โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศาสนาอิสลาม

ดัชนี ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

33 ความสัมพันธ์: ชะรีอะฮ์ชีอะฮ์พระเยซูพหุเทวนิยมการนมัสการมุสลิมมุฮัมมัดละหมาดวิวรณ์ศาสนาศาสนาอับราฮัมศีลอดสุหนัตหะดีษอับราฮัมอัลกุรอานอัลลอฮ์อาดัมฮะรอมฮัจญ์ฮาลาลตรีเอกภาพซะกาตซุนนีประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศปากีสถานนบีโมเสสโนอาห์เพศเราะมะฎอนเอกเทวนิยม

ชะรีอะฮ์

รีอะฮ์ (شريعة; Sharia/Shari'ah) คือ ประมวลข้อปฏิบัติต่าง ๆ ของกฎหมายศาสนาของศาสนาอิสลาม คำว่า "ชะรีอะฮ์" แปลว่า "ทาง" หรือ "ทางไปสู่แหล่งน้ำ" กฎหมายชะรีอะฮ์คือโครงสร้างทางกฎหมายที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลและสาธารณชนที่มีพื้นฐานมาจากหลักนิติศาสตร์ (jurisprudence) ของศาสนาอิสลามสำหรับใช้โดยมุสลิม กฎหมายชะรีอะฮ์ครอบคลุมด้านต่าง ๆ ของชีวิตประจำวันที่รวมทั้งระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ ระบบการดำเนินธุรกิจ ระบบการธนาคาร ระบบการทำสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว หลักของความสัมพันธ์ทางเพศ หลักการอนามัย และปัญหาของสังคม กฎหมายชะรีอะฮ์ในปัจจุบันเป็นกฎหมายศาสนาที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดและเป็นกฎหมายที่ปรากฏบ่อยที่สุดของระบบกฎหมายของโลกพอ ๆ กับคอมมอนลอว์ และซีวิลลอว์ ในระหว่างยุคทองของอิสลาม กฎหมายอิสลามอาจถือว่ามีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ ซึ่งก็ทำให้มีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของคอมมอนลอว์ระดับสถาบันต่าง.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและชะรีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ชีอะฮ์

ีอะฮ์ (บ้างสะกด ชีอะห์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งนับถือพระเจ้าพระองค์เดียว และท่านนบีมูฮัมมัด(ศ็อลฯ)เป็นนบีคนสุดท้าย หากแต่มีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำศาสนาต่อจากท่านนบีมุฮัมมัด ว่ามาจากการแต่งตั้งของอัลลอฮ์และท่านนบีมุฮัมมัดเท่านั้น หากผู้ใดได้ศึกษาประวัติของวันอีดฆอดีรคุมแล้ว จะพบว่าวันนั้นเป็นวันที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งอะลีให้เป็นอิมามหรือผู้นำศาสนาคนต่อไปโดยผ่านท่านนบี(ศ็อลฯ) นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานของอิมามอะลีกับท่านหญิงฟาติมะห์(บุตรีของท่านนบี(ศ็อลฯ)อีก 11 คน ชีอะฮ์ ตามความหมายของปทานุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะฮ์หมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ผู้นำศาสนาหลังจากท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ) เสียชีวิตแล้ว เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งชีอะฮ์จึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ ชีอะฮ์มีความเชื่อว่า พระองค์อัลลอฮ์ คือพระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน คือพระผู้ทรงบริสุทธิ์ยิ่ง ศาสนาของพระองค์ก็เป็นศาสนาที่บริสุทธิ์ ศาสดามุฮัมมัด (ศ) ศาสนทูตของพระองค์ก็ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ และผู้สืบทอดตำแหน่งของศาสดาของพระองค์ก็จำเป็นจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้น และเมื่อศาสนทูตของพระองค์ พระองค์เป็นผู้ทรงแต่งตั้ง ดังนั้นตัวแทนของศาสนทูตของพระองค์ พระองค์ก็จะต้องเป็นผู้แต่งตั้งเช่นเดียวกัน มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระองค์ มิใช่ปล่อยให้ใครก็ได้มาแต่งตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งศาสนทูตของพระอง.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและชีอะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พหุเทวนิยม

ทพอียิปต์ พหุเทวนิยม (polytheism) เป็นการบูชาหรือความเชื่อในพระเป็นเจ้าหรือเทพเจ้าหลายองค์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 427 ถือเป็นเทวนิยมแบบหนึ่ง ซึ่งตรงข้ามกับเอกเทวนิยมที่เชื่อในพระเป็นเจ้าองค์เดียว ผู้ที่เชื่อแบบพหุเทวนิยมไม่ได้บูชาเทพเจ้าทุกองค์เสมอกัน แต่อาจบูชาเฉพาะองค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษก็ได้ (เรียกว่าอติเทวนิยม) ศาสนาประเภทพหุเทวนิยม เช่น พหุเทวนิยมกรีกและโรมัน เทพปกรฌัมสลาฟ ศาสนาฮินดู ศาสนาชินโต ศาสนาพื้นบ้านจีน ลัทธิเต๋า เป็นต้น.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและพหุเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

การนมัสการ

การนมัสการ (โปรเตสแตนต์) หรือ คารวกิจ (โรมันคาทอลิก) เป็นการบูชาพระเป็นเจ้าของคริสต์ศาสนิกชน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “worship” มาจากภาษา Anglo-Saxon ว่า “worthscipe” หรือ “worthship” หมายถึง การตอบสนองภายในจิตใจด้วยการแสดงออกมา อันเนื่องมาจากการที่เห็นความสำคัญและคุณค่าของสิ่งนั้น หรือคนนั้น หนังสือสดุดี บทที่ 96 ข้อ 8 กล่าวว่า “จงถวายพระสิริ ซึ่งควรแก่พระนามของพระองค์แด่พระเจ้า จงนำเครื่องบูชาและมายังบริเวณพระนิเวศของพระองค์” นั่นคือภาพในสมัยก่อนการเสด็จมากำเนิดของพระเยซูคริสต์ คนที่เห็นคุณค่าพระเจ้าจะนำเครื่องบูชามาถวายแด่พระเจ้าเป็นการนมัสการ.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและการนมัสการ · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัมมัด

นบีมุฮัมมัด หรือ มุหัมมัด หรือ พระมะหะหมัด (محمد แปลว่า ผู้ได้รับการสรรเสริญ) เป็นนบีคนสุดท้ายของศาสนาอิสลาม ที่อัลลอฮ์ทรงแต่งตั้ง ท่านมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มุสตอฟา, ฏอฮา, ยาซีน และ อะฮฺมั.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและมุฮัมมัด · ดูเพิ่มเติม »

ละหมาด

ละหมาด หรือ นมาซ คือการนมัสการพระเจ้า อันเป็นศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อแสดงถึงความเคารพสักการะ ความขอบคุณ และความภักดีต่ออัลลอฮ์บรรจง บินกาซัน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและละหมาด · ดูเพิ่มเติม »

วิวรณ์

อห์นแห่งปัทมอสกำลังเขียนหนังสือวิวรณ์ตามที่ได้รับการเปิดเผยจากพระเจ้า ภาพวาดโดยเฮียโรนิมัส บอส ในศาสนาแบบเทวนิยมและเทววิทยา วิวรณ์ (revelation) หมายถึง การที่สิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น เทวดา พระเป็นเจ้า ได้เปิดเผยความจริงหรือความรู้สำคัญบางประการแก่มนุษย์ หลาย ๆ ศาสนาเชื่อว่า คัมภีร์ของตนมาจากการวิวรณ์ของพระเจ้าหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ชาวยิวเชื่อว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานคัมภีร์โทราห์ที่ภูเขาซีนาย ชาวมุสลิมเชื่อว่าอัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกุรอานแก่นบีมุฮัมมัดเป็นคำ ๆ ทีละอักษร ส่วนศาสนาฮินดูก็ถือว่าพระเวทเป็น “อเปารุเษยะ” (ไม่ใช่ฝีมือมนุษย์) แต่บรรดาฤๅษีได้สดับฟังจากพระเจ้ามาโดยตรง จึงเรียกว่า "ศรุติ" (สิ่งที่ได้ฟังมา) คริสต์ศาสนิกชนก็เชื่อว่าคัมภีร์ไบเบิลทั้งพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ในศาสนาอับราฮัม วิวรณ์จึงถือเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะเป็นการแสดงถึงเจตจำนงและพระญาณสอดส่องของพระเจ้าต่อมนุษย์ ในพันธสัญญาใหม่มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "หนังสือวิวรณ์" เป็นส่วนสุดท้ายของคัมภีร์ไบเบิล กล่าวถึงวันสิ้นโลกและการพิพากษาครั้งสุดท้.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและวิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอับราฮัม

ัญลักษณ์ของศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาในกลุ่มศาสนาอับราฮัม: ศาสนายูดาห์, ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ศาสนาอับราฮัม (Abrahamic religions) หมายถึง ศาสนาสำคัญ 3 ศาสนาที่ถือกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันตก และมีความเชื่อร่วมกันว่าพระเป็นเจ้ามีองค์เดียว ได้แก่ ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามJ.Z.Smith 1998, p.276Anidjar 2001, p.3 ทั้งสามศาสนาถือว่าอับราฮัมเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสนาตน นอกจากนั้นก็ยังมีศาสนาย่อยที่บางครั้งถือว่าเป็นศาสนาอับราฮัมด้วย เช่น ศาสนาบาไฮ ผู้นับถือศาสนาอับราฮัมรวมทั้งหมดมากกว่าครึ่งของประชากรทั้งโลก ในปัจจุบันมีผู้นับถือด้วยกันทั้งหมดประมาณ 3.8 พันล้านคน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและศาสนาอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอด

ีลอด หรือภาษามลายูปัตตานีว่า ปอซอ หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และงดการร่วมประเวณี ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและศีลอด · ดูเพิ่มเติม »

สุหนัต

ีตาน (ختان; Khitan) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต (สุ-หนัด) หมายถึง พิธีการขริบหนังหุ้มปลายตามข้อกำหนดในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม คำว่า สุหนัต มาจากคำว่า "ซูนัต" ในภาษามลายู ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะฮ์" ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงแบบแผนการปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด พิธีสุหนัตเกิดขึ้นครั้งแรกในศาสนายูดาห์ ซึ่งเริ่มทำพิธีนี้ครั้งแรกในสมัยของอับราฮัม การเรียกว่า "เข้าสุนัต" มาจากวลี "มาซุก ญาวี" หรือ "มะโซะยาวี" (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวยิว ชาวมุสลิม และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทาง.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและสุหนัต · ดูเพิ่มเติม »

หะดีษ

ีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (الحديث /อัลฮะดีษ/) แปลว่าคำพูด หรือใหม่ ตามทัศนะซุนนีย์หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด ตามทัศนะชีอะฮ์ยังรวมถึงถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของบรรดามะอฺศูมอีกด้วย ฮะดีษต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม มีการแบ่งเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ สะดวกแก่การค้นห.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและหะดีษ · ดูเพิ่มเติม »

อับราฮัม

ทูตสวรรค์ยับยั้งอับราฮัม ขณะกำลังจะถวายอิสอัคแด่พระยาห์เวห์ อับราฮัม(ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ อิบรอฮีม (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Abraham; אברהם; إبراهيم) เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มศาสนาอับราฮัม เรื่องราวของท่านถูกบันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 11 ถึง บทที่ 25 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ฮีบรูของศาสนายูดาห์ และคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามก็ถืออับราฮัมเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ด้วย อับราฮัม เดิมชื่อ "อับราม" เป็นบุตรของ เทราห์ สืบเชื้อสายมาจาก เชม บุตรของโนอาห.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและอับราฮัม · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัลลอฮ์

นาอิสลามเรียกพระเป็นเจ้าว่า อัลลอฮ์ บ้างก็สะกดว่า อัลลอฮฺ, อัลลอหฺ หรือ อัลเลาะห์ ตรงกับภาษาอังกฤษ "God" เชื่อว่าทรงเป็นพระผู้สร้างมนุษย์ สิ่งมีชีวิต สิ่งไม่มีชีวิต และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล พระองค์ทรงมีโดยไร้จุดเริ่มต้น และทรงมีอยู่นิรันดร์โดยไม่มีจุดจบ พระองค์แตกต่างกับทุกสรรพสิ่งอย่างสิ้นเชิง ทรงดำรงด้วยพระองค์เอง มิต้องทรงพึ่งพาสิ่งใด พระองค์เป็นพระผู้เป็นเจ้าเอกองค์เดียว ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าอื่นใดอีกนอกเหนือจากพระองค์ ตามความเชื่อของอิสลาม อัลลอฮ์ทรงมีความสามารถในการบันดาลทุกสรรพสิ่ง ทรงรอบรู้โดยไม่จำกัดขอบเขต อัลลอฮ์เป็นพระปฐมนามแห่งพระองค์ พระองค์มีพระนามอันวิจิตรอื่น ๆ อีกมากถึง 99 พระนาม ซึ่งบ่าวของพระองค์สามารถใช้นามเหล่านั้นเรียกพระองค์ได้ พระองค์ทรงบริสุทธิ์ ไม่มีบุตร ไร้ภาคี ทรงอยู่นอกเหนือกาละและเทศะ เพราะทั้งสองสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง พระองค์ทรงกำหนดระบบและปัจจัยของทุกสรรพสิ่ง อีกทั้งยังได้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของสรรพสิ่งที่พระองค์สร้างทั้งมวล อัลลอฮ์ คืออัตมันที่ทรงสิทธิในการได้รับการเคารพบูชาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งใดอย่างเด็ดขาดที่ควรแก่การเคารพบูชานอกเหนือจากพระองค์ ชาวมุสลิมถือว่าอัลลอฮ์คือพระยาห์เวห์ในศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและอัลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาดัม

อาดัม (אָדָם; ܐܕܡ; آدم; Adam) เป็นมนุษย์คนแรกที่พระเป็นเจ้าสร้างขึ้นจากดิน ตามคติของศาสนาอับราฮัม ปรากฏทั้งใน คัมภีร์ฮีบรู คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม และอัลกุรอาน ตามคติของศาสนาคริสต์และศาสนายูดาห์ อาดัมเป็นเพียงมนุษย์คนแรกของโลก แต่ตามคติของอิสลามอาดัมยังเป็นนบีท่านแรกของอัลลอฮ์ด้วย อาดัมและภรรยาชื่อเอวา เดิมพระเจ้าประทานอยู่ในสวนเอเดน ต่อมาภายหลังถูกซาตานหลอกลวงให้ประพฤติผิด เกิดเป็นบาป ทำให้ถูกไล่จากสวนเอเดน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและอาดัม · ดูเพิ่มเติม »

ฮะรอม

รอม เป็นคำศัพท์นิติบัญญัติอิสลาม จากภาษาอาหรับ วิธีการสะกดอื่น ๆ มีเช่น หะรอม, ฮารอม ในภาษาพูดคำว่า ฮะรอม เพี้ยนเป็น ฮาหร่าม ฮะรอม คือกฎบัญญัติห้าม ที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคนต้องละเว้น เช่น.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและฮะรอม · ดูเพิ่มเติม »

ฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำหัจญ์ คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนดไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อาระเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิหฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินหะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฎของหัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินหะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร็อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่เก้าของเดือนซุลฮิจญะหฺ แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมีนา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดิลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมีนา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะฮฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสยิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง 450 เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอฮได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันทำนุบำรุง บัยตุลลอฮฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำหัจญ์และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมหมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมดสิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจย์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้ หมวดหมู่:หลักธรรมของศาสนาอิสลาม.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและฮัจญ์ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาลาล

ลาล (حلال) (บ้างสะกดว่า ฮะลาล หรือ หะลาล) เป็นศัพท์นิติศาสตร์อิสลามจากภาษาอาหรับ หมายความว่า กฎบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟ (มุสลิมที่อยู่ในศาสนนิติภาวะ) กระทำได้ อันได้แก่ การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง การค้าขายโดยสุจริตวิธี การสมรสกับสตรีตามกฎเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ เป็นต้น ในเมืองไทย คำว่า "ฮาลาล" เป็นที่รู้จักในความหมาย อาหารหรือสิ่งเจือปนที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม อาหารสำเร็จรูปประเภทนี้จะมีตราฮาลาล.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและฮาลาล · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ซะกาต

ซะกาต (زكاة หรือ ทานประจำปีหมายถึงทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเมื่อครบรอบปี ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพท์สิน เงินทอง สินค้าที่เหลือในรอบปีแล้วไม่ทำการบริจาค ผู้นั้นก็ผู้หนึ่งที่ทำผิดบัญญัติของอิสลาม และยังถือเป็นการผิดกฎหมายในบางประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม ในประเทศไทยมุสลิมจำเป็นต้องจ่ายทั้งซะกาตและภาษี ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตว่า (แปลได้ใจความว่า"หัวใจของการบริจาคทานคือ การเสียสละเพื่อคนขัดสนและยากจน คล้ายกับการเสียสละเผยแผ่คำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ของกุรอาน").

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและซะกาต · ดูเพิ่มเติม »

ซุนนี

ซุนนี (سُنِّي) คือนิกายหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีชื่อเต็มในภาษาอาหรับว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วะอัลญะมาอะฮ์ (أهل السنة والجماعة, นิยมอ่านว่า อะฮ์ลุสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์) เป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุดในอิสลาม แบ่งเป็นสำนักหรือมัซฮับย่อย ๆ ออกเป็นหลายมัซฮับ แต่ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 4 มัซฮับ นอกจากนี้ยังมีมัซฮับมุสลิมซุนนีที่ไม่ยึดถือมัซฮับ เรียกตนเองว่า พวกซะละฟี.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและซุนนี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปากีสถาน

ปากีสถาน (Pakistan; پاکستان) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน (Islamic Republic of Pakistan; اسلامی جمہوریہ پاکستان) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ มีพรมแดนติดกับประเทศอินเดีย อิหร่าน อัฟกานิสถาน และ จีน และมีชายฝั่งติดกับทะเลอาหรับ มีประชากรกว่า 150 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ใหญ่เป็นอันดับ 2 และเป็นสมาชิกที่สำคัญของ โอไอซี และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง คำว่า "ปากีสถาน" ซึ่งมีความหมายว่า "ดินแดนของชนบริสุทธิ์" ในภาษาอูรดูและภาษาเปอร์เซียนั้น มาจากการรวมชื่อดินแดนในประเทศนี้ ประกอบด้วยปัญจาบ (Punjab) อัฟกาเนีย (Afghania) แคชเมียร์หรือกัศมีร์ (Kashmir) สินธ์ (Sindh) และบาลูจิสถาน (BaluchisTAN).

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและประเทศปากีสถาน · ดูเพิ่มเติม »

นบี

นบี (نبي) หมายถึง ศาสดาในศาสนาอิสลาม คำว่า นบี มาจากคำว่า นับบะอะ หรือ อัมบะอะ แปลว่า แจ้งข่าว ใช้หมายถึงการนำวจนะของพระเจ้ามาประกาศแก่มวลมนุษย์ คำว่านบีในศาสนาอิสลามจึงหมายถึงผู้เผยพระวจนะในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและนบี · ดูเพิ่มเติม »

โมเสส

มเสสกับแผ่นจารึก, พ.ศ. 2202 (1659), โดยแร็มบรันต์ โมเสสเมื่อลงมาหลังจากเข้าเฝ้าพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย, พ.ศ. 2181 (1638), โดย ไรเบรา เดอ โจเซ รูปปั้นของโมเสส โดยมีเกลันเจโล โมเสส (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ มูซา (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Moses; מֹשֶׁה; موسى มูซา) เป็นผู้บัญญัติกฎและผู้เผยพระวจนะแก่วงศ์วานอิสราเอล ซึ่งเป็นที่มาของคัมภีร์โทราห์ในศาสนายูดาห์ หรือคัมภีร์เบญจบรรณในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ อีกทั้งยังเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ตามคติของศาสนาอิสลาม และเป็นศาสดาตามคติของศาสน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและโมเสส · ดูเพิ่มเติม »

โนอาห์

"การถวายเครื่องบูชาของโนอาห์" โดยดาเนียล แมคลิส โนอาห์ (Noah; נח) เป็นบุตรชายของลาเมค เกิดในปีที่ 1,056 หลังจากพระเจ้าสร้างอาดัม บิดาของเขากล่าวว่า “คน​นี้​จะ​ชู‍ใจ​เรา​ใน​การ‍งาน​ของ​เรา การ​ตราก‌ตรำ​ของ​มือ​เรา และ​จาก​แผ่น‍ดิน​ซึ่งพระยาห์เวห์ทรง​แช่ง‍สาปไว้” เรื่องราวของโนอาห์บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 5 ถึงบทที่ 10 โน‌อาห์​เป็น​คน​ชอบ‍ธรรม ​ดี​พร้อม​ใน​สมัย​ของ​เขา โน‌อาห์​เชื่อฟังปฏิบัติตามพระ‍เจ้า และเป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์ ท่ามกลางยุคสมัยที่พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​เห็น​ว่า​ความ​ชั่ว‍ร้าย​ของ​มนุษย์​มี​มาก​บน​แผ่น‍ดิน.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและโนอาห์ · ดูเพิ่มเติม »

เพศ

การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ เพศ (sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและเพศ · ดูเพิ่มเติม »

เราะมะฎอน

ี้ยวของรอมฎอน เราะมะฎอน (رمضان; Ramadan) หรือสะกด "รอมะฎอน" หรือ "รอมฎอน" คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์ในศาสนาอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "เดือนบวช" และถือว่าเป็นเดือนที่สำคัญที่สุดเดือนหนึ่ง มุสลิมจะต้องอดอาหารเพื่อที่จะได้เข้าถึงอัลลอฮ์ และเพื่อให้มีความอดทน (ตบะ), การอุทิศส่วนกุศล ระลึกถึงภาวะขาดแคลนอาหาร และผู้ที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจน เป็นต้น เดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาเป็นทางนำให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัลกุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็นอยู่ในโลกนี้ และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร จะต้องปฏิบัติธรรมะเพื่อตนเองอย่างไรบ้าง กิจกรรมพิเศษของมุสลิมนิกายซุนนี คือการละหมาดตะรอเวียะฮ์ในยามค่ำของเดือนนี้ เมื่อสิ้นเดือนเราะมะฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า อีดุลฟิฏริ หรือ วันอีดเล็ก ในปี พ.ศ. 2549 เดือนเราะมะฎอน (ฮ.ศ. 1426) เริ่มเมื่อวันที่ 21 กันยายน (ซาอุดีอาระเบีย อ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของในตะวันออกกลาง) และวันที่ 24 กันยายน ในที่อื่น ๆ (รวมทั้งส่วนอื่น ๆ ของตะวันออกกลาง) โดยมีกำหนดถึงวันที่ 21 ตุลาคม.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและเราะมะฎอน · ดูเพิ่มเติม »

เอกเทวนิยม

อกเทวนิยมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 364 (Monotheism มาจากภาษาμόνος, monos - เดียว, และ θεός, theos - เทพ) คือความเชื่อว่ามีพระเป็นเจ้าเป็นเทวดาองค์เดียว หรือความเชื่อว่าพระเป็นเจ้าเป็นหนึ่งเดียว (ไม่ทรงแบ่งภาค) แนวคิดเอกเทวนิยมแบบบริสุทธิ์พบในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม ส่วนแบบอ่อนพบในศาสนาคริสต์ส่วนใหญ่ ลัทธิซาเบียน นิกายมอรมอน และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาบาไฮ ศาสนาซิกข์ และศาสนาฮินดูในบางสำนัก.

ใหม่!!: ศาสนาอิสลามและเอกเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Islamอิสลาม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »