โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อาณาจักรซาร์รัสเซีย

ดัชนี อาณาจักรซาร์รัสเซีย

อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย (Царство Русское หรือ Tsarstvo Russkoye, Tsardom of Russia) เป็นชื่อทางการ ของราชอาณาจักรรัสเซียที่เริ่มตั้งแต่การขึ้นเสวยราชย์ของซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียในปี ค.ศ. 1547 และสิ้นสุดลงเมื่อซาร์ปีเตอร์ที่ 1 ทรงก่อตั้งจักรวรรดิรัสเซียในปี ค.ศ. 1721 คำว่า “Muscovite Tsardom” มักจะเป็นคำที่นักประวัติศาสตร์รัสเซียบางคนใช้ในการเรียกอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย และถือว่าเป็นคำที่มีความหมายถึงอาณาจักรที่แท้จริง.

22 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2090พ.ศ. 2264ภาษารัสเซียมหาสงครามเหนือมอสโกราชาธิปไตยรูเบิลรีกาวอร์ซออัตตาธิปไตยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียจักรวรรดิรัสเซียทวีปยุโรปทวีปเอเชียคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ซาร์ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซียโอเดสซาเคียฟเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก16 มกราคม22 ตุลาคม

พ.ศ. 2090

ทธศักราช 2090 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและพ.ศ. 2090 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2264

ทธศักราช 2264 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและพ.ศ. 2264 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษารัสเซีย

ษารัสเซีย (русский язык) เป็นภาษากลุ่มสลาวิกที่ใช้เป็นภาษาพูดอย่างกว้างขวางที่สุด ภาษารัสเซียจัดอยู่ในกลุ่มอินโด-ยูโรเปียน ดังนั้นจึงมีความสัมพันธ์กับภาษาสันสกฤต ภาษากรีก และภาษาละติน รวมไปถึงภาษาในกลุ่มเจอร์แมนิก โรมานซ์ และเคลติก (หรือเซลติก) ยุคใหม่ ตัวอย่างของภาษาทั้งสามกลุ่มนี้ได้แก่ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไอริชตามลำดับ ส่วนภาษาเขียนนั้นมีหลักฐานยืนยันปรากฏอยู่เริ่มจากคริสต์ศตวรรษที่ 10 ในปัจจุบัน ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีการใช้นอกประเทศรัสเซียด้วย มีเอกสารทางวิทยาศาสตร์จำนวนหนึ่งตีพิมพ์เป็นภาษารัสเซีย รวมทั้งความรู้ในระดับมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่ง ภาษารัสเซียเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางการเมืองในยุคที่สหภาพโซเวียตเรืองอำนาจและยังเป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของสหประชาชาต.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและภาษารัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสงครามเหนือ

มหาสงครามเหนือ (Great Northern War; Северная война; Stora nordiska kriget) เป็นสงครามครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปีคริสต์ศักราชที่ 1700 ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 10 กันยายน ปีคริสต์ศักราช 1721 รวมระยะเวลาทั้งหมดเป็น 21 ปี นำโดยจักรวรรดิรัสเซียแห่งฝ่ายพันธมิตรเข้าปะทะกับจักรวรรดิสวีเดนในภูมิภาคยุโรปกลางและยุโรปเหนือ ก่อนจะนำมาด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตรและการก้าวขึ้นมามีอำนาจสูงสุดของรัสเซียเหนือคาบสมุทรบอลติก รวมถึงการเข้ามามีอิทธิพลในยุโรปของรัสเซียจวบจนปัจจุบัน ส่วนสวีเดนต้องตกอยู่ใต้ "ยุคแห่งเสรีภาพ" อันมีระบบรัฐสภาปกครองประเทศอันเนื่องมาจากเหตุสวรรคตของพระเจ้าชาลส์ที่ 12นำไปสู่ยุคไร้พระมหากษัตริย์ของสวีเดนถึง 54 ปี สงครามนี้นำด้วยกองทหารสองเหล่าทัพ โดยมีฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นผู้เปิดฉากต่อสู้ก่อน นำโดยพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย พระเจ้าเฟรเดอริคที่ 4 แห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ และพระเจ้าออกัสตัสที่ 2 แห่งแซกซ์-โปแลนด์-ลิทัวเนีย ซึ่งต่อมาได้ถอนกำลังออกในปี ค.ศ. 1700 และปี ค.ศ. 1706 ตามลำดับ แต่ในปี ค.ศ. 1709ก็ได้นำกองทัพเข้ามาสมทบต่อจนสิ้นสงคราม นอกจากนี้ยังมี พระเจ้าจอร์จที่ 1นำทัพจากฮาโนเวอร์เข้ามาร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1714 และได้นำทัพจากบริเตนใหญ่เข้ามาสมทบภายหลังในปี ค.ศ. 1717 รวมทั้งพระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 1 แห่งบรานเดนบูร์ก-ปรัสเซียที่นำกองทัพเข้ามาสมทบในปี ค.ศ. 1715 อีกด้วย ส่วนทางด้านฝ่ายสวีเดนนั้นนำด้วยพระเจ้าชาลส์ที่ 12 โดยมีกองทัพแห่งโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป รวมทั้งทัพโปแลนด์-ลิทัวเนียที่นำโดยกษัตริย์สตานิสลอว เลซซิงสกีในปี ค.ศ. 1704 ถึงปี ค.ศ. 1710 และกองทัพคอสแซคภายใต้การนำทัพของอีวาน มาเซปปา รองผู้บัญชาการทัพสูงสุดแห่งชนชาติยูเครน รวมถึงสุลต่านอาห์เมดที่นำทัพออตโตมันร่วมสงครามกับฝ่ายสวีเดนแล้วมุ่งหน้าปะทะกับกองทัพรัสเซียเป็นหลักอีกด้วย สงครามเปิดฉากด้วยการที่กองทัพพันธมิตรแห่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แซกโซนี โปแลนด์-ลิทัวเนีย และรัสเซียกรีฑาทัพเข้าโจมตีโฮลชไตน์-ก็อธธอร์ป ลิโวเนีย และอินเกรียอันเป็นดินแดนของจักรวรรดิสวีเดนซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าชาลส์ที่ 12ที่ในสมัยนั้นยังทรงพระเยาว์ จึงขาดความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างมาก ฝ่ายสวีเดนจึงได้แต่ตั้งหน้ารับการโจมตีของฝ่ายพันธมิตรอยู่ท่าเดียว จนกระทั่งยุทธการนั้นจบลงด้วยสนธิสัญญาสงบศึกแห่งทราเวนดอล นับตั้งแต่นั้นมหาสงครามเหนือก็ได้เริ่มขึ้น และกลายเป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งๆ ในประวัติศาสตร์ยุโรปเลยทีเดียว หลังจากระยะสงครามที่ยืดเยื้อมาถึง 21 ปีแล้ว จักรวรรดิสวีเดนได้เริ่มทำสนธิสัญญาสตอกโฮล์มเพื่อสงบศึกกับฮาโนเวอร์และปรัสเซียในปี ค.ศ. 1719 ต่อมาในปี ค.ศ. 1720 ได้ทำสนธิสัญญาสงบศึกเฟรเดริกส์เบิร์กกับฝั่งเดนมาร์ก-นอร์เวย์ แต่ก็ยังยืนกรานที่จะเปิดสงครามกับรัสเซียต่อไป จนกระทั่งปี ค.ศ. 1721 สวีเดนแพ้สงครามในที่สุด จนสวีเดนต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกนีสตาดกับรัสเซีย โดยสนธิสัญญาทั้งสามฉบับสวีเดนต้องเสียสินทรัพย์และดินแดนเป็นจำนวนไม่น้อยเป็นค่าปฏิกรรมสงครามเลยทีเดียว ท้ายที่สุดแล้วสวีเดนจึงต้องสูญเสียอำนาจในการปกครองดินแดนหลายๆ ส่วน นอกจากนั้นยังโดนลดอำนาจในคาบสมุทรบอลติกลงและยังต้องเปลี่ยนระบอบการปกครองเพราะสิ้นราชวงศ์ในสงครามอีกด้วย ส่วนรัสเซียนั้นหลังจบสงครามก็ได้เริ่มต้นยุคแห่งการแผ่ขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ก่อนที่จะหยุดลงในสองศตวรรษหลังจากนั้นเอง แต่อิทธิพลของรัสเซียที่มีต่อยุโรปและต่อประชาคมโลกยังคงมีอยู่ แม้จะน้อยลงบ้างก็ตาม.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและมหาสงครามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

รูเบิล

เงินรูเบิล (рубль, รูบิ) เป็นสกุลเงินของประเทศ รัสเซีย, เบลารุส, อับฮาเซีย, โอเซตเตียใต้, ทรานนิสเตรียใต้ สกุลเงินนี้เคยใช้ในหลายประเทศที่อยู่ใต้อิทธิพลของรัสเซียและสหภาพโซเวียตหนึ่งรูเบิลสามารถแลกเป็นเงินได้ 100 โคเปกส์ (ภาษารัสเซีย: копейка, คาเปียก้า) และหนึ่งร้อย ฮีฟย์เยียยูเครน หมวดหมู่:สกุลเงิน.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและรูเบิล · ดูเพิ่มเติม »

รีกา

ทัศนียภาพกรุงรีกาจากโปสต์การ์ดในปี พ.ศ. 2443 รีกา (Rīga) เป็นเมืองหลวงของประเทศลัตเวีย ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบอลติก บนปากแม่น้ำเดากาวา (Daugava) มีพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ที่ละติจูด 56°58′เหนือ กับลองจิจูด 24°8′ตะวันออก กรุงรีกาเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในกลุ่มรัฐบอลติก และเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม การศึกษา การเมืองการปกครอง ธุรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมในแถบนี้ นอกจากนี้ ศูนย์ประวัติศาสตร์รีกา (Historic Centre of Riga) ยังได้รับการประกาศจากองค์การยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลกด้ว.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและรีกา · ดูเพิ่มเติม »

วอร์ซอ

วอร์ซอ (Warszawa) แผนที่แสดงที่ตั้งของกรุงวอร์ซอ วอร์ซอ (อังกฤษ: Warsaw; โปแลนด์: Warszawa วารฺชาวา) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศโปแลนด์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำวิสทูลา ห่างจากชายฝั่งทะเลบอลติกประมาณ 370 กิโลเมตร มีประชากรอาศัยอยู่ในตัวเมืองประมาณ 1,726,581 (2014) คน และรวมเขตเมืองด้วยจะประมาณ 2,760,000 คน (ข้อมูล พ.ศ. 2548) ตัวเมืองวอร์ซอมีพื้นที่ 517.24 ตร.กม.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและวอร์ซอ · ดูเพิ่มเติม »

อัตตาธิปไตย

ในสาขารัฐศาสตร์ อัตตาธิปไตย (autocracy) เป็นระบอบการปกครองที่อำนาจสูงสุดรวมศูนย์อยู่ในมือของบุคคลคนเดียว ที่สามารถตัดสินใจได้อย่างไม่จำกัดโดยกฎหมายหรือกลไกการควบคุมที่ประชาชนตั้งขึ้น (อาจยกเว้นเมื่อคุกคามโดยปริยายด้วยรัฐประหารหรือการก่อการกำเริบของมวลชน) เป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า "ระบอบการปกครองที่ผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดและไม่จำกัด" อัตตาธิปไตยในประวัติศาสตร์ปกติจะอยู่ในรูปแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือระบอบเผด็จการ ในยุคต้น ๆ คำว่า "autocrat" มักใช้หมายถึงลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปกครอง โดยนัยว่า "ไร้ผลประโยชน์ขัดกัน".

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและอัตตาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย

ักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย หรือ ปีเตอร์มหาราช (Пётр I Великий, 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2215 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2268) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซียตั้งแต่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2225 จนกระทั่งสวรรคต และถือได้ว่าเป็นหนึ่งในผู้ทรงอำนาจของยุโรปในสมัยนั้น ในช่วงระยะเวลาของรัชสมัยจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 มหาราช พระองค์ได้ทรงสร้างประเทศเป็น “จักรวรรดิ” ที่เป็นที่น่าเกรงขามได้สำเร็จ การติดต่อด้านการค้าและการทูตกับต่างประเทศ การรับเอาความเจริญทางด้านการทหาร การช่างและวิทยาศาสตร์มาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาประเทศ ในสมัยต้นราชวงศ์โรมานอฟล้วนแต่เป็นการแผ้วทางไปสู่ความยิ่งใหญ่ของการเป็นมหาอํานาจของรัสเซีย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตใน..

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์

ริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ หรือ ศาสนจักรออร์โธดอกซ์รัสเซีย (Русская Православная Церковь; Russian Orthodox Church) ในยุคก่อนปี..

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและคริสตจักรรัสเซียออร์ทอดอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์

ักรพรรดินิโคลัสที่ 2 ทรงเป็นซาร์องค์สุดท้ายแห่งรัสเซีย ซาร์ (царь) เป็นชื่อเรียกตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของชาติพันธุ์สลาฟ ซึ่งรวมถึงพระเจ้าแผ่นดินแห่งอาณาจักรซาร์รัสเซียและจักรวรรดิรัสเซีย คำว่าซาร์มาจากภาษาละตินว่า คาเอซาร์ (Caesar) ซึ่งเป็นผู้ปกครองแผ่นดินโรมัน ซาร์อาจมีอิสริยยศเป็นกษัตริย์หรือจักรพรรดิก็ได้.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

ซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย

ซาร์อีวานที่ 4 วาซิลเยวิช (Ivan IV Vasilyevich) หรือที่รู้จักกันว่า อีวานผู้เหี้ยมโหด (Ivan the Terrible) ทรงเป็นเจ้าชายแห่งมอสโกในปี ค.ศ. 1533 จนถึง ค.ศ. 1547 และซาร์แห่งปวงรัสเซีย จากปี ค.ศ. 1547 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต ในรัชกาลของพระองค์ได้เห็นชัยชนะมณฑลกาซาน,มณฑลแอสตราข่าน และไซบีเรีย พระเจ้าอีวาน ทรงบริหารการเปลี่ยนแปลงที่นับไม่ถ้วนในการก้าวหน้าจากรัฐในยุคที่จักรวรรดิและอำนาจในระดับภูมิภาคเกิดขึ้นใหม่และกลายเป็นผู้ปกครองพระองค์แรกที่ครองตำแหน่งเป็นซาร์แห่งปวงรัสเซีย สาเหตุที่พระองค์ได้รับฉายาว่า อีวานผู้เหี้ยมโหด เพราะพระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่าทรงรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก พระราชวงศ์วาซิลยาวิสได้รับคำเตือนจากพระสังฆราชแห่งเยรูซาเล็ม เมื่อวาซิลีที่ 3 ทอดทิ้งพระมเหสีไปอภิเสกสมรสใหม่ โดยทรงเตือนพระบิดาพระองค์ว่า "หากพระองค์ทรงกระทำการชั่วร้าย พระองค์ก็จะได้พระโอรสที่ชั่วร้ายเช่นกัน" ในวัยเยาว์พระองค์โปรดทรงพระอักษร สวดมนต์ อีกทั้งเป็นผู้เฉลียวฉลาดและอ่อนไหว แต่หากพระองค์ต้องเผชิญหน้ากับการฆ่าฟันกันไม่เว้นแต่ละวันในเคลมลิน ทำให้พระองค์ซึมซับความเหี้ยมโหดเข้าไปในพระทัยพระองค์ พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์แห่งมัสโควีในวันที 3 ธันวาคม 1533 ในพระชนม์มายุ 3 พรรษา หลังจากพระบิดาสวรรคต โดยมีพระนางเยเลน่า กับเจ้าชายโอโบเรนสกี้ ชู้รักของพระนางเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เหตุการณ์จึงเริ่มวุ่นวาย เมื่อเจ้าชายยูริ พระปิตุลา ทรงอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ จึงถูกจับตัวโยนลงหลุมให้อดอาหารสิ้นพระชนม์ ส่วนพระปิตุลาอีกพระองค์ก็ถูกกำจัดออกไปอย่างรวดเร็ว และในปี 1538 พระนางเยเลน่าทรงสิ้นพระชนม์จากการถูกวางยาพิษ และเจ้าชายโอโบเรนสกี้ก็ถูกจับเข้าคุกและถูกตีจนตาย รัสเซียตกอยู่ใต้การจลาจลอย่างหนัก ระหว่างนั้นราชนิกุล "บุยสกี้" และ "ชุยสกี้" ต่างพากันห้ำหั่นกันในวังเคลมลิน เพื่อชิงอำนาจการปกครองระหว่างที่พระเจ้าซาร์ยังทรงพระเยาว์ บางครั้งก็บุกเข้าไปถึงพระราชฐานของอิวาน ข่มขืน ฆ่า บรรดามหาดเล็กนางในต่อหน้าพระพักตร์ เพราะพระองค์ไร้ซึ่งอำนาจ ทำให้ความโหดเหี้ยมและทารุนต่างๆ ซึ่มเข้าพระหทัยพระเจ้าซาร์องค์น้อยนี้ ในปี 1539 พวกราชสกุลชุยสกี้จับมหาดเล็กของพระองค์ไปถลกหนังทั้งเป็นแขวนประจานที่จตุรัสมอสโคว พระองค์ทรงดื่มน้ำจัณฑ์หนักมากขึ้น และเข้าร่วมกับกลุ่มวัยรุ่นก่อความวุ่นวายในมอสโกทุกวัน ทรงโปรดควบม้าเข้าไปในฝูงชนเต็มเหยียด จับสุนัขและแมวโยนลงจากหอคอยของเคลมลิน แต่ที่น่าแปลกคือ ทรงศึกษาทั้งพระศาสนาและประวัติศาสตร์ และหากพระองค์สำนึกผิด จะทรงโขกพระเศียรลงกับพื้นหรือผนัง จนมีแผลเป็นที่พระพักตร์ ในปี 1543 ทรงกำหราบพวกราชสกุลลงอย่างเด็ดขาด โดยจับเจ้าชายแอนดรูว์ ชุยสกี้ โยนให้พวกสุนัขล่าเนื้อขย้ำทั้งเป็น แขวนคอพวกทหารโบยาห์ไปตามท้องถนนกรุงมองโก ใครกล่าวว่านินทาพระองค์ก็ให้ตัดลิ้น ซึ่งทำให้อำนาจกลับมาอยู่กับราชสำนักอีกครั้ง พระองค์ได้ทรงทำพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1547 และหาพระมเหสีจากเจ้าขุนมูลนายรัสเซีย และได้มีหญิงสาวถึง 1500 คน เข้ามาในราชสำนักของพระองค์ ซึ่งพระองค์เลือก "อนาสตเซีย ซาห์คาริน่า โคชคิน่า" จากขุนนางราชสกุล "โรมานอฟ" ซึ่งเป็นชื่อสกุลขุนนางที่สืบมาจากตระกูลเยอรมันชั้นสูงตระกูลหนึ่ง ซึ่งได้อพยพมาจากเยอรมนีไปยังกรุงมอสโกในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 14 และได้เปลี่ยนสกุลใหม่ว่าสกุลคอชกิน สกุลนี้ได้รับราชการในพระราชสำนักของราชวงศ์รูริคตลอดมาเป็นเวลาร่วม 200 ปี ซาร์อีวานที่ 4 ได้ทรงเลือก อนาสตาเซียแห่งรัสเซียเป็นคู่อภิเษก พระองค์ทรงหลงรักเจ้าสาวของพระองค์อย่างดื่มด่ำมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อพระนางอนาสตาเซียสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและซาร์อีวานที่ 4 แห่งรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

โอเดสซา

อเดสซา (Оде́са, Odessa หรือ Odesa) เป็นเมืองใหญ่อันดับสามของประเทศยูเครนและเป็นเมืองท่าสำคัญในทะเลดำ โอเดสซาได้ฉายาว่า "ไข่มุกแห่งทะเลดำ" (Pearl of the Black Sea) "เมืองหลวงใต้" (South Capital) ในช่วง จักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียต และ "แพลไมราตอนใต้" (Southern Palmyra).

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและโอเดสซา · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก

ซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg; Санкт-Петербу́рг, เป็นเมืองท่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ปากแม่น้ำเนวา ริมอ่าวฟินแลนด์ในทะเลบอลติก เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสร้างโดยพระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราช เมื่อ พ.ศ. 2246 โดยตัวเมืองเริ่มสร้างด้วยการถมทรายและหินเป็นจำนวนมากเพราะว่าพื้นที่เดิมของเมืองนั้นเป็นดินเลนของทะเล พระองค์ทรงเลือกที่จะสร้างเมืองที่บริเวณนี้เพราะว่าตัวเมืองมีทางออกทะเลบอลติกและสามารถติดต่อไปทางยุโรปและประเทศอื่นๆได้ง่าย เพื่อการปฏิรูปรัสเซียให้ทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ ในยุโรปได้โดยง่าย ต่อมาเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์กจึงได้รับสมญานามว่าหน้าต่างแห่งยุโรป และได้เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิรัสเซียเป็นเวลา 206 ปี (หลังจากนั้นได้ย้ายเมืองหลวงไปที่มอสโก เมื่อ พ.ศ. 2461) ชื่อเดิมของเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กคือ เปโตรกราด (Petrograd, Петрогра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2457-2467) และ เลนินกราด (Leningrad, Ленингра́д, ใช้ในช่วง พ.ศ. 2467-2534) ปัจจุบันเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กมีประชากรมากกว่า 4.7 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของรัสเซีย และเป็นมรดกโลกขององค์กรยูเนสโก.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

16 มกราคม

วันที่ 16 มกราคม เป็นวันเกิดของผมเอง.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและ16 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

22 ตุลาคม

วันที่ 22 ตุลาคม เป็นวันที่ 295 ของปี (วันที่ 296 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 70 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อาณาจักรซาร์รัสเซียและ22 ตุลาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tsardom of RussiaTsarist Russiaราชอาณาจักรรัสเซียอาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »