โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พริสมาทอยด์

ดัชนี พริสมาทอยด์

ริสมาทอยด์ (prismatoid) หมายถึงทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่จุดยอด (vertex) ทุกจุดเรียงกันอยู่บนระนาบสองระนาบที่ขนานกัน และพริสมาทอยด์ที่มีจำนวนจุดยอดบนระนาบเท่ากับทั้งสองระนาบ จะเรียกอีกอย่างว่า พริสมอยด์ (prismoid) ปริมาตรของพริสมาทอยด์ V สามารถหาได้จาก V.

17 ความสัมพันธ์: ฟรัสตัมพีระมิดระนาบรูปสามเหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานรูปหลายเหลี่ยมทรงลิ่มทรงลูกบาศก์ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนทรงหลายหน้าคิวโพลาปริมาตรปริซึมแอนติปริซึม

ฟรัสตัม

ฟรัสตัมห้าเหลี่ยม ฟรัสตัม (อังกฤษ: frustum, พหูพจน์: frusta) คือรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นส่วนหนึ่งของพีระมิดหรือทรงกรวย โดยการตัดด้วยระนาบสองระนาบที่ขนานกัน ฟรัสตัมที่มีฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยม (polygon) สามารถจัดได้เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่ง และหน้าตัด (ฐาน) ทั้งสองจะเป็นรูปที่ได้สัดส่วนกัน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และฟรัสตัม · ดูเพิ่มเติม »

พีระมิด

ีระมิดคาเฟร พีระมิด (pyramid) เป็นสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีจุดยอดรวมอยู่ที่เดียวกัน โดยแต่ละด้านจะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมประกอ.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และพีระมิด · ดูเพิ่มเติม »

ระนาบ

องระนาบตัดกันในปริภูมิสามมิติ ในทางคณิตศาสตร์ ระนาบ (plane) คือแผ่นราบใดๆ ในพื้นผิวสองมิติ ระนาบคืออุปมัยสองมิติของจุด (ศูนย์มิติ), เส้นตรง (หนึ่งมิติ) และปริภูมิ (สามมิติ) ระนาบสามารถเกิดขึ้นจากปริภูมิย่อยของปริภูมิที่มีมิติมากกว่า อย่างกำแพงในห้อง หรืออาจอยู่อย่างอิสระด้วยตัวเอง ตามในนิยามของเรขาคณิตแบบยุคลิด ในอีกความหมายหนึ่งก็คือ ระนาบเป็นพื้นผิวสองมิติมีความกว้างและความยาว เกิดจากแนวเส้นที่ต่อเนื่องกัน ปิดล้อมพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งทำ ให้เกิดรูปร่าง หรือกลุ่มของจุดและเส้นซึ่งเรามองผ่านไปแล้วเกิดลักษณะของระนาบ ในทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องเรขาคณิต, ตรีโกณมิติ, ทฤษฎีกราฟ และกราฟของฟังก์ชันการกระทำจำนวนมากกระทำอยู่ในระน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และระนาบ · ดูเพิ่มเติม »

รูปสามเหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม (อังกฤษ: triangle) เป็นหนึ่งในร่างพื้นฐานในเรขาคณิต คือรูปหลายเหลี่ยมซึ่งมี หรือจุดยอด และมี 3 ด้านหรือขอบที่เป็นส่วนของเส้นตรง รูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอด A, B, และ C เขียนแทนด้วย ในเรขาคณิตแบบยุคลิด จุด 3 จุดใดๆ ที่ไม่อยู่ในเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถสร้างรูปสามเหลี่ยมได้เพียงรูปเดียว และเป็นรูปที่อยู่บนระนาบเดียว (เช่นระนาบสองมิติ).

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และรูปสามเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยม

ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยม คือรูปหลายเหลี่ยมที่มีด้านสี่ด้าน (หรือขอบ) และมุมสี่มุม (หรือจุดยอด) รูปสี่เหลี่ยมมีทั้งที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่าย (ไม่มีด้านที่ตัดกันเอง) และรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน (มีด้านที่ตัดกันเอง หรือเรียกว่ารูปสี่เหลี่ยมไขว้) รูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยมนูน (convex) หรือรูปสี่เหลี่ยมเว้า (concave) อย่างใดอย่างหนึ่ง มุมภายในของรูปสี่เหลี่ยมอย่างง่ายรวมกันได้ 360 องศา ส่วนรูปสี่เหลี่ยมซับซ้อน เนื่องจากมุมภายในที่ด้านตรงข้ามเป็นมุมกลับ ทำให้รวมกันได้ 720 องศา รูปสี่เหลี่ยมนูนทุกรูปสามารถปูเต็มปริภูมิโดยการหมุนรอบจุดกึ่งกลางที่ด้านของมัน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และรูปสี่เหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก

รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในเรขาคณิตแบบยูคลิด รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มุมทั้งสี่ของมันเป็นมุมฉาก ส่วนคำว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หมายถึงรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก ABCD เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 10px ABCD จากการให้การจำกัดความนี้ สี่เหลี่ยมผืนผ้ายังมีด้านสองด้านที่ขนานกัน ซึ่งก็หมายความว่าสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปชนิดพิเศษของสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยด้านทั้งสี่ด้านมีความยาวเท่ากัน ดังนั้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสจึงเป็นทั้งสี่เหลี่ยมผืนผ้าและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โดยปกติแล้ว ด้านตรงกันข้ามสองด้านในสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านที่ยาวกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านยาว ของสี่เหลี่ยมผืนผ้า และด้านที่สั้นกว่าจะถูกเรียกว่า ด้านกว้าง พื้นที่ของสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็น ด้านกว้าง × ด้านยาว (ในสัญลักษณ์ A.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

ในทางเรขาคณิต รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน คือรูปสี่เหลี่ยมชนิดหนึ่งที่มีด้านตรงข้ามขนานกันจำนวนสองคู่ ในบริบทของเรขาคณิตแบบยูคลิด ด้านตรงข้ามของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานมีความยาวเท่ากัน และมุมตรงข้ามก็มีขนาดเท่ากัน ความสมนัยของด้านตรงข้ามและมุมตรงข้ามเป็นผลทางตรงจากสัจพจน์เส้นขนานแบบยูคลิด (Euclidean Parallel Postulate) นั่นคือไม่มีเงื่อนไขอันใดที่สามารถพิสูจน์โดยไม่อ้างถึงสัจพจน์เส้นขนานแบบยูคลิดหรือบทบัญญัติเทียบเท่า รูปทรงที่คล้ายกันในสามมิติคือทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน · ดูเพิ่มเติม »

รูปหลายเหลี่ยม

ในทางเรขาคณิต รูปหลายเหลี่ยม (อังกฤษ: polygon) ตามความหมายดั้งเดิม หมายถึงรูปร่างอย่างหนึ่งที่เป็นรูปปิดหรือรูปครบวงจรบนระนาบ ซึ่งประกอบขึ้นจากลำดับของส่วนของเส้นตรงที่มีจำนวนจำกัด ส่วนของเส้นตรงเหล่านั้นเรียกว่า ขอบ หรือ ด้าน และจุดที่ขอบสองข้างบรรจบกันเรียกว่า จุดยอด หรือ เหลี่ยม (corner) ภายในรูปหลายเหลี่ยมบางครั้งก็เรียกว่า เนื้อที่ (body) รูปหลายเหลี่ยมเป็นวัตถุในสองมิติ ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งของพอลิโทป (polytope) ที่อยู่ใน n มิติ ด้านสองด้านที่บรรจบกันเป็นเหลี่ยม เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเกิดมุมที่ไม่เป็นมุมตรง (180°) ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนของเส้นตรงทั้งสองจะถูกพิจารณาว่าเป็นด้านเดียวกัน ความคิดทางเรขาคณิตพื้นฐานได้ถูกดัดแปลงไปในหลากหลายทาง เพื่อที่จะทำให้เข้ากับจุดประสงค์เฉพาะ ตัวอย่างเช่นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ คำว่า รูปหลายเหลี่ยม ถูกนำไปใช้และมีการเปลี่ยนแปลงความหมายไปโดยเล็กน้อย ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการบันทึกและจัดการรูปร่างภายในคอมพิวเตอร์มากขึ้น รูปหลายเหลี่ยม หลายชน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และรูปหลายเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ทรงลิ่ม

ทรงลิ่ม ปริซึมสามเหลี่ยม ทรงลิ่ม (wedge) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยม 2 หน้า และหน้ารูปสี่เหลี่ยมคางหมู 3 หน้า มี 6 จุดยอดและ 12 ขอบ ทรงลิ่มเป็นหนึ่งในพริสมาทอยด์ (prismatoid) ที่มีจุดยอดที่ฐานด้านหนึ่งเพียง 2 จุด หรืออาจจัดได้เป็นคิวโพลาสองเหลี่ยมก็ได้ ปริซึมสามเหลี่ยม (triangular prism) เป็นกรณีพิเศษของทรงลิ่มที่มีหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่ขนานกันทั้งสองหน้.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และทรงลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

ทรงลูกบาศก์

ทรงลูกบาศก์ ทรงลูกบาศก์ (cube) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) เป็นรูปทรง 3 มิติ ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสทั้ง 6 หน้า โดยแต่ละจุดยอด (vertex) จะล้อมรอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมเป็นจำนวน 3 หน้าทุกจุด ทรงนี้มี 8 จุดยอด 12 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) ทรงลูกบาศก์เป็นทรงหลายหน้าที่คู่กันกับทรงแปดหน้า มีสมมาตรแบบทรงลูกบาศก์ (หรือเรียกว่าสมมาตรแบบทรงแปดหน้า Oh) ทรงลูกบาศก์คือรูปทรงไฮเพอร์คิวบ์ (hypercube) ที่อยู่บนสามมิติ ทรงลูกบาศก์สามารถเรียกได้ในชื่ออื่นๆ เช่น ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัส, ทรงหกหน้าปรกติ (regular hexahedron), เทรปโซฮีดรอนสามเหลี่ยม (trigonal trapezohedron) เป็นต้น.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และทรงลูกบาศก์ · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ศูนย์กลางของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก จากการตัดกันของเส้นทแยงมุม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ในทางเรขาคณิตเป็นรูปทรงสามมิติที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากหกด้าน (อาจเป็นผืนผ้าหรือจัตุรัสก็ได้).

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (rhombohedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) คล้ายทรงลูกบาศก์ (cube) แต่หน้าทุกหน้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแทนที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทรงนี้เป็นกรณีพิเศษของทรงสี่เหลี่ยมด้านขนาน (parallelepiped) ที่มีความยาวของขอบทุกด้านเท่ากัน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน · ดูเพิ่มเติม »

ทรงหลายหน้า

ทรงหลายหน้า (polyhedron, พหูพจน์: polyhedra) หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่ประกอบด้วยหน้าเรียบและขอบตรง ทรงหลายหน้าเป็นที่น่าหลงใหลของมนุษยชาติมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งได้ศึกษาอย่างเป็นกิจลักษณะโดยชาวกรีกโบราณ ต่อเนื่องมาจนถึงนักเรียน นักคณิตศาสตร์ และศิลปินทุกวันนี้ คำว่า polyhedron มาจากภาษากรีก πολυεδρον โดยที่ poly- มาจาก πολυς แปลว่า "มากมาย" และ -edron มาจาก εδρον แปลว่า "ฐาน, ที่นั่ง, หน้า".

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และทรงหลายหน้า · ดูเพิ่มเติม »

คิวโพลา

วโพลา หรือ รูปทรงถ้วยคว่ำ (cupola, พหูพจน์: cupolae) คือทรงหลายหน้าชนิดหนึ่งที่เกิดจากการเชื่อมระหว่างรูปหลายเหลี่ยมสองรูปที่ขนานกัน โดยที่จำนวนเหลี่ยมของรูปหนึ่งเป็นสองเท่าของอีกรูปหนึ่ง เช่น รูปสี่เหลี่ยมกับรูปแปดเหลี่ยม เป็นต้น และหน้าด้านข้างประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมสลับกับรูปสามเหลี่ยม ลักษณะจึงคล้ายกับกะลาครอบ การเรียกชื่อคิวโพลาจะเรียกด้านที่มีเหลี่ยมน้อยกว่าเป็นหลัก และคิวโพลาก็เป็นพริสมาทอยด์ (primatoid) ชนิดหนึ่ง คิวโพลาสามเหลี่ยม คิวโพลาสี่เหลี่ยมจัตุรัส และคิวโพลาห้าเหลี่ยม ที่มีความยาวขอบทุกด้านเท่ากันหมด จัดได้เป็นทรงตันจอห์นสัน (Johnson solid) ซึ่งคิวโพลาเหล่านี้สามารถตัดส่วนหนึ่งออกมาจากคิวบอกทาฮีดรอน (cuboctahedron) รอมบิคิวบอกทาฮีดรอน (rhombicuboctahedron) และรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (rhombicosidodecahedron) ตามลำดับ สำหรับคิวโพลาหกเหลี่ยมด้านเท่า ที่มีความยาวขอบทุกด้านเท่ากันหมด จะกลายเป็นรูปทรงที่แบนราบอยู่บนระนาบสองมิติ ไฟล์:Geometric wedge.png|คิวโพลาสองเหลี่ยม ไฟล์:triangular_cupola.png|คิวโพลาสามเหลี่ยม ไฟล์:square_cupola.png|คิวโพลาสี่เหลี่ยม ไฟล์:Pentagonal cupola.png|คิวโพลาห้าเหลี่ยม ไฟล์:Tile 3464.svg|คิวโพลาหกเหลี่ยม.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และคิวโพลา · ดูเพิ่มเติม »

ปริมาตร

ออนซ์ และมิลลิลิตร ปริมาตร หมายถึง ปริมาณของปริภูมิหรือรูปทรงสามมิติ ซึ่งยึดถือหรือบรรจุอยู่ในภาชนะไม่ว่าจะสถานะใดๆก็ตาม บ่อยครั้งที่ปริมาตรระบุปริมาณเป็นตัวเลขโดยใช้หน่วยกำกับ เช่นลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ปริมาตรของภาชนะคือ ความจุ ของภาชนะ เช่นปริมาณของของไหล (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่ภาชนะนั้นสามารถบรรจุได้ มากกว่าจะหมายถึงปริมาณเนื้อวัสดุของภาชนะ รูปทรงสามมิติทางคณิตศาสตร์มักถูกกำหนดปริมาตรขึ้นด้วยพร้อมกัน ปริมาตรของรูปทรงอย่างง่ายบางชนิด เช่นมีด้านยาวเท่ากัน สันขอบตรง และรูปร่างกลมเป็นต้น สามารถคำนวณได้ง่ายโดยใช้สูตรต่าง ๆ ทางเรขาคณิต ส่วนปริมาตรของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถคำนวณได้ด้วยแคลคูลัสเชิงปริพันธ์ถ้าทราบสูตรสำหรับขอบเขตของรูปทรงนั้น รูปร่างหนึ่งมิติ (เช่นเส้นตรง) และรูปร่างสองมิติ (เช่นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส) ถูกกำหนดให้มีปริมาตรเป็นศูนย์ในปริภูมิสามมิติ ปริมาตรของของแข็ง (ไม่ว่าจะมีรูปทรงปกติหรือไม่ปกติ) สามารถตรวจวัดได้ด้วยการแทนที่ของไหล และการแทนที่ของเหลวสามารถใช้ตรวจวัดปริมาตรของแก๊สได้อีกด้วย ปริมาตรรวมของวัสดุสองชนิดโดยปกติจะมากกว่าปริมาตรของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่เมื่อวัสดุหนึ่งละลายในอีกวัสดุหนึ่งแล้ว ปริมาตรรวมจะไม่เป็นไปตามหลักการบวก ในเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของรูปแบบปริมาตร (volume form) และเป็นตัวยืนยงแบบไรมันน์ (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ในอุณหพลศาสตร์ ปริมาตรคือตัวแปรเสริม (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็นตัวแปรควบคู่ (conjugate variable) กับความดัน.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และปริมาตร · ดูเพิ่มเติม »

ปริซึม

ปริซึมหกเหลี่ยมปรกติ ปริซึม (prism) คือทรงหลายหน้าที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยมที่เหมือนกันและขนานกันสองหน้า และหน้าด้านข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน พื้นที่หน้าตัดทุกตำแหน่งที่ขนานกับฐานจะเป็นรูปเดิมตลอด และปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย ปริซึมมุมฉาก (right prism) หมายความว่าเป็นปริซึมที่มีจุดมุมของรูปหลายเหลี่ยมบนฐานทั้งสองอยู่ตรงกันตามแนวดิ่ง ทำให้หน้าด้านข้างตั้งฉากกับฐานพอดีและเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากทุกด้าน ส่วน ปริซึม n เหลี่ยมปกติ (n-prism) หมายถึงปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (ทุกด้านยาวเท่ากัน) และเมื่อปริซึมอันหนึ่งๆ สามารถเป็นได้ทั้งปริซึมมุมฉาก ปริซึม n เหลี่ยมปรกติ และขอบทุกด้านยาวเท่ากันหมด จะถือว่าปริซึมอันนั้นเป็นทรงหลายหน้ากึ่งปรกติ (semiregular polyhedron) ทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานก็ถือเป็นปริซึมสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉากก็เทียบเท่ากับทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก และปริซึมสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็คือทรงลูกบาศก์นั่นเอง ปริมาตรของปริซึมสามารถคำนวณได้ง่ายๆ โดยการหาพื้นที่ผิวของฐานมาหนึ่งด้าน คูณด้วยความสูงของปริซึม.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และปริซึม · ดูเพิ่มเติม »

แอนติปริซึม

แอนติปริซึมหกเหลี่ยมปรกติ แอนติปริซึมไขว้ห้าแฉก แอนติปริซึม (antiprism) คือทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่สร้างจากฐานรูปหลายเหลี่ยม (polygon) ขนานกันสองด้าน และหน้าด้านข้างเชื่อมต่อจุดยอดแบบสลับฟันปลาเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยรอบ และแอนติปริซึมก็เป็นพริสมาทอยด์ (prismatoid) ชนิดหนึ่งด้วย แอนติปริซึมนั้นมีความคล้ายคลึงกับปริซึม (prism) ยกเว้นแต้เพียงว่าฐานของมันถูกบิดออกไป และหน้าด้านข้างเป็นรูปสามเหลี่ยมแทนที่จะเป็นรูปสี่เหลี่ยมและมีจำนวนสองเท่า สำหรับแอนติปริซึม n เหลี่ยมปรกติ (n-antiprism) คือแอนติปริซึมที่มีรูปหลายเหลี่ยมบนฐาน เป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ และถูกบิดออกไปเป็นมุม 180/n องศา ส่วน แอนติปริซึมไขว้ (crossed antiprism) เกิดจากการบิดฐานของแอนติปริซึมธรรมดาออกไปเกินกว่า 360/n องศา รูปทรงนี้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก.

ใหม่!!: พริสมาทอยด์และแอนติปริซึม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

PrismatoidPrismoidพริสมอยด์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »