โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ส่วนต้นของกระดูกต้นแขน

ดัชนี ส่วนต้นของกระดูกต้นแขน

วนต้นของกระดูกต้นแขน เป็นส่วนของกระดูกต้นแขน ประกอบด้วยหัวกระดูกรูปร่างกลมขนาดใหญ่ เชื่อมกับส่วนกลางของกระดูกต้นแขนโดยส่วนคอดที่เรียกว่า คอกระดูก และส่วนยื่น 2 อันได้แก่ ปุ่มใหญ่และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน.

13 ความสัมพันธ์: กระดูกสะบักกระดูกอ่อนกระดูกต้นแขนกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอภาษาละตินร่องไบซิพิทัลจุดเกาะปลายข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัลคอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขนคอกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขนปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขนปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขนแอ่งกลีนอยด์

กระดูกสะบัก

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กระดูกสะบัก (Scapula) เป็นกระดูกแบบแบน (flat bone) ชิ้นหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกส่วนไหล่ (shoulder girdle) โดยมีส่วนที่ติดต่อกับกระดูกไหปลาร้า (clavicle) และกระดูกต้นแขน (humerus) นอกจากนี้ยังเป็นที่ยึดเกาะของเอ็นเพื่อประกอบเป็นข้อต่อไหล่ (shoulder joint) และมีกล้ามเนื้อหลายมัดที่มีพื้นผิวบนกระดูกสะบักเป็นจุดเกาะต้น (origin) และจุดเกาะปลาย (insertion) อีกด้วย ดังนั้นกระดูกสะบักจึงเป็นกระดูกที่มีความสำคัญยิ่งในการเคลื่อนไหวของแขนรอบข้อต่อไหล.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและกระดูกสะบัก · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกอ่อน

กระดูกอ่อนเมื่อดูใต้กล้องจุลทรรศน์ กระดูกอ่อน (Cartilage) เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดหนึ่งพบได้ทั่วร่างกายมนุษย์และสัตว์อื่นๆ โดยเฉพาะบริเวณข้อต่อต่างๆ ซี่โครง หู จมูก หลอดลม และ กระดูกข้อต่อสันหลังประกอบไปด้วย เยื่อใยคอลลาเจน และ/ หรือ เยื่อใยอีลาสติน และเซลล์ที่เรียกว่า คอนโดรไซต์ซึ่งจะหลั่งสารออกมาห่อหุ้มเซลล์ที่มีคอลลาเจนเป็นองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่อยู่ภายในจะมีลักษณะ คล้ายเจล เรียกว่า แมททริกซ์ กระดูกอ่อนจะไม่มีหลอดเลือดมาเลี้ยง คอนโดรไซต์จะแลกเปลี่ยนสารอาหารโดยแพร่ผ่านคอลลาเจนมาสู่เส้นเลือดด้านนอก เมตาบอลิซึมของเซลล์เหล่านี้ต่ำ ถ้าถูกทำลายจะซ่อมแซมตัวเองได้แต่ช้า กระดูกอ่อนมีหน้าที่หลายอย่าง ประกอบไปด้วย การเตรียมโครงร่างของการสะสมการสร้างกระดูก และช่วยสร้างพื้นที่หน้าเรียบสำหรับรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อ เป็นกระดูกที่เกิดขึ้นก่อนในระยะเอ็มบริโอก่อนที่จะถูกแทนที่ด้วยกระดูกแข็ง เป็นโครงสร้างของกล่องเสียง หลอดลมในระบบหายใจ เป็นองค์ประกอบของข้อต่อตามหัวเข่าและข้อศอก กระดูกอ่อนแบ่งตามองค์ประกอบได้ 3 ชนิด ดังนี้ ไฮยาลินคาร์ทีเลจ (hyaline cartilage) อีลาสติกคาร์ทีเลจ (elastic cartilage) ไฟโบรคาร์ทีเลจ (fibrocartilage).

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและกระดูกอ่อน · ดูเพิ่มเติม »

กระดูกต้นแขน

ในกายวิภาคศาสตร์ กระดูกต้นแขน (Humerus) เป็นกระดูกแบบยาวที่เป็นแกนของส่วนต้นแขน (Arm) หรือต้นขาหน้าในสัตว์สี่เท้า กระดูกต้นแขนจะอยู่ระหว่างกระดูกสะบัก (scapula) ที่อยู่ในบริเวณไหล่ กับกระดูกของส่วนปลายแขน (forearm) คือกระดูกเรเดียส (Radius) และกระดูกอัลนา (Ulna) พื้นผิวด้านต่างๆของกระดูกต้นแขนยังเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อจากบริเวณต่างๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของแขนอีกด้ว.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ

ในกายวิภาคศาสตร์ของมนุษย์ กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ (Biceps brachii muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญมัดหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ด้านหน้าของต้นแขน (Anterior compartment of arm) กล้ามเนื้อมัดนี้มีหน้าที่หลายประการ แต่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการงอแขนและการหมุนของปลายแขนโดยมีข้อศอกเป็นจุดหมุน กล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรกิไอ ยังเป็นกล้ามเนื้อที่ผู้คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี เนื่องจากเป็นกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดจากภายนอก และสามารถบริหารกล้ามเนื้อนี้ให้มีรูปร่างที่ต้องการได้ง่ายโดยการยกน้ำหนัก.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ร่องไบซิพิทัล

ร่องไบซิพิทัล (bicipital groove) หรือ ร่องระหว่างปุ่มกระดูก (intertubercular groove) เป็นร่องลึกบนกระดูกต้นแขน (humerus) ที่แบ่งระหว่างปุ่มใหญ่ (greater tubercle) และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle) ซึ่งเป็นช่องสำหรับเอ็นของปลายจุดเกาะต้นด้านยาวของกล้ามเนื้อไบเซ็ปส์ เบรคิไอ (Biceps brachii) และเป็นทางผ่านของแขนงหลอดเลือดแดงรอบต้นแขนด้านหน้า (anterior humeral circumflex artery) ไปยังข้อต่อไหล่ (shoulder-joint) ร่องนี้วิ่งลงมาในแนวเฉียง และสิ้นสุดประมาณ 1/3 ด้านบนของกระดูกต้นแขน ร่องนี้ยังเป็นผนังด้านข้างของรักแร้อีกด้ว.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและร่องไบซิพิทัล · ดูเพิ่มเติม »

จุดเกาะปลาย

กาะปลาย (insertion) เป็นจุดที่กล้ามเนื้อเกาะกับผิวหนัง, กระดูก หรือกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ตำแหน่งจุดเกาะปลายเป็นโครงสร้างที่จะเคลื่อนที่เมื่อเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ โดยทั่วไปแล้วจุดเกาะปลายของกล้ามเนื้อจะเป็นจุดที่เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) มาเกาะกับกระดูก ปลายอีกด้านหนึ่งของกล้ามเนื้อเราจะเรียกว่า จุดเกาะต้น (origin) โดยทั่วไป จุดเกาะปลายมักจะอยู่ส่วนปลาย (distal) มากกว่าจุดเกาะต้น แต่เนื่องจากร่างกายมีความสามารถในการเคลื่อนไหวสลับทิศทางกันได้ จึงไม่จำเป็นที่จุดนั้นๆ จะเป็นจุดเกาะปลายเสมอไป.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและจุดเกาะปลาย · ดูเพิ่มเติม »

ข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล

้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล (Glenohumeral joint) หรือข้อต่อไหล่ (Shoulder joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ และเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ข้อต่อนี้เป็นข้อต่อซินโนเวียล (Synovial joint) ชนิดเบ้า (ball and socket) โดยมีแอ่งกลีนอยด์ (glenoid fossa) ของกระดูกสะบัก ทำหน้าที่เป็นเบ้ารองรับส่วนหัวของกระดูกต้นแขน และยังมีโครงสร้างของเอ็นรอบกระดูกและกล้ามเนื้อกลุ่มโรเตเตอร์ คัฟฟ์ (rotator cuff muscles) คอยค้ำจุน ข้อต่อนี้จึงเป็นข้อต่อที่มีอิสระในการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกายมนุษ.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและข้อต่อกลีโนฮิวเมอรัล · ดูเพิ่มเติม »

คอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน

อกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน (anatomical neck of the humerus) เป็นส่วนของกระดูกต้นแขน อยู่ในแนวเฉียง เกิดเป็นมุมป้านกับส่วนกลางของกระดูก จะเห็นได้เด่นชัดที่สุดทางครึ่งล่างของเส้นรอบคอกระดูก ครึ่งบนของคอกระดูกจะเห็นเป็นร่องแคบๆ ที่แยกระหว่างส่วนหัวกระดูกและปุ่มกระดูก คอกระดูกนี้เป็นที่ยึดเกาะของแคปซูลข้อต่อของข้อต่อไหล่ และยังมีช่องสำหรับหลอดเลือดเข้ามาเลี้ยงอีกมากม.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและคอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

คอกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขน

อกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขน (Surgical neck of the humerus) เป็นรอยคอดของกระดูกต้นแขนที่อยู่ใต้ปุ่มใหญ่ (greater tubercle) และปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle) เป็นบริเวณที่กระดูกมักจะหักได้บ่อยมากกว่าคอกระดูกเชิงกายวิภาคของกระดูกต้นแขน (anatomical neck of the humerus) การหักของกระดูกต้นแขนบริเวณนี้มักจะทำให้เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทรักแร้ (axillary nerve).

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและคอกระดูกเชิงศัลยศาสตร์ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน

ปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกที่อยู่ด้านข้างต่อหัวกระดูกและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน

ปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน (lesser tubercle of the humerus) เป็นปุ่มกระดูกบนกระดูกต้นแขน (humerus) แม้ว่าจะมีขนาดเล็กกว่าปุ่มใหญ่ของกระดูกต้นแขน (greater tubercle) แต่ก็ยื่นออกมามากกว่า ตั้งอยู่ด้านหน้า และชี้ไปทางใกล้กลางลำตัวและไปด้านหน้า เหนือต่อและหน้าต่อปุ่มกระดูกนี้เป็นรอยประทับซึ่งเป็นจุดเกาะปลายของเอ็นกล้ามเนื้อใต้กระดูกสะบัก (Subscapularis).

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและปุ่มเล็กของกระดูกต้นแขน · ดูเพิ่มเติม »

แอ่งกลีนอยด์

แอ่งกลีนอยด์ (glenoid cavity; glenoid fossa of scapula) เป็นพื้นผิวที่เป็นข้อต่อ มีลักษณะตื้น รูปชมพู่หรือลูกแพร์ อยู่ที่มุมด้านข้างของกระดูกสะบัก แอ่งนี้เป็นข้อต่อที่รับกับหัวของกระดูกต้นแขน (humerus) ฐานล่างของแอ่งนี้กว้างกว่ายอดบน พื้นผิวของแอ่งนี้ปกคลุมด้วยกระดูกอ่อน ที่ขอบซึ่งยกสูงขึ้นเล็กน้อยยึดติดกับโครงสร้างที่เป็นไฟโบรคาร์ทิเลจ (fibrocartilage) เรียกว่า กลีนอยด์ ลาบรัม (glenoid labrum) ซึ่งช่วยในการยกขอบให้แอ่งนี้ลึกขึ้น.

ใหม่!!: ส่วนต้นของกระดูกต้นแขนและแอ่งกลีนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Upper extremity of humerusส่วนหัวของกระดูกต้นแขน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »