โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต

ดัชนี ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต

ปีแยร์ มารี ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต (Pierre Lambert de la Motte) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาประจำมิสซังโคชินไชนา และมุขนายกเกียรตินามแห่งเบรุต ผู้ร่วมก่อตั้งคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส และก่อตั้งคณะรักกางเขน.

39 ความสัมพันธ์: ชาวฝรั่งเศสบาทหลวงการประกาศข่าวดีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนภาษาละตินมิชชันนารีมุขนายกมุขนายกเกียรตินามราชอาณาจักรฝรั่งเศสรูอ็องศาสนาคริสต์ศีลอนุกรมสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสำนักมิสซังหลุยส์ ลาโนอาณาจักรอยุธยาอำเภอพระนครศรีอยุธยาจังหวัดกาลวาโดสดีกันคริสต์ศตวรรษที่ 17คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสคณะรักกางเขนคณะเยสุอิตตะวันออกไกลตังเกี๋ยประเทศจีนปารีสแรนแคว้นนอร์ม็องดีโรมโรมันคาทอลิกโคชินไชนาเบรุตเอเวรอเขตมิสซังกรุงเทพฯเขตผู้แทนพระสันตะปาปาเซมินารี

ชาวฝรั่งเศส

วฝรั่งเศส (อังกฤษ: French, ฝรั่งเศส: Français) คือกลุ่มผสมของชาวเคลต์ ชาวเยอรมัน ชาวอิตาลี โดยมีประชากรประมาณ 85 ล้านคนทั่วโลก โดยมีประมาณ 66 ล้านคนในประเทศฝรั่งเศส ในสหรัฐอเมริกา 8.3-11 ล้านคน ในประเทศแคนาดา ประมาณ 4.7 ล้านคน และในประเทศแอฟริกาใต้ ประมาณ 2 ล้านคน และที่อื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการขยายสังคมเพิ่มในช่วงการล่าอาณานิคม.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและชาวฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

บาทหลวง

ทหลวงดนัย วรรณะ (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) และ ขวา-บาทหลวงสมเกียรติ บุญอนันตบุตร (โรมันคาทอลิก) บาทหลวง (priest)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 387-8 หมายถึง นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์เรียก priest ว่า ปุโรหิต.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและบาทหลวง · ดูเพิ่มเติม »

การประกาศข่าวดี

การประกาศข่าวดี (ศัพท์คาทอลิก) หรือ การประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelism) คือการเผยแพร่พระวรสารหรือประกาศข่าวดีตามความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนว่าพระเยซูเป็นพระเจ้าผู้มารับสภาพมนุษย์และถูกตรึงกางเขนจนสิ้นพระชนม์ เพื่อไถ่มนุษย์ผู้เชื่อจากบาป หลังจากนั้น 3 วัน ก็ทรงคืนพระชนม์แล้วเสด็จขึ้นสวรรค์ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าผู้เชื่อข่าวดีนี้จะถูกไถ่จากบาปทันทีและได้ขึ้นสวรรค์หลังจากเสียชีวิต จนถึงการพิพากษาครั้งสุดท้ายก็จะได้รับบำเหน็จจากพระเจ้า การประกาศข่าวดีถือเป็นพันธกิจสำคัญที่พระเยซูฝากไว้แก่สาวกของพระองค์ก่อนจะเสด็จขึ้นสวรรค์ ดังปรากฏในพระวรสารนักบุญมัทธิวว่า "ท่านทั้งหลายจงออกไปและนำชนทุกชาติมาเป็นสาวกของเรา จงบัพติศมาพวกเขาในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" ผู้อุทิศตนทำงานประกาศข่าวดีเรียกว่า ผู้ประกาศข่าวดี (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ ผู้ประกาศข่าวประเสริฐ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Evangelist).

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและการประกาศข่าวดี · ดูเพิ่มเติม »

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายกเกียรตินาม

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกเกียรตินาม (Titular bishop) หรือทับศัพท์ว่าทิทิวลาร์บิชอป ชาวไทยคาทอลิกเรียกว่าพระสังฆราชเกียรตินาม คือบาทหลวงที่ได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาให้เป็นมุขนายก แต่ไม่มีมุขมณฑลปกครองเพราะมุขมณฑลที่ได้รับดูแลนั้นไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและมุขนายกเกียรตินาม · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

รูอ็อง

รูอ็อง (Rouen) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำแซน เป็นอดีตเมืองหลวงของนอร์ม็องดีทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ในปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของแคว้นโอต-นอร์ม็องดี (นอร์ม็องดีบน) เดิมรูอ็องเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและมั่งคั่งที่สุดของยุคกลาง ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานที่รับผิดชอบในการเก็บภาษีของนอร์มองดีในยุคกลาง และเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์แองโกล-นอร์มันที่ปกครองทั้งอังกฤษและบริเวณส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 15 รูอ็องเป็นเมืองที่โจนออฟอาร์กถูกเผาทั้งเป็นในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและรูอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศีลอนุกรม

อัครมุขนายกเกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช ปกมือเหนือศีรษะผู้ขอบวชเพื่อโปรดศีลบวชเป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ณ เซมินารีนักบุญยอแซฟ สามพราน ศีลอนุกรม (Holy Orders) หรือศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและศีลอนุกรม · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1644 ถึง ค.ศ. 1655 ประสูติเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1574 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1655 รวมพระชนมายุได้ 80 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2117 อินโนเซนต์ที่ 10 หมวดหมู่:บุคคลจากโรม.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 10 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 9 (อังกฤษ: Clement IX) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1667 ถึง ค.ศ. 1669 ประสูติเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1600 สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1669 รวมพระชนมายุได้ 69 พรรษา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2143 คลีเมนต์ที่ 9 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและสมเด็จพระสันตะปาปาเคลเมนต์ที่ 9 · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

มเด็จพระนารายณ์มหาราช หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (พ.ศ. 2174/2175 - 2231; ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอ.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

สำนักมิสซัง

มิสซังคาทอลิกเชียงใหม่ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก) หรือ ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) (mission) คือสำนักงานของมิชชันนารี.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและสำนักมิสซัง · ดูเพิ่มเติม »

หลุยส์ ลาโน

หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกชาวฝรั่งเศสสมาชิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส ซึ่งปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในอาณาจักรอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และได้ดำรงตำแหน่งประมุขมิสซังสยามเป็นองค์แรก.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและหลุยส์ ลาโน · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพระนครศรีอยุธยา

อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางการบริหารศูนย์กลางธุรกิจของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า อำเภอรอบกรุง จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2440 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อำเภอกรุงเก่า และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและอำเภอพระนครศรีอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดกาลวาโดส

กาลวาโดส (Calvados) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส จังหวัดกาลวาโดสตั้งตามลักษณะของกลุ่มหินบริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นที่ตั้ง ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ โดยมีก็องเป็นเมืองหลัก กาลวาโดสเป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและจังหวัดกาลวาโดส · ดูเพิ่มเติม »

ดีกัน

ันธบริกรคาทอลิกในชุดดัลมาติก (Dalmatic) ซึ่งเป็นเครื่องแบบในศาสนพิธี ดีกันราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 201 (deacon) เป็นตำแหน่งหนึ่งในการบริหารคริสตจักร พบได้ในทุกนิกาย แต่มีการกำหนดหน้าที่และคุณสมบัติไว้แตกต่างกัน นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยใช้คำว่าสังฆานุกร.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและดีกัน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 17

ริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึง ค.ศ. 1700.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและคริสต์ศตวรรษที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส

ณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส (Missions Étrangères de Paris; M.E.P) เป็นคณะชีวิตแพร่ธรรมของคริสตจักรโรมันคาทอลิก (ไม่ใช่คณะนักบวชคาทอลิก) สมาชิกประกอบด้วยบาทหลวงประจำมุขมณฑลและฆราวาสที่อุทิศตนทำงานเป็นมิชชันนารีในต่างประเทศ คณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสก่อตั้งราว..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีส · ดูเพิ่มเติม »

คณะรักกางเขน

ณะรักกางเขน (Amantes de la Croix; Lovers of the Holy Cross) เป็นกลุ่มคณะนักบวชคาทอลิกหญิงประจำมุขมณฑล ที่มุขนายกปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อต ก่อตั้งขึ้นเมื่อมาปฏิบัติหน้าที่มิชชันนารีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคณะรักกางเขนคณะแรกตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและคณะรักกางเขน · ดูเพิ่มเติม »

คณะเยสุอิต

ณะเยสุอิต.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและคณะเยสุอิต · ดูเพิ่มเติม »

ตะวันออกไกล

ตะวันออกไกล ตะวันออกไกล (Far East) ในความหมายที่จำกัดหมายถึงพื้นที่ซึ่งประกอบด้วยประเทศทางด้านตะวันออกของทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย ไต้หวัน และไซบีเรีย แต่ในความหมายที่กว้างขึ้นมักหมายรวมถึงอาเซียนและบางส่วนของเอเชียใต้ ในทางประวัติศาสตร์ ชาติมหาอำนาจในยุโรปเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกดินแดนแถบนี้และกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกว่าตะวันออกไกลเนื่องจากอยู่ห่างไกลจากอาณาจักรของตนไปทางทิศตะวันออก.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและตะวันออกไกล · ดูเพิ่มเติม »

ตังเกี๋ย

อาณานิคมตังเกี๋ย (Bắc Kỳ บั๊กกี่; Tonkin, Tongkin, Tonquin หรือ Tongking) เป็นส่วนที่อยู่ทางเหนือสุดของประเทศเวียดนาม มีอาณาเขตติดต่อกับเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงและมณฑลยูนนานของจีนทางเหนือ ทางตะวันตกติดต่อกับลาว และทางตะวันออกติดต่อกับอ่าวตังเกี๋ย ตังเกี๋ยตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมแม่น้ำแดงอันอุดมสมบูรณ์ และนับเป็นแหล่งปลูกข้าวที่สำคัญ.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและตังเกี๋ย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แรน

แรน (Rennes) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของบริตานีทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศส แรนเป็นเมืองหลวงของแคว้นเบรอตาญและจังหวัดอีเลวีแลน ตัวเมืองตั้งอยู่บนเนินระหว่างที่ที่แม่น้ำอีลและแม่น้ำวีแลนมาบรรจบกัน ตัวเมืองทางตอนใต้ของตัวเมืองต่ำกว่าทางตอนเหนือ แรนเป็นที่ตั้งของมหาวิหารแซ็ง-ปีแยร์แห่งแรน.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและแรน · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นนอร์ม็องดี

นอร์ม็องดี (Normandie; นอร์มัน: Normaundie; มาจากคำภาษาฝรั่งเศสเก่าว่า Normanz รูปพหูพจน์ของ Normant ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำที่แปลว่า "คนจากทางเหนือ" ในภาษาแถบสแกนดิเนเวียหลายภาษา) เป็นหนึ่งในแคว้น 18 แคว้นของประเทศฝรั่งเศส มีอาณาบริเวณสอดคล้องกับดัชชีนอร์ม็องดีในอดีต ในทางบริหาร แคว้นนอร์ม็องดีแบ่งออกเป็น 5 จังหวัด ได้แก่ กาลวาโดส, แซน-มารีตีม, ม็องช์, ออร์น และเออร์ ครอบคลุมเนื้อที่ 30,627 ตารางกิโลเมตร (11,825 ตารางไมล์) คิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของดินแดนฝรั่งเศสทั้งหมด จำนวนประชากรของแคว้น 3.3 ล้านคนคิดเป็นประมาณร้อยละ 5 ของประชากรฝรั่งเศสทั้งหมด ภูมิภาคนอร์ม็องดีตามประวัติศาสตร์ประกอบด้วยแคว้นนอร์ม็องดีในปัจจุบัน รวมกับพื้นที่เล็ก ๆ ซึ่งทุกวันนี้เป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดมาแยนและจังหวัดซาร์ตในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ หมู่เกาะแชนเนล (ฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่เรียกว่า "หมู่เกาะอังกฤษ-นอร์ม็องดี") ในอดีตก็เป็นส่วนหนึ่งของนอร์ม็องดีเช่นกัน หมู่เกาะนี้มีเนื้อที่ 194 ตารางกิโลเมตร และประกอบด้วยเขตเจ้าพนักงานศาลสองแห่ง ได้แก่ เกิร์นซีย์และเจอร์ซีย์ ซึ่งเป็นเขตสังกัดราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ชื่อนอร์ม็องดีมีที่มาจากการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ของชาวไวกิงหรือ "คนเหนือ" จากนอร์เวย์และเดนมาร์กตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 (คริสต์ศตวรรษที่ 9) ซึ่งได้รับการยืนยันโดยสนธิสัญญาในพุทธศตวรรษที่ 15 (คริสต์ศตวรรษที่ 10) ระหว่างพระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส กับรอลโลแห่งอาณาจักรเมอเรอ (ในนอร์เวย์ปัจจุบัน) หลังจากการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มันในปี..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและแคว้นนอร์ม็องดี · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โคชินไชนา

อาณานิคมโคชินไชนา หรือ อาณานิคมโคชินจีน (Cochinchina; Nam Kỳ, Kampuchea Krom) เป็นบริเวณที่อยู่ทางใต้ของเวียดนามซึ่งมีเมืองสำคัญคือไซ่ง่อนหรือไพรนครในภาษาเขมร ดินแดนนี้เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสตั้งแต..

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและโคชินไชนา · ดูเพิ่มเติม »

เบรุต

รุต (بيروت; Beirut) คือเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเลบานอน ตั้งอยู่บนปลายแหลมเล็กที่ยื่นออกไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและเบรุต · ดูเพิ่มเติม »

เอเวรอ

อ-เวฺรอ (Évreux) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดเออร์ในแคว้นโอต-นอร์ม็องดีในประเทศฝรั่งเศส เมืองเอเวรอตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศสบนฝั่งแม่น้ำอีตง (Iton) ชาวเมืองเอเวรอ เรียกว่า "Ébroïcienne" (หญิง) หรือ "Ébroïciens" (ชาย) เอเวรอเป็นที่ตั้งของมหาวิหารเอเวรอและอดีตแอบบีแซ็งโตแร็ง (นักบุญทอรินัส).

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและเอเวรอ · ดูเพิ่มเติม »

เขตมิสซังกรุงเทพฯ

ื้นที่ในปกครองของมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ เขตมิสซังกรุงเทพฯ คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่าอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เป็นอัครมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในประเทศไทย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ ชัยนาท ฉะเชิงเทราบางส่วน อำเภอบ้านนา (นครนายก) นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง สำนักมิสซังคาทอลิกกรุงเทพฯ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 51 ซอยโรงแรมแมนดารินโอเรียนเต็ล ซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและเขตมิสซังกรุงเทพฯ · ดูเพิ่มเติม »

เขตผู้แทนพระสันตะปาปา

ฟร็องซัว ปาลูว์ (François Pallu) มุขนายกเกียรตินามแห่งเฮลีโอโปลิส (Heliopolis) และประมุขมิสซังตังเกี๋ย เขตผู้แทนพระสันตะปาปา (Apostolic vicariate) หรือมิสซัง เป็นเขตอำนาจทางอาณาเขตของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่ตั้งขึ้นในประเทศหรือแว่นแคว้นที่มีการเผยแพร่ศาสนาคริสต์แล้ว แต่ยังไม่ได้รับสถานะเป็น "มุขมณฑล" ตามปกติแล้วทุกคริสตจักรท้องถิ่นจะต้องปกครองตนเองภายใต้การนำของผู้ปกครองคือมุขนายก แต่กรณีที่คริสตจักรเพิ่งตั้งใหม่ หรือยังมีจำนวนคริสตชนน้อย ยังไม่พร้อมที่จะปกครองตนเอง พระสันตะปาปาจะทรงถือสิทธิ์ปกครองคริสตจักรนั้น แล้วส่งผู้แทนหรือวิคาร์ (vicar) ไปทำหน้าที่ปกครองแทน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกผู้ปกครองนั้นว่าผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicar) (เพราะพระสันตะปาปาทรงสืบตำแหน่งมาจากอัครทูต (apostle)) บางตำราก็เรียกว่าประมุขมิสซัง หรือผู้แทนสันตะสำนักประมวลกฎหมายพระศาสนจักร บรรพ ๒ ประชากรของพระเจ้า, กรุงเทพฯ: แผนกคำสอน เขตมิสซังกรุงเทพฯ, 2543, หน้า 97-8 และเรียกเขตปกครองนั้นว่าเขตผู้แทนพระสันตะปาปา (apostolic vicariate) นอกจากนี้ยังนิยมเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น มิสซัง (mission) เทียบมุขมณฑล หรือเขตปกครองโดยผู้แทนสันตะสำนักด้วย บุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้แทนพระสันตะปาปาโดยปกติจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นมุขนายกเกียรตินาม (titular bishop) ด้วยเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานและมีศักดิ์ศรีอย่างมุขนายกเขตมิสซังอื่น.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและเขตผู้แทนพระสันตะปาปา · ดูเพิ่มเติม »

เซมินารี

ซมินารี.

ใหม่!!: ปีแยร์ ล็องแบร์ เดอ ลา ม็อตและเซมินารี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »