โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประเทศอินโดนีเซีย

ดัชนี ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

86 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษบันดาอาเจะฮ์บันดุงชาวชวาชาวซุนดาพ.ศ. 2485พ.ศ. 2488พ.ศ. 2489พ.ศ. 2492พ.ศ. 2506พฤษภาคมกลุ่มเกาะกาโด-กาโดภาษาอินโดนีเซียมกราคมมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกมานาโดยกยาการ์ตาระบบประธานาธิบดีรายนามประธานาธิบดีอินโดนีเซียรูปียะฮ์ลัทธิขงจื๊อศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์สะเต๊ะสารานุกรมบริตานิกาหมู่เกาะบังกา-เบอลีตุงหมู่เกาะซุนดาน้อยหมู่เกาะโมลุกกะหมู่เกาะเรียวอาณาจักรมัชปาหิตอินโดจีนอินโดเนซียารายาจังหวัดชวากลางจังหวัดชวาตะวันตกจังหวัดบันเตินจังหวัดบาหลีจังหวัดกาลีมันตันตะวันออกจังหวัดมาลูกูจังหวัดลัมปุงจังหวัดสุมาตราตะวันตกจังหวัดสุมาตราใต้จังหวัดสุมาตราเหนือจังหวัดอาเจะฮ์จังหวัดจัมบีจังหวัดปาปัวจังหวัดปาปัวตะวันตก...จังหวัดเบิงกูลูจังหวัดเรียวจาการ์ตาจายาปูราทวีปออสเตรเลียคริสต์ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนซามารินดาซูการ์โนซูราบายาประชาธิปไตยประเทศญี่ปุ่นประเทศมาเลเซียประเทศอินโดนีเซียประเทศติมอร์-เลสเตประเทศปาปัวนิวกินีประเทศไต้หวันประเทศเนเธอร์แลนด์ปาดังปาเล็มบังปนตียานักโจโก วีโดโดเกาะชวาเกาะบอร์เนียวเกาะสุมาตราเกาะติมอร์เกาะซูลาเวซีเกาะนิวกินีเกินดารีเมดันเอกราชเซรังเซอมารัง.id17 สิงหาคม27 ธันวาคม ขยายดัชนี (36 มากกว่า) »

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

บันดาอาเจะฮ์

ันดาอาเจะฮ์ (Banda Aceh) เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางปลายทิศตะวันตกเฉียงเหนือบนเกาะสุมาตรา บริเวณปากแม่น้ำอาเจะฮ์ มีขนาดพื้นที่ 64 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและบันดาอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

บันดุง

บันดุง (Bandung, ᮘᮔ᮪ᮓᮥᮀ) เป็นเมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันตก ในประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 768 เมตร โดยปกติจึงมีสภาพอากาศเย็นกว่าเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย เมืองนี้อยู่ในเขตแม่น้ำ รายล้อมด้วยภูเขาไฟ มีลักษณะทางภูมิประเทศที่มีระบบป้องกันตัวโดยธรรมชาติเป็นอย่างดี อันเป็นเหตุผลหลักที่ครั้งหนึ่งได้มีการย้ายเมืองเอกจากปัตตาเวีย มายังบันดุง หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:จังหวัดชวาตะวันตก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและบันดุง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวชวา

วา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย มีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและทางตะวันออกของเกาะชว.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและชาวชวา · ดูเพิ่มเติม »

ชาวซุนดา

วซุนดา เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในประเทศอินโดนีเซียอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะชวา มีจำนวนประมาณ 31 ล้านคน ชาวซุนดาใช้ภาษาหลักคือภาษาซุนดา และนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่ เดิมนั้นชาวซุนดามักจะอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดชวาตะวันตก, บันเติน และจาการ์ตา รวมทั้งพื้นที่ทางตะวันตกของจังหวัดชวากลาง สำหรับชวากลาง และชวาตะวันออกนั้น เป็นถิ่นฐานเดิมของชาวชวา ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย วัฒนธรรมของชาวซุนดานั้นส่วนใหญ่ยืมมาจากวัฒนธรรมชวา แต่มีความแตกต่างออกไปเนื่องจากการนับถือศาสนาอิสลาม และมีลำดับชั้นทางสังคมที่แข็งแกร่งน้อยกว่ามาก Hefner (1997).

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและชาวซุนดา · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและพ.ศ. 2485 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2489

ทธศักราช 2489 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1946 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและพ.ศ. 2489 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2506

ทธศักราช 2506 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1963 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและพ.ศ. 2506 · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มเกาะ

กลุ่มเกาะมะริด ในประเทศพม่า กลุ่มเกาะ (archipelago หรือ island group) เป็นหมู่เกาะที่โยงกันเป็นโซ่หรือเป็นกลุ่ม คำว่า archipelago มาจากภาษากรีก ἄρχι ("หลัก") และ πέλαγος ("ทะเล") ผ่านกลุ่มเกาะอิตาลี ในภาษาอิตาลี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหลักจากประเพณีความเก่าแก่ กลุ่มเกาะ (จากภาษากรีกสมัยกลาง ἀρχιπέλαγος) เป็นชื่อเฉพาะของทะเลอีเจียน และภายหลัง การใช้ได้เปลี่ยนเป็นหมายถึงหมู่เกาะอีเจียน (เพราะทะเลดังกล่าวมีชื่อเสียงกันว่ามีเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก) ปัจจุบัน ใช้หมายถึงกลุ่มเกาะใด ๆ หรือ บางครั้ง ทะเลที่บรรจุเกาะกระจัดกระจายกันจำนวนมาก เช่น ทะเลอีเจียน กลุ่มเกาะอาจพบห่างไกลในแหล่งน้ำหรืออยู่ใกล้กับผืนดินขนาดใหญ่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น สกอตแลนด์มีเกาะมากกว่า 700 เกาะล้อมแผ่นดินใหญ่ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มเกาะ กลุ่มเกาะนี้มักมีภูเขาไฟ ก่อตัวขึ้นตามหมู่เกาะโค้งที่เกิดจากเขตมุดตัวของเปลือกโลกหรือจุดศูนย์รวมความร้อน แต่ยังอาจเกิดจากการกัดเซาะ การทับถมและความสูงของพื้นที่ดิน ประเทศสมัยใหม่ขนาดใหญ่ที่สุดห้าประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเกาะ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์และสหราชอาณาจักร รัฐกลุ่มเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกตามพื้นที่ คือ อินโดนีเซีย กลุ่มเกาะที่มีเกาะมากที่สุดอยู่ในทะเล Archipelago ในฟินแลน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและกลุ่มเกาะ · ดูเพิ่มเติม »

กาโด-กาโด

กาโด-กาโดในจาการ์ตา โรยด้วยเอิมปิง กาโด-กาโด (gado-gado) หรือ โลเต็ก (lotèk) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศอินโดนีเซีย ประกอบไปด้วยผัก ทั้งผักสด ผักต้ม และผักลวก และธัญพืชหลายชนิด ราดด้วยซอสที่ทำจากถั่ว ทั้งแคร์รอต มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว ขนุนอ่อน ผักกาดหอม นอกจากนี้ยังมีเต้าหู้ และไข่ต้มสุก และกินกับข้าวเกรียบทอดหลายชนิด เช่น กรูปุก ซึ่งเป็นข้าวเกรียบกุ้งหรือปลา เอิมปิง เป็นข้าวเกรียบใส่เมล็ดของผักเหมียง หรือจะกินกับเต็มเปทอด หรือข้าวต้มแบบลนตงก็ได้ รับประทานกับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ซึ่งประกอบด้วย กะปิ ถั่วลิสงบด กะทิ น้ำตาลโตนด พริกแดง กระเทียม กะทิ มะขามเปียก คำว่ากาโดในภาษาอินโดนีเซียแปลว่ายำ กาโด-กาโดมีความหลากหลายในแต่ละท้องที่ ในซูราบายาเรียกว่า "กาโด-กาโดซีรัม" ซึ่งจะราดน้ำซอสลงไปบนเครื่องปรุงอื่น ในบันดุงและโบโกร์จะเคล้าน้ำซอสให้เข้ากับเครื่องปรุงก่อนเสิร์ฟ ในจาการ์ตาเรียกว่า "กาโด-กาโดโบโปล" ใช้เมล็ดมะม่วงหิมพานต์แทนถั่วลิสง การปรุงกาโด-กาโดในอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและกาโด-กาโด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอินโดนีเซีย

ษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia; Indonesian language) เป็นภาษาทางการของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นภาษาที่น่าสังเกตในหลายด้าน เริ่มต้นด้วยการที่ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่พูดภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาที่สอง และส่วนน้อยที่พูดเป็นภาษาแม่ในบางนัย ภาษานี้เป็นภาษาที่ค่อนข้างใหม่ เนื่องจากเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2488 และเป็นภาษาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เนื่องจากเกิดคำที่ยืมมาจากภาษาอื่น ๆ อยู่ตลอด ชื่อท้องถิ่นของภาษาอินโดนีเซียคือ บาฮาซาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia) และชื่อนี้ก็นำมาใช้ในภาษาอังกฤษในบางโอก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและภาษาอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

มกราคม

มกราคม เป็นเดือนแรกของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมกราคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีมกร และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกุมภ์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมกราคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู และไปอยู่ในกลุ่มดาวแพะทะเลในปลายเดือน เดือนมกราคมในภาษาอังกฤษ January มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า ยานุส (Janus) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งประตูทางผ่าน การเริ่มต้น และการสิ้นสุด ปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคมมีเดือนเพียง 10 เดือน (304 วัน) โดยไม่มีเดือนในช่วงฤดูหนาว ต่อมาได้มีการเพิ่มเดือน 2 เดือน คือ เดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ทำให้ 1 ปีมี 12 เดือน ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมกราคมในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและมกราคม · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

มานาโด

มานาโด (Manado) เป็นเมืองหลักของจังหวัดซูลาเวซีเหนือ จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย มานาโดตั้งอยู่ที่อ่าวมานาโด และล้อมรอบด้วยพื้นที่ที่เป็นภูเขา เมืองที่มีประชากรทั้งหมด 408,354 คนที่อาศัย จาก2010 การสำรวจสำมะโนประชากร.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและมานาโด · ดูเพิ่มเติม »

ยกยาการ์ตา

กยาการ์ตา (Yogyakarta) เป็นเมืองหลักของเขตปกครองพิเศษยกยาการ์ตา เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ที่นี่ถือว่าเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมชวาโบราณทั้งในด้านดนตรี นาฏศิลป์ และงานฝีมือ ยกยาการ์ตาเคยเป็นเมืองหลวงในช่วงที่อินโดนีเซียเรียกร้องเอกราชจากดัชต์ในปีช่วง..1945 - 1949 เมืองยกยาการ์ตาแต่เดิมมีชื่อว่า "อโยธยา" (Ayodhya) ซึ่งตั้งตามเมืองในวรรณคดีเรื่องรามายณะ ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นยกยาการ์ตา โดยคำว่า ยกยา (Yogya) แปลว่า "เหมาะสม" ส่วนคำว่า การ์ตา (Karta) แปลว่า "รุ่งเรือง".

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและยกยาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประธานาธิบดี

ระบบประธานาธิบดี คือ ระบอบที่ตั้งให้ประมุขแห่งรัฐมีอำนาจสูงสุดอย่างเต็มที่ คณะรัฐบาลอยู่ใต้อำนาจของประมุขแห่งรัฐ (เช่น อำนาจในการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะรัฐบาล) ในรัฐธรรมนูญของบางประเทศ อาจให้มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีควบคู่ไปกับประธานาธิบดีได้ แต่ส่วนมากนายกรัฐมนตรีในระบบประธานาธิบดีจะไม่มีอำนาจเท่ากับในระบอบรัฐสภา ระบบประธานาธิบดีมีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ประเทศที่ใช้ระบบประธานาธิบดีได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล เม็กซิโก เป็นต้น.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและระบบประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

รายนามประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งตำแหน่งประธานาธิบดีนี้ถูกสถาปนาขึ้นในช่วงของการก่อตั้งประเทศอันเป็นผลมาจาก รัฐธรรมนูญบาดาน เปนเยลิดิก อูซาฮา เปอร์ซิยาปัน เกเมอร์เดกาน อินโดนีเซีย (บีพียูพีเคไอ) ซึ่งเป็นธรรมนูญฉบับร่างเพื่อเตรียมอพร้อมสำหรับการประกาศเอกราชของอินโดนีเซีย เคยใช้ในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและรายนามประธานาธิบดีอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

รูปียะฮ์

นบัตรรูปียะฮ์ รูปียะฮ์ (rupiah) เป็นหน่วยเงินของประเทศอินโดนีเซีย (รหัสหน่วยเงิน: IDR) ชื่อมาจากหน่วยเงินของอินเดีย รูปี อินโดนีเซียได้ใช้เงินกิลเดอร์ดัตช์ระหว่าง พ.ศ. 2153 ถึง พ.ศ. 2360 ซึ่งมีการออกเงินกิลเดอร์อินเดียตะวันออก เงินรูปียะฮ์ออกใช้เป็นครั้งแรกระหว่างการยึดครองของญี่ปุ่นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังจากสงครามสิ้นสุดลง ธนาคารชวาได้ออก รูปียะฮ์ชวา มาแทนที่ชั่วคราว กิลเดอร์นีกา (NICA gulden) ของประเทศเนเธอร์แลนด์ และหน่วยเงินต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกองกำลังโจรก็ใช้กันทั่วหมู่เกาะด้วยเช่นกัน 4 ปีหลังจากประกาศเอกราช ได้มีการนำรูปียะฮ์อินโดนีเซียออกมาใช้ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 เป็นหน่วยเงินประจำชาติสกุลใหม่ หมู่เกาะรีเยาและเกาะนิวกินีในส่วนของประเทศอินโดนีเซีย (อีเรียนบารัต) ก็มีการออกรูปียะฮ์ของตัวเองเช่นกัน แต่ต่อมาได้รวมเข้ากับรูปียะฮ์ของชาติเมื่อ พ.ศ. 2507 และ พ.ศ. 2514 ตามลำดับ หลังจากที่มีการลดค่าจากภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ได้มีการออกรูปียะฮ์ใหม่ (New Rupiah) โดยมีอัตราแลกเปลี่ยน 1000 รูปียะฮ์เก่า เป็น 1 รูปียะฮ์ใหม่ วิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียเมื่อ พ.ศ. 2540 ทำให้เกิดการลดค่ารูปียะฮ์ถึงร้อยละ 35 ในช่วงเวลาเพียงข้ามคืน และนำไปสู่การโค่นล้มซูฮาร์โต เงินรูปียะฮ์สามารถแลกได้อย่างอิสระ แต่มีอัตราแลกเปลี่ยนมีค่าปรับเพิ่มเติม เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อสูงอย่างต่อเนื่อง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547, 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับประมาณ 9,230 รูปี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและรูปียะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิขงจื๊อ

หอต้าเฉิง (Dàchéng) อาคารหลักของวัดขงจื๊อในชูฟู่ ลัทธิขงจื๊อ หรือศาสนาขงจื๊อ (Confucianism) เป็นระบบด้านจริยธรรมและปรัชญาของจีน ซึ่งพัฒนาจากการสอนของขงจื๊อ (551 - 479 ปีก่อน ค.ศ.) นักปรัชญาชาวจีน ลัทธิขงจื๊อถือกำเนิดขึ้นเป็น "งานสอนด้านจริยธรรม-สังคมการเมือง" ในยุคชุนชิว แต่ภายหลังพัฒนาส่วนที่เป็นอภิปรัชญาและจักรวาลวิทยาในสมัยราชวงศ์ฮั่น.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและลัทธิขงจื๊อ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สะเต๊ะ

ต๊ะไก่ในมาเลเซีย สะเต๊ะ (satay, saté) เป็นอาหารอย่างหนึ่งซึ่งทำจากเนื้อที่หั่นบางๆ หรือหั่นเป็นก้อน อาจจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อแพะ เนื้อปลา ฯลฯ เสียบด้วยไม้เสียบที่ทำจากไม้ไผ่ แล้วนำไปย่างบนเตาฟืนหรือเตาถ่าน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุงรส ที่มีรสจัด (ซึ่งแตกต่างกันออกไปในแต่ละตำรับ) สะเต๊ะมีจุดกำเนิดมาจากเกาะชวาหรือเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังได้รับความนิยมในประเทศอื่นๆ ด้วย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศไทย หรือแม้แต่เนเธอร์แลนด์ซึ่งรับเอาวัฒนธรรมไปกับอาณานิคมของตน คำว่า "สะเต๊ะ" เชื่อว่ามีที่มาจากประเทศจีนในอดีต โดยมาจากภาษาหมิ่นใต้คำว่า "แซบัก" (จีน: 三疊肉; พินอิน: sae bak) หมายถึง "เนื้อสามชิ้น" อย่างไรก็ตามนักวิชาการร่วมสมัยกล่าวว่าคำว่า "สะเต๊ะ" ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาอินโดนีเซีย: "ซาเต" (sate) และภาษามลายู: "ซาเต" (saté) หรือ "ซาไท" (satai) ทั้งสองอย่างอาจจะมีที่มาจากภาษาทมิฬ สะเต๊ะของอินโดนีเซียอาจได้รับอิทธิพลจากคาบับที่เป็นอาหารพื้นเมืองของอินเดียภาคเหนือ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากชาวเตอร์กอีกต่อหนึ่ง ตำรับดั้งเดิมของชาวตุรกีเป็นเนื้อแพะหั่นเป็นชิ้นหมักแล้วเสียบเหล็กแหลมย่างไฟ ชาวเปอร์เซียและชาวอินเดียรับมาดัดแปลง อาจใช้เนื้อบดหรือเนื้อทั้งชิ้น จะเสียบหรือไม่เสียบไม้ก็ได้ เมื่อแพร่หลายมาถึงมลายู-ชวาจึงกลายเป็นสะเต๊ะอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยร้านขายหมูสะเต๊ะร้านแรกในประเทศไทย คือ ร้านจึงอังลัก ย่านเยาวราช ข้างโรงภาพยนตร์เฉลิมบุรี ปัจจุบันได้ย้ายร้านไปที่ย่านถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและสะเต๊ะ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะบังกา-เบอลีตุง

หมู่เกาะบังกา-เบอลีตุง (อินโดนีเซีย: Kepulauan Bangka Belitung) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย และเคยเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราใต้ ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสุมาตรา ประกอบด้วยเกาะหลักสองแห่ง ได้แก่ เกาะบังกา และเกาะเบอลีตุง ซึ่งคั่นด้วยช่องแคบกัสปาร์ จังหวัดนี้ถูกแยกจากเกาะสุมาตราโดยช่องแคบบังกา จังหวัดนี้ติดกับทะเลนาตูนาทางทิศเหนือ ติดกับทะเลชวาทางทิศใต้ ติดกับช่องแคบการีมาตาทางทิศตะวันออก และติดกับจังหวัดสุมาตราใต้ทางทิศตะวันตก เมืองหลักคือปังกัลปีนัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการปกครอง เมืองอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ซุงไกลีอัต ตันจงปันดัน และมังการ์ สำหรับในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและหมู่เกาะบังกา-เบอลีตุง · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะซุนดาน้อย

แผนที่หมู่เกาะซุนดาน้อย ภาพถ่ายดาวเทียมของหมู่เกาะซุนดาน้อย เกาะบันตาในหมู่เกาะซุนดาน้อย หมู่เกาะซุนดาน้อย (Lesser Sunda Islands) หรือ นูซาเต็งการา (Nusa Tenggara) ("หมู่เกาะตะวันออกเฉียงใต้") เป็นหมู่เกาะที่อยู่ทางใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอยู่ทางเหนือของออสเตรเลีย เมื่อรวมกับหมู่เกาะซุนดาใหญ่ทางตะวันตกจะเรียกหมู่เกาะซุนดา อยู่ตามแนวเส้นภูเขาไฟ.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและหมู่เกาะซุนดาน้อย · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะโมลุกกะ

หมู่เกาะโมลุกกะ (Moluccas) หรือ หมู่เกาะมาลูกู (Maluku Islands) เป็นหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู ตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลีย ทางด้านตะวันออกของเกาะซูลาเวซี (เซเลบีส) ทางด้านตะวันตกของเกาะนิวกินี และทางเหนือของติมอร์ ในอดีตนั้น ชาวจีนและชาวยุโรปเรียกหมู่เกาะนี้ว่า หมู่เกาะเครื่องเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะเป็นภูเขา บางส่วนยังเป็นภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่ และมีสภาพภูมิอากาศที่ชื้น พืชพรรณอุดมสมบูรณ์ แม้จะอยู่บนเกาะที่เล็ก แคบ และล้อมรอบด้วยทะเล อาทิ ป่าฝน สาคู ข้าว และเครื่องเทศต่าง ๆ (เช่น ลูกจันทน์เทศ กานพลู และดอกจันทน์เทศ) ถึงแม้ว่าชาวเมลานีเซียนจะเป็นประชากรส่วนใหญ่แต่เดิมโดยเฉพาะบนเกาะบันดา แต่ก็ถูกสังหารในช่วงศตวรรษที่ 17 การอพยพเข้ามาของชาวมลายูในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในช่วงที่ชาวดัตช์ปกครองอยู่ และต่อเนื่องมาจนถึงยุคที่เป็นประเทศอินโดนีเซียแล้ว ในทางการเมือง หมู่เกาะโมลุกกะเป็นจังหวัดหนึ่งในอินโดนีเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 ถึงปี พ.ศ. 2542 มาลูกูเหนือและฮัลมาเฮรากลางถูกแยกออกเป็นอีกจังหวัดหนึ่ง ดังนั้น หมู่เกาะนี้จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 จังหวัด คือ มาลูกู (Maluku) และมาลูกูเหนือ (North Maluku) ระหว่างปี 2542 ถึง 2545 เป็นช่วงที่เกิดความขัดแย้งระหว่างชาวมุสลิมกับชาวคริสต์ แต่ก็เพิ่งกลับมาสงบสุขเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านม.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและหมู่เกาะโมลุกกะ · ดูเพิ่มเติม »

หมู่เกาะเรียว

หมู่เกาะเรียว (Kepulauan Riau) เป็นหมู่เกาะแห่งหนึ่งในเกาะสุมาตรา ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 6 ของโลกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู อยู่ทางตอนใต้ของประเทศสิงคโปร์ ทางตะวันออกของหมู่เกาะนี้คือมหาสมุทรอินเดีย และมีเมืองหลวงชื่อตันจุงปีนัง.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและหมู่เกาะเรียว · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรมัชปาหิต

อาณาจักรมัชปาหิต เป็นอาณาจักรในชวาตะวันออก มีอำนาจอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1293 ถึงประมาณ ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและอาณาจักรมัชปาหิต · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อินโดเนซียารายา

อินโดเนซียารายา (สะกดอย่างเก่า: "Indonesia Raja"; สะกดอย่างปัจจุบัน: "Indonesia Raya", แปลว่า อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่) เป็นชื่อของเพลงชาติแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประพันธ์โดยวาเก รูดอล์ฟ ซูปรัตมัน ซึ่งได้นำเสนอครั้งแรกในงานสันนิบาตยุวชนแห่งชาติครั้งที่ 2 ที่เมืองปัตตาเวีย (ปัจจุบันคือจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) เพื่อใช้เป็นเพลงประจำพรรคชาตินิยมอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นขบวนการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ ต่อมาเมื่ออินโดนีเซียประกาศเอกราชในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) เพลงนี้จึงได้รับเลือกให้ใช้เป็นเพลงชาติอินโดนีเซียสืบมาจนถึงทุกวันนี้ ภายหลังคีตกวีชื่อ โจเซฟ เคลเบอร์ ได้เรียบเรียงดนตรีเพลงนี้ใหม่ สำหรับใช้บรรเลงด้วยวงดนตรีฟิลฮาร์โมนิกออร์เคสตรา เมื่อ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950).

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและอินโดเนซียารายา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชวากลาง

วากลาง (Jawa Tengah, ꦗꦮꦠꦼꦔꦃ) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย เมืองเอกคือ เซอมารัง (Semarang) นับเป็นหนึ่งในจังหวัดทั้งหกของเกาะชวา ชวากลางมีจุดเด่นทั้งด้านวัฒนธรรม และทางการเมือง ยอกยาการ์ตาเป็นส่วนสำคัญแห่งหนึ่งของชวากลาง อย่างไรก็ตาม ในเชิงการบริหารแล้ว เมืองนี้และพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่พิเศษที่แยกต่างหาก นับตั้งแต่อินโดนีเซียประกาศเอกราช จังหวัดชวากลางมีพื้นที่ 32,548.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของพื้นที่เกาะชวา มีประชากร 31,820,000 (พ.ศ. 2548) จึงเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของอินโดนีเซีย รองจากชวาตะวันตก และชวาตะวันออก และมีประชากรประมาณหนึ่งในสี่ของเกาะนี้ ชวากลาง หมวดหมู่:จังหวัดชวากลาง.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดชวากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชวาตะวันตก

วาตะวันตก (Jawa Barat) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย มีเมืองบันดุงเป็นศูนย์กลาง.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดชวาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบันเติน

ันเติน (Banten) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่อ่าวบันเตินทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ 9,160.7 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 9,083,114 คน (พ.ศ. 2548) จังหวัดบันเตินก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยแยกออกจากจังหวัดชวาตะวันตก มีเมืองหลวงคือเซอรัง (Serang).

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดบันเติน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบาหลี

หลี (Bali) เป็น 1 ใน 34 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองสำคัญคือเดินปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก

แผนที่ประเทศอินโดนีเซียแสดงจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก กาลีมันตันตะวันออก (Kalimantan Timur) หนึ่งใน 4 ของจังหวัดกาลีมันตันของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีเมืองหลวงชื่อซามารินดา (samarinda).

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดมาลูกู

มาลูกู (Maluku) เป็นจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย โดยประกอบไปด้วยพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของหมู่เกาะโมลุกกะ เมืองหลักของจังหวัดมาลูกูคืออัมบน บนเกาะอัมบนขนาดเล็ก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดมาลูกู · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลัมปุง

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดลัมปุง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราตะวันตก

มาตราตะวันตก (Sumatera Barat) หรือเรียกอย่างย่อว่า ซุมบาร์ (Sumbar) เป็นจังหวัดทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ประชากรในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดสุมาตราตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราใต้

มาตราใต้ (Sumatera Selatan) เป็นจังหวัดหนึ่งทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรทั้งหมด 7,446,401 คน (สำมโนประชากรปี 2553) มีเมืองหลักชื่อปาเล็มบัง.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดสุมาตราใต้ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราเหนือ

มาตราเหนือ (Sumatera Utara) เป็นจังหวัดหนึ่งบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศหากไม่นับรวมกรุงจาการ์ต.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดสุมาตราเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอาเจะฮ์

อาเจะฮ์ (Aceh) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะสุมาตร.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดจัมบี

ัมบี (Jambi) เป็นจังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย จังหวัดอยู่ทางตอนกลางของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีเมืองหลักชื่อจัมบี จังหวัดมีเนื้อที่ 50,058.16 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 3,092,265 คน ตามการสำรวจสำมะโนประชากร ปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดจัมบี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปาปัว

ปาปัว (Papua) เป็น 1 ใน 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลวงคือ จายาปุระ มีพื้นที่ทั้งหมด 319,036.05 กม2 (123,181 ไมล์2) มีประชากรทั้งหมด 2,833,381 คน ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดปาปัว · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดปาปัวตะวันตก

ปาปัวตะวันตก (Papua Barat) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย มีพื้นที่ครอบคลุมคาบสมุทรทั้งสองแห่งของเกาะนิวกินี มีเมืองหลักชื่อมาโนะก์วารี แต่เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือโซรง เมื่อปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดปาปัวตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเบิงกูลู

งกูลู (Bengkulu) หรือที่ในอดีตเรียกว่า เบงคูเลน (Bencoolen) เป็นชื่อจังหวัดและเมืองท่าทางตอนใต้ของสุมาตราฝั่งตะวันตก เป็นที่ตั้งสถานีการค้าและป้อมปราการของบริษัทอินเดียตะวันออกแห่งอังกฤษ.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดเบิงกูลู · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเรียว

รียว (Riau) เป็นหนึ่งใน 33 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของเกาะสุมาตราซึ่งจรดช่องแคบมะละกา มีเมืองหลักชื่อเปอกันบารู จังหวัดมีเนื้อที่ 72,569 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 5,538,367 คน ตามการสำรวจสำมะโนประชากร ปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจังหวัดเรียว · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

จายาปูรา

ปูรา (Jayapura) เป็นเมืองหลักของจังหวัดปาปัว บนเกาะนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณอ่าวยซ ซูดาร์โซ (อ่าวฮัมโบลต์) มีประชากรอาศัยประมาณ 2 แสนคน.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและจายาปูรา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่รวมแผ่นดินใหญ่ของประเทศออสเตรเลีย นิวกินี แทสมาเนีย และเกาะต่างๆที่อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน ในทางธรณีวิทยาแล้วไหล่ทวีปถือเป็นส่วนหนึ่งของทวีป ทำให้แผ่นดินที่กระจัดกระจายเหล่านี้ยังคงนับว่าเป็นทวีป สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้นไม่ได้อยู่บนไหล่ทวีปเดียวกัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่ใหญ่กว่าที่เรียกว่าออสตราเลเซี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและทวีปออสเตรเลีย · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์

ริสต์ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน

ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เป็นตระกูลภาษาที่มีผู้พูดกระจายไปทั่วหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมหาสมุทรแปซิฟิก มีจำนวนน้อยบนผืนแผ่นดินของทวีปเอเชีย อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกับตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียนและตระกูลภาษายูราลิกคือสามารถสืบหาภาษาดั้งเดิมของตระกูลได้ คำว่าออสโตรนีเซียนมาจากภาษาละติน austro (ลมใต้) รวมกับคำภาษากรีก nesos (เกาะ) ตระกูลภาษานี้ได้ชื่อนี้ เพราะส่วนมากใช้พูดในบริเวณหมู่เกาะ มีเพียงไม่กี่ภาษา เช่น ภาษามลายู และ ภาษาจามที่ใช้พูดบนผืนแผ่นดิน สมาชิกของตระกูลนี้มีถึง 1,268 ภาษา หรือประมาณ 1 ใน 5 ของภาษาที่รู้จักกันทั่วโลก การแพร่กระจายจากแหล่งกำเนิดของภาษาถือว่ากว้างไกล เริ่มตั้งแต่เกาะมาดากัสการ์ ไปจนถึงเกาะทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก ภาษาราปานูอี ภาษามาลากาซี และ ภาษาฮาวาย เป็นภาษาที่ใช้พูดตามรอบนอกของขอบเขตที่มีการใช้ภาษาตระกูลนี้ ภาษาตระกูลนี้มีสาขามากมาย ส่วนมากพบในไต้หวัน ภาษากลุ่มเกาะฟอร์โมซาในไต้หวันเป็นสาขาหลักของภาษาในตระกูลนี้ มีถึง 9 สาขา ภาษาที่ใช้พูดนอกเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดอยู่ในภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย ซึ่งบางครั้งเรรียกว่าภาษานอกเกาะฟอร์โมซ.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน · ดูเพิ่มเติม »

ซามารินดา

ซามารินดา (Samarinda) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก บนเกาะบอร์เนียว ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำมาฮากัม เป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก โดยมีประชากร 726,223 คน หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:จังหวัดกาลีมันตันตะวันออก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและซามารินดา · ดูเพิ่มเติม »

ซูการ์โน

ซูการ์โน (Soekarno, Sukarno; เกิด 6 มิถุนายน ค.ศ. 1901 เสียชีวิต 21 มิถุนายน ค.ศ. 1970) เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินโดนีเซีย เขามีส่วนสำคัญในการประกาศเอกราชของอินโดนีเซียต่อประเทศเนเธอร์แลนด์ และดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างปี ค.ศ. 1945 - ค.ศ. 1967 ซูการ์โนถูกบีบให้ลงจากอำนาจโดยอดีตลูกน้องของเขาคือนายพลซูฮาร์โต ซึ่งรับตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1967 ลูกสาวของเขาคือ เมกาวาตี ซูการ์โนบุตรี ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ห้าของอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและซูการ์โน · ดูเพิ่มเติม »

ซูราบายา

ซูราบายา (Surabaya) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับที่สองของอินโดนีเซีย และเป็นเมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันออก ในวันที่ 13-14 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและซูราบายา · ดูเพิ่มเติม »

ประชาธิปไตย

รัฐที่มิได้มองว่าตนปกครองระบอบประชาธิปไตย ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ประเทศซาอุดิอาระเบีย UAE กาตาร์ โอมาน ฟิจิและบรูไน ประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน ประชาธิปไตยเกิดขึ้นในบางนครรัฐกรีกโบราณช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเอเธนส์หลังการก่อการกำเริบเมื่อ 508 ปีก่อนคริสตกาล ประชาธิปไตยแบบนี้เรียกว่า ประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งพลเมืองเกี่ยวข้องในกระบวนการทางการเมืองโดยตรง แต่ประชาธิปไตยในปัจจุบันเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน โดยสาธารณะออกเสียงในการเลือกตั้งและเลือกนักการเมืองเป็นผู้แทนตนในรัฐสภา จากนั้น สมาชิกสภาจะเป็นผู้ตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ประชาธิปไตยทางตรงยังมีอยู่ในระดับท้องถิ่นหลายประเทศ เช่น การเลือกตั้งสมาชิกเทศบาล อย่างไรก็ดี ในระดับชาติ ความเป็นประชาธิปไตยทางตรงมีเพียงการลงประชามติ การริเริ่มออกกฎหมายและการถอดถอนผู้ได้รับเลือกตั้ง แม้ในปัจจุบัน ประชาธิปไตยจะยังไม่มีนิยามที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วกันก็ตาม แต่มีการระบุว่าความเสมอภาคและอิสรภาพเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตยนับแต่โบราณกาลR.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste,, ตีโมร์แลชตือ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (República Democrática de Timor-Leste; Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศติมอร์-เลสเต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศปาปัวนิวกินี

ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea; Papua Niugini) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี (Independent State of Papua New Guinea; Independen Stet bilong Papua Niugini) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน ปัจจุบันปาปัวนิวกินีเป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน).

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศปาปัวนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนเธอร์แลนด์

นเธอร์แลนด์ (Nederland เนเดอร์ลอนต์; Netherlands) หรือที่มักเรียกกันว่า ฮอลแลนด์ (Holland) หรือ ฮอลันดา หรือ วิลันดา เป็นประเทศองค์ประกอบ (constituent country) ของราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยสิบสองจังหวัดในยุโรปตะวันตก และสามเกาะในแคริบเบียน เนเธอร์แลนด์ส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปมีอาณาเขตทิศเหนือและตะวันตกจดทะเลเหนือ ทิศใต้จดประเทศเบลเยียม และทิศตะวันออกจดประเทศเยอรมนี และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับเบลเยียม เยอรมนีและสหราชอาณาจักร ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศแรก ๆ ของโลกที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และปกครองด้วยประชาธิปไตยระบบรัฐสภา จัดระเบียบเป็นรัฐเดี่ยว เมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ คือ อัมสเตอร์ดัม ทว่า ที่ทำการรัฐบาลตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมดมักเรียกว่า "ฮอลแลนด์" ซึ่งในการใช้อย่างเข้มงวดจะหมายความถึงจังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์และเซาท์ฮอลแลนด์เท่านั้น ถือกันว่าการใช้แบบแรกนั้นไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นทางการ ขึ้นอยู่กับบริบท ทว่า เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเมื่อหมายถึงฟุตบอลทีมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ต่ำ โดย 20% ของพื้นที่อยู่ และ 21% ของประชากรอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และ 50% ของพื้นที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกินหนึ่งเมตร ซึ่งลักษณะเด่นนี้เป็นที่มาของชื่อประเทศ ในภาษาดัตช์ อังกฤษและภาษาอื่นของยุโรปอีกหลายภาษา ชื่อประเทศหมายถึง "แผ่นดินต่ำ" หรือ "กลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ" พื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลเกิดจากฝีมือมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการสกัดพีต (peat) อย่างกว้างขวางและมีการควบคุมไม่ดีหลายศตวรรษทำให้พื้นผิวต่ำลงหลายเมตร แม้ในพื้นที่น้ำท่วมถึง การสกัดพีตยังดำเนินต่อไปโดยการขุดลอกพื้นที่ ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 เริ่มมีการฟื้นสภาพที่ดินและปัจจุบันมีการสงวนพื้นที่โพลเดอร์ (polder) ขนาดใหญ่ด้วยระบบการระบายน้ำที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งพนัง คลองและสถานีสูบ พื้นที่เกือบ 17% ของประเทศเป็นพื้นที่ที่เกิดจากการถมทะเล พื้นที่บริเวณกว้างของเนเธอร์แลนด์เกิดจากชะวากทะเลของแม่น้ำสำคัญของทวีปยุโรปสามสายและลำน้ำแตกสาขาเกิดเป็นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไรน์–เมิซ–ซเกลดะ (Rhine–Meuse–Scheldt delta) พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นที่ราบ ยกเว้นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้และเทือกเขาเตี้ย ๆ หลายเทือกทางตอนกลาง ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป จี-10 นาโต้ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) องค์การการค้าโลก และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพเศรษฐกิจไตรภาคีเบเนลักซ์ ประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นที่ตั้งขององค์การห้ามอาวุธเคมี และศาลระหว่างประเทศห้าศาล ได้แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศ คณะตุลาการอาญาระหว่างประเทศสำหรับอดีตยูโกสลาเวียและคณะตุลาการพิเศษสำหรับเลบานอน สี่ศาลแรกตั้งอยู่ในกรุงเฮก เช่นเดียวกับยูโรโปล สำนักข่าวกรองอาชญากรรมของสหภาพยุโรป และยูโรจัสต์ สำนักความร่วมมือทางตุลาการ ทำให้กรุงเฮกได้รับสมญาว่า "เมืองหลวงกฎหมายโลก" ประเทศเนเธอร์แลนด์ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบผสมอิงตลาด โดยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 177 ประเทศในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ในปี 2554 เป็นประเทศที่มีรายได้ต่อหัวสูงสุดเป็นอันดับที่ 10 ของโลก ในเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน OECD จัดให้เนเธอร์แลนด์เป็นประเทศ "ที่มีความสุขที่สุด" ในโลก ซึ่งสะท้อนถึงมาตรฐานการครองชีพที่สูง.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและประเทศเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ปาดัง

ปาดัง เป็นเมืองใหญ่สุดของชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองเอกของจังหวัดสุมาตราบาราต ปาดังมีพื้นที่ทั้งหมด และมีประชากรทั้งหมด 923,544 คน จากการสำมะโนประชากรปี 2013.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและปาดัง · ดูเพิ่มเติม »

ปาเล็มบัง

ปาเล็มบัง (Palembang) เป็นเมืองหลักของจังหวัดสุมาตราใต้ ทางฝั่งตะวันออกทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนที่ราบริมแม่น้ำมูซี มีพื้นที่ 400.61 ตารางกิโลเมตร ประชากรประมาณ 1.44 ล้านคน เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของเกาะสุมาตรา รองจากเมืองเมดันซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ปาเล็มบังได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสองเมืองหลักที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 26 ระหว่างวันที่ 11 ถึง 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ร่วมกับจาการ์ตา ปาเล็มบังเป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยเป็นเมืองหลวงเก่าของอาณาจักรศรีวิชั.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและปาเล็มบัง · ดูเพิ่มเติม »

ปนตียานัก

ปนตียานัก (Pontianak) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดกาลีมันตันตะวันตก อินโดนีเซีย เป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดกลาง ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ที่ปากลำน้ำสายเล็ก ๆ ทางเหนือของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำกาปูอัส เมืองปนตียานักมีพื้นที่ 107.82 กม² เมืองนี้ตั้งอยู่ในแหล่งปลูกมะพร้าว พริกไทย ข้าวเจ้า ยาสูบและอ้อย ส่งยาง น้ำตาล และน้ำมันปาล์มเป็นสินค้าออก เมืองนี้ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและปนตียานัก · ดูเพิ่มเติม »

โจโก วีโดโด

ก วีโดโด (Joko Widodo) เป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 7 และคนปัจจุบันของประเทศอินโดนีเซีย เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงจาร์กาตา ก่อนลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและโจโก วีโดโด · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะบอร์เนียว

อร์เนียว (Borneo) หรือ กาลีมันตัน (Kalimantan) เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากเกาะกรีนแลนด์ (อันดับ 1) และเกาะนิวกินี (อันดับ 2) มีประเทศ 3 ประเทศอยู่ในเกาะบอร์เนียว คือ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย อยู่บริเวณใจกลางกลุ่มเกาะมลายูและประเทศอินโดนีเซีย ในทางภูมิศาสตร์ เกาะบอร์เนียวเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกาะบอร์เนียว · ดูเพิ่มเติม »

เกาะสุมาตรา

มาตรา หรือ ซูมาเตอรา (Sumatra; Sumatera) คือเกาะที่มีขนาดเป็นอันดับ 6 ของโลก (มีขนาดประมาณ 470,000 กม.&sup2) และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกาะสุมาตรา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะติมอร์

เกาะติมอร์ เกาะติมอร์ เป็นเกาะที่อยู่ใต้สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทะเลติมอร์ พื้นที่บนเกาะแบ่งได้เป็นสองส่วน ได้แก่ติมอร์-เลสเตซึ่งเป็นรัฐอิสระ และติมอร์ตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก เกาะติมอร์มีพื้นที่ 30,777 ตารางกิโลเมตร ชื่อของเกาะมาจากคำว่า ตีมูร์ (timur) ในภาษามลายู ซึ่งแปลว่า ตะวันออก เพราะเกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของหมู่เกาะซุนดาน้อย หมวดหมู่:เกาะติมอร์.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกาะติมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซูลาเวซี

ซูลาเวซี (Sulawesi) หรือเดิมเรียกว่า เซเลบีส (Celebes) ซึ่งมาจากภาษาโปรตุเกส เป็นหนึ่งในเกาะซุนดาใหญ่ 4 เกาะของประเทศอินโดนีเซีย ชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมายังเกาะแห่งนี้ คือ กะลาสีเรือชาวโปรตุเกส เมื่อ พ.ศ. 2055 และนับตั้งแต่ พ.ศ. 2212 เป็นต้นมา บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ก็ได้ตั้งมั่นอยู่ที่มากัสซาร์ (Makassar) และเมื่อ พ.ศ. 2448 พื้นที่ทั้งเกาะกลายเป็นส่วนหนึ่งของนิคมชาวดัตช์อินเดียตะวันออก กระทั่งอินโดนีเซียประกาศเอกราช เมื่อ พ.ศ. 2498.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกาะซูลาเวซี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนิวกินี

นิวกินี (New Guinea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย เมื่อบริเวณที่ที่ปัจจุบันคือช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) จมลงในช่วง 5000 ปีก่อนคริสตกาล โดยพื้นที่ส่วนตะวันตกของตัวเกาะเป็นดินแดนจังหวัดปาปัวและจังหวัดปาปัวตะวันตก (อดีตอีเรียนจายาตะวันตก) ของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะมีฐานะเป็นแผ่นดินใหญ่ของรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี ด้วยความสูง 4,884 เมตร ยอดเขาปุนจะก์จายา (Puncak Jaya) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ายอดเขาการ์สเตินส์ (Carstensz) ทำให้เกาะนิวกินีได้รับการจัดให้เป็นพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก นิวกินี เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะนานาชาติ หมวดหมู่:เกาะในประเทศปาปัวนิวกินี.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกาะนิวกินี · ดูเพิ่มเติม »

เกินดารี

กินดารี (Kendari) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดซูลาเวซีตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินโดนีเซีย เป็นเมืองท่าทางทะเล มีประชากร 314,812 คน ทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของซูลาเวซี มีสินค้าออกได้แก่ เครื่องหวาย น้ำมันชักเงา และเครื่องประดับทองคำและเงิน ในสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นเข้ายึดครองใน..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเกินดารี · ดูเพิ่มเติม »

เมดัน

มดัน (Medan, ออกเสียง) เป็นเมืองหลักของจังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งด้านทิศเหนือของเกาะสุมาตรา เมดันเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศอินโดนีเซีย รองจากจาการ์ตา ซูราบายา และบันดุง และยังเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่อยู่นอกเกาะชวาด้ว.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเมดัน · ดูเพิ่มเติม »

เอกราช

อกราช คือ ความเป็นอิสระในการปกครองตนเองของชาติหรือรัฐ มีอำนาจอธิปไตยไม่ถูกกดขี่ควบคุมทางการเมืองหรือเป็นอาณานิคมจากรัฐบาลภายนอก.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเอกราช · ดูเพิ่มเติม »

เซรัง

ซรัง (Serang) เป็นเมืองหลักของจังหวัดบันเติน ประเทศอินโดนีเซีย มีภูมิอากาศแบบป่าดงดิบชื้น เมืองมีประชากร 576,961 คนในปี..

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเซรัง · ดูเพิ่มเติม »

เซอมารัง

ซอมารัง (Semarang, ꦯꦼꦩꦫꦁ) เป็นเมืองบนชายฝั่งทางเหนือของเกาะชวา, ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง มีพื้นที่ประมาณ 305.17 กม.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและเซอมารัง · ดูเพิ่มเติม »

.id

.id เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศอินโดนีเซีย เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2536.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและ.id · ดูเพิ่มเติม »

17 สิงหาคม

วันที่ 17 สิงหาคม เป็นวันที่ 229 ของปี (วันที่ 230 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 136 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและ17 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

27 ธันวาคม

วันที่ 27 ธันวาคม เป็นวันที่ 361 ของปี (วันที่ 362 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 4 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประเทศอินโดนีเซียและ27 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Indonesiaสาธารณรัฐอินโดนีเซียอินโดนิเซียอินโดนีเชียอินโดนีเซียประเทศอินโดนีเชียประเทศอินโดเนียเซียประเทศอินโดเนเซีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »