โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร

ดัชนี ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหาร

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

59 ความสัมพันธ์: บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องช่องท้องฟันฟันคุดกระเพาะอาหารกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้นกลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับการบาดเจ็บการฝ่อการอักเสบการเจริญเกินฝีฝีของตับภูมิแพ้รอยโรคริมฝีปากลำไส้ลำไส้ใหญ่ลำไส้เล็กลำไส้เล็กส่วนต้นลิ้นลิ้นลายแผนที่หลอดอาหารหลอดเลือดอาการอาการแสดงอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้อุบัติเหตุองค์การอนามัยโลกถุงยื่นถุงน้ำดีทวารหนักทางเดินอาหารของมนุษย์ตับตับวายตับอักเสบตับอ่อนตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันต่อมน้ำลายปากแก้มแอลกอฮอล์แผลร้อนในแผลเปื่อยใบหน้าโรคโรคกรดไหลย้อนโรคสมองจากตับโรคตับจากแอลกอฮอล์โรคตับแข็ง...โรคติดเชื้อไส้ติ่งไส้ติ่งอักเสบไส้เลื่อนขาหนีบเยื่อบุช่องท้องเยื่อบุช่องท้องอักเสบเลือดออกเคลือบฟันICD-10 ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

บัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problems มีชื่อย่อว่า ICD) เป็นรายละเอียดของโรคและการบาดเจ็บต่าง ๆ จัดพิมพ์เผยแผ่โดย องค์การอนามัยโลก และใช้ข้อมูลเป็นสถิติพยาธิภาวะและอัตราตาย จากทั่วโลก มีการแก้ไขปรับปรุงเป็นช่วง ๆ ปัจจุบันได้ทำการจัดพิมพ์ครั้งที่ 11 แล้ว โรคหรือกลุ่มของโรคที่มีความสัมพันธ์กันจะอธิบายด้วยการวินิจฉัยและมีรหัสกำหนดให้เป็นการเฉพาะตั้งแต่ 4-6 หลัก โดยหลักแรกในหมวดที่ 1-9 จะใช้ตัวเลข 1-9 เมื่อเข้าสู่หมวดที่ 10-26 จะใช้เป็นอักษร A-S นอกจากนี้ หมวด V คือSupplementary section for functioning assessment และหมวด X คือ External Cause แล้วจากนั้นจะแยกออกเป็นหมวดหมู่ในหลักถัดไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง · ดูเพิ่มเติม »

ช่องท้อง

องท้อง (abdominal cavity) เป็นช่องลำตัวในร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ ซึ่งบรรจุอวัยวะภายใน ตั้งอยู่ใต้ช่องอก (thoracic cavity) และเหนือช่องเชิงกราน (pelvic cavity) อวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหาร, ตับ, ตับอ่อน, ม้าม, ถุงน้ำดี, กระเพาะปัสสาวะ, ลำไส้เล็ก, และลำไส้ใหญ่ (ไตเป็นอวัยวะที่ไม่ได้อยู่ในช่องท้อง แต่อยู่หลังช่องท้อง เรียกว่าเป็นอวัยวะหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneal organs)) ช่องท้องถูกบุด้วยเยื่อแผ่นที่เรียกว่า เยื่อบุช่องท้อง (peritoneum) และอวัยวะภายในก็ถูกคลุมด้านหน้าด้วยแผ่นไขมันที่เรียกว่าโอเมนตัม (omentum หรือ omental apron).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

ฟันคุด

ฟันคุด (tooth Impaction) คือฟันที่งอกออกมาจากกรามไม่ได้ เพราะไม่มีที่จะให้งอกออกมา สาเหตุที่ฟันงอกออกมาไม่ได้นั้น มีการตั้งข้อสันนิษฐานจากทฤษฎีที่ว่าด้วยการใช้และไม่ใช้ กล่าวคือ มนุษย์มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง กรามและฟันที่มีขนาดใหญ่และเคยใช้งานเพื่อกัดและฉีกอาหารที่เหนียว เช่น เนื้อดิบ รากไม้ นั้น ปัจจุบันมนุษย์ได้ลดการใช้ฟันในลักษณะดังกล่าวลง จึงทำให้ฟันและกรามมีขนาดเล็กลง ไม่มีพื้นที่พอจะให้ฟันกรามซี่สุดท้ายงอกออกมาได้ จึงเป็นสาเหตุให้เกิดฟันคุดขึ้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและฟันคุด · ดูเพิ่มเติม »

กระเพาะอาหาร

กระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและกระเพาะอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น

กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (Irritable Bowel Syndrome;IBS) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคเกี่ยวกับการทำงานของลำไส้และกระเพาะอาหารไม่สมดุลกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ส่วนมากไม่รู้ตัวเพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ หรือธรรมชาติของคน จนมันรุนแรงถึงค่อยมาสังเกตว่าผิดปกต.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและกลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ

กลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ (Hepatorenal syndrome, HRS) เป็นภาวะทางการแพทย์อย่างหนึ่งซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ทำให้ผู้ป่วยโรคตับแข็งหรือตับวายเต็มขั้นมีการทำงานของไตเสื่อมลงอย่างเฉียบพลัน โรคนี้มักเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตหากไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนตับ การรักษาอื่นๆ เช่นการฟอกเลือด อาจช่วยชะลอการดำเนินโรคได้ HRS อาจเกิดกับผู้ป่วยตับแข็ง (ทุกสาเหตุ) ตับอักเสบรุนแรงเนื่องจากแอลกอฮอล์ หรือตับวายเต็มขั้น มักเกิดเพื่อการทำงานของตับแย่ลงอย่างรวดเร็วจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การติดเชื้อ เลือดออกในทางเดินอาหาร หรือการได้รับยาขับปัสสาวะมากเกินขนาด ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ค่อนข้างพบบ่อยของตับแข็ง โดยพบในผู้ป่วยตับแข็งถึง 18% ภายใน 1 ปีตั้งแต่วินิจฉัย และ 39% ภายใน 5 ปีตั้งแต่วินิจฉัย เชื่อกันว่าเมื่อการทำงานของตับแย่ลงอย่างรวดเร็วจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในระบบไหลเวียนส่วนที่หล่อเลี้ยงลำไส้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการไหลของเลือดและสภาพของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ไตวายที่เกิดจาก HRS เป็นผลที่ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดเหล่านี้มากกว่าจะเป็นผลที่เกิดจากการบาดเจ็บของไตโดยตรง สภาพของไตนั้นจะค่อนข้างปกติทั้งจากการดูด้วยตาเปล่าและกล้องจุลทรรศน์ ยิ่งกว่านั้นการทำงานของไตยังอาจจะทำงานได้ปกติอีกด้วยหากอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า (เช่นสมมติได้มีการปลูกถ่ายไตนี้ไปยังบุคคลที่มีตับปกติ) การวินิจฉัย HRS ขึ้นกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยที่มีโอกาสเป็นโรค ปัจจุบันมีการให้คำนิยาม HRS ไว้สองชนิด โดยชนิดที่ 1 ผู้ป่วยจะมีการทำงานของไตที่แย่ลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ชนิดที่ 2 จะมีความสัมพันธ์กับการมีท้องมานที่รักษาตามปกติด้วยยาขับปัสสาวะแล้วไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก อัตราตายของผู้ป่วย HRS ชนิดที่ 1 สูงกว่า 50% ในระยะสั้นตามบันทึกชุดกรณีผู้ป่วย แนวทางการรักษาระยะยาววิธีเดียวคือการปลูกถ่ายตับ ซึ่งระหว่างที่รอการปลูกถ่ายตับนั้นผู้ป่วย HRS มักได้รับการรักษาอื่นๆ ซึ่งช่วยทำให้ความตึงของหลอดเลือดดีขึ้น พร้อมกับยาและการรักษาประคับประคองอื่นๆ หรือการสร้างทางเชื่อมของระบบไหลเวียนพอร์ทัลและระบบไหลเวียนทั่วร่างกายภายในตับผ่านทางหลอดเลือดดำคอ (TIPS) เพื่อลดความดันในหลอดเลือดดำพอร์ทัล ผู้ป่วยบางคนอาจจำเป็นต้องได้รับการฟอกเลือดเพื่อทดแทนการทำงานของไต หรือเทคนิคใหม่ๆ อย่างการฟอกตับ เป็นต้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและกลุ่มอาการโรคไตเนื่องจากโรคตับ · ดูเพิ่มเติม »

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บ (Injury) เป็นความเสียหายหรืออันตรายต่อหน้าที่หรือโครงสร้างของร่างกาย อันมีสาเหตุจากแรงหรือปัจจัยภายนอกทั้งทางกายภาพหรือเคมี และทั้งโดยเจตนา (เช่นการฆ่าตัวตาย ฆาตกรรม) หรือไม่ได้เจตนา (เช่นอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บจากกีฬา).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและการบาดเจ็บ · ดูเพิ่มเติม »

การฝ่อ

ในทางการแพทย์ การฝ่อ หมายถึงการลีบ แห้ง หรือผอมลงบางส่วนหรือทั้งหมดของส่วนต่างๆ ร่างกาย สาเหตุของการฝ่ออาทิการขาดสารอาหาร ขาดเลือดไหลเข้ามาเลี้ยง ขาดฮอร์โมนที่มาช่วยในการทำงาน ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยงที่อวัยวะเป้าหมาย การขาดการออกกำลังกายหรือโรคที่เกิดภายในเนื้อเยื่อเอง การฝ่อนับเป็นกระบวนการปกติทางสรีรวิทยาของการเสื่อมหรือทำลายเนื้อเยื่อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอะพอพโทซิส (apoptosis) ในระดับเซลล์อันเป็นส่วนหนึ่งในพัฒนาการของร่างกายและการรักษาภาวะธำรงดุล แต่หากเกิดจากโรคหรือการขาดปัจจัยที่มาเลี้ยงเนื้อเยื่อจากโรค จะจัดเป็นการฝ่อทางพยาธิวิทยา (pathological atrophy) หมวดหมู่:พยาธิกายวิภาคศาสตร์ หมวดหมู่:มหพยาธิวิทยา.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและการฝ่อ · ดูเพิ่มเติม »

การอักเสบ

ฝีบนผิวหนัง แสดงลักษณะแดงและบวม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการอักเสบ (หรืออาจเป็นสีดำมากยิ่งขึ้นในกลุ่มคนผิวเข้ม) วงแหวนของเนื้อเยื่อเซลล์ที่ตายล้อมรอบพื้นที่ที่มีหนอง การอักเสบ (Inflammation) เป็นการตอบสนองทางชีวภาพที่ซับซ้อนของเนื้อเยื่อหลอดเลือดต่อสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย เช่นเชื้อโรค เซลล์ที่เสื่อมสภาพ หรือการระคายเคือง ซึ่งเป็นความพยายามของสิ่งมีชีวิตที่จะนำสิ่งกระตุ้นดังกล่าวออกไปและซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย การอักเสบไม่ใช่อาการของการติดเชื้อ แม้ว่าการอักเสบหลายๆ ครั้งก็เกิดขึ้นจากการติดเชื้อ เพราะว่าการติดเชื้อนั้นเกิดจากจุลชีพก่อโรคภายนอกร่างกาย แต่การอักเสบคือการตอบสนองของร่างกายเพื่อต่อต้านจุลชีพก่อโรคหรือต่อปัจจัยอื่นๆ เช่น การบาดเจ็บ สารเคมี สิ่งแปลกปลอม หรือภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง หากไม่มีการอักเสบเกิดขึ้น เชื้อโรคจะไม่ถูกกำจัดออกไปและแผลจะไม่ถูกรักษาให้หาย ซึ่งอาจเกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อมากขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ แต่ทั้งนี้อาการอักเสบที่มีมากเกินไปก็สามารถเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่นไข้ละอองฟาง โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และข้ออักเสบรูมาทอยด์ ด้วยเหตุผลนี้เอง ร่างกายจึงต้องมีกระบวนการควบคุมการอักเสบอย่างใกล้ชิด การอักเสบอาจถูกแบ่งออกเป็นแบบ เฉียบพลัน หรือ เรื้อรัง การอักเสบเฉียบพลัน (acute inflammation) เป็นการต่อต้านวัตถุอันตรายของร่ายกายในระยะเริ่มแรก โดยเกิดการเคลื่อนที่ของพลาสมาและเม็ดเลือดขาวจากเลือดไปยังเนื้อเยื่อที่อักเสบ กระบวนการทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นเป็นขั้นเป็นตอนนี้เองที่ทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งต้องอาศัยส่วนร่วมของระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน และเซลล์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อที่เสียหาย การอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) นำไปสู่การเปลี่ยนชนิดของเซลล์ที่นำเสนอในบริเวณอักเสบ และมีลักษณะพิเศษของการทำลายที่เกิดขึ้นพร้อมกับการรักษาเนื้อเยื่อจากกระบวนการอัก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและการอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญเกิน

การเจริญเกิน (hyperplasia) เป็นคำทั่วไปหลายถึงการเพิ่มจำนวนของเซลล์ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่มากกว่าปกติ การเจริญเกินอาจทำให้เกิดการเพิ่มขนาดของอวัยวะได้และบางครั้งก็ถูกใช้ในความหมายใกล้เคียงกันกับ benign neoplasia หรือ benign tumor (เนื้องอกชนิดไม่ร้าย) การเจริญเกินเป็นการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่อาจกลายเป็นเนื้องอกได้ที่พบบ่อย ในระดับย่อยๆ นั้นเซลล์แต่ละเซลล์จะมีลักษณะปกติเพียงแต่มีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น บางครั้งเซลล์อาจมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ (hypertrofia) การเจริญเกินนั้นแตกต่างจากการโตเกิน (hypertrophy) ตรงที่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในการโตเกินนั้นจะทำให้เซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น ในขณะที่การเจริญเกินนั้นเซลล์จะมีจำนวนมากขึ้น.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและการเจริญเกิน · ดูเพิ่มเติม »

ฝี

ฝี เป็นกลุ่มของหนองซึ่งเป็นซากเม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (neutrophil) ที่ตายแล้วสะสมอยู่ภายในโพรงของเนื้อเยื่อซึ่งเป็นกระบวนการของการติดเชื้อ มักมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียหรือปรสิต หรือเกิดจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกอื่นๆ เช่น เศษวัสดุ กระสุน หรือเข็มทิ่ม ฝีเป็นกระบวนการตอบสนองของเนื้อเยื่อในร่างกายต่อเชื้อโรคเพื่อจำกัดการแพร่กระจายไม่ให้ไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย จุลชีพก่อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายจะมีการทำลายเซลล์ที่ตำแหน่งนั้น ทำให้เกิดการหลั่งสารพิษ สารพิษจะกระตุ้นกระบวนการอักเสบ ซึ่งทำให้มีเม็ดเลือดขาวจำนวนมากเข้ามาในบริเวณที่เชื้อโรคบุกรุกและเกิดการไหลเวียนของเลือดในบริเวณนั้นมากขึ้น โครงสร้างของฝีภายนอกจะประกอบด้วยผนังหรือแคปซูลล้อมรอบ ซึ่งเกิดจากเซลล์ปกติข้างเคียงมาล้อมเพื่อจำกัดไม่ให้หนองไปติดต่อยังส่วนอื่นๆ อย่างไรก็ตามแคปซูลที่ล้อมรอบโพรงหนองนั้นอาจทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถเข้ามากำจัดเชื้อแบคทีเรียหรือจุลชีพก่อโรคในหนองนั้นได้ ฝีมีความแตกต่างจากหนองขัง (empyema) ในแง่ที่ว่าหนองขังเป็นกลุ่มของหนองในโพรงที่มีมาก่อนอยู่แล้ว แต่ฝีเป็นโพรงหนองที่สร้างขึ้นมาภายหลังการติดเชื้อ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและฝี · ดูเพิ่มเติม »

ฝีของตับ

ฝีของตับคือภาวะซึ่งมีฝีอยู่ในตับ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากมีการติดเชื้อในช่องท้องเช่นไส้ติ่งอักเสบหรือกระเปาะลำไส้อักเสบแล้วมีการติดเชื้อผ่านกระแสเลือดเข้าไปยังตับผ่านหลอดเลือดดำพอร์ทัล อัตราตายเมื่อมีการรักษาอยู่ที่ 10-30%.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและฝีของตับ · ดูเพิ่มเติม »

ภูมิแพ้

ูมิแพ้ (allergy) คือความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินของระบบภูมิคุ้มกัน อาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป คือ แมสต์เซลล์ และเบโซฟิล โดยแอนติบอดีที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต ภูมิแพ้ระดับเบา เช่น เยื่อจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง, การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก, ลมพิษ และหอบหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม, สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตรายต่อชีวิตที่เรียกว่าแอนาฟิแล็กซิส นอกจากนี้อาการแพ้อาหารหรืออาการตอบสนองต่อพิษของการกัดต่อยจากแมลง เช่น ต่อและผึ้ง ก็มักเกี่ยวข้องกับอาการรุนแรงเหล่านี้ การทดสอบหลากหลายวิธีเพื่อวินิจฉัยอาการภูมิแพ้ เช่น การนำสารก่อภูมิแพ้ที่น่าจะเป็นไปได้ทาลงบนผิวหนังเพื่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น อาการบวม หรือการทดสอบเลือด ต่างก็สามารถช่วยให้ค้นพบสารก่อภูมิแพ้แบบเจาะจงที่เป็นอิมมูโนโกลบูลินอีได้ การรักษาภูมิแพ้ เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ หรือการรับประทานยาต้านฮิสทามีน ก็สามารถป้องกันการเกิดอาการภูมิแพ้แบบเจาะจงได้ หรือไม่ว่าจะเป็นการรับสารสเตอรอยด์ซึ่งจะช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกัน และยาบรรเทาอาการคัดจมูกก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ลงได้ ส่วนมากแล้วยาเหล่านี้เป็นยาที่ใช้รับประทาน ยกเว้นอะดรีนาลินที่จำเป็นต้องรับผ่านทางการฉีดยา นอกจากนี้แล้วยังมีอีกวิธีคือการบำบัดด้วยสารก่อนภูมิแพ้ ซึ่งจะฉีดสารก่อนภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายทีละน้อยเพื่อให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่ออาการแพ้นั้นได้เอง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและภูมิแพ้ · ดูเพิ่มเติม »

รอยโรค

รอยโรคไข้กระต่าย รอยโรค (lesion) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หมายถึงเนื้อเยื่อที่ผิดปกติที่พบในสิ่งมีชีวิต มักจะเกิดจากการบาดเจ็บหรือโร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและรอยโรค · ดูเพิ่มเติม »

ริมฝีปาก

ริมฝีปาก เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ และสัตว์หลายชนิด ริมฝีปากจะนุ่ม เคลื่อนไหวได้ และทำหน้าที่เปิดออกเพื่อรับอาหารและใช้เปล่งเสียงและคำพูด ริมฝีปากมนุษย์เป็นอวัยวะที่รับรู้ได้ด้วยการสัมผัส และทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้เมื่อใช้จูบและในความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่าง ๆ หมวดหมู่:ริมฝีปาก หมวดหมู่:ระบบทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและริมฝีปาก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้

thumb ในกายวิภาคศาสตร์, ลำไส้ เป็นส่วนหนึงในทางเดินอาหารต่อจากกระเพาะอาหารไปสู่ทวารหนัก ในมนุษย์และสัตว์ส่วนใหญ่ ลำไส้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ลำไส้เล็ก และ ลำไส้ใหญ่ ในมนษุย์สามารถแบ่งลำไส้เล็กเป็นส่วนๆ ได้แก่ ลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum), ลำไส้เล็กส่วนกลาง (Jejunum), ลำไส้เล็กส่วนปลาย (Ileum) ส่วนลำไส้ใหญ่แบ่งได้เป็น ลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (Cecum) และ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Colon).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้ใหญ่

ลำไส้ใหญ่ (Colon) เป็นอวัยวะที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร ลำไส้ใหญ่ของคนมีความยาวประมาณ 1.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและลำไส้ใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็ก

ลำไส้เล็ก เป็นอวัยวะซึ่งมีหน้าที่ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน โดยวิลไล(มีหน้าที่เพิ่มพื้นที่ในการย่อยอาหารในลำไส้เล็ก) เอนไซม์ย่อยในลำไส้เล็กนั้นมาจากลำไส้เล็กหลั่งเองส่วนหนึ่งและตับอ่อนหลั่งส่วนหนึ่ง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและลำไส้เล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ลำไส้เล็กส่วนต้น

ลำไส้ส่วนต้นหรือดูโอดีนัม (Duodenum) เป็นลำไส้เล็กส่วนแรกในสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูงส่วนใหญ่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีก ในปลา ส่วนของลำไส้เล็กนั้นไม่ชัดเจน และอาจใช้คำว่า ลำไส้เล็กหน้าหรือลำไส้เล็กต้น (proximal intestine) แทน ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลำไส้เล็กส่วนต้นอาจเป็นที่ดูดซึมเหล็กหลัก ลำไส้เล็กส่วนต้นอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลาง (jejunum) และลำไส้เล็กส่วนปลาย (ileum) และเป็นลำไส้เล็กส่วนที่สั้นที่สุด เป็นที่ที่เกิดการย่อยเชิงเคมีมากที.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้น

ลิ้น เป็นมัดของกล้ามเนื้อโครงร่างขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณฐานของช่องปากเพื่อรองรับอาหาร และช่วยในการเคี้ยวและการกลืน เป็นอวัยวะที่สำคัญในการรับรส บริเวณพื้นผิวของลิ้นปกคลุมไปด้วยปุ่มรับรส (taste bud) ลิ้นสามารถเคลื่อนไหวได้หลายทิศทาง จึงช่วยในการออกเสียง ลิ้นเป็นอวัยวะที่มีน้ำลายให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ และเลี้ยงโดยเส้นประสาทและหลอดเลือดเป็นจำนวนมากเพื่อช่วยในการทำงานและการเคลื่อนไหว.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและลิ้น · ดูเพิ่มเติม »

ลิ้นลายแผนที่

ลิ้นลายแผนที่ (geographic tongue) เป็นภาวะหนึ่งของลิ้น พบได้ใน 3% ของประชากร มีลักษณะคือมีบริเวณของตุ่มรับรสที่มีสีผิดปกติและเจ็บ ภาวะนี้ส่วนใหญ่เป็นเรื้อรัง แต่จะมีอาการเฉพาะเมื่อกินอาหารบางชนิดเท่านั้น บางครั้งเรียก benign migratory glossitis (ลิ้นอักเสบย้ายที่ชนิดไม่ร้าย), benign migratory stomatitis (ช่องปากอักเสบย้ายที่ชนิดไม่ร้าย), glossitis areata migrans, lingua geographica, stomatitis areata migrans และ transitory benign plaques of the tongue.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและลิ้นลายแผนที่ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดอาหาร

หลอดอาหาร (อังกฤษ: oesophagus/esophagus/œsophagus; กรีก: οἰσοφάγος) เป็นอวัยวะของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เป็นท่อกลวงประกอบด้วยกล้ามเนื้อที่อาหารจะผ่านจากคอหอยไปยังกระเพาะอาหาร ในมนุษย์ หลอดอาหารต่อเนื่องกับส่วนกล่องเสียงของคอหอย (laryngeal part of the pharynx) ที่ระดับของกระดูกสันหลังส่วนคอชิ้นที่ 6.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและหลอดอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

อาการ

ในทางการแพทย์ อาการ มีความหมายสองอย่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพใจดังนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและอาการ · ดูเพิ่มเติม »

อาการแสดง

อาการแสดง (Medical sign) เป็นสิ่งบ่งชี้ที่สังเกตเห็นได้โดยปราศจากอคติ (objectivity) หรือลักษณะที่สามารถตรวจพบได้โดยแพทย์ระหว่างการตรวจร่างกายผู้ป่วย อาการแสดงอาจเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยตรวจไม่พบแต่ไม่ได้ให้ความสนใจ แต่สำหรับแพทย์แล้วมันมีความหมายมาก และอาจช่วยในการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติซึ่งเป็นสาเหตุของอาการในผู้ป่วย ตัวอย่างเช่นในภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจะมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of the fingers; ซึ่งอาจเปนอาการแสดงของโรคปอดและโรคอื่นๆ อีกมากมาย) และ arcus senilis.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและอาการแสดง · ดูเพิ่มเติม »

อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้

อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ เป็นอาการเลือดออกทุกแบบในทางเดินอาหารตั้งแต่ปากถึงไส้ตรง เมื่อมีการเสียเลือดมากในเวลาสั้น ๆ อาจมีอาการอย่างอาเจียนเป็นเลือดสด อาเจียนเป็นเลือดสีคล้ำ อุจจาระเป็นเลือดหรืออุจจาระสีดำ อาการเลือดออกปริมาณน้อยเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะเลือดจากเหตุขาดเหล็กซึ่งส่งผลให้รู้สึกเหนื่อยหรือเจ็บอกที่เกี่ยวกับหัวใจ อาการอื่นอาจมีปวดท้อง หายใจกระชั้น ผิวหนังซีด หรือหมดสติชั่วคราว บางครั้งผู้ที่มีอาการเลือดออกเล็กน้อยอาจไม่มีอาการเลย อาการเลือดออกตรงแบบแบ่งเป็นสองประเภทหลัก คือ อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบนและอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่าง สาเหตุของอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบน ได้แก่ โรคแผลเปื่อยเพปติก หลอดเลือดหลอดอาหารขอดเนื่องจากตับแข็งและมะเร็ง ฯลฯ สาเหตุของอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่างมีโรคริดสีดวงทวาร มะเร็งและโรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น การวินิจฉัยตรงแบบเริ่มด้วยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจเลือด อาการเลือดออกปริมาณเล็กน้อยอาจตรวจพบด้วยการทดสอบเลือดแฝงในอุจจาระ การส่องคล้องทางเดินอาหารส่วนล่างและส่วนบนอาจหาบริเวณที่เลือดออกได้ การสร้างภาพทางการแพทย์อาจมีประโยชน์ในผู้ป่วยที่ไม่ชัดเจน การรักษาเบื้องต้นมุ่งสนใจการกู้ชีพซึ่งอาจมีสารน้ำเข้าหลอดเลือดดำและการถ่ายเลือด บ่อยครั้งที่ไม่แนะนำการถ่ายเลือดยกเว้นฮีโมโกลบินน้อยกว่า 70 หรือ 80 กรัมต่อลิตร อาจพิจารณาการรักษาด้วยสารยับยั้งปั๊มโปรตอน อ็อกทรีโอไทด์ (octreotide) และยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยบางคน หากมาตรการอื่นยังไม่มีประสิทธิภาพ อาจพยายามใช้บอลลูนหลอดอาหารในผู้ที่สงสัยว่าเป็นหลอดเลือดหลอดอาหารขอด โดยทั่วไปแนะนำการส่องกล้องหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและดูโอดีนัมหรือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ภายใน 24 ชั่วโมงและอาจทำให้ได้การรักษาเช่นเดียวกับการวินิจฉัย อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบนพบบ่อยกว่าอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่าง อาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนบนพบในผู้ใหญ่ 50 ถึง 150 คนต่อ 100,000 คนต่อปี ส่วนอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ส่วนล่างมีการประมาณว่าเกิดในผู้ใหญ่ 20 ถึง 30 คนต่อ 100,000 คนต่อปี อาการเลือดออกนี้ทำให้มีการระบเข้ารักษาในโรงพยาบาลประมาณ 300,000 คนต่อปีในสหรัฐ ความเสี่ยงการเสียชีวิตจากอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้อยู่ระหว่าง 5% ถึง 30% ความเสี่ยงอาการเลือดออกในชายมีมากกว่าหญิงและเพิ่มขึ้นตามอ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและอาการเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ · ดูเพิ่มเติม »

อุบัติเหตุ

อุบัติเหตุแผงกั้นผู้ชมที่ขอบสนามกีฬาถล่ม อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหวังและไม่ตั้งใจในเวลาและสถานที่แห่งหนึ่ง เกิดขึ้นโดยไม่มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าแต่มีสาเหตุและส่งผลกระทบที่สามารถชี้วัดได้ อุบัติเหตุเป็นผลเชิงลบของความเป็นไปได้อย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไว้แต่แรก โดยพิจารณาจากปัจจัยสาเหตุต่างๆ อันที่จะนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ ในเรื่องของกำหนดการและการวางแผน อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์หรือผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มีการวางแผนรองรับมาก่อน หรือวางแผนไม่ครอบคลุม ซึ่งจะส่งผลต่อระบบและกำหนดการโดยรวมเมื่ออุบัติเหตุเกิดขึ้น ในอีกความหมายหนึ่ง อุบัติเหตุอาจหมายถึงเหตุการณ์ทางกายภาพที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตของมนุษย์อาทิ รถชน ตกตึก มีดบาด ไฟลวก ไฟช็อต โดนพิษ ฯลฯ หรือหมายถึงเหตุการณ์ที่ไม่ใช่ทางกายภาพเช่น การลืมของ การลืมนัดหมาย ความเผอเรอ หรือการเปิดเผยความลับ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดก็ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและอุบัติเหตุ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลก (World Health Organization ตัวย่อ WHO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อ 7 เมษายน..

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและองค์การอนามัยโลก · ดูเพิ่มเติม »

ถุงยื่น

ถุงยื่น (diverticulum) เป็นศัพท์ทางการแพทย์หรือกายวิภาคหมายถึงการมีส่วนโป่งยื่นออกมาจากโครงสร้างปกติของร่างกาย อาจแบ่งออกเป็นถุงยื่นแท้หรือถุงยื่นเทียม ขึ้นอยู่กับว่าชั้นของโครงสร้างที่ยื่นออกมานั้นประกอบด้วยชั้นโครงสร้างใดบ้าง หมวดหมู่:อภิธานศัพท์แพทย์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและถุงยื่น · ดูเพิ่มเติม »

ถุงน้ำดี

รงสร้างของถุงน้ำดีและระบบท่อน้ำดี ถุงน้ำดี (Gallbladder) เป็นอวัยวะในช่องท้องที่ทำหน้าที่ในการเก็บสะสมน้ำดี (bile) เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร โดยจะมีโครงสร้างที่ติดต่อกับตับซึ่งเป็นอวัยวะที่ผลิตน้ำดี และลำไส้เล็กตอนต้น ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและถุงน้ำดี · ดูเพิ่มเติม »

ทวารหนัก

ทวารหนัก (anus) มาจากคำภาษาลาติน anus แปลว่า "วงแหวน" หรือ "วงกลม" เป็นรูเปิดตรงส่วนปลายของทางเดินอาหารของสัตว์ตรงข้ามกับปาก มีหน้าที่ในการควบคุมการปล่อยอุจจาระ, ของกึ่งแข็งที่ไม่เป็นที่ต้องการในระบบย่อยอาหาร ซึ่งขึ้นอยู่กับสัตว์แต่ละชนิด อาจรวมถึง สิ่งที่สัตว์ชนิดนั้นไม่สามารถย่อยได้ เช่น กระดูก, Summary at ส่วนที่เหลือของอาหารหลังสารอาหารถูกนำออกไปหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสหรือลิกนิน (lignin), สิ่งที่อาจเป็นพิษหากคงอยู่ในทางเดินอาหาร และจุลินทรีย์ในลําไส้ (gut bacteria) ที่ตายแล้วหรือเกินจำเป็นรวมถึงสิ่งมีชีวิตร่วมอาศัย (endosymbiont) อื่น ๆ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน และนก ใช้ช่องเปิดช่องเดียวกันเรียกว่าทวารรวม (cloaca) สำหรับขับถ่ายของเสียทั้งของเหลวและของแข็ง, สำหรับรวมเพศ และสำหรับวางไข่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในชั้นย่อยโมโนทรีมมีทวารรวมเช่นกัน คาดว่าเป็นลักษณะที่สืบทอดจากสัตว์มีถุงน้ำคร่ำยุคแรกสุดผ่านสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มเทอแรพซิด (therapsid) สัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องมีช่องเปิดเดียวสำหรับขับของเหลวและของแข็ง และเพศเมียมีช่องคลอดแยกสำหรับการสืบพันธุ์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกลุ่ม placentalia เพศหญิงมีช่องเปิดแยกสำหรับถ่ายอุจจาระ ขับปัสสาวะ และสืบพันธุ์ ส่วนเพศผู้มีช่องเปิดสำหรับอุจจาระและอีกช่องสำหรับทั้งปัสสาวะและสืบพันธุ์ แม้ช่องทางที่ไหลไปยังช่องเปิดนั้นแทบจะแยกกันอย่างสิ้นเชิง การพัฒนาของทวารหนักเป็นขั้นตอนสำคัญในวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและทวารหนัก · ดูเพิ่มเติม »

ทางเดินอาหารของมนุษย์

right ระบบทางเดินอาหาร (Gastrointestinal tract, GI tract, alimentary canal หรือ gut) ระบบทางเดินอาหาร อาจเรียกอีกอย่างว่าระบบย่อยอาหาร (digestive tract) ระบบอวัยวะนี้มีเฉพาะในสัตว์หลายเซลล์ (multicellular animals) ที่ต้องกินอาหารและย่อยอาหาร เพื่อรับสารอาหารและพลังงานและขับถ่ายของเสียออกไป.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและทางเดินอาหารของมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ตับวาย

ตับวายคือภาวะที่ทำให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ทั้งหน้าที่ด้านการสังเคราะห์สารและหน้าที่ด้านกระบวนการสร้างและสลาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่ปกติของตับ อาจแบ่งได้เป็นชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและตับวาย · ดูเพิ่มเติม »

ตับอักเสบ

ตับอักเสบ (Hepatitis) เป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีการอักเสบของตับและเกิดการทำลายของเซลล์ตับ ทำให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ของตับผิดปกติ ร่างกายอาจแสดงอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยหรือไม่แสดงอาการเลยแต่มักจะนำไปสู่อาการดีซ่าน (jaundice) (การเปลี่ยนเป็นสีเหลืองของผิวหนัง, เยื่อบุผิวในช่องจมูกและปากที่สร้างน้ำเมือกหล่อลื่น และเยื่อตา) อาการเบื่ออาหาร และอาการไข้ พบผู้ป่วยด้วยโรคนี้ได้ในทุกวัย ทั้งชายและหญิง ส่วนใหญ่เป็นโรคตับอักเสบเฉียบพลันถ้าเป็นโรคนี้น้อยกว่าหกเดือน ส่วนน้อยอาจเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังถ้าเป็นโรคนี้นานกว่านั้น ตับอักเสบเฉียบพลันสามารถจำกัดตนเองได้ (การรักษาของตัวเอง) สามารถพัฒนาไปสู่​​โรคตับอักเสบเรื้อรังหรืออาจทำให้เกิดตับวายเฉียบพลัน(แต่ค่อนข้างยาก) โรคตับอักเสบเรื้อรังอาจไม่มีอาการหรืออาจจะพัฒนาเมื่อเวลาผ่านไปเป็นพังผืด (รอยแผลเป็นของตับ) และโรคตับแข็ง (ตับวายเรื้อรัง) โรคตับแข็งเพิ่มความเสี่ยงของการพัฒนาไปสู่โรค hepatocellular carcinoma (รูปแบบหนึ่งของโรคมะเร็งตับ) ทั่วโลกตับอักเสบที่มีเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการอักเสบของตับ สาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ โรคแพ้ภูมิตัวเองและการบริโภคสารพิษ (แอลกอฮอล์), ยาบางชนิด (เช่นยาพาราเซตามอล), สารอินทรีย์ทำละลายสำหรับอุตสาหกรรมและพืชบางชนิด คำว่า Hepatitis มาจากภาษากรีก hepar (ἧπαρ) หมายถึง "ตับ" และคำต่อท้าย -itis (-ῖτις) หมายถึง "อักเสบ" (ราวปี 1727)แปลว่า ตับอัก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและตับอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อน

ตับอ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะซึ่งเป็นต่อมในระบบย่อยอาหารและระบบต่อมไร้ท่อในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ในมนุษย์ ตับอ่อนอยู่ในช่องท้องหลังกระเพาะอาหาร เป็นต่อมไร้ท่อซึ่งผลิตฮอร์โมนสำคัญหลายชนิด รวมถึงอินซูลิน กลูคากอน โซมาโตสเตติน และแพนคริเอติกพอลิเพพไทด์ซึ่งไหลเวียนอยู่ในเลือด ตับอ่อนยังเป็นอวัยวะย่อยอาหาร โดยหลั่งน้ำย่อยตับอ่อนซึเอนไซม์ย่อยอาหารที่ช่วยการย่อยและดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็ก เอนไซม์เหล่านี้ช่วยสลายคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและลิพิดในไคม์ (chyme) และตับอ่อนมักหลั่งเอนไซม์ คือ trypsinogen chymotrypsinogen procarboxypeptidase.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและตับอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันคือภาวะที่เกิดการอักเสบขึ้นกับตับอ่อน ทำให้มีอาการปวดท้องเฉียบพลันรุนแรง ตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่ส่วนหลังของช่องท้องส่วนกลาง ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยและฮอร์โมนบางชนิด รวมถึงอินซูลินด้วย ตับอ่อนอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากนิ่วถุงน้ำดี หรือเกิดจากการกินแอลกอฮอล์ปริมาณปานกลางถึงมากเป็นระยะเวลานาน ตับอ่อนอักเสบส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถมีอาการกลับเป็นปกติได้ดีเมื่อได้รับการรักษา อย่างไรก็ดีผู้ป่วยบางส่วนจะมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องได้รับการดูแลในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก สิ่งสำคัญในการให้การดูแลรักษาผู้ป่วยตับอ่อนอักเสบทุกรายคือหาสาเหตุที่ทำให้เกิดตับอ่อนอักเสบในครั้งนี้ และรักษาหากเป็นไปได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเป็นซ้ำ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน · ดูเพิ่มเติม »

ต่อมน้ำลาย

ต่อมน้ำลาย (salivary gland) เป็นต่อมที่สร้างน้ำลายอยู่ภายในบริเวณช่องปาก พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมและแมลง สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจะผลิตน้ำลายเพื่อเป็นน้ำย่อยและคลุกเคล้าอาหาร ส่วนในแมลงจะใช้สำหรับสร้างกาวหรือใย ต่อมน้ำลายของมนุษย์มีด้วยกัน 3 คู่ คือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและต่อมน้ำลาย · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและปาก · ดูเพิ่มเติม »

แก้ม

แก้ม (cheek, buccae) เป็นส่วนประกอบของหน้าอยู่ใต้ตาและอยู่ระหว่างจมูกกับหู มีทั้งข้างซ้ายและขวา หมวดหมู่:ศีรษะและคอ หมวดหมู่:ลักษณะบนใบหน้า.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและแก้ม · ดูเพิ่มเติม »

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

แผลร้อนใน

แผลร้อนใน (aphthous stomatitis) หรือ แอ็ฟทา (Aphthae) คือ แผลเปิดภายในช่องปากเกิดจากการแตกของ เยื่อเมือก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและแผลร้อนใน · ดูเพิ่มเติม »

แผลเปื่อย

แผลเปื่อย (ulcer) หรือแผล เป็นรอยโรคบนผิวหนังหรือเยื่อเมือก ร่วมกับมีการขาดตอนหรือการสลายของเนื้อเยื่อ แผลเปื่อยอาจส่งผลให้เสียชั้นหนังกำพร้าทั้งหมด และบ่อยครั้งรวมถึงหนังแท้บางส่วน หรือแม้กระทั่งไขมันใต้หนัง แผลเปื่อยพบมากที่สุดที่ผิวหนังของรยางค์ล่างและในทางเดินอาหาร แผลเปื่อยที่ปรากฏบนผิวหนังมักเห็นเป็นเนื้อเยื่ออักเสบที่มีบริเวณผิวหนังแดง แผลเปื่อยผิวหนังมักเห็นได้ในกรณีการสัมผัสความร้อนหรือความเย็น การระคายเคืองหรือมีปัญหาต่อการไหลเวียนโลหิต แผลเปื่อยยังอาจเกิดจากการขาดการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้มีแรงกดต่อเนื้อเยื่อเป็นเวลานาน ความเครียดในระบบไหลเวียนโลหิตนี้ถูกแปลงเป็นแผลเปื่อยผิวหนัง ซึ่งทั่วไปเรียก แผลกดทับ แผลเปื่อยมักมีการติดเชื้อและเกิดหนอง หมวดหมู่:ตัจวิทยา.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและแผลเปื่อย · ดูเพิ่มเติม »

ใบหน้า

ใบหน้า เป็นส่วนสำคัญของศีรษะในสัตว์ ในกรณีใบหน้ามนุษย์ ประกอบด้วย ผม หน้าผาก คิ้ว ขนตา จมูก หู แก้ม ปาก ริมฝีปาก ร่องริมฝีปาก ขมับ ฟัน ผิวหนัง และคาง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและใบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โรคกรดไหลย้อน

รคการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมาหลอดอาหาร หรือที่นิยมเรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) คือภาวะที่มีกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ซึ่งโดยปกติ หลอดอาหารจะมีการบีบตัวไล่อาหารลงด้านล่างและหูรูด ทำหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของน้ำย่อย กรด หรืออาหาร ไม่ให้ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร แต่ในปัจจุบัน หูรูดส่วนนี้ทำงานได้น้อยลงในบางคน ซึ่งจะตรวจพบได้ประมาณ 1 ใน 5 คน พบในคนทั่วไป ทุกกล่ม ทุกช่วงอายุ แต่จะพบได้มากในคนอ้วน หรือสูบบุหรี่ และการไหลย้อนของกรด ถ้ามีมาก อาจไหลออกนอกหลอดอาหาร อาจทำให้มีผลต่อกล่องเสียง ลำคอ หรือปอดได้ ซึ่งหากละเลยไม่ไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา อาจทำให้เรื้อรังกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ แผนภาพแสดงโรคกรดไหลย้อน ภาวะของโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 3 ระดั.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและโรคกรดไหลย้อน · ดูเพิ่มเติม »

โรคสมองจากตับ

โรคสมองจากตับ (hepatic encephalopathy) คือภาวะที่ผู้ป่วยเกิดมีอาการทางสมอง ได้แก่สับสน ซึม และโคม่า ซึ่งเป็นผลจากภาวะตับวาย หากเป็นมากอาจเรียกว่า hepatic coma หรือ coma hepaticum ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ภาวะนี้เกิดจากการคั่งของของเสียซึ่งปกติจะถูกขับออกจากเลือดโดยตับ การให้การวินิจฉัยโรคสมองจากตับจะต้องประกอบด้วยการมีการเสื่อมของการทำงานของตับ และต้องตรวจแยกสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการทางระบบประสาทออกไปหมดแล้ว การตรวจเลือดหาระดับแอมโมเนียอาจช่วยในการวินิจฉัยได้ อาการอาจกำเริบได้จากภาวะต่างๆ เช่น การติดเชื้อ หรือท้องผูก เป็นต้น หมวดหมู่:วิทยาตับ หมวดหมู่:โรคตับ หมวดหมู่:โรคของสมอง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและโรคสมองจากตับ · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับจากแอลกอฮอล์

รคตับจากแอลกอฮอล์ (alcoholic liver disease) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตับในประเทศตะวันตก (ในเอเชียสาเหตุส่วนใหญ่จะเป็นตับอักเสบจากไวรัส) มีสาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก ทั่วโลกมีผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำหลายล้านคนแต่มีเพียงผู้ที่ดื่มหนักจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่เกิดมีความเสียหายของตับ การเสียหายของตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีแต่ค่อยๆ เกิดขึ้นในเวลาประมาณ 10-15 ปี กลไกการทำลายตับของแอลกอฮอล์นั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด เป็นที่ทราบกันว่าแอลกอฮอล์ทำให้มีสารพิษเช่น acetaldehyde ซึ่งสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ตับได้ แต่ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ว่าทำไมจึงมีโรคตับจากแอลกอฮอล์เกิดขึ้นในคนบางคนเท่านั้น เมื่อแอลกอฮอล์ทำให้เกิดความเสียหายต่อตับแล้วจะทำให้การทำงานของตับค่อยๆ แย่ลงอย่างช้าๆ เนื่องจากตับมีความสามารถในการเจริญขึ้นใหม่ได้อย่างมาก แม้จะถูกทำลายไปถึง 75 % ก็ยังสามารถทำงานได้เป็นปกติ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยโรคตับจากแอลกอฮอล์มีอาการปรากฏให้เห็นแล้วจึงมักเป็นระยะที่มีความเสียหายของตับเกิดขึ้นมากจนส่วนใหญ่ไม่สามารถรักษาให้กลับเป็นปกติได้ และมักมีการอักเสบเรื้อรังเกิดเป็นแผลเป็นเรียกว่าตับแข็งหรือโรคตับระยะสุดท้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและโรคตับจากแอลกอฮอล์ · ดูเพิ่มเติม »

โรคตับแข็ง

รคตับแข็ง เป็นภาวะซึ่งเป็นผลจากโรคตับเรื้อรัง มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ดึงรั้งเนื้อตับดีจนเป็นผิวตะปุ่มตะป่ำเรียกว่า regenerative nodule ทำให้ตับเสียการทำงานลงไป ตับแข็งมักเกิดขึ้นเป็นผลจากพิษสุราเรื้อรัง ตับอักเสบจากไวรัส (โดยเฉพาะจากไวรัสตับอักเสบบีและซี) และโรคตับคั่งไขมัน รวมถึงสาเหตุอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ภาวะแทรกซ้อนจากตับแข็งที่พบบ่อยคือภาวะท้องมาน ซึ่งมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการสูญเสียคุณภาพชีวิต เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และผลเสียในระยะยาว ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตคือโรคสมองที่เกิดจากตับ (hepatic encephalopathy) และการมีเลือดออกจากหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (esophageal varices) ตับแข็งนั้นเมื่อเกิดแล้วมักไม่สามารถกลับเป็นปกติได้ การรักษาจึงมักมุ่งไปที่การยับยั้งการดำเนินโรคและป้องกันภาวะแทรกซ้อน หากเป็นมากอาจมีทางเลือกในการรักษาเพียงทางเดียวคือการผ่าตัดเปลี่ยนตั.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและโรคตับแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

โรคติดเชื้อ

รคติดเชื้อ (Infectious disease) เป็นโรคซึ่งเป็นผลจากการมีเชื้อจุลชีพก่อโรค อาทิไวรัส แบคทีเรีย รา โพรโทซัว ปรสิต หรือแม้กระทั่งโปรตีนที่ผิดปกติเช่นพรีออน เชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดโรคในสัตว์หรือพืชได้ โรคติดเชื้อจัดเป็นโรคติดต่อ (Contagious diseases, Communicable diseases) เนื่องจากสามารถติดต่อไปยังบุคคลอื่นหรือระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์เดียวกัน การติดต่อของโรคติดเชื้ออาจเกิดได้มากกว่า 1 ทาง รวมถึงการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง จุลชีพก่อโรคอาจถ่ายทอดไปโดยสารน้ำในร่างกาย อาหาร น้ำดื่ม วัตถุที่มีเชื้อปนเปื้อน ลมหายใจ หรือผ่านพาหะ"Infectious disease." McGraw-Hill Encyclopedia of Science and Technology.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและโรคติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

ไส้ติ่ง

้ติ่ง (appendix, vermiform appendix, cecal (หรือ caecal) appendix, vermix) เป็นท่อตันเชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่ส่วนต้น (cecum หรือ caecum) ซึ่งเป็นส่วนที่มีรูปร่างคล้ายกระเป๋าของลำไส้ใหญ่ที่เชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก ชื่อ "vermiform" มากจากภาษาละติน แปลว่า "รูปตัวหนอน" ไส้ติ่งพบได้ทั่วไปใน Euarchontoglires และมีวิวัฒนาการอย่างเป็นอิสระในสัตว์กลุ่ม diprotodont และ marsupials ไส้ติ่งในสัตว์ต่างๆ จึงมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านขนาดและรูปร่าง.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและไส้ติ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ไส้ติ่งอักเสบ

ตำแหน่งของไส้ติ่งในระบบทางเดินอาหาร ไส้ติ่งอักเสบ เป็นโรคที่เกิดกับไส้ติ่ง เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบทุกรายต้องได้รับการผ่าตัดเอาไส้ติ่งออก หากไม่ได้รับการรักษาแล้วจะมีอัตราการตายสูง การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบและภาวะช็อค โรคไส้ติ่งอักเสบได้รับการอธิบายเป็นครั้งแรกโดย Reginald Fitz ในปี พ.ศ. 2429 ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดท้องรุนแรงเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดทั่วโลก.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและไส้ติ่งอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

ไส้เลื่อนขาหนีบ

้เลื่อนขาหนีบ หรือไส้เลื่อนลงถุง (inguinal hernia) เป็นการยื่นของสิ่งบรรจุในช่องท้องผ่านช่องขาหนีบ (inguinal canal) พบได้บ่อยมากในชาย (ความเสี่ยงชั่วชีวิต 27% ในชาย 3% ในหญิง) แม้การซ่อมแซมจะเป็นหนึ่งในการผ่าตัดที่ทำบ่อยที่สุด แต่ไม่แนะนำศัลยกรรมทางเลือกอีกต่อไปในผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เนื่องจากความเสี่ยงการติดคาต่ำ (halsat.com.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและไส้เลื่อนขาหนีบ · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุช่องท้อง

ื่อบุช่องท้อง (peritoneum) เป็นเนื้อเยื่อ 2 ชั้นที่คลุมอยู่โดยรอบช่องท้อง และห่อหุ้มอวัยวะภายใน เยื่อบุช่องท้องแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและเยื่อบุช่องท้อง · ดูเพิ่มเติม »

เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

ื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นภาวะซึ่งมีการอักเสบของเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบางปกคลุมผนังช่องท้องด้านในและคลุมอวัยวะในช่องท้องเกือบทั้งหมดเอาไว้ อาจเกิดขึ้นเฉพาะที่หรือทั่วช่องท้องก็ได้ อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ (มักเกิดจากการฉีกหรือทะลุของอวัยวะกลวงในช่องท้อง เช่นที่พบในการบาดเจ็บของช่องท้อง หรือไส้ติ่งอักเสบ เป็นต้น) หรือเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อก็ได้.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและเยื่อบุช่องท้องอักเสบ · ดูเพิ่มเติม »

เลือดออก

เลือดออกหรือการตกเลือด (bleeding, hemorrhage, haemorrhage) คือภาวะที่มีการเสียเลือดจากระบบไหลเวียน อาจเป็นการตกเลือดภายในหรือภายนอก ออกจากช่องเปิดตามธรรมชาติเช่นช่องคลอด ปาก จมูก หู ทวารหนัก หรือออกจากแผลเปิดที่ผิวหนังก็ได้ หมวดหมู่:เลือด หมวดหมู่:ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและเลือดออก · ดูเพิ่มเติม »

เคลือบฟัน

เคลือบฟัน (enamel) คือส่วนที่แข็งที่สุด และเป็นชั้นแร่ที่อยู่นอกสุดของฟัน และเป็นหนึ่งในเนื้อเยื่อสี่ส่วนสำคัญในการสร้างฟัน โดยมีส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต เคลือบฟันเป็นเนื้อเยื่อที่สามารถมองเห็นได้ โดยถูกสร้างขึ้นจากเนื้อฟัน หมวดหมู่:ฟัน.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและเคลือบฟัน · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10

ัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) เป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก รหัสได้ถูกจัดทำขึ้นแตกต่างกันถึง 155,000 รหัสและสามารถติดตามการวินิจฉัยและหัตถการใหม่ๆ ดังจะเห็นจากรหัสที่เพิ่มขึ้นจากฉบับก่อนหน้า ICD-9 ที่มีอยู่เพียง 17,000 รหัส งานจัดทำ ICD-10 เริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2526 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: ICD-10 บทที่ 11: โรคของระบบย่อยอาหารและICD-10 · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ICD-10 บท KICD-10 บท K: โรคระบบย่อยอาหาร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »