โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพุทธโฆสะ

ดัชนี พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

29 ความสัมพันธ์: ชาดกชาตกัฏฐกถาพระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎกพระอภิธรรมปิฎกพระไตรปิฎกภาษาบาลีพุทธคยากถาวัตถุภิกษุมหาวิหารมโนรถปูรณียมกวิภังค์วิมุตติวิสุทธิมรรคศาสนาพุทธสมันตปาสาทิกาสัมโมหวิโนทนีสุมังคลวิลาสินีอรรถกถาอัฏฐสาลินีธรรมบทธัมมปทัฏฐกถาทีฆนิกายปรมัตถโชติกาปาติโมกข์ปุคคลบัญญัติปปัญจสูทนีเถรวาท

ชาดก

ก (-saजातक) คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีหลายร้อยเรื่อง ว่าทรงเคยเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติสุดท้ายที่เรียกว่าทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า มหาเวสสันดรชาดก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและชาดก · ดูเพิ่มเติม »

ชาตกัฏฐกถา

ตกัฏฐกถา เป็นอรรถกถาของพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย หมวดชาดก ประกอบไปด้วยคาถา หรือร้อยแก้วอันเป็นต้นเรื่องของชาดก จากนั้นพรรณานาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชาดกในรูปของร้อยแก้ว แต่ละเรื่องมีการระบุถึงต้นเค้า และบริบทแวดล้อมของชาดกเรื่องนั้น แต่หลังจากจบเรื่องแล้วจะมีการระบุถึงบุคคลที่ปรากฏกในชาดกนั้นว่า เป็นบุคคลใดบ้างในสมัยพุทธกาล มีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอาทิ โดยพระเถระผู้รจนาชาตกัฏฐกถา ได้เท้าความพุทธประวัติทั้งก่อนทรงประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะจนถึงขณะทรงตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ในตอนต้นเรื่องอรรถกถาฉบับนี้ เรียกว่า นิทานก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและชาตกัฏฐกถา · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎกภาษาบาลี

ปรากฏพระพุทธดำรัสในมหาปรินิพพานสูตรว่า "เมื่อทรงปรินิพานไปแล้ว พระธรรมวินัยที่ได้ทรงสั่งสอนไว้แล้ว จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย"พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. ออนไลน์. เข้าถึงได้จากhttp://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและพระไตรปิฎกภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

พุทธคยา

ทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและพุทธคยา · ดูเพิ่มเติม »

กถาวัตถุ

กถาวัตถุ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระอภิธรรมปิฎก เป็นคัมภีร์ที่ 5 ของอภิธรรม 7 คัมภีร์ เป็นคำแถลงวินิจฉัยทัศนะต่างๆ ที่ขัดแย้งกันระหว่างนิกายทั้งหลาย สมัยสังคายนาครั้งที่สาม กถาวัตถุได้รับขนานนามจากเหล่านักปรัชญาว่าเป็นไข่มุขแห่งปรัชญาตะวันออก เพราะในกถาวัตถุแบ่งเป็น 2 ส่วน คือกถาวัตถุบริสุทธิ์ (ของพระพุทธเจ้า) และที่เติมมาในภายหลังเมื่อครั้งสังคยนาครั้งที่สาม.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและกถาวัตถุ · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิหาร

มหาวิหาร หมายถึง วิหารหรือเทวสถานขนาดใหญ่; ในพุทธศาสนสถาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

มโนรถปูรณี

มโนรถปูรณี ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก โดยอธิบายเนื้อหาและแจกแจงคำศัพท์ ในพระสูตรที่จัดหมวดหมู่เป็นนิบาต ทั้ง 11 นิบาต ของอังคุตตรนิกาย กล่าวคือ คือเอกนิบาต, ทุกนิบาต, ติกนิบาต, จตุกกนิบาต, ปัญจกนิบาต, ฉักกนิบาต, สัตตกนิบาต, อัฎฐกนิบาต, นวกนิบาต, ทสกนิบาต, และเอกาทสกนิบาต รวมทั้งสิ้นอังคุตตรนิกาย มีทั้งหมด 9,557 สูตร พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์มโนรถปูรณีขึ้น โดยอาศัยอรรถกถาเก่าภาษาสิงหลที่สืบมาแต่เดิมเป็นหลัก เมื่อราว..

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและมโนรถปูรณี · ดูเพิ่มเติม »

ยมก

มก หรือยมกปกรณ์ หรือมูลยมก เป็นหนึ่งในคัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎก คำว่า ยมก แปลว่า "คู่" ดังในอรรถกถายกตัวอย่างคำว่า ยมกปาฏิหาริย์ หมายถึง ปาฏิหาริย์คู่ หรือคำว่า ยมกสาลา หมายถึง ไม้สาละคู่ เป็นต้น ยมกเป็นคัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และมีการทดสอบความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, กรือคำถามที่ว่ารูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, หรือคำถามที่ว่าทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ ดังนี้ หลักธรรมหลักที่นำมาอธิบายแจกแจงในคัมภีร์ยมกมีทั้งสิ้น 10 หลักธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกที่แบ่งคัมภีร์ยมกออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 เล่ม เช่นฉบับภาษาไทย จะแบ่งหลักธรรมเป็น 2 ส่วน ในเล่มแรกหลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มแรกมี 7 ข้อ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น ส่วนในเล่ม 2 แบ่งออกเป็น 3 หลักธรรม คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก รวมเป็น10 ยมก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและยมก · ดูเพิ่มเติม »

วิภังค์

วิภังค์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและวิภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

วิมุตติ

วิมุตติ คือ ความหลุดพ้น เป็นวัตถุประสงค์มุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ดังพุทธภาษิตว.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและวิมุตติ · ดูเพิ่มเติม »

วิสุทธิมรรค

วิสุทธิมรรค (วิสุทฺธิมคฺค) เป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7 ในปัจจุบัน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งในทางพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องจากนักวิชาการด้านพุทธศาสนาในหลายประเทศเป็นจำนวนมาก และได้รับการบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ระดับชั้นเปรียญธรรม ๘ ประโยค และเปรียญธรรม ๙ ปร.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและวิสุทธิมรรค · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สมันตปาสาทิกา

มันตัปปาสาทิกา หรือ สมันตปาสาทิกา คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือพระพุทธโฆสะเป็นผู้แต่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกานี้ขึ้นในช่วงปีก่อน..

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและสมันตปาสาทิกา · ดูเพิ่มเติม »

สัมโมหวิโนทนี

ัมโมหวิโนทนี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในคัมภีร์วิภังค์ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ 2 ในบรรดาพระอภิธรรมปิฎก 7 คัมภีร์ คือ ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมกและปัฏฐาน คัมภีร์นี้เป็นผลงานของพระพุทธโฆสะ หรือพระพุทธโฆสาจารย์แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรี.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและสัมโมหวิโนทนี · ดูเพิ่มเติม »

สุมังคลวิลาสินี

มังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระสุตตันตปิฎก หมวดทีฆนิกาย พระพุทธโฆษาจารย์ หรือพระพุทธโฆสะ เรียบเรียงขึ้น โดยอาศัยอรรกถาเก่าภาษาสิงหฬที่แปลมาจากภาษมคธหรือภาษาบาลีมาแต่เดิม แต่ต่อมาต้นฉบับสูญหายไปพระพุทธโฆษาจารย์จึงเดินทางไปยังลังกาทวีปเพื่อแปลอรรกถาเหล่านี้กลับคืนเป็นภาษาบาลีอีกครั้ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ที่เรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและสุมังคลวิลาสินี · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อัฏฐสาลินี

อัฏฐสาลินี หรืออรรถสาลินี เป็นคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในธัมมสังคณี แห่งพระอภิธรรมปิฎก ผลงานของพระพุทธโฆสะ แต่งขึ้นโดยอาศัยอรรถกถาภาษาสิงหลชื่อมหาปัจจรีย์ ซึ่งนอกจากจะอธิบายคำและศัพท์เทคนิคทางจิตวิทยา เจตสิก รูป นิพพาน ทางพระพุทธศาสนาในธัมมสังคณีแล้ว ยังให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์อีกด้วย ทั้งนี้ คัมภีร์อัฏฐสาลินีเป็นที่นิยมศึกษากันมากในหมู่นักศึกษาพระอภิธรรม และเป็นหนึ่งในผลงานของพระพุทธโฆสะที่เป็นที่รู้จักกันมากที.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและอัฏฐสาลินี · ดูเพิ่มเติม »

ธรรมบท

รรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนาซึ่งได้รับความนิยมอ่านทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุดSee, for instance, Buswell (2003): "rank among the best known Buddhist texts" (p. 11); and, "one of the most popular texts with Buddhist monks and laypersons" (p. 627).

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและธรรมบท · ดูเพิ่มเติม »

ธัมมปทัฏฐกถา

ัมมปทัฏฐกถา (ธมฺมปทฏฐกถา) เป็นอรรถกถาของธรรมบท หรือประมวลคาถา 423 คาถา ซึ่งปรากฏในขุททกนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก กล่าวกันว่าพระพุทธโฆสะ พระอรรถกถาจารย์ชาวชมพูทวีป ซึ่งเดินทางไปแปลอรรถกถาในสิงหลทวีป (ศรีลังกา) ได้เรียบเรียงไว้จากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี ปัจจุบันธัมมปทัฏฐกถาใช้เป็นคัมภีร์ในการศึกษาพระปริยัติธรรมในประเทศไทย จึงเป็นคัมภีร์อรรถกถาที่ได้รับความนิยมศึกษามากที่สุดเล่มหนึ่ง.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและธัมมปทัฏฐกถา · ดูเพิ่มเติม »

ทีฆนิกาย

ทีฆนิกาย เป็นนิกายแรกในพระสุตตันตปิฎกของพระไตรปิฎกภาษาบาลี เป็นชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว 34 สูตร ครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 9-11 แบ่งเป็น 3 วรรค คือ จาก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและทีฆนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

ปรมัตถโชติกา

ปรมัตถโชติกา (Paramatthajotikā, 真谛光明) คือคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ แห่งพระสุตตันตปิฎก ในคัมภีร์คันถวงศ์ระบุว่า รจนา (หรือแปล) โดยพระพุทธโฆสะ หรือคาดว่าท่านเป็นหัวหน้าคณะในการเรียบเรียงขึ้นเมื่อราว..

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและปรมัตถโชติกา · ดูเพิ่มเติม »

ปาติโมกข์

ระสงฆ์สวดปาติโมกข์ในอุโบสถ ปาติโมกข์ หมายถึง คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ 227 ข้อ คัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา มีพุทธานุญาต ให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า สงฆ์ทำอุโบสถ บทปาติโมกข์เหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก หมวดสุตตวิภังค์ มีพุทธานุญาตให้สวดปาติโมกข์ย่อได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและปาติโมกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ปุคคลบัญญัติ

ปุคคลบัญญัติ หรือปุคคลบัญญัติปกรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระอภิธรรมปิฎก และมีเนื้อหาน้อยที่สุดในบรรดาคัมภีร์ทั้ง 7 ของพระอภิธรรม อีกทั้งยังมีลักษณะต่างจากคัมภีร์อื่นๆ ตรงที่กล่าวถึงบุคคล ไม่ได้เน้นหนักที่ปรมัตถธรรม หรือเรื่องจิต ดังในคัมภีร์อื่นๆ ของอภิธรรม นอกจากนี้ยังมีลักษณะการเรียบเรียงภาษาคล้ายกับประโยคบอกเล่าในพระสุตตันตปิฎก โดยเฉพาะในส่วนของอังคุตตรนิกาย และสังคีติสูตร ในทีฆนิกาย ขณะที่พระอภิธรรมปิฎกใช้สำนวนภาษาแบบแจกแจงเป็นข้อๆ หรือรายละเอียดปลีกย่อย และในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ มักรวมเป็นเล่มเดียวกับคัมภีร์ธาตุกถา เนื่องจากมีเนื้อหาไม่มากนัก.

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและปุคคลบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

ปปัญจสูทนี

ปปัญจสูทนี คือ คัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายความในมัชฌิมนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นจากอรรถกถาภาษาสิงหฬ เมื่อราว..

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและปปัญจสูทนี · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: พระพุทธโฆสะและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »