โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ซับรูทีน

ดัชนี ซับรูทีน

ในด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซับรูทีน (subroutine) เป็นลำดับของคำสั่งโปรแกรมที่กระทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง และถูกรวมกันเป็นหนึ่งหน่วย หน่วยนี้สามารถใช้ในโปรแกรม ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่งานนั้น ๆ จะเข้าไปกระทำ โปรแกรมย่อยอาจถูกกำหนดขึ้นภายในโปรแกรมต่าง ๆ หรือถูกกำหนดแยกอยู่ในคลัง (library) ที่โปรแกรมหลายโปรแกรมสามารถเรียกใช้ ในแต่ละภาษาโปรแกรม ซับรูทีนชุดหนึ่งอาจเรียกว่า กระบวนงาน (procedure) ฟังก์ชัน (function) รูทีน (routine) เมท็อด (method) หรือโปรแกรมย่อย บางครั้งใช่คำเรียกทั่วไปว่า หน่วยที่เรียกใช้ได้ (callable unit).

2 ความสัมพันธ์: การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์คลัง (โปรแกรม)

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming) หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม (Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และขั้นตอนวิธีที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟต์แวร์ การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซวอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ ข้อความธรรมดา ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งาน การเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของ ศิลปะ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ วิศวกรรม เข้าด้วยกัน.

ใหม่!!: ซับรูทีนและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

คลัง (โปรแกรม)

ตัวอย่างแผนภาพแสดงการเรียกใช้งานไลบรารีของโปรแกรมเล่นสื่อผสมประเภท Ogg Vorbis คลังโปรแกรม หรือ ไลบรารี (library) ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่าง ๆ ซึ่งอาจจะรวมซอร์สโค้ดหรือไม่ก็ได้ ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์หรือใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง.

ใหม่!!: ซับรูทีนและคลัง (โปรแกรม) · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »