โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อสุภกรรมฐาน

ดัชนี อสุภกรรมฐาน

อสุภกรรมฐาน แปลว่า กรรมฐานที่กำหนดอสุภะเป็นอารมณ์, กรรมฐานที่พิจารณาให้เห็นว่าเป็นของไม่งาม อสุภกรรมฐาน หมายถึงการบำเพ็ญกรรมฐานโดยการพิจารณาอสุภะหรือพิจารณาร่างกายของตนหรือของผู้อื่นว่าเป็นของไม่งาม ไม่น่ายึดมั่นถือมั่น แต่เป็นของน่าเกลียด โสโครก เช่นพิจารณาซากศพที่นอนให้เขารดน้ำก่อนใส่โลง ก่อนเผาหรือฝัง มองดูจนกระทั่งเกิดนิมิตติดตาแล้วกลับมานั่งนึกพิจารณาให้เห็นนิมิตนั้นจนเจนใจเหมือนเห็นศพจริง ภาวนาไปจนเกิดปัญญาเห็นแจ้งถึงไตรลักษณ์ อสุภกรรมฐานเป็นเครื่องกำจัดราคะ ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายคลายรักยึดถือร่างกาย คลายความหลงรูป หลงสวย หลงงามลงได้.

10 ความสัมพันธ์: พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)กรรมฐานราชบัณฑิตราคะวัดราชโอรสารามราชวรวิหารอสุภอารมณ์ปัญญานิมิตไตรลักษณ์

พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)

ระมหาโพธิวงศาจารย์ นามเดิม ทองดี สุรเดช ฉายา สุรเตโช เป็นราชบัณฑิต พระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลั.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและพระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) · ดูเพิ่มเติม »

กรรมฐาน

กรรมฐาน (บาลี:kammaṭṭhāna, กมฺมฏฺาน) (สันสกฤต: karmasthana) หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต สิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญภาวนา อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมจิต หรืออุบายหรือกลวิธีเหนี่ยวนำให้เกิดสมาธิ กรรมฐานจึงเป็นสิ่งที่เอามาให้จิตกำหนด เพื่อให้จิตสงบอยู่ได้ ไม่เที่ยวเตลิดเลื่อนลอยฟุ้งซ่าน ไปอย่างไร้จุดหมาย อย่าง อย่างไรในพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงแปลคำว่า กมฺมฏฺาน ว่า ฐานะแห่งการงาน มากไปกว่านั้นในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐพบคำว่า กมฺมฏฺาน เฉพาะในเล่มที่ 13 ข้อที่ 711 ถึง 713 เท่านั้น.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและกรรมฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ราชบัณฑิต

ราชบัณฑิต คือ "นักปราชญ์หลวง" ที่เป็นสมาชิกขององค์การวิทยาการของรัฐคือ ราชบัณฑิตยสภาโดยต้องเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและการยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขาเดียวแห่งตนและจากคนทั่วไป มีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ได้รับการคัดเลือกจากสภาราชบัณฑิตว่าเป็นผู้รู้ในสาขาวิชาใดสาขาหนึ่งที่มีกำหนดไว้ในราชบัณฑิตยสถาน เมื่อได้รับการคัดเลือกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นราชบัณฑิตและจะได้รับค่าสมนาคุณเป็นรายเดือน.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและราชบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

ราคะ

ราคะ แปลว่า ความกำหนัดยินดี, ความพอใจ, ความติดใจ จริต แปลว่า ความประพฤติ, พฤติกรรมปกติ หมายถึงความประพฤติที่ติดต่อสืบเนื่องมานานจนเป็นเรื่องปกติของผู้นั้น ใช้ว่า จริยา ก็ได้ ราคะ หรือ ราคจริต หมายถึงพฤติกรรมของคนที่มีราคะเป็นปกติ คือรักสวยรักงาม มีกิริยาคือ ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นต้นที่เรียบร้อย นิ่มนวล ชอบสะอาด ทำกิจต่างๆ ไม่รีบร้อน ชอบกินของที่บรรจงจัด ชอบของหวาน มีอารมณ์สุนทรีย์ ดูอะไรก็ดูนาน ละเอียดพิเคราะห์ อุปนิสัยเป็นคนเจ้าเล่ห์ ถือตัว แง่งอน ชอบอวด ชอบยอ อยากได้หน้า ราคจิตแก้ได้ด้วยการพิจารณากายคตาสติ หรือ อสุภกรรมฐาน.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและราคะ · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร เดิมชื่อวัดจอมทอง ต่อมาพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่านเจดีย์สามองค์ กาญจนบุรีใน พ.ศ. 2363 เมื่อกระบวนทัพเรือมาถึงวัดจอมทอง ฝั่งธนบุรีทรงหยุดพักและทำพิธีเบิกโขลนทวารตามตำราพิชัยสงคราม พร้อมทรงอธิษฐานขอให้การไปราชการทัพครั้งนี้ได้ชัยชนะ แต่ปรากฏว่าไม่มีทัพพม่ายกเข้ามา เมื่อยกทัพกลับ พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่และถวายเป็นพระอารามหลวง ได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าวัดราชโอรส ซึ่งหมายถึง พระราชโอรสคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ในปัจจุบันมี พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) เป็นเจ้าอาว.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

อสุภ

อสุภ (อ่านว่า อะสุบ, อะสุบพะ) แปลว่า ไม่งาม ไม่สวย ไม่ดี คือไม่น่าชื่นชม น่าเกลียด น่าระอา ใช้ว่า อสุภะ ก็ได้ เป็นหนึ่งใน กรรมฐาน40 แต่จะกระทำได้ไม่สูงกว่าปฐมฌาณ เพราะเป็นอารมณ์คิดพิจารณามากกว่าอารมณ์เพ่ง(เป็นอารมณ์วิปัสนามากกว่าอารมกรรมฐาน) เป็นกรรมฐานที่มุ่งกระทำต่อราคะจริต และกามารมณ์ คือ ค้นคว้าหาความจริงจากวัตถุที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ที่คนมัวเมา หลงใหลว่าสวยสดงดงาม ซึ่งเป็นการฝืนกฎแห่งความเป็นจริง เป็นเหตุของความทุกข์ไม่มีสิ้นสุด เอามาตีแผ่ให้เห็นสภาพตามความเป็นจริง ตามคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติสามารถจำแนกได้หลายประการ เช่น ในบุคคลผู้ปฏิบัติธรรม ผู้ที่มีราคะจริตเป็นปกติ จะใช้อสุภกรรมฐานในการยับยั้ง หรือ ต่อสู้เมื่อเกิดราคะ (ราคะจริต ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ปราถนาในเรื่องเพศเสมอไป ผู้ที่ชอบสิ่งของ-ร่างกายสวยงามเป็นระเบียบเรียบร้อยปรุงแต่ง ก็เป็นราคะจริตเช่นกัน เพราะสภาพแท้จริงไม่ได้เป็นดังที่เห็น-ชอบ)จะทำให้อารมณ์ราคะระงับลงได้, อีกประการหนึ่งคือเพื่อให้เห็นสภาพที่แท้จริงของร่างกายตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ว่าเป็นของไม่งาม ฯลฯ ทำให้ผู้ปฏิบัติตัดความสงสัยในพระธรรม(วิจิกิจฉา)ด้วยการดูของจริง และเกิดความเข้าใจสภาพที่แท้จริงตามไตรลักษณ์จนนำไปสู่ความรู้แจ้งในการที่จะปฏิเสธการมีภพมีชาติ หรือ การมีร่างกายที่เต็มไปด้วยทุกข์อีก(สักกายทิฏฐิ), แม้ภิกษุผู้บวชในบวรพุทธศาสนาเป็นสมมติสงฆ์ หรือ ที่เป็นพระอริยะบุคคลต่ำกว่าพระอนาคามี จะใช้อสุภกรรมฐานเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการประหัตประหารราคะ ทั้งในเรื่องสัมผัสระหว่างเพศ หรือ เรื่องอื่นๆที่ข้องในกามทั้งปวง (นี่เองภิกษุผู้ปฏิบัติดี หรือ พระสุปฏิปันโนจะสามารถระงับความต้องการทางเพศลงได้ ด้วยการพิจารณาอสุภกรรมฐาน ทั้งกายของตนเองและของผู้อื่น ว่าเป็นของไม่งาม ไม่ยั่งยืน ตามสภาพความเป็นจริง) สรุปคือ อสุภกรรมฐานเป็นกรรมฐานสำหรับระงับราคะ หรือ กามารมณ์ โดยตรง ช่วยให้มองสิ่งต่างๆ ไปตามสภาพความเป็นจริง ตัดอวิชชาและมิจฉาทิฏฐิ นำไปสู่การรู้แจ้ง และพระนิพพาน ซึ่งผู้ที่เจริญเป็นพื้นฐาน แล้วเจริญวิปัสนาญาณต่อไปจะเป็นทางสู่พระอนาคามีผล และพระอรหัตผลในที่สุด อสุภ ในคำวัดใช้หมายถึงซากศพในสภาพต่างๆ ซึ่งท่านกำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้กล่าวไว้โดยรวม 10 อย่างคือ.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและอสุภ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

นิมิต

ำสำคัญ "นิมิต" แปลว่า เครื่องหม.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและนิมิต · ดูเพิ่มเติม »

ไตรลักษณ์

ตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น.

ใหม่!!: อสุภกรรมฐานและไตรลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »