โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัมโมหวิโนทนี

ดัชนี สัมโมหวิโนทนี

ัมโมหวิโนทนี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 ในบรรดาพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกและปัฏฐาน คัมภีร์นี้เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆสาจารย์แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรี.

15 ความสัมพันธ์: พระพุทธโฆสะพระอภิธรรมปิฎกพระโคตมพุทธเจ้าพุทธประวัติกถาวัตถุยมกวิภังค์วิสุทธิมรรควิปัสสนาสารานุกรมสติปัฏฐาน 4อรรถกถาอสุภกรรมฐานปฏิจจสมุปบาทปุคคลบัญญัติ

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พุทธประวัติ

ทธประวัติ คือ ประวัติ เรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้ากระจุ้ พุทธประวัติที่เป็นหนังสือหรือตำรา นอกจากจะมีเนื้อหาที่ประวัติของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เป็นประวัติพระสาวก ประวัติสถานที่ เหตุการณ์และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พุทธประวัติรวบรวมได้จากพระไตรปิฎกโดยเก็บเนื้อหาซึ่งกระจายอยู่ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง มาจัดลำดับให้เป็นเรื่องราวติดต่อกันไปตามเหตุการณ์จริง นำเนื้อหาจากคัมภีร์อรรกถาเข้ามาเสริมบ้างเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและพุทธประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

กถาวัตถุ

กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก เป็นคัมภีร์ที่ 5 ของอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นคำแถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัยสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น 2 ส่วน คือกถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคยนาครั้งที่สาม.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและกถาวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

ยมก

มก หรือยมกปกรณ์ หรือมูลยมก เป็นหนึ่งในคัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎก คำว่า ยมก แปลว่า "คู่" ดังในอรรถกถายกตัวอย่างคำว่า ยมกปาฏิหาริย์ หมายถึง ปาฏิหาริย์คู่ หรือคำว่า ยมกสาลา หมายถึง ไม้สาละคู่ เป็นต้น ยมกเป็นคัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และมีการทดสอบความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, กรือคำถามที่ว่ารูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, หรือคำถามที่ว่าทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ ดังนี้ หลักธรรมหลักที่นำมาอธิบายแจกแจงในคัมภีร์ยมกมีทั้งสิ้น 10 หลักธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกที่แบ่งคัมภีร์ยมกออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 เล่ม เช่นฉบับภาษาไทย จะแบ่งหลักธรรมเป็น 2 ส่วน ในเล่มแรกหลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มแรกมี 7 ข้อ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น ส่วนในเล่ม 2 แบ่งออกเป็น 3 หลักธรรม คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก รวมเป็น10 ยมก.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและยมก · ดูเพิ่มเติม »

วิภังค์

วิภังค์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและวิภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและวิสุทธิมรรค · ดูเพิ่มเติม »

วิปัสสนา

วิปัสสนา หมายถึง ความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน สมถะและวิปัสสนาถือเป็นธรรมที่ควรเจริญ (ตามทสุตตรสูตร) และเป็นธรรมฝ่ายวิชชา (ตามพาลวรรค).

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและวิปัสสนา · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรม

ษณาสารานุกรมบริเตนนิกา ฉบับ ค.ศ. 1913 สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้จากทุกสาขาวิชาหรือจากสาขาวิชาหนึ่งสารานุกรมแบ่งออกเป็นบทความหรือรายการที่มักเรียงตามตัวอักษรของชื่อบทความ และบางทีอาจแบ่งเป็นหมวดหมู่ตามแก่นเรื่อง แต่ละบทความในสารานุกรมมักยาวและละเอียดกว่าในพจนานุกรม กล่าวได้ว่าบทความในสารานุกรมเน้นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ ต่างกับพจนานุกรมที่มักเน้นเกี่ยวกับข้อมูลทางภาษาศาสตร์เกี่ยวกับคำศัพท์ เช่น ความหมาย การอ่าน การใช้ และรูปแบบตามหลักไวยากรณ์Béjoint, Henri (2000).

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและสารานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สติปัฏฐาน 4

ติปัฏฐาน 4 เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐานมี 4 อย่าง กาย เวทนา จิต และธรรม คำว่าสติปัฏฐานนั้นแปลว่า สติที่ตั้งมั่น, การหมั่นระลึก, การมีสัมมาสติระลึกรู้นั้นพ้นจากการคิดโดยตั้งใจ แต่เกิดจากจิตจำสภาวะได้ แล้วระลึกรู้โดยอัตโนมัติ โดยคำว่า สติ หมายถึงความระลึกรู้ เป็นเจตสิกประ​เภทหนึ่ง​ ส่วนปัฏฐาน ​แปล​ได้​หลายอย่าง​ ​แต่​ใน​มหาสติปัฏฐานสูตร​และ​สติปัฏฐานสูตร ​หมาย​ถึง​ ​ความตั้งมั่น, ความแน่วแน่, ความมุ่งมั่น โดยรวมคือเข้าไปรู้เห็นในสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ตามมุ่งมองของไตรลักษณ์หรือสามัญลักษณะ โดยไม่มีความยึดติดด้วยอำนาจกิเลสทั้งปวง ได้แก.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและสติปัฏฐาน 4 · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่กำหนดอสุภะเป็นอารมณ์, กรรมฐานที่พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของไม่งาม อสุภกรรมฐาน หมายถึงการบำเพ็ญกรรมฐานโดยการพิจารณาอสุภะหรือพิจารณาร่างกายของตนหรือของผู้อื่นว่าเป็นของไม่งาม ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น แต่เป็นของน่าเกลียด โสโครก เช่นพิจารณาซากศพที่นอนให้เขารดน้ำก่อนใส่โลง ก่อนเผาหรือฝัง มองดูจนกระทั่งเกิดนิมิตติดตาแล้วกลับมานั่งนึกพิจารณาให้เห็นนิมิตนั้นจนเจนใจเหมือนเห็นศพจริง ภาวนาไปจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งถึงไตรลักษณ์ อสุภกรรมฐานเป็นเครื่องกำจัดราคะ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายรักยึดถือร่างกาย คลายความหลงรูป หลงสวย หลงงามลงได้.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและอสุภกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) (Paticcasamuppāda; Pratītyasamutpāda) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและปฏิจจสมุปบาท · ดูเพิ่มเติม »

ปุคคลบัญญัติ

ปุคคลบัญญัติ หรือปุคคลบัญญัติปกรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎก และมีเนื้อหาน้อยที่สุดในบรรดาคัมภีร์ทั้ง 7 ของพระอภิธรรม อีกทั้งยังมีลักษณะต่างจากคัมภีร์อื่นๆ ตรงที่กล่าวถึงบุคคล ไม่ได้เน้นหนักที่ปรมัตถธรรม หรือเรื่องจิต ดังในคัมภีร์อื่นๆ ของอภิธรรม นอกจากนี้ยังมีลักษณะการเรียบเรียงภาษาคล้ายกับประโยคบอกเล่าในพระสุตตันตปิฎก โดยเฉพาะในส่วนของอังคุตตรนิกาย และสังคีติสูตร ในทีฆนิกาย ขณะที่พระอภิธรรมปิฎกใช้สำนวนภาษาแบบแจกแจงเป็นข้อๆ หรือรายละเอียดปลีกย่อย และในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ มักรวมเป็นเล่มเดียวกับคัมภีร์ธาตุกถา เนื่องจากมีเนื้อหาไม่มากนัก.

ใหม่!!: สัมโมหวิโนทนีและปุคคลบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »