โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ดัชนี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม..

96 ความสัมพันธ์: ชีวกโกมารภัจจ์พ.ศ. 1783พ.ศ. 2089พ.ศ. 2161พ.ศ. 2294พ.ศ. 2295พ.ศ. 2318พ.ศ. 2364พ.ศ. 2531พ.ศ. 2545พยาบาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพุทธเจ้าพระเจ้าพิมพิสารพระเจ้าฮัมมูราบีพราหมณ์กรุงเทพมหานครกรีก-โรมันกรีซโบราณกัญชากายวิภาคศาสตร์การบูรการปฏิวัติอุตสาหกรรมการแพทย์แผนไทยกำมะถันฝิ่นมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมหาหิงคุ์ยารัฐสภาสหรัฐราชวงศ์สุยฤคเวทลัทธิเต๋าวิศวกรรมศาสตร์ว่านหางจระเข้ศัลยศาสตร์ศาสนาสมัยกลางสมุนไพรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทรสรีรวิทยาสหรัฐสหราชอาณาจักรสารหนูสารานุกรมบริตานิกาสถาปัตยกรรมหญ้าฝรั่นอะพอลโลอักษรรูปลิ่มอายุรเวท...อิบน์ ซีนาองุ่นองค์การเภสัชกรรมฮิปพอคราทีสจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันตะวันตกทวีปอเมริกาทวีปอเมริกาเหนือทันตแพทยศาสตร์ดินเหนียวคริสต์ศตวรรษที่ 17คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยงูตั้ว ลพานุกรมซูเมอร์ประเทศฝรั่งเศสประเทศไทยประเทศเยอรมนีปัจจัยสี่นมแบกแดดแพทยศาสตร์แพทย์โรมโรมโบราณโรคโฮเมอร์โคลัมบัสไสยศาสตร์ไฮเจียเบนจามิน แฟรงคลินเกเลนเภสัชกรเภสัชกรรมเภสัชกรรมคลินิกเภสัชศาสตร์เมโสโปเตเมียเสินหนงเทวดาเครื่องสำอาง13 มีนาคม23 กุมภาพันธ์30 เมษายน ขยายดัชนี (46 มากกว่า) »

ชีวกโกมารภัจจ์

หมอ ชีวกโกมารภัจจ์ (อ่านว่า ชี-วะ-กะ-โก-มา-ระ-พัด) บรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา เรื่องราวขีวิตของท่านมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกและคัมภีร์อรรถกถา ตลอดชีวิตของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้บำเพ็ญแต่คุณงามความดี ช่วยเหลือผู้เจ็บไข้โดยไม่เลือกฐานะ จนได้รับยกย่องจากพระพุทธองค์ว่า เป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งปวงในทาง "เป็นที่รักของปวงชน".

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและชีวกโกมารภัจจ์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1783

ทธศักราช 1783 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 1783 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2089

ทธศักราช 2089 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2089 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2161

ทธศักราช 2161 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2161 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2294

ทธศักราช 2294 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2294 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2295

ทธศักราช 2295 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2295 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2318

ทธศักราช 2318 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2318 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2364

ทธศักราช 2364 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1821.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2364 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2531

ทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2531 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พยาบาล

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล นางพยาบาลที่มีชื่อเสียงของโลก พยาบาล (อาจเรียกว่า นางพยาบาล หรือ บุรุษพยาบาล) เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่น ๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจะต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้จากสภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน พยาบาลในปัจจุบันมักจะสวมชุดพยาบาลที่เป็นสีขาว หรือมีสีขาว และสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว อย่างไรก็ตาม พยาบาลในบางประเทศ หรือในบางวัฒนธรรมอาจใช้ชุดพยาบาลสีอื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพยาบาล · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ. 2423 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 6 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าพิมพิสาร

กหลวงเมืองราชคฤห์ สถานที่พระเจ้าพิมพิสารถูกจองจำจนเสด็จสวรรคตในช่วงบั้นปลายของชีวิต พระเจ้าพิมพิสาร (-pi; बिम्बिसार, 14 ปีก่อนพุทธศักราช—พ.ศ. 53) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ พระองค์ได้ครองราชสมบัติอยู่เป็นเวลา 52 ปี มีพระอัครมเหสีพระนามว่าเวเทหิ ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้ามหาโกศลแห่งแคว้นโกศล พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระสหายกับพระโคตมพุทธเจ้าสมัยที่ยังเป็นพระกุมาร ด้วยพระเจ้าสุทโธทนะทรงสนิทสนมกับพระบิดาของพระเจ้าพิมพิสาร พระองค์นับถือพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง จนแว่นแคว้นของพระองค์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วว่าเป็นดินแดนแห่งพระธรรม พระเจ้าพิมพิสารเป็นพระโสดาบัน มีพระอัครมเหสีพระนามว่าพระนางเวเทหิ เป็นพระกนิษฐาในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ได้พระกนิษฐาของพระเจ้าพิมพิสารเป็นพระมเหสีเช่นกัน พระเจ้าพิมพิสารมีพระราชโอรสนามว่าอชาตศัตรู (ผู้เกิดมาไม่เป็นศัตรู) โหรทำนายว่าพระโอรสองค์นี้จะทำปิตุฆาต แต่พระเจ้าพิมพิสารก็มิสนพระทัยต่อคำทำนาย ทรงอบรมให้การศึกษาพระโอรสเป็นอย่างดี เจ้าชายก็อยู่ในพระโอวาทเป็นอย่างดี แต่พอเจ้าชายน้อยได้รู้จักพระเทวทัต ถูกพระเทวทัตหลอกให้เห็นผิดเป็นชอบ จนจับพระเจ้าพิมพิสารขังคุกให้อดพระกระยาหาร และทำการทรมานต่างๆ เช่น กรีดพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร เพื่อให้เดินจงกรมทำสมาธิไม่ได้ เป็นต้น จนพระองค์เสด็จสวรรคต ไปเกิดเป็นยักษ์ชื่อ "ชนวสภะ" ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พระเจ้าพิมพิสารเป็นกษัตริย์ผู้ทรงธรรมทรงอุปถัมภ์ศาสนาพุทธเป็นอย่างดี ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายทั่วแคว้นม.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพระเจ้าพิมพิสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฮัมมูราบี

รูปสลักหินไดโอไรท์ที่เชื่อว่าเป็นกษัตริย์ฮัมมูราบี ฮัมมูราบี (Hammurabi; ประมาณ 1810 - 1750 ปีก่อนคริสตกาลหรือประมาณ 1267-1207 ปีก่อนพุทธกาล) กษัตริย์ชาวอามอไรท์องค์ที่ 6 และเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกแห่งจักรวรรดิบาบิโลน รู้จักกันดีที่สุดในด้านกฎหมายในขณะเดียวกับความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้านการทหารที่ทำให้อาณาจักรบาบิโลนมีอำนาจมากที่สุดในแถบเมโสโปเตเมียโดยการเอาชนะพวกซูเมอร์และพวกอั.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพระเจ้าฮัมมูราบี · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กรีก-โรมัน

ลกกรีก-โรมัน (Greco-Roman world หรือ Greco-Roman culture หรือ Greco-Roman) ถ้าใช้เป็นคำคุณศัพท์จะเป็นที่เข้าใจโดยนักวิชาการและนักเขียนสมัยปัจจุบันว่าหมายถึงอาณาบริเวณหรือประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมโดยตรงหรือมีความเกี่ยวข้องทางภาษา วัฒนธรรม การปกครอง และศาสนาของกรีก และ โรมัน ความหมายโดยตรงคือ “โลกเมดิเตอเรเนียน” ที่มีศูนย์กลางในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนและทะเลดำ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและกรีก-โรมัน · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและกรีซโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

กัญชา

กัญชา หรือในภาษาไทยเรียกว่า ปุ๊น หรือเนื้อ เป็นชื่อของพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งใช้สูบมีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่านและทอผ้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและกัญชา · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การบูร

การบูร เป็นของแข็งสีขาวขุ่นมีกลิ่นแรง เป็นสารประกอบกลุ่มเทอร์พีนที่พบได้จากต้นการบูร (Cinnamomum camphora).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและการบูร · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไท.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและการแพทย์แผนไทย · ดูเพิ่มเติม »

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและกำมะถัน · ดูเพิ่มเติม »

ฝิ่น

ผลฝิ่น ฝิ่น (Opium) เป็นสารประกอบชนิดหนึ่ง ซึ่งได้จากยางของผลฝิ่น ในเนื้อฝิ่นมีสารเคมีผสมอยู่มากมายประกอบด้วย โปรตีน เกลือแร่ ยางและกรดอินทรีย์เป็นแอลคะลอยด์ (Alkaloid) ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ฝิ่นกลายเป็นสารเสพติดให้โทษร้ายแรง ออกฤทธิ์กดระบบประสาท จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและฝิ่น · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย

นจามิน แฟรงคลิน ผู้สถาปนามหาวิทยาลัย รูปปั้นเบนจามิน แฟรงคลิน หน้า College Hall มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn)) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาหิงคุ์

ลักษณะขวดมหาหิงคุ์ที่ใช้ประกอบอาหาร มหาหิงคุ์ (हींग. ถอดรูปได้เป็น หีค หรือ หีงคะ ชื่อภาษาอังกฤษคือ asafoetida หรือเรียกสั้น ๆ ว่า hing) เป็นยางที่หลั่งจากพืชหลายชนิดในสกุลมหาหิงคุ์ (Ferula) ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และนิยมเพาะปลูกใกล้กับประเทศอินเดีย มหาหิงคุ์มีกลิ่นเหม็นฉุน รสเผ็ดร้อน นิยมใช้ทำยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อในเด็ก นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาระบาย ยาแก้ไข้หวัด และใช้ผสมอาหารได้อีกด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและมหาหิงคุ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและยา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและรัฐสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สุย

ราชวงศ์สุย (Sui Dynasty, ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) (37 ปี) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) พระราชโอรสองค์รองของสุยเหวินตี้ ฮ่องเต้หยางเจียน ทรงดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น หลังจากที่แตกสลายหลังสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ต่อเนื่อง หลังจากนั้น ทรงดำเนินนโยบายให้ขุนนางในราชสำนักรวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ได้แต่งงานกับชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เพราะโดยพื้นเพเดิมนั้น ทั้งหยางเจียนและพระมเหสี ก็ทรงเป็นตระกูลจีนแท้ผสมกับชนเผ่าเติร์กอยู่แล้ว หยางเจียนทรงดำเนินนโยบาย ขุดคลองต้ายุ่นเหอขนาดมหึมา ยาวกว่า 1,800 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ในจีนซีกเหนือ กับเมืองหางโจว ซึ่งเป็นจีนซีกใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อผูกขาดเศรษฐกิจของจีนให้เป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึง การสร้างยุ้งฉางกักตุนสินค้าขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับสินค้าเกือบตลอดแนวคลอง มีการริเริ่มการสอบจอหงวน เป็นครั้งแรก ทั่วราชอาณาจักร เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนนาง ทำให้แต่เดิม ที่ขุนนางจะมีเพียงแต่ชนชั้นสูงที่สืบทอดสกุลต่อกันมา ทำให้อาจจะมีแต่ตำแหน่งแต่ไร้ความสามารถ จึงได้ผู้ที่มีฝีมือและความรู้อย่างแท้จริง ซ้ำยังทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับราชการในราชวัง นับว่าเป็นการลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย แต่ต่อมา เมื่อหยางกว่างขึ้นครองราชย์ ทรงประกาศสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ทรงขยายพื้นที่ทางด้านตะวันตกได้พอสมควร ซ้ำยังยกทัพไปบุกเกาหลีและแมนจู แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะด้วยประสบกับความหนาวเหน็บ ซ้ำยังไม่มีการควบคุมทัพที่ดีพอ ทำให้พ่ายศึก ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ซึ่งสุยหยางตี้บัญชาให้ยกทัพขนาดมหึมานี้ ถึง 4 ครั้ง ทำให้ราชวงศ์สุย เสียหายอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงการการก่อจลาจลทั่วทุกหัวระแหง ที่ใหญ่ ๆ มี 3 กลุ่ม อันได้แก่ กองกำลังหวากัง นำโดยใจ๋หยางและหลี่มี่ กองกำลังเจียงไหว นำโดยตู้ฝูเว่ย และกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ รวมไปถึงการก่อกบฏในราชสำนักเองอีกด้วย สุดท้าย สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระประยูรฐาติของพระองค์ นำโดยอวี้เหวินฮั่วจี๋ ราชวงศ์สุยถึงกาลอาวสาน เมื่อปีพ.ศ. 1161.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและราชวงศ์สุย · ดูเพิ่มเติม »

ฤคเวท

วท (ऋग्वेद, ฤคฺเวท, Rigveda) เป็นคัมภีร์เล่มแรกในวรรณคดีพระเวท แต่งขึ้นเมื่อราว 3000 ปีก่อนคริสตกาล เป็นตำราทางศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ประกอบไปด้วยบทสวดที่วางท่วงทำนองในการสวดไว้อย่างตายตัว กล่าวถึงบทสรรเสริญคุณ อำนาจแห่งเทวะ และประวัติการสร้างโลก รวมถึงหน้าที่ของพระพรหมผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่ง ซึ่งจะใช้ในพิธีการบรวงสรวงเทพเจ้าต่างๆ ของชาวอารยัน ตามประเพณีของฮินดูแล้ว การแบ่งหมวดหมู่ของคัมภีร์พระเวทนี้ วยาส (ผู้แต่งมหากาพย์ มหาภารตะ) เป็นผู้ทำขึ้นโดยรับคำสั่งจากพระพรหมณ์ การจัดรวบรวมบทสวดในคัมภีร์ฤคเวทนี้ เรียกว่า ฤคเวทสังหิตา มีบทสวดทั้งหมด 1,028 บท เป็นหนึ่งในคัมภีร์ทั้งสี่ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งเรียกรวมกันว่า "พระเวท" และนับเป็นบทสวดที่เก่าแก่ที่สุดของมนุษยชาติ เนื้อหาด้านชาติพันธุวิทยาและภูมิศาสตร์ที่ปรากฏในฤคเวทนั้น เป็นหลักฐานแสดงว่าฤคเวทนั้นมีมานานกว่า 3,000 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและฤคเวท · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิเต๋า

ัญลักษณ์ หยิน-หยาง ลัทธิเต๋า หรือ ศาสนาเต๋า (道教 Dàojiao; Taoism) เป็นปรัชญาและศาสนาที่มีต้นกำเนิดในประเทศจีน เน้นการใช้ชีวิตกลมกลืนกับเต๋า ซึ่งเป็นแนวคิดหลักในสำนักปรัชญาจีนส่วนใหญ่ แต่ในศาสนาเต๋า เต๋าหมายถึงต้นกำเนิด แบบแผน และสารัตถะของสรรพสิ่ง ไม่เน้นเรื่องพิธีกรรมซับซ้อนและระเบียบสังคมอย่างลัทธิขงจื๊อ แม้แต่ละนิกายมีคำสอนด้านจริยธรรมแตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปเน้นหลักการเดียวกันคือ "อู๋เหวย์" ความเป็นธรรมชาติ ความเรียบง่าย ศาสนาเต๋ากำเนิดขึ้นราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช โดยรับแนวคิดทางจักรวาลวิทยาจากสำนักยินหยาง และแนวปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับวัฏจักรของธรรมชาติตามคัมภีร์อี้จิง ต่อมาใช้เต้าเต๋อจิงของเล่าจื๊อและคัมภีร์จวงจื๊อเป็นคัมภีร์หลักประจำศาสนา ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าในจ๊กก๊กเริ่มมีองค์กรและพิธีกรรมเป็นระบบ จนถึงปัจจุบันศาสนาเต๋าแบ่งเป็น 2 นิกายหลักคือ สำนักฉวนเจินและสำนักเจิ้งอี หลังสมัยของเล่าจื๊อและจวงจื๊อ มีการจัดสารบบวรรณกรรมศาสนาเต๋าต่าง ๆ และรวมทุกศาสตร์ทุกแขนงที่เกี่ยวกับเต๋าทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน เช่น พงศาวดาร ประวัติการสร้างศาสนา ตำรายาสมุนไพร ประวัติเทพเซียน องค์การ เพลงสรรเสริญ คู่มือการทำพิธีกรรมทางศาสนา ตำราการทำฮู้(ยันต์) ตำราการทำนายดวงชะตา(อี้จิง) หลักธรรมคำสอนของเล่าจื๊อ,จวงจื๊อ,เลี่ยจื๊อ,และปรมาจารย์ในประวัติศาสตร์ทุกท่านที่ศึกษาเต๋า(ซึ่งบางท่านอาจเกิดก่อนเล่าจื๊อ) บทสวดศาสนา และอื่นๆอีกมากมายเข้าไว้ด้วยกัน จนได้เป็นคัมภีร์เต้าจ้างและพิมพ์เผยแพร่ตามรับสั่งของจักรพรรดิจีน และเป็นศาสนาประจำชาติจีนมาตลอดจนหลังคริสต์ศตวรรษที่ 17 จึงไม่ได้อยู่ในอุปถัมภ์ของราชสำนัก ปัจจุบัน ศาสนาเต๋าเป็นหนึ่งในห้าศาสนาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในประเทศจีนและประเทศไต้หวัน แม้ศาสนานี้จะไม่แพร่หลายนอกประเทศจีนนัก แต่ก็พบว่ามีศาสนิกชนจำนวนหนึ่งในฮ่องกง มาเก๊า และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและลัทธิเต๋า · ดูเพิ่มเติม »

วิศวกรรมศาสตร์

การจะออกแบบสร้างกังหันลมในทะเลต้องใช้ความรู้ทางวิศวกรรมในหลายๆสาขาประกอบเข้าด้วยกัน วิศวกรรมอาจจะหมายถึงพระวิศวกรรม วิศวกรรมศาสตร์ เป็นสาขาความรู้และวิชาชีพเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ประยุกตวิทยา (เทคโนโลยี), วิทยาศาสตร์และความรู้ทางคณิตศาสตร์เพื่อการใช้ประโยชน์จากกฎทางธรรมชาติและทรัพยากรทางกายภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด, เพื่อช่วยในการออกแบบและประยุกต์ใช้ วัสดุ, โครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, ระบบ และ กระบวนการ เพื่อการตอบสนองต่อจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่งต่อมาคือ ABET) ได้ให้นิยามเกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ดังนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและวิศวกรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและว่านหางจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ศัลยศาสตร์

ัลยแพทย์ทรวงอกกำลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ศัลยศาสตร์ หรือ ศัลยกรรม (surgery) เป็นการแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับการใช้หัตถการหรือเครื่องมือในการผ่าตัดเข้าในร่างกายผู้ป่วยเพื่อสืบค้นอาการ และ/หรือรักษาความผิดปกติ เช่น โรค หรือการบาดเจ็บต่าง ๆ เพื่อช่วยในการแก้ไขการทำงานหรือรูปลักษณ์ของร่างกาย หรือด้วยเหตุผลอื่น ๆ เรียกแพทย์ที่ศึกษามาเฉพาะทางศัลยศาสตร์ว่า ศัลยแพทย์ (surgeon) ศัลยแพทย์ในประเทศไทยต้องสำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต และสำเร็จการศึกษาแพทย์ประจำบ้านด้านศัลยศาสตร์แล้วได้ผ่านการสอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ ของแพทยสภา และเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไท.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและศัลยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสมุนไพร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

ลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พระนามเดิม พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2494) พระราชโอรสองค์ที่ 52 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง สนิทวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ดำรงพระชนม์ชีพอยู่เป็นพระองค์สุดท้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร · ดูเพิ่มเติม »

สรีรวิทยา

"เดอะ วิทรูเวียน แมน" (The Vitruvian Man) โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ประมาณปี 1487 เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับความรู้ด้านสรีรวิทยา สรีรวิทยา (physiology) เป็นสาขาวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของระบบต่างๆในสิ่งมีชีวิต ทั้งในด้านกลศาสตร์ ด้านกายภาพ และด้านชีวเคมี สรีรวิทยาแบ่งออกเป็นสรีรวิทยาของพืชและสรีรวิทยาของสัตว์ แต่สรีรวิทยาทุกสาขามีหลักการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตชนิดใด เช่น การศึกษาสรีรวิทยาของเซลล์ยีสต์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาเซลล์ของมนุษย์ได้ สาขาสรีรวิทยาของสัตว์นั้นหมายรวมถึงเครื่องมือและวิธีการศึกษาสรีรวิทยาของมนุษย์ซึ่งนำมาใช้ศึกษาในสัตว์ด้วย สาขาสรีรวิทยาของพืชก็สามารถใช้วิธีการศึกษาเช่นเดียวกับสัตว์และมนุษย์ด้วยเช่นกัน สาขาวิชาอื่นๆที่ถือกำเนิดจากการศึกษาวิจัยทางสรีรวิทยา ได้แก่ ชีวเคมี ชีวฟิสิกส์ ชีวกลศาสตร์ และเภสัชวิท.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสรีรวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สารหนู

รหนู (arsenic) เป็นชื่อธาตุลำดับที่ 33 สัญลักษณ์ As ลักษณะเป็นของแข็ง มีสามอัญรูป คือ สารหนูสีเทา สารหนูสีดำ และสารหนูสีเหลือง หลายคนเข้าใจว่าสารหนูเป็นธาตุที่เป็นพิษ แต่ความจริงแล้วสารหนูบริสุทธิ์ไม่เป็นพิษแต่ประการใด มันจะเกิดพิษก็ต่อเมื่อ ไปรวมตัวกับธาตุอื่นเช่น Arsenic trioxide.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสารหนู · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

สถาปัตยกรรม

ปัตยกรรม (architecture) หมายถึง ผลงานศิลปะที่แสดงออกสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆด้ว.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสถาปัตยกรรม · ดูเพิ่มเติม »

หญ้าฝรั่น

หญ้าฝรั่น หรือ สรั่น บรรจบ พันธุเมธา, ศาสตราจารย์, ดอกเตอร.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและหญ้าฝรั่น · ดูเพิ่มเติม »

อะพอลโล

อะพอลโล (Apollo; Ἀπόλλων; อะพอลลอน; Apollō) เป็นหนึ่งในพระเจ้าองค์สำคัญที่สุดในพระเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีกและศาสนากรีกโบราณ ตลอดจนเทพปกรณัมโรมันและศาสนาโรมันโบราณ อะพอลโลทรงเป็นอุดมคติของคูรอส (kouros) คือ หนุ่มนักกีฬาไม่ไว้หนวด และทรงได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นเทพเจ้าแห่งแสงและดวงอาทิตย์ สัจจะและคำพยากรณ์ การรักษา โรคระบาด ดนตรี กวี ฯลฯ อะพอลโลทรงเป็นพระโอรสของซูสและลีโต และมีพระเชษฐภคินีฝาแฝด คือ อาร์ทิมิสซึ่งเป็นพรานหญิง ปัจจุบัน อะพอลโลเป็นชื่อที่ถูกตั้งตามอยู่บ่อยครั้ง โดยมีความหมายในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการทางอวกาศของนาซาที่เรียกว่า โครงการอะพอลโล หรือเป็นชื่อสินค้าต่าง ๆ เช่น ยี่ห้อน้ำมันเครื่อง ยี่ห้อหรือชื่อรุ่นรถยนต์ ชื่อบริษัท เป็นต้น อะพอลโลเป็นเทพเจ้าที่ถูกปั้นด้วยทองแดงยืนคร่อมอ่าวทะเลอีเจียน ที่เกาะโรดส์ ที่มีชื่อว่า มหารูปแห่งโรดส์ นับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์โลกยุคโบราณด้วย โดยทั่วไปรูปปั้นอะพอลโลจะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก หมวดหมู่:สุริยเทพ หมวดหมู่:เทพเจ้าโรมัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและอะพอลโล · ดูเพิ่มเติม »

อักษรรูปลิ่ม

อักษรยูการิติก อักษรรูปลิ่มที่เป็นระบบพยัญชนะ อักษรรูปลิ่ม (Cuneiform script) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้งอักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ-พยัญชนะ คำว่า “cuneiform” ในภาษาอังกฤษมาจากภาษาละติน “cuneus” แปลว่าลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมด ภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่น ๆ ที่เขียนด้วย อักษรนี้ เช่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและอักษรรูปลิ่ม · ดูเพิ่มเติม »

อายุรเวท

อายุรเวท (आयुर्वेद; Ayurveda) เป็นการแพทย์แผนโบราณของอินเดียมานานกว่า 5,000 เป็นการแพทย์ทางเลือกแขนงหนึ่ง ในภาษาสันสกฤต คำว่า อายุรเวท มาจากคำว่า "อายุส" หมายถึง อายุยืนยาว และ "เวท" หมายถึง องค์ความรู้ หรือ ศาสตร์ อายุรเวทมีหลายวิธีการดูแลรักษาบำบัด เช่น โยคะอาสนะ ปราณยาม ปัจกรรม โภชนาการ นอกจากจะเป็นศาสตร์ของการรักษา ยังป้องกันโรครวมทั้งเสริมสุขภาพให้ยืนยาวได้อีกด้วย วิวัฒนาการตลอดประวัติศาสตร์ของระบบการรักษาแบบอายุรเวท ยังคงมีอิทธิพลของการแพทย์ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คัมภีร์ในการระบุการรักษาแบบอายุรเวทปรากฏาในช่วง ยุคพระเวท ในอินเดีย Suśruta Saṃhitā และ Charaka Saṃhitā มีผลงานที่มีอิทธิพลต่อการแพทย์แผนในยุคนี้ หลายศตวรรษที่การรักษาแบบอายุรเวทพัฒนา ในวงการแพทย์ของประเทศแถบตะวันตก อายุรเวทถูกจัดเข้าจัดอยู่ในประเภท และการแพทย์ทางเลือกเสริม (CAM).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและอายุรเวท · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ ซีนา

อะบูอาลี อัลฮูซัยน์ บินอับดิลลาฮ์ อิบนุซีนา หรือ แอวิเซนนา (Avicenna; ค.ศ. 980-1037) เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักร เขายังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของเจ้าชายต่าง ๆ ในช่วงบั้นท้ายชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ เขายังเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, สารานุกรมศัพท์ ในหัวข้อต่างๆ เช่นการแพทย์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ดนตรี เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกวีที่มีผลงานได้รับความนิยมในโลกอาหรับ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ ชุด Canon of Medicine ที่นำรากฐานมาจากฮิปโปเครติส อริสโตเติล ไดออสคอริดีส กาเลน และบุคคลสำคัญวงการแพทย์อื่น โดยแทรกทฤษฏีและการสังเกตของเขาเองลงไปด้วย หนังสืออีกชุดของเขามีเนื้อหาทางด้านเภสัชวิทยาต้นไม้สมุนไพร ถือเป็นตำราพื้นฐานแพทย์ที่สำคัญของโลกมุสลิมและคริสเตียน แต่ทฤษฎีของเขาก็ดูด้อยความเชื่อถือลงเมื่อลีโอนาร์โด ดา วินชี ปฏิเสธตำรากายวิภาคของเขา แพราเซลซัส เผาสำเนาตำรา Canon of Medicine ที่ใช้สอนกันในสวิสเซอร์แลนด์ และวิลเลียม ฮาร์วีย์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ล้มทฤษฎีของเขาในเรื่องการค้นพบระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายคน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและอิบน์ ซีนา · ดูเพิ่มเติม »

องุ่น

องุ่น เป็นพืชยืนต้น มีลักษณะเป็นไม้พุ่มเลื้อย มีลักษณะเนื้อแข็งและมีลำต้น กิ่งถาวรอายุเกิน 1 ฤดู ถ้าปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะเลื้อยเกาะกิ่งไม้ ใบกลมขอบหยักเว้าลึก 5 พู โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง ดอกย่อยขนาดเล็กสีเขียวมีหมวก จะหลุดออกเมื่อดอกบานกลีบดอกเมื่อบานสีขาว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ เป็นผลเดี่ยวที่ออกเป็นพวง (เป็นผลเดี่ยวที่เกิดจากดอกช่อแต่ดอกไม่หลอมรวมกัน) ผลย่อยรูปกลมรีและฉ่ำน้ำ มีผิวนวลเกาะและรสหวาน มีสีเขียว, ม่วงแดงและม่วงดำแล้วแต่พันธุ์ ในผลมีเมล็ดประมาณ 1 - 4 เมล็.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและองุ่น · ดูเพิ่มเติม »

องค์การเภสัชกรรม

องค์การเภสัชกรรม เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดตั้งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2509 ตามพระราชบัญญัติองค์การเภสัชกรรม..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและองค์การเภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Federico II del Sacro Romano Impero; Friedrich II 26 ธันวาคม พ.ศ. 1737–13 ธันวาคม พ.ศ. 1793) เสด็จพระราชสมภพที่นครเจซี ประเทศอิตาลี เป็นพระราชนัดดาของจักรพรรดิฟรีดิชที่ 1 ขึ้นครองราชย์แทนจักรพรรดิไฮน์ริชที่ 6 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อ พ.ศ. 1763 และทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์โฮเฮนสเตาเฟ็น ทรงเป็นกษัตริย์แห่งซิชิลีเมื่อ พ.ศ. 1741 และกษัตริย์แห่งเยอรมนีเมื่อ พ.ศ. 1755 จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ได้รับราชาภิเษกเป็นจักรพรรดิโรมันศักดิ์สิทธิ์โดยพระสันตะปาปา เมื่อ พ.ศ. 1743 พระองค์มีความปรารถนาสูงยิ่งใคร่ที่จะผนึกอำนาจจักรวรรดิในอิตาลีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยอาศัยอิทธิพลของพระสันตะปาปา พระองค์ได้อุทิศพระวรกายเป็นอย่างมากในความพยายามขยายอาณาเขตอิตาลี แต่แผนของพระองค์ทำให้เมืองต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับแคว้นลอมบาร์ดต่อต้านไม่พอใจ รวมทั้งองค์พระสันตปาปาด้วย เมื่อทรงเป็นผู้นำทัพในสงครามครูเสดครั้งที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 1771 (ค.ศ. 1228) พระองค์ทรงยึดเมืองเยรูซาเลมและตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเลมเมื่อ พ.ศ. 1772 เมื่อเสด็จกลับถึงอิตาลีจากการสงคราม พระองค์กลับต้องมาต่อสู้ขัดแย้งกับองค์พระสันตะปาปาจนสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 เสด็จสวรรคตลงเมื่อปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกา

แผนที่ทวีปอเมริกาโดย Jonghe. Ca. พ.ศ. 2313 แผนที่ทวีปอเมริกา ทวีปอเมริกา (Americas)america.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและทวีปอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทันตแพทยศาสตร์

ทันตแพทย์และผู้ช่วยทันตแพทย์กำลังผ่าตัดช่องปากผู้ป่วย ทันตแพทยศาสตร์ (dentistry) เป็นสาขาวิชาที่ประเมิน วินิจฉัย ป้องกัน และรักษาโรค ความผิดปกติ หรือภาวะในช่องปาก บริเวณใบหน้าขากรรไกร และ/หรือบริเวณใกล้เคียงและโครงสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์ บุคคลที่ประกอบอาชีพที่กระทำหัตถการดังกล่าวจะเรียกว่า ทันตแพทย์ (dentist) ทันตแพทย์เป็นวิชาชีพทางสาธารณสุขที่ผ่านการศึกษาและฝึกฝนจนสำเร็จการศึกษา ซึ่งในประเทศไทยจะได้รับปริญญาบัตรทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต (ท.บ.) หรือเทียบเท่ากับ Doctor of Dental Surgery (DDS) สำหรับในต่างประเทศยังมีวุฒิการศึกษาอื่นๆ ที่เทียบเท่า เช่น Doctor of Dental Medicine (DMD), Bachelor of Dentistry (BDent), Bachelor of Dental Science (BDSc), หรือ Bachelor of Dental Surgery/Chirurgiae (BDS หรือ BChD) ในประเทศไทยนอกจากจะต้องผ่านการศึกษาในคณะทันตแพทยศาสตร์เป็นเวลา 6 ปีแล้วจะต้องได้รับอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งออกโดยทันตแพท.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและทันตแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดินเหนียว

นเหนียว เป็นดินเนื้อละเอียด ซึ่งมีคุณสมบัติ ทึบน้ำ เหนียว เมื่อให้น้ำในปริมาตรที่เหมาะสม จะสามารถนำมาปั้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ เมื่อนำไปเผาจะแปรสภาพเป็นวัตถุแข็ง ไม่เปลี่ยนรูป.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและดินเหนียว · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศตวรรษที่ 17

ริสต์ศตวรรษที่ 17 อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1601 ถึง ค.ศ. 1700.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและคริสต์ศตวรรษที่ 17 · ดูเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส

ริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus), กริสโตบัล โกลอน (Cristóbal Colón), คริสโตโฟรุส โกลุมบุส (Christophorus Columbus) หรือ กริสตอโฟโร โกลอมโบ (Cristoforo Colombo; เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักทำแผนที่ นักสำรวจ นักเดินเรือ และพ่อค้า เชื่อกันว่าน่าจะเป็นชาวสาธารณรัฐเจนัว "Christopher Columbus." Encyclopædia Britannica.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส · ดูเพิ่มเติม »

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Faculty of Arts, Chulalongkorn University) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย โดยถือกำเนิดจาก "แผนกแพทย์ผสมยา โรงเรียนราชแพทยาลัย" หรือ "โรงเรียนปรุงยา" ตามดำริของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นวันสถาปนาวิชาชีพเภสัชกรรมในประเทศไทยอีกด้วยหนังสือ "กระถินณรงค์'44" เมื่อประดิษฐานจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว โรงเรียนปรุงยามีฐานะเป็นแผนกแพทย์ผสมยา ในสังกัดคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล) และได้รับการพัฒนาหลักสูตรขึ้น จัดตั้งเป็นแผนกเภสัชกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลั..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

งู

งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานอันดับหนึ่ง ไม่มีขา ไม่มีเปลือกตา มีเกล็ดปกคลุมผิวหนังทั่วทั้งลำตัว ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้น Reptilia, ตระกูล Squamata, ตระกูลย่อย Serpentes โดยทั่วไปแล้วงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่น งูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน โดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (วงศ์งูหางกระดิ่ง((Viperidae)) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่น งูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไป งูจะลอกคราบเมื่อมันเริ่มโตขึ้น ทำให้ผิวหนังของงูเริ่มแข็งและคับขึ้น ซึ่งงูจะลอกคราบบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งภายหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้ผิวหนังเก่าหลุดออก แต่เซลล์สีที่ทำให้งูมีสีสันยังคงอยู่ในตัวงู ทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว ปัจจุบัน มีงูถูกค้นพบแล้วประมาณ 2,700 ชนิด แต่เป็นงูไม่มีพิษประมาณ 2,300 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและงู · ดูเพิ่มเติม »

ตั้ว ลพานุกรม

รองอำมาตย์เอก ตั้ว ลพานุกรม (21 ตุลาคม พ.ศ. 2441- 27 สิงหาคม พ.ศ. 2484)น้าชาด สำนักพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ 5 ตุลาคม..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและตั้ว ลพานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

ซูเมอร์

ซูเมอร์ (Sumer) เป็นอารยธรรมโบราณและเขตบริเวณเมโสโปเตเมียตอนใต้ ชาวซูเมอร์เป็นชนชาติแรกที่สร้างความเจริญขึ้นในบริเวณดังกล่าว เข้ามาอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำไทกริสเมื่อประมาณ 4000 ปีก่อนคริสตกาล บริเวณที่เข้ามาตอนแรกคือ แคว้นซูเมอร์ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเมโสโปเตเมียติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นนครรัฐ แต่ละนครรัฐมีอิสระไม่ขึ้นต่อกัน เช่น ลากาซ บาบิโลน อูร์ อูรุก นิปเปอร์ right.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและซูเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปัจจัยสี่

ปัจจัยสี่ เป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยไม่ต้องพึ่งสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์ รถยนต์ ไฟฟ้า โทรศัพท์ เป็นต้น โดยปัจจัยทั้งสี่อย่างนี้มนุษย์ไม่สามารถขาดได้ เพราะเมื่อขาดแล้วอาจส่งผลต่อการดำเนินชีวิต ปัจจัยสี่ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและปัจจัยสี่ · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและนม · ดูเพิ่มเติม »

แบกแดด

แผนที่แสดงที่ตั้งแบกแดดในอิรัก แบกแดด ประเทศอิรัก แบกแดด (Baghdad, Bagdad; بغداد‎ บัฆดาด; بەغدا) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตนครประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรักการประมาณการจำนวนประชากรทั้งหมดแต่ละชิ้นนั้นแตกต่างอย่างสำคัญ Encyclopædia Britannica ระบุจำนวนในปี..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและแบกแดด · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แพทย์

แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและแพทย์ · ดูเพิ่มเติม »

โรม

ลอสเซียม สัญลักษณ์ที่สำคัญของโรม โรม (Rome; Roma) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของแคว้นลัตซีโยและประเทศอิตาลี ตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ ในเขตตัวเมืองมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคน ถ้ารวมเมืองโดยรอบจะมีประมาณ 4.3 ล้านคน โดยมีจำนวนประชากรใกล้เคียงกับมิลานและเนเปิลส์ นอกจากนี้ โรมยังเป็นที่ตั้งของนครรัฐวาติกัน ซึ่งเป็นดินแดนที่ประทับของพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกอีกด้วย หลังสิ้นสุดยุคกลาง โรมได้อยู่ภายใต้การปกครองของพระสันตะปาปา เช่น สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 6 และสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 10 ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ให้โรมกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลีเช่นเดียวกับฟลอเรนซ์ ซึ่งในยุคสมัยดังกล่าว ได้มีการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์แบบที่เห็นในปัจจุบัน และมีเกลันเจโลได้วาดภาพปูนเปียกประดับภายในโบสถ์น้อยซิสทีน ศิลปินและสถาปนิกที่มีชื่อเสียงอย่างบรามันเต แบร์นินี และราฟาเอล ซึ่งพำนักอยู่ในโรมเป็นครั้งคราว ได้มีส่วนช่วยสรางสรรค์สถาปัตยกรรมแบบสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและแบบบารอกในโรมด้วยเช่นกัน ใน พ.ศ. 2550 โรมเป็นเมืองที่มีผู้มาเยือนมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก มากเป็นอันดับสามในสหภาพยุโรป และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในอิตาลี ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ใจกลางเมืองได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก นอกจากนี้ อนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์อย่างพิพิธภัณฑ์วาติกันและโคลอสเซียมยังจัดอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมมากที่สุด 50 อันดับแรกของโลก (พิพิธภัณฑ์วาติกันมีนักท่องเที่ยว 4.2 ล้านคนต่อปี และโคลอสเซียมมี 4 ล้านคนต่อปี).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและโรม · ดูเพิ่มเติม »

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและโรมโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

โรค

รค เป็นสภาวะผิดปกติของร่างกายหรือจิตใจของสิ่งมีชีวิตซึ่งทำให้การทำงานของร่างกายเสียไปหรืออาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โรคยังอาจหมายถึงภาวะการทำงานของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวเอง ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นอาการหรืออาการแสดงต่อโรคนั้นๆ ในมนุษย์ คำว่าโรคอาจมีความหมายกว้างถึงภาวะใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด, การทำหน้าที่ผิดปกติ, ความกังวลใจ, ปัญหาสังคม หรือถึงแก่ความตาย ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ได้รับผลหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด โรคอาจถูกใช้เพื่อเรียกการบาดเจ็บ, ความพิการ, ความผิดปกติ, กลุ่มอาการ, การติดเชื้อ, อาการ, พฤติกรรมเบี่ยงเบน, และการเปลี่ยนแปรที่ผิดปกติของโครงสร้างหรือหน้าที่การทำงานในประชากรมนุษ.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและโรค · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โคลัมบัส

ลัมบัส (Columbus) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและโคลัมบัส · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฮเจีย

ไฮเจีย เทพีแห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ ไฮเจีย (Υγιεία; Hygieia) ตามความเชื่อของกรีก เป็นเทพีแห่งสุขภาพอนามัย ความสะอาด และสุขลักษณะ เป็นธิดาของอัสคลิปิอุส (Asclepius) ที่มีหน้าที่ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ไฮเจียจะมีหน้าที่ป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วย และการทำให้มีสุขภาพดีอย่างต่อเนื่อง คำว่า Hygieia เป็นรากศัพท์ของหลายคำที่ใช้อักษรละติน เช่นคำว่า hygiene ในภาษาอังกฤษที่ความหมายว่าสุขภาพ หมวดหมู่:เทพนิยายกรีก หมวดหมู่:เทพเจ้ากรีก.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและไฮเจีย · ดูเพิ่มเติม »

เบนจามิน แฟรงคลิน

นจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) (– 17 เมษายน ค.ศ. 1790) เป็นหนึ่งในบิดาผู้สร้างชาติของสหรัฐอเมริกา เบนจามิน แฟรงคลิน เป็น ช่างพิมพ์ คนเรียงพิมพ์ นักเขียน นักปรัชญา นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์ นักประดิษฐ์ นักปฏิรูป และนักการทูต คนสำคัญในยุคแสงสว่างของสหรัฐอเมริกา ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ เขามีผลงานหลายอย่างในด้านฟิสิกส์ ผลงานที่สำคัญคือคิดค้นสายล่อฟ้า และผลงานอื่นเช่นแว่นไบโฟคอล เตาแฟรงคลิน และฮาร์โมนิกาแก้ว เขาเป็นผู้เริ่มก่อตั้งห้องสมุดแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา และก่อตั้งสถานีดับเพลิงแห่งแรกในรัฐเพนซิลเวเนีย ผลงานในฐานะนักการเมืองเขาเป็นนักเขียนและผู้นำการเคลื่อนไหวคนสำคัญไปสู่การแยกตัวออกจากอาณานิคมและร่วมก่อตั้งชาติสหรัฐอเมริกา ในฐานะนักการทูต เขาได้เป็นทูตคนสำคัญในช่วงปฏิวัติอเมริกาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนำไปสู่การแยกตัวของประเทศจากอาณานิคมของอังกฤษในที่สุด แฟรงคลินเริ่มต้นชีวิตจากการเป็นนักเรียงพิมพ์ในฟิลาเดลเฟีย ซึ่งสร้างความมั่งคั่งจากหนังสือ Poor Richard's Almanack และหนังสือพิมพ์เพนน์ซิลเวเนียแกเซตต์ (Pennsylvania Gazette) แฟรงคลินมีความสนใจในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีชื่อเสียงในฐานะนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกคนหนึ่ง นอกจากนี้เขาได้เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และวิทยาลัยแฟรงคลินแอนด์มาร์แชลล์ เขายังได้รับเลือกให้เป็นประธานคนแรกของสมาคมปรัชญาอเมริกา จากผลงานของแฟรงคลินทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และการเมือง เขาได้ถูกยกย่องและกล่าวถึงในหลายด้าน เขาปรากฏในธนบัตรของสหรัฐอเมริกา (100 ดอลลาร์สหรัฐ) ชื่อของเขายังปรากฏเป็นชื่อ เมือง เคาน์ตี สถานศึกษา และผลงานอีกหลายด้านยังมีการกล่าวถึงตราบจนปัจจุบัน.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเบนจามิน แฟรงคลิน · ดูเพิ่มเติม »

เกเลน

วาดเกเลนในศตวรรษที่ 18 โดยเกออร์ก เพาล์ บัสช์ เกเลน (Galen; Γαληνός, Galēnos; Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวกรีกซึ่งมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิท.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเกเลน · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกร

ัชกร (pharmacist) คือผู้ที่มีวิชาชีพทางด้านสาธารณสุข (health profession) มีหน้าที่จ่ายยา ให้ผู้ป่วย แนะนำการใช้ยา ติดตามการใช้ยาให้ผู้ป่วย และเป็นผู้ผลิตยา เภสัชกรจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถหลายสาขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ไม่ว่าจะเป็นทางด้านคลินิก โรงพยาบาล และเภสัชชุมชนซึ่งจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ทางเลือกหนึ่งของวิชาชีพเภสัชกรคือการปฏิบัติงานในร้านขายยาซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของร้านเอง (small business) ในงานด้านนี้เภสัชกรนอกจากจะมีความชำนาญในธุรกิจร้านค้าแล้วยังมีความรู้และข้อมูลการใช้ยาทั้งประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยา ตลอดจนการให้ข้อมูลความรู้ให้คำปรึกษาการใช้ยาแก่ชุมชนด้วย เภสัชกรบางครั้งเรียกว่านักเคมี เพราะในอดีตมีการให้ผู้สำเร็จการศึกษาในวิชาเคมีสาขาเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemistry: PhC) มาเป็นเภสัชกรซึ่งเรียกกันว่านักเคมีเภสัชกรรม (Pharmaceutical Chemists) โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ เช่น เครือข่ายร้านขายยาของบู๊ตส์เรียกเภสัชกรของบู๊ตส์ว่า "นักเคมีบูตส์" (Boots The Chemist).

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเภสัชกร · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรม

ัชกรรม (Pharmacy) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรมคลินิก

ัชกรรมคลินิก (อังกฤษ:Clinical Pharmacy) เป็นกลุ่มวิชาที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ยา และศึกษาผลข้างเคียงจากการใช้ยาซึ่งรายละเอียดของวิชาดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเภสัชกรรมคลินิก · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชศาสตร์

ร้านยาแผนปัจจุบันในประเทศนอร์เวย์ เภสัชศาสตร์ ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถานเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค โดยศึกษาตั้งแต่วัตถุดิบที่จะนำมาผลิตยา การปรุงยา การเก็บรักษา ตลอดจนกระบวนการกระจายยา โดยศึกษาตั้งแต่แหล่งของยา โครงสร้างทางเคมีของยา การผลิตเป็นรูปแบบยาเตรียมต่างๆ การควบคุมคุณภาพและการประกันคุณภาพยาและเภสัชภัณฑ์ การวิจัยและการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ เภสัชพลศาสตร์ การใช้ยาทางคลินิกในโรคของระบบต่างๆ อาการไม่พึงประสงค์ของยา การติดตามผลของยา การประเมินการใช้ยา ไปจนถึงการบริหารจัดการเรื่องยาและกฎหมายเกี่ยวกับยา ทั้งนี้ยังครอบคลุมไปถึงเครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สารเสพติด สารพิษ และวัตถุหรือสารออกฤทธิ์ประเภทต่างๆ เภสัชศาสตร์กำเนิดขึ้นควบคู่กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ในการบำบัดรักษาคนป่วยในสมัยโบราณได้นำพืช สัตว์ และแร่ธาตุในการบำบัดรักษา โดยศึกษาวิธีการจากสิ่งมีชีวิตรอบตัว จนได้มีการจดบันทึกสั่งสมองค์ความรู้สู่การพัฒนาเภสัชตำรับฉบับแรกของโลกโดยชาวสุเมเรียน และได้เริ่มมีการศึกษาฤทธิ์ของยาอย่างเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นในสมัยของฮิปโปเครตีส การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์ในสมัยโบราณเป็นการศึกษาในวงจำกัดของชนชั้นสูงในสังคมอาหรับและการสืบทอดตำราโดยบาทหลวงเท่านั้น จนกระทั่งสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม และการฝึกหัดทางเภสัชศาสตร์ทำให้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น เภสัชศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพอย่างยิ่ง การเรียนการสอนทางเภสัชศาสตร์เน้นหลักในวิชาการด้านเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการแบ่งสาขาวิชาทางเภสัชศาสตร์จำแนกย่อยอีกหลายสาขา โดยแบ่งเป็นด้านวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม ประกอบด้วยสาขาเภสัชวิทยา เภสัชเวท เภสัชเคมี เภสัชวิเคราะห์และเภสัชภัณฑ์ จวบจนกระทั่งเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น การผลิตยาจึงได้ประยุกต์สู่ด้านเภสัชอุตสาหกรรมด้วย ด้านเภสัชบริบาลศาสตร์ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการบริบาลผู้ป่วยและดูแลรักษาควบคุมการใช้ ตลอดจนติดตามผลการรักษาจากการใช้ยา ประกอบด้วยสาขาเภสัชกรรมคลินิกและเภสัชกรรมโรงพยาบาล และด้านเภสัชสาธารณสุข เภสัชศาสตร์สังคมและบริหารเภสัชกิจที่ดูแลการใช้ยาในระดับประชากรและการบริหารจัดการเรื่อง.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเภสัชศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เมโสโปเตเมีย

แผนที่บริเวณเมโสโปเตเมีย เมโสโปเตเมีย (Mesopotamia; Μεσοποταμία, เมโซโปตามีอา) เป็นคำกรีกโบราณ ตามรูปศัพท์แปลว่า "ที่ระหว่างแม่น้ำ" (meso.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเมโสโปเตเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เสินหนง

วาดเสินหนงทดสอบคุณสมบัติของสมุนไพร เสินหนง (Shennong;; สำเนียงแต้จิ๋ว: ซิ่งล้ง, สำเนียงฮกเกี้ยน: สินเหน่ง) กษัตริย์ในตำนานของจีน ในยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า เสินหนงสื่อ (จีนตัวเต็ม: 神農氏, จีนตัวย่อ: 神农氏, พินอิน: Shén nóng shì) โดยมีความหมายว่า "เทพเจ้าแห่งชาวนา" เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่าหัว (ฮั้ว) แซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน ได้ร่วมทำไร่ไถนากับชาวบ้านสามัญชน และเป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนา ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมาก ด้วยคุณงามความดีทางด้านการเพาะปลูก ผู้คนทั้งหลายจึงให้ความเคารพนับถือมาก สมัยเสินหนงเป็นระยะแรกเป็นไปเป็นแบบลูกชายสืบทอดเชื้อสายจากสายของพ่อ ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างปรองดองไม่มีการกดขี่ขูดรีด ตามบันทึกของจีนบันทึกไว้ว่า ในช่วงที่เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านั้น แบ่งหน้าที่ตามสถานะทางเพศชัดเจน ผู้ชายออกจากบ้านไปทำไร่ไถนา ผู้หญิงทอผ้าในบ้าน การปกครองประเทศไม่ต้องมีเรือนจำและการลงโทษ และก็ไม่ต้องมีการทหารและตำรวจ แต่คุณูปการที่สำคัญยิ่งของเสินหนงได้แก่ การเสาะหาสมุนไพรตาม ป่าเขา เพื่อใช้รักษาโรคของผู้คนทั้งหลายและในการทดสอบสรรพคุณ ของสมุนไพรว่า จะรักษาโรคเช่นไรได้ เสินหนงได้ใช้ตนเองเป็นเครื่องทดลอง ด้วยการลองกินสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ดูว่า จะมีผลต่อร่างกายอย่างไร จึงถูกพิษเล่นงานบ่อยครั้งจนกระทั่งบางวันเป็นพิษถึง 70 กว่าครั้งภายในวันเดียว กล่าวกันว่าเสินหนงยังได้แต่งหนังสือชื่อ "เสินหนงไป๋ฉ่าว" แปลว่า "ยาสมุนไพรเสินหนง" โดยได้จดบันทึกใบสั่งยาสมุนไพรที่รักษาโรคแต่ละอย่างไว้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นตำราทางการแพทย์เล่มแรกของโลกก็ว่าได้ นอกจากนี้แล้ว เสินหนงเป็นคนแรกที่รู้จักการดื่มน้ำชา เล่ากันว่า เสินหนงดื่มเฉพาะน้ำต้มสุก วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่ ปรากฏว่า ลมได้พัดโบกใบชาร่วง หล่นลงในน้ำที่ใกล้เดือดพอดีเมื่อลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก จึงเป็นที่ของวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนจนปัจจุบัน ในทางด้านวิทยาการ เสินหนง ยังเป็นนักปฏิทินดาราศาสตร์ ได้ปรับปรุงและขยาย "แผนภูมิปากั้ว" หรือ "แผนภูมิ 8" ที่ "ฝูซี" (伏羲) เป็นผู้คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงปรากฏการณ์ของธรรมชาติและปรากฏการณ์ของมนุษย์ต่าง ๆ มาเป็น "ลิ่วสือซื่อกั้ว" หรือ "แผนภูมิ 64" ตั้งชื่อว่า "กุยฉาง" ซึ่งนอกจากใช้บันทึกเหตุการณ์ แล้ว ยังนำมาใช้ในการเสี่ยงทายได้ด้วย (ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นอี้จิง หรือ โจวอี้) นอกจากนั้น เมื่อเสินหนงเห็นคนบางคนต้องการสิ่งของที่ตนเองผลิตไม่เป็น แต่บางคนกลับมีเกินความจำเป็น ทำให้การดำรงชีวิตไม่สะดวกสมดุล จึงเสนอให้ประชาชนนำสิ่งของของตนไปแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และให้มีการค้าขายกัน จึงถือได้ว่าระบบเศรษฐกิจของจีนถือกำเนิดมาในยุคนี้เอง เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานหลังใช้แรงงานแล้ว เสินหนง ได้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า "อู่เสียนฉิน" หรือ พิณ 5 สาย ที่มีเสียงไพเราะน่าฟัง เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านานถึง 140 ปี ภายหลังหวงตี้ได้เข้าครองตำแหน่งการปกครองต่อมา ส่วนสุสานของเสินหนงอยู่ที่เมืองฉางชาของมณฑลหูหนานในปัจจุบัน แต่คนทั่วไปเรียกว่า สุสานเหยียนตี้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสำอาง

อุปกรณ์แต่งหน้า เครื่องสำอาง (อังกฤษ: cosmetics) เป็นสารที่ใช้เพิ่มเติมความสวยงามให้กับร่างกายมนุษย์ นอกเหนือจากอุปกรณ์รักษาความสะอาดโดยทั่วไป การใช้งานเครื่องสำอางมีใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออก จำนวนบริษัทผลิตเครื่องสำอางในปัจจุบันมีเป็นจำนวนน้อยเปรียบเทียบกับธุรกิจชนิดอื่น โดยบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ในระดับนานาชาติ มากกว่าระดับท้องถิ่น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเครื่องสำอาง · ดูเพิ่มเติม »

13 มีนาคม

วันที่ 13 มีนาคม เป็นวันที่ 72 ของปี (วันที่ 73 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 293 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและ13 มีนาคม · ดูเพิ่มเติม »

23 กุมภาพันธ์

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 54 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 311 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและ23 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

30 เมษายน

วันที่ 30 เมษายน เป็นวันที่ 120 ของปี (วันที่ 121 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 245 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและ30 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ประวัติเภสัชกรรม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »