โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

ดัชนี การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน

การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในจักรวรรดิโรมัน ในภาพคริสตชนสตรีถูกสังหารขณะที่จักรพรรดิเนโรชายพระเนตรมาดู การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โรมันคาทอลิก) หรือ การข่มเหงคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Persecution of Christians) หมายถึงการเบียดเบียนศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกถูกเบียดเบียนทั้งจากชาวยิวและจักรวรรดิโรมันซึ่งปกครองดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอยู่ในขณะนั้น การเบียดเบียนครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 จนมาสิ้นสุดตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 เมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 และจักรพรรดิลิซิเนียสทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นการรับรองเสรีภาพทางศาสนาทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน จนต่อมาศาสนาคริสต์จึงกลายเป็นศาสนาประจำชาติจักรวรรดิโรมันอย่างเป็นทางการ มิชชันนารีและผู้เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์ก็มักตกเป็นเป้าของการเบียดเบียน เป็นที่มาให้เกิดมรณสักขีในศาสนาคริสต์เป็นจำนวนมาก แม้แต่ระหว่างนิกายในศาสนาคริสต์เองก็ยังเบียดเบียนกันเพราะกล่าวหาคริสต์ศาสนิกชนนิกายอื่นว่าเป็นพวกนอกรีต เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสต์ศาสนิกชนยังคงถูกเบียดเบียนจากชาวมุสลิมและกลุ่มรัฐที่เป็นอเทวนิยม เช่น สหภาพโซเวียต ในปัจจุบัน (ค.ศ. 2012) กลุ่มโอเพนดอรส์ประเมินว่ามีคริสต์ศาสนิกชนราวหนึ่งร้อยล้านคนถูกเบียดเบียน โดยเฉพาะในประเทศมุสลิม เช่น ประเทศอิหร่าน ประเทศซาอุดิอาระเบีย และประเทศคอมมิวนิสต์ เช่น ประเทศเกาหลีเหนือ จากการศึกษาของสันตะสำนักพบว่าร้อยละ 75 ของผู้ที่ถูกฆ่าตายเพราะศาสนาเป็นคริสต์ศาสนิกชน.

29 ความสัมพันธ์: ชาวยิวพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์มรณสักขีในศาสนาคริสต์มิชชันนารีมุสลิมลัทธิคอมมิวนิสต์ศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์ยุคแรกศาสนาประจำชาติสหภาพโซเวียตสันตะสำนักอเทวนิยมจักรพรรดิลิกินิอุสจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราชจักรพรรดิแนโรจักรวรรดิโรมันทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคริสต์ศาสนิกชนคริสต์ศตวรรษที่ 1คริสต์ศตวรรษที่ 16คริสต์ศตวรรษที่ 20คริสต์ศตวรรษที่ 4ประเทศอิหร่านประเทศซาอุดีอาระเบียประเทศเกาหลีเหนือนอกรีตนิกายในศาสนาคริสต์เสรีภาพทางศาสนา

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน

ป้ายประกาศฉลองการออกพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (ค.ศ. 1978) ที่วังซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดซานจอร์โจอัลพาลัซโซที่มิลาน, ประเทศอิตาลี พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) เป็นจดหมายเวียนลงชื่อโดยจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 and จักรพรรดิลิซินิอุสซึ่งประกาศให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาต่อประชาชนในจักรวรรดิโรมันจดหมายฉบับนี้ออกเมื่อปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มิชชันนารี

มิชชันนารีคาทอลิกคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสกำลังอำลาญาติพี่น้อง ก่อนออกเดินทางไปเผยแผ่ศาสนาคริสต์ยังดินแดนตะวันออกไกล มิชชันนารี (missionary) คือ สมาชิกองค์การทางศาสนา ที่ถูกส่งไปยังต่างแดนเพื่อทำการประกาศข่าวดีและรับใช้พระผู้เป็นเจ้าหรือศาสนจักร ในงานด้านการศึกษา การรู้หนังสือ ความยุติธรรมทางสังคม สาธารณสุข และการพัฒนาเศรษฐกิจThomas Hale 'On Being a Missionary' 2003, William Carey Library Pub, ISBN 0-87808-255-7 คำว่า "มิชชัน" มาจากภาษาละติน missionem ซึ่งแปลว่า การส่งออกไป มิชชันนารีมักทำงานรวมกันเป็นองค์กรเรียกว่า มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ มิสซัง (โรมันคาทอลิก) และเรียกสำนักงานของมิชชันนารีว่า ศูนย์มิชชัน (โปรเตสแตนต์) หรือ สำนักมิสซัง (โรมันคาทอลิก).

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและมิชชันนารี · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ในทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลัทธิคอมมิวนิสต์ (communism; communis แปลว่า "ร่วมกัน" หรือ "สากล") คืออุดมการณ์และขบวนการทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดคือการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ อันเป็นระเบียบทางสังคมบนพื้นฐานของความเป็นเจ้าของร่วมกัน (Common ownership) ของปัจจัยการผลิต (Means of production) และปราศจากชนชั้นทางสังคม เงินตรา และรัฐ ลัทธิคอมมิวนิสต์ปรากฏอยู่ในปรัชญาหรือแนวคิดหลากหลายทฤษฎีที่โดยรวม ๆ แล้วจะรวมถึงลัทธิมากซ์-อนาธิปไตย (ลัทธิคอมมิวนิสต์-อนาธิปไตย) และอุดมการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับสองแนวคิดนี้ โดยที่ทั้งหมดนี้มีบทวิเคราะห์สรุปร่วมกันว่าระเบียบทางสังคมในปัจจุบันอันถือกำเนิดถึงจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ประกอบไปด้วยชนชั้นทางสังคมสองชนชั้นหลักคือ "ชนชั้นแรงงาน" ผู้ที่ต้องทำงานเพื่ออยู่รอดและถือเป็นกลุ่มคนส่วนมากในสังคม และ "ชนชั้นนายทุน" อันเป็นชนกลุ่มน้อยในสังคม ผู้ถือเอากำไรจากการจ้างวานชนชั้นแรงงานผ่านการครอบครองปัจจัยการผลิตไว้เฉพาะส่วนตน ที่ซึ่งความขัดแย้งระหว่างสองชนชั้นนี้เองที่จะก่อให้เกิดการปฏิวัติ อันเป็นองค์ประกอบตั้งต้นที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกันของคนในสังคม (Social ownership) ด้วยความที่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีอุดมคติที่ตรงกันข้ามกับลัทธิเสรีนิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Liberalism) จึงทำให้เกิดความหวาดกลัวและการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างกว้างขวางในช่วงสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากกระแส "ความหวาดกลัวแดง" (Red Scare) หรือ ลัทธิแม็คคาร์ธี ในอเมริกาช่วงต้นสงครามเย็น.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและลัทธิคอมมิวนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์ยุคแรก

นาคริสต์ยุคแรก (Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ "กิจการของอัครทูต" และ "จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย" ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น "อัครทูตมายังพวกต่างชาติ" และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่Oxford Dictionary of the Christian Church ed.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและศาสนาคริสต์ยุคแรก · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาประจำชาติ

นาประจำรัฐ หรือ ศาสนาประจำชาติ (state religion) บางทีเรียก ศาสนาซึ่งเป็นที่ยอมรับ (established religion) หรือ ศาสนาทางการ (official religion) เป็นคณะหรือลัทธิทางศาสนาที่รัฐอธิปไตยรัฐหนึ่ง ๆ อนุมัติอย่างเป็นทางการ รัฐที่มีศาสนาอย่างเป็นทางการนั้น แม้ไม่ใช่รัฐฆราวาส ก็ไม่จำต้องเป็นรัฐแบบเทวาธิปไตยเสมอไป เช่น รัฐที่ผู้ปกครองควบตำแหน่งทั้งทางโลกและทางสงฆ์ ส่วนศาสนาประจำรัฐนั้น แม้ได้รับอนุมัติจากรัฐ ก็ไม่จำเป็นที่รัฐจะอยู่ในความควบคุมของศาสนา หรือศาสนาจะอยู่ในความควบคุมของรัฐเสมอไป ศาสนาประจำรัฐนั้นปรากฏโฉมอยู่ทั่วทุกวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างลัทธิศาสนาและรัฐนั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาแต่โบราณ เช่น ในงานของแวร์โร (Varro) ที่เรียกศาสนาประจำรัฐว่า ศาสนาของพลเมือง (theologia civilis) สำหรับศาสนาคริสต์นั้น คริสตจักรที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐเป็นแห่งแรก คือ คริสตจักรอัครทูตอาร์เมเนีย (Armenian Apostolic Church) ซึ่งตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและศาสนาประจำชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สันตะสำนัก

ม่มีความสัมพันธ์ สันตะสำนักราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 251(Holy See) หรือที่บางตำราเรียกว่า อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 753 คือมุขมณฑลโรมันคาทอลิกในกรุงโรม และเนื่องจากกรุงโรมมีความสำคัญที่สุดในคริสตจักรโรมันคาทอลิก บิชอปแห่งโรมจึงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาอันเป็นตำแหน่งประมุขของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมดด้วย สันตะสำนักเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิก ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึง “สันตะสำนัก” จึงหมายถึงองค์กรบริหารส่วนกลางของคริสตจักรโรมันคาทอลิกทั้งหมด และเป็นอาณาจักรทางศาสนาที่เป็นที่ยอมรับตามกฎหมายนานาชาติว่าเป็นรัฐอิสระที่มีประมุขเป็นพระสันตะปาปาและสถาปนาความสัมพันธ์ทางทูตกับประเทศอื่นได้ สันตะสำนักแบ่งการบริหารออกเป็น 4 ระดับ ได้แก.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและสันตะสำนัก · ดูเพิ่มเติม »

อเทวนิยม

หมายเปาโลถึงชาวเอเฟซัส (2:12) จากพาไพรัส 46ในศตวรรษที่ 3 ตอนต้น อเทวนิยม (atheism) คือ ทรรศนะที่ไม่เชื่อว่ามีพระเป็นเจ้า และเชื่อในกฎธรรมชาติ ตรงกันข้ามกับเทวนิยมEncyclopædia Britannica 2009 อเทวนิยมแตกต่างจากอไญยนิยม (agnosticism) ซึ่งเป็นมุมมองที่ว่ามนุษย์ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่ รวมถึงปรากฏการณ์ที่ไม่อาจรับรู้ได้ด้วยประสบการณ์ทางผัสสะ คำว่า atheism ในภาษาอังกฤษ มาจากภาษากรีก ἄθεος (atheos) อันมีความหมายว่า "ปราศจากเทพ" ถือเป็นคำหยาบที่ใช้เรียกผู้ปฏิเสธเทพที่สังคมบูชากัน หลังจากที่มีความคิดอย่างอิสระ (freethought) ความสงสัยทางวิทยาศาสตร์ (skeptical inquiry) และการวิจารณ์ศาสนา (criticism of religion) เพิ่มขึ้นแล้ว การใช้คำนี้ก็มีความหมายอย่างแคบลง บุคคลกลุ่มแรกที่เริ่มถือว่าตนเป็นผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องพระเทพ โดยเรียกตนเองว่า "ผู้ถืออเทวนิยม" (atheist) นั้น ใช้ชีวิตอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากเหตุที่ว่า ความหมายและความเข้าใจของอเทวนิยมนั้น มีความแตกต่างกัน ในปัจจุบันจึงทราบได้ยากว่าในโลกมีผู้ถืออเทวนิยมกี่คน อิงตามการคาดคะเนในปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและอเทวนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิลิกินิอุส

หรียญรูปลิซิเนียสจักรพรรดิโรมัน วาเลรีอุส ลิซิเนียนัส ลิกินิอุส (Valerius Licinianus Licinius พ.ศ. 793-868) เรียกกันโดยทั่วไปว่า ลิกินิอุส จักรพรรดิโรมันร่วมกับจักรพรรดิกาเลริอุส (Galerius) โดยได้รับมอบให้ครองอาณาจักรอิลลีพริคัม (พ.ศ. 851) ลิกินิอุสมีกำเนิดจากครอบครัวชาวบ้านจากดาเซีย (Dacia) ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทและนายทหารคู่ใจของจักรพรรดิกาเลริอุส ได้เข้าร่วมรบในสงครามเปอร์เซียกับพระองค์ในปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและจักรพรรดิลิกินิอุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 (ConstantineI 27 กุมภาพันธ์ ประมาณ ค.ศ. 272Birth dates vary but most modern historians use "ca. 272". Lenski, "Reign of Constantine", 59. – 22 พฤษภาคม ค.ศ. 337) ครองราชสมบัติเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 306 ถึงวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 312 มีพระนามเต็มว่า “Flavius Valerius Aurelius Constantinus” หรือที่รู้จักกันว่า “คอนสตันไทน์ที่ 1” ในบรรดาผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก หรือ “คอนสตันไทน์มหาราช” หรือ “นักบุญคอนสตันไทน์” ในบรรดาผู้นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์หรือนิกายไบแซนไทน์คาทอลิก พระราชกรณียกิจสำคัญที่สุดคือการประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมายของจักรวรรดิโรมันเมือปี ค.ศ. 313 จักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 จึงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมันที่นับถือศาสนาคริสต์ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน (Edict of Milan) ที่ประกาศโดยจักรพรรดิลีซีนีอุส (Licinius) ผู้ทรงเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระองค์ พระราชกฤษฎีกาแห่งมิลานเป็นพระราชกฤษฎีกาที่ยกเลิกการทารุณกรรมต่อคริสต์ศาสนิกชนทั่วทั้งจักรวรรดิโรมัน ตามปฏิทินศาสนาของไบเซ็นไทน์ของนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ และนิการคาทอลิกตะวันออกแห่งไบเซนไทน์บันทึกจักพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1และเฮเลนแห่งคอนสแตนติโนเปิลพระมารดาว่าเป็นนักบุญ แต่ในปฏิทินศาสนาของตะวันตกไม่มีอยู่ในรายนามนักบุญ คอนสตันไทน์ได้รับนาม “มหาราช” เพราะพระราชกรณียกิจต่างที่ทรงทำให้ต่อคริสต์ศาสนา ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสตันไทน์ทรงประกาศการปรับปรุงเมืองไบเซนเทียมให้เป็น “กรุงโรมใหม่” (Nova Roma) และเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330 ทรงประกาศให้เมืองไบเซ็นเทียมเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบเซ็นเทียมเปลื่ยนชื่อเป็น “คอนสแตนติโนเปิล” แปลว่า “เมืองของคอนสตันไทน์” หลังจากจักพรรดิคอนสตันไทน์สิ้นพระชนม์เมื่อปี..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและจักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิแนโร

แนโร เกลาดิอุส ไกซาร์ เอากุสตุส แกร์มานิกุส (NERO CLAVDIVS CAESAR AVGVSTVS GERMANICVS) เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันองค์ที่ 5 เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 37 ที่เมืองอันติอูง จักรวรรดิโรมัน มีชื่อเต็มตอนเกิดว่า ลูกิอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส (LVCIVS DOMITIVS AHENOBARBVS) บิดาชื่อกไนอุส ดอมิติอุส อาเอนอบาร์บุส มารดาชื่ออากริปปีนา ซึ่งมีศักดิ์เป็นถึงน้องสาวของจักรพรรดิกาลิกุลา จักรพรรดิรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์ยูลิอุส-เกลาดิอ.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและจักรพรรดิแนโร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

วเทียมของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Sea) เป็นทะเลระหว่างทวีป คั่นกลางทวีปยุโรปที่อยู่ทางเหนือ ทวีปแอฟริกาที่อยู่ทางใต้ และทวีปเอเชียที่อยู่ทางตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2.5 ล้านตารางกิโลเมตร คำในภาษาอังกฤษ Mediterranean มาจากภาษาละติน mediterraneus หมายถึง 'ภายในแผ่นดิน' (medius 'กลาง' terra 'แผ่นดิน, โลก') ในภาษากรีกใช้ว่า "mesogeios".

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 1

ตวรรษ: ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล - คริสต์ศตวรรษที่ 1 - คริสต์ศตวรรษที่ 2 ทศวรรษ: 0 10 20 30 40 50 60 70 80 90 คริสต์ศตวรรษที่ 1 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1 ถึง ค.ศ. 100.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและคริสต์ศตวรรษที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 16

ริสต์ศตวรรษที่ 16 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1501 ถึง ค.ศ. 1600 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 นี้ สเปนและโปรตุเกสได้มีการเดินเรือเพื่อออกไปสำรวจสถานที่ต่างๆ หลังจากที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสได้ค้นพบโลกใหม.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและคริสต์ศตวรรษที่ 16 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 20

ริสต์ศตวรรษที่ 20 อยู่ระหว่างปี 1 มกราคม ค.ศ. 1901 ถึง 31 ธันวาคม ค.ศ. 2000.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและคริสต์ศตวรรษที่ 20 · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 4

ริสต์ศตวรรษที่ 4 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 301 ถึง ค.ศ. 400.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและคริสต์ศตวรรษที่ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบีย (Saudi Arabia; السعودية) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (المملكة العربية السعودية) เป็นรัฐอาหรับในเอเชียตะวันออกกลาง กินอาณาบริเวณกว้างขวางในคาบสมุทรอาหรับ มีพื้นที่ประมาณ 2,149,690 ตารางกิโลเมตร ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในโลกอาหรับรองจากประเทศแอลจีเรีย ประเทศซาอุดีอาระเบียมีพรมแดนติดประเทศจอร์แดนและอิรักทางเหนือ ประเทศคูเวตทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศกาตาร์ บาห์เรนและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ทางตะวันออก ประเทศโอมานทางตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศเยเมนทางใต้ เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งติดทั้งทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย และภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วยทะเลทรายแห้งแล้ง อยู่อาศัยไม่ได้ หรือธรณีสัณฐานไม่อุดม พื้นที่ประเทศซาอุดีอาระเบียสมัยใหม่ประกอบด้วยสี่ภูมิภาคสำคัญ ได้แก่ ฮิญาซ นัจญด์ และบางส่วนของอาระเบียตะวันออกและอาระเบียใต้ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียก่อตั้งในปี 2475 โดย พระเจ้าอิบนุ ซะอูด (King Ibnu Saud) พระองค์ทรงรวบรวมสี่ภูมิภาคเข้าเป็นรัฐเดี่ยวผ่านชุดการพิชิตเริ่มตั้งแต่ปี 2445 ด้วยการยึดรียาด บ้านบรรพบุรุษแห่งราชวงศ์ซะอูดของพระองค์ นับแต่นั้น ประเทศเป็นสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นเผด็จการสืบสายโลหิตที่ปกครองตามแบบอิสลาม ขบวนการศาสนาวะฮาบีย์ภายในนิกายซุนนีย์ถูกเรียกว่า "ลักษณะเด่นของวัฒนธรรมซาอุดีอาระเบีย" บ้างเรียกประเทศซาอุดีอาระเบียว่า "ดินแดนสองมัสยิดศักดิ์สิทธิ์" โดยหมายถึง อัลมัสยิดอัลฮาราม (Al-Masjid al-Haram) ในมักกะฮ์ และอัลมัสยิดอันนาบาวี (Al-Masjid al-Nabawi) ในมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นสองมัสยิดที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในศาสนาอิสลาม แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีประชากร 28.7 ล้านคน สัญชาติซาอุดีอาระเบีย 20 ล้านคน และ 8.7 ล้านคนเป็นชาวต่างประเทศ มีการค้นพบปิโตรเลียมในปี 2481 และประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกแต่ต่อไปน้ำมันคงไร้ความหมาย โดยควบคุมน้ำมันสำรองใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลก ราชอาณาจักรจัดอยู่ในเศรษฐกิจรายได้สูงของธนาคารโลกโดยมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง และเป็นประเทศอาหรับประเทศเดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ จี 20 ทว่า เศรษฐกิจซาอุดีอาระเบียมีความหลากหลายน้อยที่สุดในสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรเป็นอัตตาธิปไตยราชาธิปไตยและฟรีดอมเฮาส์จัดว่า "ไม่เสรี" ประเทศซาอุดีอาระเบียมีรายจ่ายทางทหารสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และในปี 2553–2557 SIPRI พบว่าประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้นำเข้าอาวุธรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ประเทศซาอุดีอาระเบียถือว่าเป็นอำนาจภูมิภาคและปานกลาง นอกเหนือจากสภาความร่วมมืออ่าว ราชอาณาจักรยังเป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลามและโอเปคและนอกจากนี้ยังเริ่มมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอีกด้ว.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและประเทศซาอุดีอาระเบีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีเหนือ

รณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (Democratic People's Republic of Korea: DPRK) หรือชื่อโดยทั่วไปว่า เกาหลีเหนือ (North Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก กินพื้นที่ครึ่งเหนือของคาบสมุทรเกาหลี เมืองหลวงและนครใหญ่สุดคือ เปียงยาง เขตปลอดทหารเกาหลีเป็นเขตกันชนระหว่างประเทศเกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ แม่น้ำอัมนกหรือยาลู่ และตูเมนเป็นพรมแดนระหว่างประเทศจีนกับเกาหลีเหนือ แม่น้ำตูเมนส่วนที่ห่างไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพรมแดนกับประเทศรัสเซีย คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิเกาหลีปกครองเรื่อยมากระทั่งถูกผนวกเข้ากับญี่ปุ่นหลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น..

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและประเทศเกาหลีเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

นอกรีต

การสังหารหมู่ ณ Mérindol ใน ค.ศ. 1545 เป็นการลงโทษพวกนอกรีตทางศาสนาของฝรั่งเศส นอกรีต (heresy) หมายถึง ไม่ประพฤติตามจารีตประเพณี เป็นคำที่ใช้เรียกทรรศนะของผู้อื่นซึ่งขัดแย้งกับทรรศนะของตน ในโลกตะวันตกคริสตจักรโรมันคาทอลิกเริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงแนวความเชื่อใด ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสอนต้องเชื่อที่คริสตจักรกำหนด ต่อมาคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น คือเป็นข้อกล่าวหาที่คนกลุ่มหนึ่งใช้เรียกคนอีกฝ่ายหนึ่งที่มีความเชื่อขัดกับผู้กล่าวหา มักใช้ในกรณีที่มีการละเมิดกฎศาสนาหรือแบบแผนประเพณี ในทางการเมืองนักการเมืองหัวรุนแรงก็อาจใช้คำนี้กล่าวหาฝ่ายตรงข้าม คำนี้ยังมีความหมายโดยนัยถึงพฤติกรรมหรือความเชื่อที่อาจบ่อนทำลายศีลธรรมที่สังคมยอมรับกันอยู่ การนอกรีตต่างจากการละทิ้งความเชื่อซึ่งเป็นการละทิ้งความเชื่อทางศาสนาหรือการเมืองเดิมของตน และต่างจากความผิดฐานเหยียดหยามศาสนา ซึ่งหมายถึงการแสดงออกว่าไม่เคารพพระเป็นเจ้าหรือศาสนา แต่การนอกรีตนั้นรวมถึงการเชื่อในศาสนาแต่ต่างจากรูปแบบที่คนส่วนใหญ่ยอมรั.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและนอกรีต · ดูเพิ่มเติม »

นิกายในศาสนาคริสต์

นิกายในศาสนาคริสต์ (Christian denominations) คือการแบ่งสาขาของศาสนาคริสต์ตามแนวปรัชญาและหลักการปฏิบัติ ในแต่ละนิกาย (denomination) ก็แบ่งย่อยเป็นคริสตจักร (church) รายการข้างล่างนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและนิกายในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพทางศาสนา

ทพีมิเนอร์วาถือเป็นสัญลักษณ์ของความรุ่งเรืองทางปัญญาที่ปกป้องผู้นับถือทุกศาสนา เสรีภาพทางศาสนา (Freedom of Religion) ในประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะมีการปกครองรูปแบบใดก็ให้ความสำคัญแก่เสรีภาพในศาสนาของประชาชนทั้งสิ้น โดยตั้งอยู่บนหลักการพื้นฐานสองประการ คือ.

ใหม่!!: การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนและเสรีภาพทางศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »