โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ดัชนี ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

32 ความสัมพันธ์: พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าอูก กาแปการปฏิวัติฝรั่งเศสภาษาฝรั่งเศสระบอบเก่าราชวงศ์บูร์บงราชวงศ์การอแล็งเฌียงราชวงศ์กาเปเซียงราชวงศ์วาลัวราชอาณาจักรฝรั่งเศส (1791–1792)ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศสวีว็องรีกัทร์สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)สมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยกลางสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1สงครามร้อยปีสงครามศาสนาของฝรั่งเศสสงครามอิตาลีสนธิสัญญาแวร์เดิงอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิการอแล็งเฌียงจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสทวีปอเมริกาเหนือประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสประเทศฝรั่งเศสปารีสนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสโรมันคาทอลิก

พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส (Philip II of France หรือ Philip II Augustus หรือ Philippe Auguste) (21 สิงหาคม ค.ศ. 1165 - 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 1179 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1223 รัชสมัยของพระองค์เป็นรัชสมัยของ พระเจ้าฟิลิปที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1165 ที่ Gonesse ในประเทศฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส และพระอัครมเหสีองค์ที่สามพระราชินีอเดเล ฟิลิปมีพระนามเล่นว่า “Dieudonné”—“ของขวัญจากพระเจ้า”—เพราะทรงพระราชโอรสที่เกิดเมื่อพระราชบิดามีพระชนมายุมากแล้ว พระเจ้าฟิลิปเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีความสามารถมากที่สุดพระองค์หนึ่งในสมัยกลางในการขยายดินแดนและในการเพิ่มพูนอำนาจของพระมหากษัตริย์ ทรงแยกตัวจากจักรวรรดิอองชู และทรงได้รับชัยชนะต่อกลุ่มพันธมิตรของฝ่ายที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระองค์ที่รวมทั้งเยอรมนี, เฟล็มมิช และอังกฤษในยุทธการบูวีนส์ (Battle of Bouvines) ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและพระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส (Louis XVI de France, หลุยส์แซซเดอฟร็องส์; 5 กันยายน ค.ศ. 1754 – 21 มกราคม ค.ศ. 1793) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ในช่วงต้นของสมัยใหม่ พระบิดาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 คือ เจ้าชายหลุยส์ โดแฟ็งแห่งฝรั่งเศส ผู้เป็นพระโอรสเพียงพระองค์เดียวและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงในพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งสิ้นพระชนม์ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอูก กาแป

พระเจ้าอูก กาแป (Hugues Capet; พ.ศ. 1482 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 1539) เป็นกษัตริย์ฝรั่งเศส จากพ.ศ. 1530 จนกระทั่งพระองค์สวรรคต พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 36 แห่งฝรั่งเศส และเป็น "ปฐมกษัตริย์ของชาวแฟรงก์" แห่งราชวงศ์กาเปเซียง บิดาของพระองค์คือพระเจ้าอูกมหาราช และมารดาของพระองค์คือ เฮดวิกแห่งแซกโซนี พระมหากษัตริย์ที่ได้ครองราชย์ต่อจากพระองค์คือพระเจ้ารอแบร์ที่ 2 หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ฝรั่งเศส หมวดหมู่:ราชวงศ์กาแป หมวดหมู่:เคานท์แห่งออร์เลอองส์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แฟรงก์ หมวดหมู่:ราชวงศ์การอแล็งเฌียง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและพระเจ้าอูก กาแป · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเก่า

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะ “พระสุริยเทพ” ระบอบเก่า หรือ อองเซียงเรฌีม (Ancien Régime) โดยทั่วไปหมายถึงระบบแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสภายใต้ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของระบอบเก่าเป็นผลมาจากระบบการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางที่สิ้นสุดในการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ระบอบเก่าของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกัน แต่มีผลบั้นปลายที่แตกต่างกันบางประเทศก็สิ้นสุดลงด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางประเทศก็แตกแยกออกไปจากสงครามและการปฏิวัติ อำนาจระบอบเก่าอยู่บนพื้นฐานสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ นักบวช และชนชั้นขุนนาง ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Estates of the realm) ก็แบ่งออกเป็นสามเช่นกัน คือ ฐานันดรที่หนึ่ง (First Estate) คือนักบวชโรมันคาทอลิก, ฐานันดรที่สอง (Second Estate) คือชนชั้นขุนนาง และ ฐานันดรที่สาม (Third Estate) คือสามัญชน โดยทั่วไปแล้วระบอบเก่าหมายถึงระบอบการปกครองใดใดที่มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ระบอบเก่ารักษาลักษณะหลายประการของระบบเจ้าขุนมูลนายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเฉพาะในการใช้อภิสิทธิ์ของขุนนางและชนชั้นเจ้านายที่สนับสนุนโดยปรัชญาเทวสิทธิราชย์ ความแตกต่างอยู่ตรงที่อำนาจการปกครองที่เคยเป็นของเจ้าครองนครต่างๆ มาก่อนกลายเป็นอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่มมากขึ้น วลีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (พบในเอกสารครั้งแรกในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1794) ในความหมายในทางลบ เช่นเดียวกับการใช้คำว่า ยุคมืด ที่กลายมาเรียกกันว่า สมัยกลาง แนวคิดของการใช้คำว่าระบอบเก่าเป็นการแฝงความหมายเป็นนัยยะว่าเป็นระบอบที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ และควรจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ระบอบใหม่ (New Order) คำว่า ระบอบเก่า คิดขึ้นโดยนักปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่สร้างความเชื่อถือในเหตุผลของการปฏิวัติและทำลายชื่อเสียงของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นการใช้ในทางที่มีอคติในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ สำหรับนักประพันธ์บางคนคำนี้เป็นคำที่ทำให้เกิดความรำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่นที่ตาล์ลีย์รองด์ (Talleyrand) กล่าวว่า: ภาษาสเปนใช้คำว่า “Antiguo Régimen” แต่แม้ว่าสเปนจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลที่ตามต่อมาแต่ความเปลี่ยนแปลงในสเปนไม่รุนแรงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในฝรั่ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและระบอบเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์บูร์บง

ราชวงศ์บูร์บง (ฝรั่งเศส: Maison de Bourbon; สเปน: Casa de Borbón; อังกฤษ: House of Bourbon) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่สำคัญที่สุดในทวีปยุโรป ซึ่งได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และเมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 สมาชิกในราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศสเปน เมืองเนเปิลส์ เกาะซิซิลี และเมืองปาร์มาในประเทศอิตาลีด้วย ในปัจจุบันประเทศที่ยังคงมีสมาชิกในราชวงศ์บูร์บงปกครองอยู่คือราชอาณาจักรสเปนและราชรัฐลักเซมเบิร์ก กษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บงเริ่มการปกครองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2098 (ค.ศ. 1555) ที่เมืองนาวาร์ (ตอนเหนือของประเทศสเปนและทางใต้ของประเทศฝรั่งเศส) และพอมาถึงปี พ.ศ. 2132 (ค.ศ. 1589) ราชวงศ์บูร์บงก็ได้ปกครองประเทศฝรั่งเศสทั้งประเทศ จนมาถึงสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2335 (ค.ศ. 1792) เมื่อครั้งการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อีกครั้ง แต่ก็ดำรงอยู่ได้เพียง 24 ปี ก็ได้มีการล้มล้างระบอบกษัตริย์ลง พระเจ้าเฟลีเปที่ 5 แห่งสเปนทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์บูร์บงที่ได้ปกครองประเทศสเปน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ได้มีการโค่นล้ม แก่งแย่ง และฟื้นฟูใหม่อยู่ตลอดเวลา จนมาถึงปัจจุบันซึ่งมีสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 แห่งสเปนทรงเป็นประมุขแห่งประเทศสเปนอยู่ ส่วนทางประเทศลักเซมเบิร์กนั้น ได้มีการอภิเษกสมรสระหว่างราชวงศ์ จึงนับได้ว่าทางฝ่ายราชสำนักลักเซมเบิร์กนั้นก็มีเชื้อสายราชวงศ์นี้เช่นกัน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชวงศ์บูร์บง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (หรือ ฌีแย็ง) (Carolingiens /ka.ʁɔ.lɛ̃,ʒjɛ̃/) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ในยุโรปหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน เป็นอาณาจักรที่นับถิอศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย ต่อมาใน พ.ศ. 1294 เปแปงร่างเตี้ยบุตรของชาร์ล มาร์เตลได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ล้มล้างราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ตั้งราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ สันตะปาปาได้ให้การสนับสนุนราชวงศ์ใหม่นี้ด้วย กษัตริย์ราชวงศ์นี้ได้ให้การอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์และสนับสนุนอำนาจของสันตะปาปาจนทำให้สันตะปาปามีอำนาจทางโลกมากขึ้น จนในที่สุดสันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้สถาปนาพระเจ้าชาร์เลอมาญพระราชโอรสของพระเจ้าเปแปงขึ้นเป็นจักรพรรดิของชาวโรมันในวันตริสต์มาส พ.ศ. 1343 จักรวรรดิแฟรงก์ในยุคของราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงเริ่มเสื่อมสลายเมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาแบ่งดินแดนให้โอรส 3 พระองค์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิง พ.ศ. 1386 หลังจากนั้น เมื่อถูกพวกไวกิ้งรุกราน การรวมศูนย์อำนาจจึงล่มสลาย อำนาจตกไปอยู่ในมือของพวกขุนนาง จนเข้าสูการปกครองระบอบฟิวดัลในที.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชวงศ์การอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์กาเปเซียง

ราชวงศ์กาเปเซียง (Capétiens) หรือ ราชวงศ์คะพีเชียน (Capetians) คือ ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรฝรั่งเศสในสมัยกลาง มีพระเจ้าอูก กาแป (Hugh Capet) แห่งฝรั่งเศส เป็นต้นพระราชวงศ์ ปัจจุบันราชวงศ์กาเปเซียงที่ยังคงมีพระชนม์ชีพและถือพระราชสมบัติอยู่ คือ กษัตริย์แห่งสเปนและแกรนด์ดุ๊กแห่งลักเซมเบิร์กผ่านทางราชวงศ์บูร์บง คำว่า "คาพีเชียน" มาจากพระนามพระเจ้าอูก กาแป ทั้งที่ "กาแป" มิได้เป็นนามสกุลแต่เป็นฉายานาม แต่กษัตริย์ฝรั่งเศสก็ทรงใช้ "กาแป" เป็นพระนามของพระราชสกุล เช่นเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ทรงถูกประหารด้วยกิโยตีนใน ค.ศ. 1793 การปกครองปฏิวัติในสมัยนั้นบันทึกในมรณบัตรว่า "หลุยส์ กาแป" บรรพบุรุษของราชวงศ์กาเปเซียง คือ ตระกูลรอแบร์ (Robertian) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเคานต์แห่งปารีสในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ปัจจุบันคือฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และ 10 ตระกูลรอแบร์อภิเษกกับราชวงศ์คาโรลินเจียน (Carolingian dynasty) ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกขณะนั้น ทำให้ตระกูลรอแบร์บางคนได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ด้วย แต่ใน ค.ศ. 987 ราชวงศ์กาโรแล็งเชียงสิ้นสุดลงในอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก อูก กาแป เคานต์แห่งปารีสที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรอแบร์นั้น ได้ขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กาเปเซียง ราชวงศ์กาเปเซียงในสายตรงฝรั่งเศสสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1328 ด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 4 ที่ทรงไร้ทายาท แต่ ราชวงศ์วาลัว (Valois dynasty) และราชวงศ์บูร์บง (Bourbon dynasty) อันเป็นสาขาย่อยของราชวงศ์กาเปเซียงยังคงปกครองฝรั่งเศสต่อไป.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชวงศ์กาเปเซียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์วาลัว

ราชวงศ์วาลัว (Valois dynasty) เป็นสาขาย่อยของราชวงศ์กาเปเตียง สืบราชสมบัติฝรั่งเศสต่อจากราชวงศ์กาเปเตียงในค.ศ. 1328 และส่งต่อให้ราชวงศ์บูร์บงในค.ศ. 1589 ราชวงศ์วาลัวสาขาเบอร์กันดีปกครองแคว้นเบอร์กันดีด้วย เป็นดุ๊กแห่งเบอร์กันดี ราชวงศ์วาลัวสืบเชื้อสายมาจากชาร์ลส์ เคานต์แห่งวาลัว (Charles, Count of Valois) พระโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส แม้พระเจ้าฟิลิปที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ราชวงศ์กาเปเตียงจะมีพระโอรสถึงสามองค์ ซึ่งทั้งสามพระองค์ก็ได้เป็นกษัตริย์ แต่กลับไม่มีพระองค์ใดมีทายาทเลย ใน..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชวงศ์วาลัว · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (1791–1792)

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Kingdom of France, Royaume de France) ราชอาณาจักรภายใต้รัฐธรรมนูญปกครองฝรั่งเศสจาก 3 กันยายน..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชอาณาจักรฝรั่งเศส (1791–1792) · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส

ระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศส (Monarques de France) ทรงปกครองดินแดนฝรั่งเศสมาตั้งแต่การสถาปนาราชอาณาจักรแฟรงก์ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและรายพระนามพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

วีว็องรีกัทร์

วีว็องรีกัทร์ (Vive Henri IV, อ็องรีที่ 4 จงเจริญ), มาร์ช็องรีกัทร์ (Marche Henri IV, มาร์ชอ็องรีที่ 4) หรือ วีฟว์เลอรัวอ็องรี (Vive le roi Henri, พระเจ้าอ็องรีจงเจริญ) เป็นเพลงยอดนิยมในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการเฉลิมฉลองพระเจ้าอ็องรีที่ 4 (พระสมัญญานาม "อ็องรีผู้ประเสริฐ") เพลงนี้ได้ประพันธ์ขึ้นในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1590 และอ้างอิงถึงปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์บูร์บง พระเจ้าอ็องรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส (พระเจ้าเอนริเกที่ 3 แห่งนาบาร์รา) ผู้ทรงยุติสงครามสงครามศาสนาและฟื้นฟูสันติภาพของฝรั่งเศส (อันเป็นที่มาแห่งพระสมัญญานามของพระองค์) ในสมัยการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้มีการนำเอาทำนองของเพลงนี้มาใส่เนื้อร้องใหม่ซึ่งมีชื่อว่า เลอเรอตูร์เดแพร็งส์ฟร็องแซอาปารี (Le Retour des Princes français à Paris, การนิวัติกรุงปารีสของบรรดาเจ้าฝรั่งเศส) เพื่อใช้เฉลิมฉลองในการกลับมามีอำนาจในฝรั่งเศสของราชวงศ์บูร์บงอีกครั้งหนึ่ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและวีว็องรีกัทร์ · ดูเพิ่มเติม »

สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)

นันดร (Etats Généraux; States-General/Estates-General) เป็นสภานิติบัญญัติในระบอบเก่าของราชอาณาจักรฝรั่งเศส ประกอบด้วยสามฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Three Estates of the Realm) คือ นักบวช (those who pray) ชนชั้นขุนนาง (those who fight) และสามัญชน (those who work) แต่ละฐานันดรมีการประชุมแยกกัน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการเรียกประชุมและยุบสภาฐานันดร กับทั้งสภาฐานันดรไม่มีอำนาจให้ความเห็นชอบพระราชโองการเกี่ยวกับภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีอำนาจนิติบัญญัติเลย เพียงตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือของพระมหากษัตริย์เท่านั้น สภาฐานันดรจึงไม่มีอำนาจเป็นของตนอย่างแท้จริง เป็นข้อต่างจากรัฐสภาแห่งอังกฤษ สภาฐานันดรแห่งฝรั่งเศสเทียบได้กับสถาบันอื่น ๆ ในยุโรป เช่น สภาฐานันดรแห่งเนเธอร์แลนด์ รัฐสภาแห่งอังกฤษ สภาฐานันดรแห่งสกอตแลนด์ สภาฐานันดรแห่งสเปน สภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสภานิติบัญญัติประจำรัฐในประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส) · ดูเพิ่มเติม »

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

มบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์ก็คือกฎหมาย กล่าวคือ ที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่าง ๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายอมร รักษาสัตย์, กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใด ๆ จะห้ามปรามได้ แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้นจะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใด ๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์ ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมดให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือดและได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิด ในทางทฤษฎี กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย ส่วนในทางปฏิบัติ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจ โดยทั่วไปโดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่น กษัตริย์บางพระองค์ (เช่นจักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871–1918) มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์ และมีองค์กรบริหารอื่น ๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy) เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดีอาระเบีย บรูไน โอมาน สวาซิแลนด์ กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้ว.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสมบูรณาญาสิทธิราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1

ณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 (Première République) สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1792 โดยสภากงว็องซียงแห่งชาติ หลังจากการล่มสลายของราชอาณาจักรฝรั่งเศส ซึ่งในยุคนี้มีการเข่นฆ่าชีวิตผู้คนมากมายตามคำสั่งของมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ ประธานสภากงว็องซียงแห่งชาติ จึงทำให้ผู้คนเรียกยุคสมัยนั้นว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ก่อนที่รอแบ็สปีแยร์จะถูกประหารด้วยกิโยตีน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794 และในที่สุดสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ก็ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1804 จากการขึ้นครองราชย์ของนโปเลียน.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

สงครามร้อยปี

งครามร้อยปี (Hundred Years' War) เป็นชุดความขัดแย้งระหว่าง..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสงครามร้อยปี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามศาสนาของฝรั่งเศส

หตุการณ์สังหารหมู่วันเซนต์บาร์โธโลมิว สงครามศาสนาของฝรั่งเศส (French Wars of Religion) เป็นสงครามกลางเมืองฝรั่งเศส ระหว่างค.ศ. 1562 ถึง ค.ศ. 1598 ระหว่างฝ่ายคาทอลิก นำโดยตระกูลกีส (Guise) กับกลุ่มอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศส นำโดยตระกูลบูร์บง ผลคือฝรั่งเศสเปลี่ยนราชวงศ์ใหม่จากราชวงศ์วาลัวส์ เป็นราชวงศ์บูร์บง และเสรีภาพทางศาสนาของผู้นับถือโปรเตสแตนต์ในฝรั่งเศสตามพระราชกฤษฎีกาแห่งนองซ์ออกโดยพระเจ้าอองรีที่ 4.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสงครามศาสนาของฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามอิตาลี

งครามอิตาลี หรือ มหาสงครามอิตาลี (Italian Wars หรือ Great Italian Wars หรือ Great Wars of Italy) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันระหว่างปี ค.ศ. 1494 จนถึงปี ค.ศ. 1559 ผู้เข้าร่วมสงครามในช่วงต่างๆ ก็ได้แก่นครรัฐอิตาลี (Italian city-states) ต่างๆ ส่วนใหญ่, อาณาจักรพระสันตะปาปา รัฐสำคัญต่างๆ ในยุโรปตะวันตกที่รวมทั้งฝรั่งเศส, สเปน, จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, ราชอาณาจักรอังกฤษ และ ราชอาณาจักรสกอตแลนด์ นอกจากนั้นก็ยังรวมจักรวรรดิออตโตมัน สาเหตุเบื้องต้นของสงครามเกิดจากความขัดแย้งระหว่างตระกูลต่างๆ ในการปกครองอาณาจักรดยุคแห่งมิลาน และ ราชอาณาจักรเนเปิลส์ แต่ความขัดแย้งก็บานปลายอย่างรวดเร็วจนกลายไปเป็นความขัดแย้งโดยทั่วไปในอำนาจการปกครองดินแดนต่างของผู้เกี่ยวข้อง และทวีความรุนแรงและความยุ่งเหยิงมากขึ้นฝ่ายต่างๆ ที่เข้าร่วมทำสัญญาสร้างพันธมิตรระหว่างกัน, ละเมิดข้อตกลงการเป็นพันธมิตร, สร้างพันธมิตรซ้อน และ เปลี่ยนข้าง ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสงครามอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์เดิง

นธิสัญญาแวร์เดิง (Treaty of Verdun) เป็นสนธิสัญญาระหว่างพระราชโอรสสามพระองค์ของหลุยส์เดอะไพอัส (พระราชนัดดาของชาร์เลอมาญ) ในการแบ่งจักรวรรดิแฟรงค์ออกเป็นสามอาณาจักร แม้ว่าบางครั้งการแบ่งจักรวรรดิครั้งนี้จะเห็นกันว่าเป็นการทำลายจักรวรรดิมหาอำนาจที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาร์เลอมาญ แต่อันที่จริงแล้วเป็นการทำตามประเพณีเจอร์มานิคในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทแต่ละคนเท่าๆ กันแทนที่จะใช้กฎการสืบสมบัติโดยสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) ที่มอบสมบัติทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนโตเท่านั้น เมื่อหลุยส์เดอะไพอัสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 840 โลแธร์ที่ 1 พระราชโอรสองค์โตก็อ้างสิทธิเหนือราชอาณาจักรของพระอนุชาอีกสองพระองค์และสนับสนุนสิทธิของพระนัดดาเปแปงที่ 2 ในการเป็นกษัตริย์แห่งอากีแตน หลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ต่อพระอนุชาลุดวิกเดอะเยอรมันและชาร์ลส์เดอะบอลด์ในยุทธการฟงเตอแน (Battle of Fontenay) ในปี ค.ศ. 841 และทั้งสองพระองค์ทรงสาบานความเป็นพันธมิตรกันในคำสาบานสตราซบูร์ (Oaths of Strasbourg) ในปี ค.ศ. 842 แล้ว โลแธร์ที่ 1 ก็ทรงเต็มพระทัยมากขึ้นที่จะเข้าร่วมในการเจรจาต่อรอง พี่น้องแต่ละคนต่างก็มีอาณาจักรเป็นของตนเองแล้ว โลแธร์ครองอิตาลี, ลุดวิกเดอะเยอรมันครองบาวาเรีย และ ชาร์ลส์เดอะบอลด์ครองอากีแตน ผลของการเจรจาทำให้: เมื่อโลแธร์สละราชสมบัติอิตาลีให้แก่พระราชโอรสองค์โตจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ในปี ค.ศ. 844 ลุดวิกก็ทรงแต่งตั้งให้พระราชบิดาขึ้เป็นจักรพรรดิร่วมในปี ค.ศ. 850 เมื่อโลแธร์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 855 อาณาจักรก็ถูกแบ่งเป็นสามส่วนดินแดนที่จักรพรรดิลุดวิกครองอยู่ก็ยังเป็นของพระองค์ ราชอาณาจักรเบอร์กันดีเดิมก็มอบให้แก่พระราชโอรสองค์ที่สามชาร์ลส์แห่งพรอว็องส์และดินแดนที่เหลือแก่โลแธร์ที่ 2 ที่เรียกอาณาจักรของพระองค์ว่าโลธาริงเกีย เมื่อจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ไม่ทรงพอใจที่ไม่ทรงได้รับดินแดนเพิ่มเมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงหันไปเป็นพันธมิตรกับพระปิตุลาลุดวิกเดอะเยอรมัน ในการต่อต้านพระอนุชาโลแธร์และพระปิตุลาชาร์ลส์เดอะบอลด์ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและสนธิสัญญาแวร์เดิง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก

ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันตกทางซ้ายของภาพที่ปัจจุบันคือฝรั่งเศส เวสต์ฟรังเกีย หรือ อาณาจักรแฟรงค์ตะวันตก (West Francia หรือ West Frankish Kingdom) เป็นราชอาณาจักรที่รุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้น ตั้งอยู่ทางตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ได้ตกมาเป็นของจักรพรรดิคาร์ลพระเศียรล้านตามสนธิสัญญาแวร์เดิงปี ค.ศ. 843 เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

มเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ ชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน (Charles the Bald) (13 มิถุนายน ค.ศ. 823 - 6 ตุลาคม ค.ศ. 877) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์คาโรแล็งเชียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 875 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 877 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลุดวิกที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ จูดิธแห่งบาวาเรีย พระอัครมเหสีองค์ที่สอง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ร์ล มาร์แตลในยุทธการที่ตูร์ที่ทรงหยุดยั้งการรุกรานของอุมัยยะห์เข้ามาในยุโรป จักรวรรดิการอแล็งเฌียง (Carolingian Empire) เป็นคำประวัติศาสตร์ที่บางครั้งก็หมายถึงราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ที่เห็นกันว่าเป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี จักรวรรดิการอแล็งเฌียงอาจจะถือว่าเป็นปลายสมัยจักรวรรดิแฟรงก์หรือต้นสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” ("Frankish Kingdoms" หรือ "Frankish Realm") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและจักรวรรดิการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสเป็นดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันมาก่อน โดยรู้จักกันในชื่อของชนเผ่า หรือแคว้นกอล ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าขนาดใหญ่ที่พูดภาษาเคลท์ ในช่วงท้ายก่อนที่จักรวรรดิโรมันจะล่มสลายลง ดินแดนกอลถูกรุกรานจากทั้งการโจมตีของกลุ่มอนารยชนและการอพยพของกลุ่มคนเร่ร่อน โดยเฉพาะชาวแฟรงก์เชื้อสายเจอร์มานิค พระมหากษัตริย์แฟรงก์นามว่า โคลวิสที่ 1 ได้ทรงรวบรวมดินแดนส่วนมากของกอลภายใต้การปกครองของพระองค๋ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 นับเป็นจุดเริ่มต้นของอิทธิพลชาวแฟรงก์ในภูมิภาคนี้ที่ดำเนินต่อไปอีกหลายร้อยปี อำนาจของแฟรงก์ดำเนินมาถึงจุดสูงสุดในช่วงของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสยุคกลางก็ได้ถือกำเนิดขึ้นจากการเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งทางทิศตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงของชาร์เลอมาญ ซึ่งรู้จักกันในนาม ฟรังเกียตะวันตก และเพิ่มพูนอิทธิพลของตนขึ้นเรื่อยมาภายใต้การปกครองของตระกูลกาแปซึ่งก่อตั้งโดยอูก กาแปในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส

นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส (Premier ministre français) เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลและคณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส ส่วนประมุขแห่งรัฐของประเทศฝรั่งเศสคือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส การตัดสินใจหรือกฤษฎีกาของนายกรัฐมนตรี เสมือนกับการตัดสินใจทั้งหมดของฝ่ายบริหาร โดยรวมถึงหน้าที่การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ เพื่อให้ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้ง โดยจะถูกสอดส่องดูแลในระบบสภาโดยศาลปกครองสูงสุด (Conseil d'État) ซึ่งบางครั้งนายกรัฐมนตรีพึงรับคำปรึกษาก่อนจะประกาศใช้กฤษฎีกา เป็นที่รู้กันว่ารัฐมนตรีแต่ละท่านต้องการปกป้องนโยบายและโครงการในกระทรวงของตน แต่ก็ยังติดอยู่ที่งบประมาณ ซึ่งนายกรัฐมนตรีนี้เองเป็นคนชี้ขาดในเรื่องเหล่านี้ แม้ว่าบางครั้งประธานาธิบดีจะมีนาจและอิทธิพลเหนือกว่าก็ตาม เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ดูแลนโยบายของรัฐบาล เมื่อเกิดความผิดพลาดและล้มเหลวก็จะกลายเป็นผู้ที่ถูกประณามและตำหนิไปโดยปริยาย ผลที่ตามมาก็คือความนิยมที่มีสูงในช่วงแรกและลดฮวบลงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หลายคนคิดว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นการส่งเสริมความสำเร็จของประธานาธิบดี และยังเป็นที่โต้เถียงอย่างมากว่าเป็นตำแหน่งที่อันตรายเพราะความเป็นไปได้ของการลดความนิยม.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ราชอาณาจักรฝรั่งเศสและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ancien Régime in FranceKingdom of Franceการปกครองระบบโบราณในฝรั่งเศส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »