โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาช่อนข้าหลวง

ดัชนี ปลาช่อนข้าหลวง

ปลาช่อนข้าหลวง หรือ ปลาช่อนทอง (Emperor snakehead) เป็นปลาช่อนชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa marulioides อยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีลักษณะคล้ายปลาช่อนงูเห่า (C. aurolineatus หรือ C. marulius) แต่ลำตัวสั้นป้อมกว่า ลำตัวสีเขียวอ่อน และมีลายสีเหลืองทองส้มสลับกับแต้มสีดำ ครีบมีจุดประสีเหลืองสด ท้องสีจาง ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 90 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้เท่านั้น โดยเป็นปลาที่พบได้น้อยบริเวณเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และพบชุกชุมที่มาเลเซีย พบได้จนถึงอินโดนีเซีย เช่น เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว มักอาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่หรือลำธารขนาดใหญ่ในป่าหรือพรรณไม้ชายฝั่งหนาแน่น โดยจะหลบอยู่ใต้ร่มเงาของไม้นั้น เป็นปลาที่พบได้ไม่ยาก แต่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค และมีราคาขายที่ค่อนข้างสูง โดยปลาที่พบที่เขื่อนรัชชประภาของไทยจะมีสีเหลืองสดสวยกว่าปลาที่พบในมาเลเซีย นอกจากนี้แล้วปลาที่พบในอินโดนีเซียบางแหล่ง ยังมีสีดำสนิทเหลือบสีฟ้า ซึ่งปลาจำพวกนี้บางครั้งพบว่าใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa melanoptera (Bleeker, 1855) ซึ่งเป็นปลาช่อนข้าหลวงที่มีครีบหลังสีดำ แต่ก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นชื่อพ้องกัน เนื่องจากปลาที่พบในแต่ละแหล่งสามารถปรับสีลำตัวได้ตามสภาพอารมณ์หรือสภาพแวดล้อม.

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2394การตั้งชื่อทวินามภาคใต้ (ประเทศไทย)วงศ์ปลาช่อนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลากะพงประเทศมาเลเซียปลาช่อนงูเห่าปลาช่อนเอเชียปลาที่มีก้านครีบปีเตอร์ เบลเกอร์เมตรเขื่อนรัชชประภา

พ.ศ. 2394

ทธศักราช 2394 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1851 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและพ.ศ. 2394 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาช่อน

วงศ์ปลาช่อน (Snakehead fish) ปลาในวงศ์นี้มีรูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดมีขนาดใหญ่มีขอบเรียบ ปลาช่อนมีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า Suprabranchia จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Channidae (/ชาน-นิ-ดี้/) แพร่พันธุ์โดยการวางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันปรับพื้นที่น้ำตื้น ๆ ให้เป็นแปลงกลม แล้ววางไข่ลอยเป็นแพ ตัวผู้เป็นผู้ดูแลไข่จนไข่ฟักเป็นตัวแล้วเลี้ยงลูกปลาจนโต เรียกว่า "ลูกครอก" ซึ่งมีสีแดงหรือส้ม รูปร่างคล้ายพ่อแม่ จากนั้นจึงปล่อยให้หากินเอง พบในเขตร้อนของทวีปแอฟริกาและเอเชีย ปัจจุบันพบทั้งสิ้น 31 ชนิด (และยังมีอีกหลายชนิดที่ยังไม่ได้อนุกรมวิธาน) แบ่งเป็น 2 สกุล คือ Channa 28 ชนิด พบในทวีปเอเชีย และ Parachanna ซึ่งพบในทวีปแอฟริกา 3 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบประมาณ 10 ชนิด ปลาขนาดเล็กสุดคือ ปลาก้าง (C. limbata) ซึ่งมีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 1 ฟุต และใหญ่ที่สุดคือ ปลาชะโด (C. micropeltes) ที่ใหญ่ได้ถึง 1-1.5 เมตร จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมบริโภคมากเป็นอันดับหนึ่งก็ว่าได้ โดยปลาช่อนชนิดที่นิยมนำมาบริโภคคือ ปลาช่อน (C. straita) ซึ่งพบได้ทุกแหล่งน้ำและทุกภูม.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและวงศ์ปลาช่อน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนงูเห่า

ปลาช่อนงูเห่าในสวนสัตว์พาต้า ปลาช่อนงูเห่า หรือ ปลาช่อนดอกจันทน์ (Great snakehead) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ไม่จัดว่าเป็นปลาเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นปลาหายาก พบไม่บ่อยนักในธรรมชาติ มีลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวมีขนาดเล็กกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ สีลำตัวจะเปลี่ยนไปตามวัยและสภาพแวดล้อม ปกติพื้นลำตัวจะเป็นสีคล้ำเช่น น้ำตาลแกมเขียว หรือสีดำ เมื่อยังเป็นลูกปลาจะมีแถบสีส้มคาดตามความยาวจากหัวจรดโคนหาง โดยบริเวณโคนหางจะมีจุดสีดำล้อมรอบด้วยวงสีส้มสด แลดูคล้ายเครื่องหมายดอกจันทน์ เมื่อปลาเริ่มโตขึ้นจะมีแถบดำราว 5-6 แถบคาดขวางลำตัวส่วนที่อยู่ค่อนไปทางท้าย ใต้ท้องสีจาง ลำตัวด้านท้าย ครีบหลัง หาง และครีบท้องจะมีจุดสีตะกั่วเหลือบแวววาวกระจายอยู่ทั่ว ปลาช่อนชนิดนี้ มีขนาดโตเต็มที่ราว 40-90 เซนติเมตร แต่ก็มีบางรายงานพบว่ายาวได้ถึง 183 เซนติเมตร น้ำหนักถึง 30 กิโลกรัม มีรูปร่างเรียวยาวกว่าปลาช่อนชนิดอื่น ๆ ประกอบกับส่วนหัวที่เล็ก ทำให้แลดูคล้ายงูเห่า จึงเป็นที่มาของชื่อ "ปลาช่อนงูเห่า" เมื่อชาวบ้านจับปลาชนิดนี้ได้ บางคนไม่กล้ากินเนื่องจากเชื่อว่าเป็นปลาช่อนผสมงูเห่า มีพิษร้ายแรงกว่างูเห่าทั่วไป แต่ความเป็นจริงแล้ว ปลาช่อนงูเห่าไม่ได้มีพิษแต่อย่างใด มีการกระจายพันธุ์ในไทย, พม่า, กัมพูชา, มาเลเซีย โดยพฤติกรรมมักอยู่อาศัยตามแม่น้ำชายฝั่งที่มีพืชน้ำและพรรณไม้ขึ้นชายฝั่งมีเงาร่ม อาหารได้แก่ ปลา, กุ้ง, สัตว์น้ำขนาดเล็กและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก เช่น กบ, เขียด รวมถึงแมลงชนิดต่าง ๆ ด้วย อุปนิสัยเป็นปลาที่ค่อนข้างดุร้ายก้าวร้าว โดยมักจะกบดานตัวนิ่ง ๆ กับพื้นท้องน้ำหรือไม่ก็ลอยตัวอยู่ปริมน้ำ เมื่อพบอาหารจะพุ่งฉกด้วยความเร็วและดุดัน ปลาช่อนงูเห่า นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามที่มีขายในตลาดปลาสวยงามเป็นบางครั้ง มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นต่าง ๆ เช่น "หลิมหางกวั๊ก" ที่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน "ก๊วน" ในภาษาเหนือและภาษาอีสาน "ล่อน", "กะล่อน" หรือ "อ้ายล่อน" ในภาษาใต้ เป็นต้น อนึ่ง ปลาช่อนงูเห่า ยังไม่มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องแน่นอน โดยมากจะใช้ชื่อว่า Channa marulius อันเป็นชื่อเดียวกับปลาช่อนงูเห่าอินเดีย แต่ในทัศนะของนักมีนวิทยาที่ทำการศึกษาเรื่องปลาช่อน เห็นว่า ควรใช้ Channa aurolineatus (Day, 1870) หรือ Channa aff.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและปลาช่อนงูเห่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาช่อนเอเชีย

ปลาช่อนเอเชีย (Asiatic snakehead) สกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) ปลาในสกุลนี้ มีรูปร่างโดยรวมคือ รูปร่างเรียวทรงกระบอก ส่วนหัวโตจะงอยปากยื่น ปากกว้าง ตาโต มีฟันเป็นเขี้ยวบนขากรรไกร หัวด้านบนราบ ถ้าดูจากตอนบนจะโค้งมนคล้ายงู ลำตัวค่อนข้างกลม ครีบหลังและครีบก้นยาว ครีบหางปลายมน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเล็ก เกล็ดใหญ่มีขอบเรียบ มีอวัยวะช่วยหายใจเป็นหลืบเนื้อสีแดงอยู่ในคอหอย เรียกว่า "Suprabranchia" จึงสามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ ลำตัวมีลวดลายและสีสันแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิด ใช้ชื่อสกุลว่า Channa (/ชาน-นา/) ลักษณะสำคัญของสกุลนี้ คือ หัวและแก้มปกคลุมด้วยเกล็ด ฐานครีบหลังยาวกว่าฐานครีบก้น หัวกว้างและแบน ปากกว้าง มุมปากยาวเลยหลังตา นัยน์ตาอยู่ค่อยมาทางปลายจะงอยปาก แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย พบได้ในภูมิภาคเอเชียใต้, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออก มีขนาดรูปร่างแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละชนิด โดยพบมีความยาวตั้งแต่ 1.5 เมตร เช่น C. micropeltes หรือ C. aurolineatus ไปจนถึงไม่ถึงหนึ่งฟุต คือ ปลาช่อนแคร.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและปลาช่อนเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปีเตอร์ เบลเกอร์

ปีเตอร์ เบลเกอร์ (Pieter Bleeker; 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1819 ที่ซานดัม – 24 มกราคม ค.ศ. 1878 ที่เดอะเฮก) นักมีนวิทยาและวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวดัตช์ มีชื่อเสียงจากผลงานตีพิมพ์ชื่อ Atlas Ichthyologique des Orientales Neerlandaises ซึ่งเป็นบันทึกที่ได้จัดทำขึ้นระหว่างสำรวจพันธุ์ปลาในอินโดนีเซีย ตีพิมพ์ระหว่างปี..

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและปีเตอร์ เบลเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เขื่อนรัชชประภา

ื่อนรัชชประภา มีชื่อเรียกดั้งเดิมว่า เขื่อนเชี่ยวหลาน เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งที่สองของภาคใต้ อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา” มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งราชอาณาจักร” เขื่อนรัชชประภา สร้างปิดกั้นลำน้ำคลองแสง ที่บ้านเชี่ยวหลาน ตำบลเขาพัง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานีโดยพื้นที่ส่วนใหญ่ติดอุทยานแห่งชาติเขาสกเกือบทั้งหมด เป็นเขื่อนหินถมแกนดินเหนียว สูง 94 เมตร ความยาวสันเขื่อน 761 เมตร และมีเขื่อนปิดกั้นช่องเขาขาดอีก 5 แห่ง มีความจุ 5,638.8 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำ 185 ตารางกิโลเมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 3,057 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้า เครื่องละ 80,000 กิโลวัตต์ จำนวน 3 เครื่อง รวมกำลัง การผลิต 240,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละประมาณ 554 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เขื่อนรัชชประภา เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ปลาช่อนข้าหลวงและเขื่อนรัชชประภา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Channa marulioidesช่อนข้าหลวงปลาช่อนทอง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »