โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

MissingNo.

ดัชนี MissingNo.

ผู้เล่นเผชิญหน้ากับ MissingNo. ในเกม''โปเกมอนภาคเรด'' MissingNo. หรือ MissingNO เป็นสายพันธุ์โปเกมอนไม่เป็นทางการพบในวิดีโอเกม''โปเกมอนภาคเรด''และ''บลู'' MissingNo.

24 ความสัมพันธ์: บัฟเฟอร์ข้อมูลกลิตช์การจัดการสิ่งผิดปรกติการโกงวิดีโอเกมวิลเลียม ซิมส์ เบนบริดจ์สังคมวิทยาสไปรต์ (คอมพิวเตอร์กราฟิกส์)คู่มือกลยุทธ์ค่า (วิทยาการคอมพิวเตอร์)ฉบับแท้ซับรูทีนนินเท็นโดนินเท็นโดเพาเวอร์แฟนฟิกชันแฟนอาร์ตโปเกมอนโปเกมอน เรดและบลูไอจีเอ็นไข่อีสเตอร์ (สื่อ)เกมฟรีกเลขฐานสิบหกเหตุการณ์ (การคอมพิวเตอร์)เดอะเดลีเทลิกราฟ (ออสเตรเลีย)เครื่องเล่นวิดีโอเกม

บัฟเฟอร์ข้อมูล

ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ บัฟเฟอร์ข้อมูล (Data buffer) หรือที่พักข้อมูล เป็นพื้นที่บนหน่วยความจำใช้สำหรับเก็บข้อมูลชั่วคราวขณะถูกย้ายจากแหล่งหนึ่งไปอีกแหล่งหนึ่ง โดยปกติ ข้อมูลถูกเก็บในบัฟเฟอร์หลังจากรับมาจากอุปกรณ์นำเข้า (เช่น ไมโครโฟน) หรือก่อนถูกส่งไปยังอุปกรณ์ส่งออก (เช่น ลำโพง) อย่างไรก็ตาม บัฟเฟอร์อาจถูกใช้ขณะย้ายข้อมูลระหว่างการประมวลผลภายในคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบได้กับบัฟเฟอร์ในทางโทรคมนาคม บัฟเฟอร์สามารถใช้ในบริเวณหน่วยความจำที่กำหนดไว้ในฮาร์ดแวร์ หรือโดยใช้บัฟเฟอร์ข้อมูลเสมือนในซอฟต์แวร์ โดยชี้ที่ตำแหน่งในหน่วยความจำก็ได้ ในทุกกรณีนั้น ข้อมูลที่ถูกเก็บในบัฟเฟอร์ข้อมูลจะถูกเก็บในสื่อกลางเก็บข้อมูลด้วย บัฟเฟอร์ส่วนใหญ่ถูกใช้งานในซอฟต์แวร์ซึ่งมักใช้แรมที่เร็วกว่าเก็บข้อมูลชั่วคราว เนื่องจากใช้เวลาเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับฮาร์ดดิสก์ บัฟเฟอร์มักถูกใช้เมื่อมีความแตกต่างระหว่างอัตราการรับข้อมูลและอัตราการประมวลผล หรือในกรณีที่อัตราต่าง ๆ นี้มีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น สปูเลอร์ของเครื่องพิมพ์ หรือในสื่อวิดีโอออนไลน์แบบส่งต่อเนื่อง บัฟเฟอร์หนึ่งมักปรับการตั้งเวลาโดยใช้อัลกอริทึมแถวคอย (หรือเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)) พร้อมกับเขียนข้อมูลลงแถวคอยที่อัตราหนึ่ง และอ่านข้อมูลที่อีกอัตราหนึ่ง หมวดหมู่:หน่วยความจำคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: MissingNo.และบัฟเฟอร์ข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

กลิตช์

กลิตช์ (glitch) คือความผิดพร่องอายุสั้นของระบบระบบหนึ่ง มักใช้อธิบายความผิดพร่องชั่วคราวที่แก้ไขตนเองได้ ดังนั้นจึงทำให้แก้ไขปัญหาดังกล่าวลำบาก คำนี้พบทั่วไปในอุตสาหกรรมการคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ และการดัดวงจรรวม รวมถึงในหมู่ผู้เล่นวิดีโอเกม แต่สามารถใช้คำนี้กับระบบทุกระบบ ทั้งองค์การของมนุษย์และระบบในธรรมชาติ หมวดหมู่:อิเล็กทรอนิกส์ดิจิทัล หมวดหมู่:จุดบกพร่องของโปรแกรม หมวดหมู่:ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: MissingNo.และกลิตช์ · ดูเพิ่มเติม »

การจัดการสิ่งผิดปรกติ

การจัดการสิ่งผิดปรกติ (Exception handling) เป็นกระบวนการรับมือกับการเกิดสิ่งผิดปรกติ (exception) หรือสภาวะผิดธรรมดาหรือพิเศษระหว่างการคำนวณ สิ่งผิดปรกตินี้มักเปลี่ยนแปลงขั้นตอนปกติของการกระทำการ (execution) ของโปรแกรม การจัดการสิ่งผิดปรกติมีในภาษาโปรแกรมเฉพาะทางหรือกลไกฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไป สิ่งผิดปรกติจะจัดการโดยการบันทึกสถานะปัจจุบันของการกระทำการในพื้นที่ที่กำหนด และสับเปลี่ยนการกระทำการไปยังซับรูทีนที่เรียกว่า ชุดคำสั่งจัดการสิ่งผิดปรกติ (exception handler) ถ้าสิ่งผิดปรกติเกิดต่อเนื่องได้ (continuable) ชุดคำสั่งดังกล่าวอาจดำเนินการกระทำการต่อไปที่ตำแหน่งเดิมโดยใช้สารสนเทศที่บันทึกไว้ ตัวอย่างเช่น สิ่งผิดปรกที่เป็นการหารจำนวนจุดลอยตัวด้วยศูนย์ โดยปริยายแล้ว จะอนุญาตให้โปรแกรมทำงานต่อได้ ขณะที่สภาวะหน่วยความจำหมด (out of memory) อาจไม่สามารถแก้ไขได้อย่างโปร่งใส หมวดหมู่:การควบคุมสายงาน หมวดหมู่:ความผิดปรกติของซอฟต์แวร์.

ใหม่!!: MissingNo.และการจัดการสิ่งผิดปรกติ · ดูเพิ่มเติม »

การโกงวิดีโอเกม

รื่องมือเกมจีนี่ สำหรับโกงเกมของเครื่องเซก้าเมกะไดรฟ์ เจเนซิส การโกงเกม คือการสร้างข้อได้เปรียบหรือผลประโยชน์ให้กับตนเองในการเล่นวิดีโอเกม อันเกินขีดจำกัดของการเล่นเกมธรรมดา โดยมักมีจุดประสงค์ให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกมได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างของการโกงเกม เช่น การทำให้ผู้เล่นอยู่ในสถานะอมตะ (God Mode) หรือการเพิ่มทรัพยากรบางอย่างให้กับผู้เล่นโดยที่ไม่มีวันหมด นอกจากกรณีของการสร้างข้อได้เปรียบแล้ว การโกงเกมอาจเป็นการทำให้เกิดสิ่งที่แปลกประหลาดหรือน่าสนใจในการเล่น เช่นการทำให้ตัวละครของผู้เล่นหรือศัตรูแสดงท่าทางพิเศษ การทำให้ตัวละครของศัตรูดูบึกบึนขึ้น เป็นต้น ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่การทำให้เกมเล่นได้ง่ายขึ้นแต่อย่างไร ไม่เพียงเท่านั้น การโกงเกมยังรวมไปถึงสิ่งของพิเศษที่ทางผู้พัฒนาเกมจงใจใส่ให้เป็นสูตร เพื่อเป็นรางวัลแก่ผู้เล่นก็มี การโกงเกมทำได้โดยการกดสูตรสำหรับโกงเกมที่ทางผู้พัฒนาเกมเปิดเผยออกมาลงในเกมโดยตรง หรือใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่ทำมาเพื่อการโกงเกมโดยเฉ.

ใหม่!!: MissingNo.และการโกงวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ซิมส์ เบนบริดจ์

วิลเลียม ซิมส์ เบนบริดจ์ (William Sims Bainbridge เกิด 12 ตุลาคม ค.ศ. 1940) เป็นนักสังคมวิทยาชาวอเมริกันที่ปัจจุบันอาศัยอยู่ในรัฐเวอร์จิเนีย เขาเป็นผู้ช่วยผู้กำกับหน่วยงานไซเบอร์ฮิวแมนที่มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา เขาเป็นผู้อาวุโสคนแรกที่แต่งตั้งโดยสถาบันเพื่อจริยศาสตร์และเทคโนโลยี เบนบริดจ์มีผลงานสำคัญจากงานวิจัยศาสนาเชิงสังคมวิทยา ปัจจุบันเขาตีพิมพ์งานวิจัยด้านสังคมวิทยาเกี่ยวกับวิดีโอเกม หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:นักสังคมวิทยาชาวอเมริกัน.

ใหม่!!: MissingNo.และวิลเลียม ซิมส์ เบนบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ใหม่!!: MissingNo.และสังคมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สไปรต์ (คอมพิวเตอร์กราฟิกส์)

ปรต์ของตัวละครในเกม''เอิร์ทบาวด์'' ในคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ สไปรต์ (Sprite) คือภาพบิตแม็ปสองมิติที่รวมกันเป็นฉากขนาดใหญ่ เดิมสไปรต์หมายถึงวัตถุอิสระที่ประกอบเข้าด้วยกันกับชิ้นส่วนอื่น เช่น พื้นหลัง สไปรต์เกิดขึ้นได้ขณะมีการเตรียมเส้นสแกนสำหรับอุปกรณ์เอาต์พุตวิดีโอ เช่น ซีอาร์ที โดยไม่คำนึงถึงหน่วยประมวลผลหลักและไม่ต้องใช้เฟรมบัฟเฟอร์แบบเต็มจอ สไปรต์อาจถูกจัดวางหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยตั้งค่าลักษณะที่ใช้ในการประกอบฮาร์ดแวร์ ตัวอย่างเช่นตระกูลอาตาริ 8 บิต คอมโมดอร์ 64 แฟมิคอม เซกา เจเนซิส และตู้เกมหยอดเหรียญยุค 1980.

ใหม่!!: MissingNo.และสไปรต์ (คอมพิวเตอร์กราฟิกส์) · ดูเพิ่มเติม »

คู่มือกลยุทธ์

คู่มือกลยุทธ์ เป็นหนังสือแนะนำที่มีเนื้อหาเป็นi คำบอกใบ้หรือวิธีแก้ปริศนาในวิดีโอเกม ความแตกต่างระหว่างคู่มือกลยุทธ์และบทสรุปเกมนั้นไม่ชัดเจน โดยคู่มือกลยุทธ์จะเขียนเกี่ยวกับบทสรุปเกม คู่มือกลยุทธ์มักตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือ และบทความภายในนิตยสารวิดีโอเกม ในกรณีเกมยอดนิยมเป็นพิเศษ คู่มืออาจขายในช่องทางกระแสหลัก เช่น ร้านหนังสือ หรือแผงหนังสือพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์บางแห่งขายในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บไซต์ของตนด้วย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์วิดีโอเกม.

ใหม่!!: MissingNo.และคู่มือกลยุทธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ค่า (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึงนิพจน์ที่ไม่สามารถประเมินค่าต่อได้อีก (รูปแบบบรรทัดฐาน) สมาชิกของแบบชนิดก็คือค่าของแบบชนิดนั้น ตัวอย่างเช่น นิพจน์ 1 + 2 ยังไม่เรียกว่าเป็นค่า เพราะยังสามารถลดทอนได้อีกเป็นนิพจน์ 3 แต่นิพจน์ 3 ก็ไม่สามารถลดทอนได้มากกว่านี้อีกแล้วดังนั้นมันจึงเป็นค่า ค่าของตัวแปร จะถูกกำหนดโดยการจับคู่ที่สอดคล้องกันในสภาพแวดล้อมของแบบชนิด (typing environment) ในภาษาโปรแกรมที่ตัวแปรสามารถกำหนดค่าได้ การแยกออกเป็น ค่าทางขวา (r-value คือเนื้อหา) และค่าทางซ้าย (l-value คือตำแหน่ง) ในการกำหนดค่าของตัวแปรเป็นสิ่งจำเป็น ในภาษาโปรแกรมเชิงประกาศ (ระดับสูง) ค่าจะต้องมีคุณสมบัติความโปร่งใสเชิงอ้างอิง (referential transparency) หมายความว่า ค่าผลลัพธ์เป็นอิสระจากตำแหน่งของหน่วยความจำที่เก็บบันทึกซึ่งนิพจน์ (หรือนิพจน์ย่อย) จำเป็นต้องใช้คำนวณหาค่า เฉพาะเนื้อหาที่ตำแหน่งนั้น (คือบิตต่าง ๆ อันประกอบด้วย 0 และ 1) และการตีความของมันเท่านั้นที่มีนัยสำคัญ.

ใหม่!!: MissingNo.และค่า (วิทยาการคอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ฉบับแท้

ในบันเทิงคดี ฉบับแท้ (canon) คือข้อเท็จจริงที่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องในจักรวาลของเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง มักใช้ขัดแย้งหรือเป็นหลักสำหรับงานเขียนแฟนฟิกชัน คำอื่น ๆ ที่ใช้ได้แก่ ตำนาน (mythology) เส้นเวลา (timeline) และความสืบเนื่อง (continuity) โดยคำว่าตำนานมักหมายถึงฉบับแท้ที่มีรายละเอียดลึกซึ้งที่ต้องการการระงับความไม่เชื่อชั่วคราว (เช่น โลกหรือประวัติศาสตร์ในจินตนาการที่อุปโลกน์ขึ้น) ขณะที่คำว่าเส้นเวลาและความสืบเนื่อง หมายถึงอาร์กเรื่องหนึ่ง ๆ ที่ทุกเหตุการณ์เชื่อมโยงกันด้วยลำดับเวลา.

ใหม่!!: MissingNo.และฉบับแท้ · ดูเพิ่มเติม »

ซับรูทีน

ในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซับรูทีน (subroutine) เป็นลำดับของคำสั่งโปรแกรมที่กระทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และถูกรวมกันเป็นหนึ่งหน่วย หน่วยนี้สามารถใช้ในโปรแกรม ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่งานนั้น ๆ จะเข้าไปกระทำ โปรแกรมย่อยอาจถูกกำหนดขึ้นภายในโปรแกรมต่าง ๆ หรือถูกกำหนดแยกอยู่ในคลัง (library) ที่โปรแกรมหลายโปรแกรมสามารถเรียกใช้ ในแต่ละภาษาโปรแกรม ซับรูทีนชุดหนึ่งอาจเรียกว่า กระบวนงาน (procedure) ฟังก์ชัน (function) รูทีน (routine) เมท็อด (method) หรือโปรแกรมย่อย บางครั้งใช่คำเรียกทั่วไปว่า หน่วยที่เรียกใช้ได้ (callable unit).

ใหม่!!: MissingNo.และซับรูทีน · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโด

นินเท็นโด (Nintendo) เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2432 (ค.ศ. 1889) เริ่มแรกทำธุรกิจเกี่ยวกับการ์ดเกมและของเล่น รวมถึงธุรกิจอื่น เช่น โรงแรมและแท็กซี่ ใน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) นินเท็นโดได้ผันตัวเองมาเป็นบริษัทวิดีโอเกม ซึ่งเป็นบริษัทเกี่ยวกับวิดีโอเกมที่มีอายุยาวนานที่สุดและทรงอิทธิพลที่สุดจนถึงปัจจุบัน.

ใหม่!!: MissingNo.และนินเท็นโด · ดูเพิ่มเติม »

นินเท็นโดเพาเวอร์

นินเท็นโดเพาเวอร์ (Nintendo Power) เป็นนิตยสารข่าวสารและกลยุทธ์ที่เลิกตีพิมพ์แล้ว เดิมผลิตภายในนินเท็นโดอเมริกา และต่อมานิตยสารแยกตัวออกมาตีพิมพ์อิสระ ในเดือนธันวาคม..

ใหม่!!: MissingNo.และนินเท็นโดเพาเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฟนฟิกชัน

แฟนฟิกชัน (fan fiction อาจย่อว่า fanfic หรือ FF) เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยแฟนการ์ตูน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครของเรื่องต้นฉบับ แต่โครงเรื่องเป็นคนละแบบกัน โดยส่วนมาก แฟนฟิกชันมักจะไม่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่อย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: MissingNo.และแฟนฟิกชัน · ดูเพิ่มเติม »

แฟนอาร์ต

แฟนอาร์ต (fan art หรือ fanart) เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวกับตัวละคร เครื่องแต่งกาย หรืออุปกรณ์จากการ์ตูนหรือภาพยนตร์เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่ทำขึ้นโดยจิตรกรสมัครเล่น.

ใหม่!!: MissingNo.และแฟนอาร์ต · ดูเพิ่มเติม »

โปเกมอน

ปเกมอน หรือในชื่อเต็มว่า พ็อกเก็ต มอนสเตอส์ เป็นสื่อแฟรนไชส์ที่จัดพิมพ์และเป็นของนินเทนโดบริษัทวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่นและสร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริ เมื่อปี..

ใหม่!!: MissingNo.และโปเกมอน · ดูเพิ่มเติม »

โปเกมอน เรดและบลู

ปเกมอนภาคเรด และ โปเกมอนภาคบลู (Pokémon Red Version and Pokémon Blue Version) เดิมจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ พ็อกเก็ตมอนสเตอส์: เรดและกรีน เป็นวิดีโอเกมเล่นตามบทบาทพัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีกและจำหน่ายโดยนินเท็นโดสำหรับเครื่องเล่นเกมบอย เกมโปเกมอนภาคนี้เป็นเกมแรกของวิดีโอเกมชุดโปเกมอน ออกจำหน่ายครั้งแรกใน..

ใหม่!!: MissingNo.และโปเกมอน เรดและบลู · ดูเพิ่มเติม »

ไอจีเอ็น

อจีเอ็น (IGN เดิมชื่อ Imagine Games Network) เป็นเว็บไซต์บันเทิงก่อตั้งโดยนักลงทุน คริส แอนเดอร์สัน ในเดือนกันยายน..

ใหม่!!: MissingNo.และไอจีเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ไข่อีสเตอร์ (สื่อ)

อีสเตอร์ (Easter egg) เป็นตลกภายใน ข้อความลับ หรือคุณสมบัติในงานเชิงโต้ตอบที่ตั้งใจให้เกิดขึ้น เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิดีโอเกม หรือหน้าจอเมนูจากแผ่นดีวีดี กล่าวกันว่าชื่อไข่อีสเตอร์มาจากประเพณีการล่าไข่อีสเตอร์ จากข้อมูลโดยผู้ออกแบบเกม วอร์เรน รอบิเนตต์ คำนี้คิดขึ้นโดยฝ่ายบุคลากรของอาตาริ สำหรับใช้ในบริบทของสื่อ ที่รู้สึกตื่นตัวกับข้อความลับที่รอบิเนตต์ซ่อนไว้ในเกม แอดเวนเชอร์ เกมแอดเวนเชอร์ของอาตาริ ออกจำหน่ายเมื่อ..

ใหม่!!: MissingNo.และไข่อีสเตอร์ (สื่อ) · ดูเพิ่มเติม »

เกมฟรีก

ริษัทเกมฟรีก (Game Freak) เป็นบริษัทผู้พัฒนาวิดีโอเกมสัญชาติญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักในฐานะนักพัฒนาเกมชุดโปเกมอน ก่อนเป็นบริษัท เกมฟรีกเคยเป็นนิตยสารวิดีโอเกมตีพิมพ์เอง สร้างโดยซะโตะชิ ทะจิริและเค็น ซุงิโมะริ ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทะจิริเขียนและแก้ไขข้อความ และซุงิโมะริเป็นผู้วาดภาพ ทะจิริยังใช้ "เกมฟรีก" เป็นนามปากกาเมื่อครั้งที่เขาเป็นนักเขียนอิสระให้กับสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตยสารแฟมิลีคอมพิวเตอร์แมกาซีน และแฟมิคอมสึชิง ในวันที่ 26 เมษยน..

ใหม่!!: MissingNo.และเกมฟรีก · ดูเพิ่มเติม »

เลขฐานสิบหก

ลขฐานสิบหก (hexadecimal) หมายถึงระบบเลขฐานที่มีสัญลักษณ์ 16 ตัว (ฐานสิบมี 10 ตัวคือ 0-9) โดยปกติจะใช้สัญลักษณ์ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F ในการแสดงหรือเขียนทั้ง 16 ตัว ตัวอย่างของเลขฐานสิบหกได้แก่เลข 2AF316 ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเลขฐานสิบได้ สังเกตได้ว่า 2AF316 นั้นคือผลบวกของ (200016 + A0016 + F016 + 316) โดยเปลี่ยนเลขแต่ละหลักเป็นเลขฐานสิบได้ตามนี้ \begin \mathrm_ &.

ใหม่!!: MissingNo.และเลขฐานสิบหก · ดูเพิ่มเติม »

เหตุการณ์ (การคอมพิวเตอร์)

ในการคอมพิวเตอร์ เหตุการณ์ คือการกระทำที่ซอฟต์แวร์จดจำและจัดการ เหตุการณ์ในคอมพิวเตอร์สามารถสร้างหรือกระตุ้นได้โดยระบบ โดยผู้ใช้ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ โดยปกติ เหตุการณ์จะจัดการพร้อมกันตามผังการทำงานของโปรแกรม กล่าวคือ ซอฟต์แวร์อาจมีตำแหน่งหนึ่งหรือหลายตำแหน่งที่ใช้จัดการเหตุการณ์ โดยมักจะเป็นวงวนเหตุการณ์ ที่มาของเหตุการณ์รวมถึงผู้ใช้ ซึ้งอาจกระทำกับซอฟต์แวร์โดยการเคาะปุ่มคีย์บอร์ด อีกแหล่งที่มาคืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น ตัวจับเวลา ซอฟต์แวร์ยังสามารถกระตุ้นชุดเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้อยู่ในวงวนเหตุการณ์ ซอฟต์แวร์ที่เปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อตอบสนองเหตุการณ์เรียกว่า ซอฟต์แวร์เชิงเหตุการณ์ มักมีเป้าหมายเป็นการปฏิสัมพันธ์ หมวดหมู่:การเขียนโปรแกรม หมวดหมู่:ซับรูทีน.

ใหม่!!: MissingNo.และเหตุการณ์ (การคอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

เดอะเดลีเทลิกราฟ (ออสเตรเลีย)

อะเดลีเทลิกราฟ (The Daily Telegraph) เป็นหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์เชิงอนุรักษ์ของประเทศออสเตรเลีย ตีพิมพ์ในซิดนีย์ รัฐนิวเซาท์เวลส์โดยเนชันไวด์นิวส์ ส่วนหนึ่งของบริษัทนิวส์คอร์ป เดอะเดลีเทลิกราฟตีพิมพ์จำหน่ายในวันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ และมีจำหน่ายทั่วรัฐนิวเซาท์เวลส์ แคนเบอร์รา และภูมิภาคเซาท์อีสต์ควีนส์แลนด์ ในวันที่ 19 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: MissingNo.และเดอะเดลีเทลิกราฟ (ออสเตรเลีย) · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเล่นวิดีโอเกม

รื่องเล่นเกม วี พร้อมจอยบังคับ ผลิตโดยบริษัทนินเทนโด เครื่องเล่นวิดีโอเกม (Video game console) คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในการเล่นวิดีโอเกม โดยแสดงภาพผ่านทางหน้าจอภายในเครื่องหรือโทรทัศน์ แบ่งเป็น.

ใหม่!!: MissingNo.และเครื่องเล่นวิดีโอเกม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »