นคำที่นักประวัติศาสตร์รัสเซียบางคนใช้ในการเรียกอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย และถือว่าเป็นคำที่มีความหมายถึงอาณาจักรที่แท้จริง.

ใหม่!!: คอสแซคและอาณาจักรซาร์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: คอสแซคและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์รัสเซีย

ประวัติศาสตร์รัสเซีย เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวสลาฟตะวันออกก่อตั้งจักรวรรดิเคียฟรุส และรับเอาศาสนาคริสต์มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ในปี พ.ศ. 1531 ในปีพ.ศ. 1783 อาณาจักรคีวานรุสล่มสลายโดยการรุกรานจากจักรวรรดิมองโกล หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 13 มอสโกได้ค่อยพัฒนาเป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมทีละน้อย ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐมอสโกได้เป็นใหญ่ในจักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งได้มีการขยายอาณาเขตถึงโปแลนด์ ทางด้านตะวันออกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก จนถึงสมัยพระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ในปี พ.ศ. 2023 พระองค์หยุดส่งเครื่องบรรณาการให้มองโกเลีย และประกาศเอกราชไม่เป็นเมืองขึ้นของมองโกเลียอีกต่อไป หลังจากการเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่งผลให้รัสเซียเผชิญปัญหาในการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความเป็นอยู่ประชาชนลำบากแร้นแค้น กำลังทหารและเศรษฐกิจรัสเซียเข้าขั้นวิกฤต ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้ก่อการปฏิวัติขึ้นในปี พ.ศ. 2460 นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพโซเวียต เป็นประเทศแรกของโลกที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตกลายมาเป็นประเทศมหาอำนาจของโลกคู่กับสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามเย็น ในสมัยนั้น นโยบายของสหภาพโซเวียตได้เน้นการป้องกันประเทศและพัฒนาด้านอุตสาหกรรม แต่การเน้นพัฒนาทหารขนานใหญ่ ส่งผลทำให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ต่อมา เมื่อมิคาอิล กอร์บาชอฟ ขึ้นสู่อำนาจ เขาได้เริ่มนโยบายปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายใน พ.ศ. 2534 สาธารณรัฐต่าง ๆ แยกตัวเป็นอิสระ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียจึงแยกตัวออกมาเป็นเป็นสหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน โดยที่รัสเซียได้รับสถานภาพตามกฎหมายในเวทีระหว่างประเทศมาจากสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: คอสแซคและประวัติศาสตร์รัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: คอสแซคและประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: คอสแซคและประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: คอสแซคและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำวอลกา

แม่น้ำวอลกาในเมืองยาโรสลัฟล์ ยามเช้าในฤดูใบไม้ร่วง แม่น้ำวอลกา (Волга.; Volga) เป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 3,690 กิโลเมตร และถือกันโดยทั่วไปว่าเป็นแม่น้ำประจำชาติรัสเซีย ไหลผ่านทางด้านตะวันตกของประเทศ และเป็นแกนหลักของระบบแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป แหล่งเก็บกักน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกบางแห่ง ก็อยู่ตามแนวลำน้ำสายนี้ หากรวมความยาวของแม่น้ำสายย่อย และคูคลองต่าง ๆ ทั้งหมดที่มีทั้งสิ้น 151,000 สาย แม่น้ำจะยาวถึง 574,000 กิโลเมตร และหากรวมพื้นที่ของลำน้ำทั้งหมด จะเทียบเท่ากับ 1 ใน 3 ของอาณาเขตฝั่งยุโรปของรัสเซีย วอลกาแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือวอลกาตอนบน วอลกาตอนกลาง และวอลกาตอนล่าง.

ใหม่!!: คอสแซคและแม่น้ำวอลกา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำนีเปอร์

แม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper River ออกเสียง /ˈniːpər/) เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของยุโรปที่ยาวเป็นที่สี่ แม่น้ำนีเปอร์มีต้นสายจากธารน้ำแข็งที่เนินวัลไดในรัสเซีย ไหลผ่านประเทศรัสเซีย ประเทศเบลารุส และ ประเทศยูเครนไปยังสามเหลี่ยมปากแม่น้ำนีเปอร์ในทะเลดำ โดยมีความยาวทั้งสิ้น 2,290 กิโลเมตร -- 485 กิโลเมตรในรัสเซีย, 595 กิโลเมตรในเบลารุส และอีก 1,095 กิโลเมตรในยูเครน ครอบคลุมเนื้อที่ทั้งหมด 504000 ตารางกิโลเมตรที่ 289000 ตารางกิโลเมตรอยู่ในยูเครน.

ใหม่!!: คอสแซคและแม่น้ำนีเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเตเรก

แม่น้ำเตเรก เป็นแม่น้ำสายใหญ่ทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัส ไหลผ่านประเทศจอร์เจียที่บริเวณเชิงเขาคัซเบก ไปทางเหนือ ผ่านช่องเขาดาร์ยัล เข้าไปในประเทศรัสเซียส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป แล้ววกไปทางตะวันออกใกล้เมืองนัลชิก ผ่านเขตทุ่งหญ้าสเตปป์ไปยังดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำบนฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลแคสเปียน หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:แม่น้ำในประเทศจอร์เจีย.

ใหม่!!: คอสแซคและแม่น้ำเตเรก · ดูเพิ่มเติม »

ไซบีเรีย

ซบีเรีย ไซบีเรีย (Siberia, Сиби́рь) ถูกครอบครองโดยชนเผ่าเร่ร่อนหลากหลายกลุ่มแตกต่างออกไป เช่น Yenets, the Nenets, the Hun และ the Uyghurs Khan of Sibir ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียง มีอากาศหนาวเย็นได้เข้าครอบครองแล้วตั้งชื่อว่า Khagan ใน Avaria ในปี..

ใหม่!!: คอสแซคและไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

รือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Rzeczpospolita Obojga Narodów; Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Księstwa Litewskiego” หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่หนึ่ง” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narodów; Abiejų tautų respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด, accessed on 19 March 2006: At its apogee, the Polish-Lithuanian Commonwealth comprised some 400000 sqare mile and a multi-ethnic population of 11 million. For population comparisons, see also those maps:,. แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: คอสแซคและเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CossacCossackCossacksCossakCossaksRussian CossacksUkrainian CossackUkrainian Cossacksคอสแซคยูเครนคอสแซครัสเซียคอสแซ็ค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »