โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐสุลต่านอาเจะฮ์

ดัชนี รัฐสุลต่านอาเจะฮ์

รัฐสุลต่านอาเจะฮ์ (Sultanate of Aceh) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรอาเจะฮ์ดารุซซาลัม (Kingdom of Aceh Darussalam, ภาษาอาเจะฮ์: Keurajeuën Acèh Darussalam; อักษรยาวี: كاورجاون اچيه دارالسلام) เป็นรัฐที่มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองอยู่ในบริเวณที่ปัจจุบันคือจังหวัดอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย ครองอำนาจในราวพุทธศตวรรษที่ 21 – 22 ก่อนจะเสื่อมอำนาจลง เมืองหลวงตั้งอยู่ที่กูตาราจา ปัจจุบันคือบันดาอาเจะฮ์ ในช่วงที่มีอำนาจ อาเจะฮ์พยายามเข้ายึดครองรัฐสุลต่านยะโฮร์ และมะละกาที่อยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกส พยายามเข้าควบคุมช่องแคบมะละกา และพื้นที่ที่มีพริกไทยและดีบุกมาก อาเจะฮ์เป็นศูนย์กลางของนักปราชญ์อิสลามและการค้.

29 ความสัมพันธ์: บริษัทอินเดียตะวันออกบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์บันดาอาเจะฮ์ช่องแคบมะละกาพริกไทยกลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จามกานพลูภาษามลายูภาษาอาหรับภาษาอาเจะฮ์มักกะฮ์รัฐมะละการัฐยะโฮร์รัฐปะหังรัฐในอารักขาศาสนาอิสลามสงครามอาเจะฮ์หมากอหิวาตกโรคอักษรยาวีอัลกุรอานจักรวรรดิออตโตมันจังหวัดสุมาตราเหนือจังหวัดอาเจะฮ์จันทน์เทศดีบุกประเทศอินโดนีเซียประเทศโปรตุเกสเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บริษัทอินเดียตะวันออก

ริษัทอินเดียตะวันออกอันทรงเกียรติ (Honourable East India Company) หรือในเวลาต่อมาคือ บริษัทอินเดียตะวันออกของบริเตน เป็นบริษัทร่วมทุนสัญชาติอังกฤษในช่วงแรก ซึ่งเดิมถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาการค้ากับภูมิภาคอินเดียตะวันออก แต่ในภายหลังได้ดำเนินการค้าส่วนใหญ่กับอนุทวีปอินเดียและจีน และยังมีหน้าที่ปกครองอาณานิคมในอนุทวีปอินเดีย บริษัทอินเดียตะวันออกถือได้ว่ามีความเก่าแก่ที่สุดเมื่อเทียบกับบริษัทอินเดียตะวันออกของชาติทวีปยุโรปอื่น ๆ เมื่อแรกก่อตั้ง บริษัทได้รับพระราชทานตราตั้งโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1ให้เป็น "ข้าหลวงแลบริษัทพาณิชย์แห่งลอนดอนซึ่งจักทำการค้าไปยังอินเดียตะวันออก" เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และบริษัทอินเดียตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์

อู่ต่อเรือบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ในกรุงอัมสเตอร์ดัม ค.ศ. 1726 วาดโดยโจเซฟ มัลเดอร์ ฟลอริน อาณานิคมของเนเธอร์แลนด์ บริเวณสีเขียวอ่อนคือดินแดนในปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ สหบริษัทอินเดียตะวันออก (Vereenigde Oostindische Compagnie) หรือที่ชาวอังกฤษเรียกว่า บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ (Dutch East India Company) มีชื่อย่อว่า เฟโอเซ (VOC) ได้รับก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1602 โดยในช่วงแรกรัฐสภาเนเธอร์แลนด์มอบสิทธิ์ขาดในการค้าเครื่องเทศแก่บริษัทเป็นเวลา 21 ปี บ่อยครั้งบริษัทนี้ได้รับการพิจารณาว่าเป็นบริษัทข้ามชาติบริษัทแรกในโลก และเป็นบริษัทแรกที่ออกหุ้น สหบริษัทอินเดียตะวันออกเป็นบริษัทที่มีอำนาจสูงเกือบเทียบเท่ารัฐบาล โดยมีความสามารถที่จะเข้าร่วมสงคราม สั่งจำคุกและประหารชีวิตนักโทษ เจรจาสนธิสัญญา ผลิตเหรียญกระษาปณ์เป็นของตนเอง และจัดตั้งอาณานิคม.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

บันดาอาเจะฮ์

ันดาอาเจะฮ์ (Banda Aceh) เป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางปลายทิศตะวันตกเฉียงเหนือบนเกาะสุมาตรา บริเวณปากแม่น้ำอาเจะฮ์ มีขนาดพื้นที่ 64 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และบันดาอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ช่องแคบมะละกา

องแคบมะละกา อยู่ระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย 250px ช่องแคบมะละกา (Strait of Malacca) เป็นช่องแคบระหว่างแหลมมลายูกับเกาะสุมาตรา อยู่บริเวณทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ตะวันตกและใต้ของมาเลเซีย ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือและเหนือของเกาะสุมาตรา และเลยไปถึงทางด้านใต้ของสิงคโปร์ ระบุพิกัดที่ประมาณ 1.43 องศาเหนือ และ 102.89 องศาตะวันออก ช่องแคบมะละกาเป็นช่องแคบที่มีความกว้างบริเวณทางเข้าประมาณ 5 ไมล์ ยาวประมาณ 600 ไมล์ ช่วงที่แคบที่สุดประมาณ 1.5 ไมล์ มีเรือผ่านประมาณ 900 ลำต่อวันหรือประมาณ 50,000 ลำต่อปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วมีประมาณเรือที่ผ่านมากกว่าคลองสุเอซประมาณ 2 เท่า และมากกว่าคลองปานามากว่า 3 เท่า มะละกา มะละกา หมวดหมู่:ประเทศสิงคโปร์ มะละกา หมวดหมู่:ชายแดนมาเลเซีย - อินโดนีเซีย.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และช่องแคบมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

พริกไทย

ริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น ซึ่งพริกไทยเป็นพืชคนละสายพันธุ์กับพริก (Chilli).

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และพริกไทย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จาม

กลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จาม (Aceh-Chamic languages) เป็นกลุ่มของภาษาที่ใกล้เคียงกันซึ่งใช้พูดในบริเวณแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยภาษาอาเจะฮ์และกลุ่มภาษาจาม การแยกจากกันระหว่างสองกลุ่มนี้เกิดขึ้นนานมากแล้ว จากฐานข้อมูลคำศัพท์พื้นฐานของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนพบความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จามและภาษามอเกลนราว 70%.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และกลุ่มภาษาอาเจะฮ์-จาม · ดูเพิ่มเติม »

กานพลู

กานพลู เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5 - 4 ซม.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และกานพลู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาเจะฮ์

ภาษาอาเจะฮ์ เป็นภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียน มีผู้พูดในอาเจะฮ์ เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และโบตา รัฐเประก์ ประเทศมาเลเซีย อาเจะฮ์ อาเจะฮ์.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และภาษาอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมะละกา

มะละกา (Melaka; ยาวี: ملاك; Malacca) เป็นรัฐทางตอนใต้ในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บริเวณช่องแคบมะละกา ตรงข้ามกับเกาะสุมาตรา รัฐมะละกาเป็นหนึ่งในสองรัฐของมาเลเซียที่ไม่มีเจ้าผู้ครองรัฐเป็นประมุขแต่มีผู้ว่าราชการรัฐแทน ในอดีต มะละกาเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าระหว่างตะวันออกและตะวันตกบนช่องแคบมะละกามากว่า 500 ปี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปกรรมโปรตุเกส ดัตช์ และมลายู ได้รับการยกย่องให้เป็นนครประวัติศาสตร์บนช่องแคบมะละกาจากองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และรัฐมะละกา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะโฮร์

ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และรัฐยะโฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปะหัง

ปะหัง (Pahang, อักษรยาวี: ڨهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดบนมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประก์ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน (Kuantan) ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่ปกัน (Pekan) เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิส เตเมร์โละห์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงจาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์ ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ") องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และรัฐปะหัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐในอารักขา

ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐในอารักขา (protectorate; protected state) หมายถึงรัฐกึ่งเอกราชซึ่งมีอิสรภาพในการปกครองตนเอง มีผู้ปกครองเป็นคนในท้องที่ แต่ยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประเทศอื่นซึ่งเข้มแข็งกว่า (มีอำนาจปกครอง แต่ไม่มีอำนาจสั่งทหาร) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันภัยจากประเทศที่สาม รัฐในอารักขามักจะมอบสิทธิพิเศษทางการค้าและอนุญาตให้ผู้คุ้มครองเข้าใช้ดินแดนบางส่วนในรัฐของตนเพื่อเป็นการตอบแทนความคุ้มครอง.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และรัฐในอารักขา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอาเจะฮ์

งครามอาเจะฮ์ (Aceh war) หรือ สงครามบันดาอาเจะฮ์ เป็นสงครามระหว่างรัฐสุลต่านอาเจะฮ์ในสุมาตราเหนือกับเนเธอร์แลนด์ ในสมัยที่อาเจะฮ์ยังเป็นรัฐอิสระ สงครามเริ่มขึ้นใน..

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และสงครามอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

หมาก

หมาก เป็นพืชจำพวกปาล์ม มีด้วยกันหลายชนิด ดังนี้; พื.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และหมาก · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

อักษรยาวี

ตัวอย่างอักษรยาวี อักษรยาวี (حروف جاوي) เป็นอักษรอาหรับดัดแปลงสำหรับเขียนภาษามลายู ภาษาอาเจะฮ์ ภาษาบันจาร์ ภาษามีนังกาเบา ภาษาเตาซูก และภาษาอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นักปราชญ์คนหนึ่งของปัตตานี ชื่อ ชัยค์ อะห์มัด อัลฟะฏอนี (Syeikh Ahmad al-Fathani) ได้วางกฎเกณฑ์การใช้อักษรยาวีเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนภาษามลายูในท้องถิ่นนี้ ในอดีต โลกมลายูใช้อักษรยาวีมาช้านาน ก่อนที่จะเปลี่ยนไปใช้อักษรรูมี ปัจจุบันชาวมุสลิมในประเทศไทยที่พูดภาษามลายู นิยมใช้อักษรยาวีบันทึกเรื่องราวในศาสนา และการสื่อสารต่าง ๆ ส่วนนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะ หรือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จะเริ่มเรียนอักษรยาวีสำหรับอ่านเขียนภาษาอาหรับ (ภาษาในคัมภีร์อัลกุรอาน) ตั้งแต่ยังเยาว์ อักษรยาวียังคงใช้กันอยู่บ้างในมาเลเซีย บรูไน และสุมาตรา คำว่า ยาวี นั้นมาจากคำว่า jawa หมายถึง ชวา นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพราะชาวชวาได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในมะละกาและปัตตานี ได้นำอักษรอาหรับดัดแปลงมาเผยแพร่ และในที่สุดได้รับมาใช้ในชุมชนที่พูดภาษามลายูปัตตานีมาช้านาน เป็นที่น่าสังเกตว่า ยังมีความสับสนในการเรียกชื่ออักษรยาวี และภาษามลายูว่า "ภาษายาวี" แม้กระทั่งในหมู่ผู้พูดภาษามลายู ทว่าความจริงแล้วไม่มีภาษายาวี มีแต่อักษรยาวีกับภาษามลายู.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และอักษรยาวี · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุมาตราเหนือ

มาตราเหนือ (Sumatera Utara) เป็นจังหวัดหนึ่งบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีประชากรมากกว่า 13 ล้านคน เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศหากไม่นับรวมกรุงจาการ์ต.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และจังหวัดสุมาตราเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดอาเจะฮ์

อาเจะฮ์ (Aceh) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะสุมาตร.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และจังหวัดอาเจะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

จันทน์เทศ

รื่องเทศสองชนิดจากผลจันทน์เทศ “เม็ดจันทน์เทศ” (เมล็ด) และ “ดอกจันทน์เทศ” (สายสีแดง) เมล็ดจันทน์เทศ ขวดใส่รกจันทน์เทศ ต้นจันทน์เทศหอมในกัว ผลจันทน์เทศในอินเดีย จันทน์เทศ เป็นเครื่องเทศที่ได้จากพืชในวงศ์ Myristicaceae สามชนิด คือจันทน์เทศสามัญหรือจันทน์เทศหอม (M. fragrans) ที่มาจากหมู่เกาะบันดาในหมู่เกาะโมลุกกะในอินโดนีเซีย หรือหมู่เกาะเครื่องเทศที่เป็นแหล่งผลิตจันทน์เทศแหล่งเดียวในโลกมาจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และมีปลูกในหลายประเทศทั่วโลก เช่น เกาะปีนังในมาเลเซีย และที่แคริบเบียนโดยเฉพาะที่เกรเนดา และเกระละทางตอนใต้ของอินเดีย อีกสองชนิดที่ใช้ผลิตจันทน์เทศเช่นกันแต่มีความสำคัญน้อยกว่าคือ จันทน์เทศปาปัว (M. argentea) จากนิวกินี และจันทน์เทศบอมเบย์ (M. malabarica) จากอินเดีย ต้นจันทน์เทศมีความสำคัญสำหรับการผลิตเครื่องเทศสองอย่าง อย่างหนึ่งคือ “เม็ดจันทน์เทศ” (nutmeg) มาจากตัวเมล็ดของต้นที่มีลักษณะเป็นรูปไข่ขนาดยาวประมาณ 20 ถึง 30 มิลิเมตร (1 นิ้ว) กว้าง 15 ถึง 18 มิลิเมตร (¾ นิ้ว) และหนัก 5 ถึง 10 กรัม (¼ ถึง ½ ออนซ์) เมื่อแห้งและ “ดอกจันทน์เทศ” (mace) คือส่วนที่เป็นรกหุ้มเมล็ด เป็นเส้นสายสีออกแดงที่งอกคลุมอยู่รอบเมล็ดรอบเมล็ด เมล็ดและรกจันทน์เทศใช้ปรุงแต่งรสอาหาร ดับคาวจากเนื้อสัตว์ เครื่องเทศสองชนิดนี้ยังเป็นเครื่องเทศที่มีราคาสูงในปัจจุบัน เช่นในสหราชอาณาจักรอังกฤษเม็ดจันทน์เทศเม็ดหนึ่งตกประมาณ.50-1 ปอนด์ต่อเม็ด และ ดอกจันทน์เทศขายเป็นขวด ๆ ละประมาณ 2.50-3 ปอนด์แต่ละขวดทำมาจากเมล็ดสามสี่เมล็ด (ค.ศ. 2009) นอกจากนั้นจันทน์เทศใช้ผลิตสินค้าประเภทอื่นด้วย เช่น น้ำมันจันทน์เทศ ใช้แต่งกลิ่นสบู่ ผงซักฟอก ทำน้ำหอม ในอินโดนีเซียนำไปทำแยม เยลลี่ ลูกกวาด ในยุโรปใช้ปรุงรสในเค้กน้ำผึ้ง เค้กผลไม้ ทางภาคใต้ของไทยนำผลมาทำแช่อิ่ม หยี หรือจันทน์เทศสามรสนิดดา หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และจันทน์เทศ · ดูเพิ่มเติม »

ดีบุก

ีบุก (อังกฤษ: Tin) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 50 และสัญลักษณ์คือ Sn (มาจากคำในภาษาลาตินว่า Stannum) ดีบุกเป็นโลหะที่ไม่ดี หลอมเหลวได้ง่าย ทนต่อการกัดกร่อน และถูกอ๊อกซิไดซ์ในอากาศได้ดี พบในโลหะผสมหลายชนิด ใช้ประโยชน์ในการเคลือบโลหะเพื่อป้องกันการกันกร่อน ดีบุกส่วนใหญ่สกัดได้จากแร่แคสสิเตอร์ไรต์ (cassiterite).

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และดีบุก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปรตุเกส

ปราสาทแห่งกีมารานช์ (Castle of Guimarães) ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของประเทศโปรตุเกส เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ต้นกำเนิดของโปรตุเกส" ศึกแห่งเซามาเมเด (São Mamede) เกิดขึ้นใกล้ๆ กับที่นี่ในปี พ.ศ. 1671 โปรตุเกส (Portugal ปุรตุกาล) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโปรตุเกส (República Portuguesa) เป็นสาธารณรัฐซึ่งมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรไอบีเรียทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และถือว่าเป็นประเทศที่อยู่ทางทิศตะวันตกมากที่สุดในบรรดาประเทศในทวีปยุโรปทั้งหลาย (ยกเว้นหมู่เกาะบริเตนใหญ่และหมู่เกาะใกล้เคียง) โปรตุเกสมีพรมแดนติดกับประเทศสเปนในทางทิศเหนือและทิศตะวันออก และอยู่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติกในทางทิศตะวันตกและทิศใต้ นอกจากนี้ โปรตุเกสยังประกอบไปด้วยอาณาเขตหมู่เกาะอยู่หลายหมู่เกาะด้วยกันในมหาสมุทรแอตแลนติก อาทิเช่น อะโซร์ส (Azores หรือ Açores) และเกาะมาเดราและโปร์ตูซันตู (รวมถึงหมู่เกาะซาเวจด้วย).

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และประเทศโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: รัฐสุลต่านอาเจะฮ์และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รัฐสุลต่านอาเจะห์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »