โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม vs. เสินหนง

ลังยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในประเทศอิตาลี ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มีวิวัฒนาการไปพร้อมกับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เนื่องจากยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ และเภสัชกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการทางการแพทย์ ทั้งแผนตะวันตกและตะวันออกมาช้านาน โดย "การแพทย์" สามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขา ได้แก่ เวชกรรม เภสัชกรรม พยาบาล ทันตกรรม เป็นต้น โดยในระยะเริ่มแรก การแพทย์ของทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกจะอยู่ในรูปองค์รวม โดยมี "แพทย์" เป็นผู้รับผิดชอบทั้งการรักษา การปรุงยา การดูแล จนกระทั่งเมื่อวิทยาการทางการแพทย์มีความก้าวหน้า ได้มีการจำแนกวิชาชีพออกตามความชำนาญมากขึ้น เพื่อฝึกหัดให้เกิดความชำนาญเฉพาะด้านแต่ละสาขา ระบบการแพทย์ในสมัยโบราณมักผูกพันกับอำนาจลี้ลับ เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผสมผสานกับการสังเกต ทดลอง วิเคราะห์ และหาความเชื่อมโยง รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมสัตว์ในการบริบาลตนเองเมื่อเจ็บป่วย และได้นำมาดัดแปลงตามความเหมาะสม เกิดแนวคิดและถ่ายทอดสู่รุ่นลูกหลาน และพัฒนาขึ้นเป็นระบบ และเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในแต่ละภูมิภาค ในสมัยโบราณ การจัดทำเภสัชตำรับขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีการบันทึกโดยใช้อักษรคูนิฟอร์ม นับเป็นเภสัชตำรับฉบับแรกของโลก และเริ่มมีการแบ่งสายวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมในสมัยพระเจ้าฮัมมูราบี ส่วนในจีน การแพทย์มักมีความผูกพันกับธรรมชาติ และใช้ปรัชญาของจีนร่วมในการรักษา ในอียิปต์เริ่มมีการจดบันทึกเภสัชตำรับเมื่อประมาณ 1500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ปาปิรุสอีเบอร์" ตลอดจนบูชาเทพเจ้าในการบำบัดโรคกว่า 10 องค์ ในสมัยกรีกโบราณ ชาวกรีกได้บูชาเทพแอสคลีปิอุส ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งการแพทย์ เช่นเดียวกับพระธิดา คือ เทพีไฮเจีย เทพีแห่งสุขอนามัย โดยพระองค์จะถือถ้วยยาและงูไว้ งูเป็นสัญลักษณ์ในการดูดพิษของชาวกรีกโบราณ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของวิชาชีพเภสัชกรรมในปัจจุบัน กรีกมีนักปราชญ์มากมาย จึงใช้ปรัชญาและทฤษฎีในการบำบัดรักษาโรคทั่วไป ส่วนในยุคโรมัน ซึ่งได้รับวิทยาการถ่ายทอดจากกรีก ได้ใช้ปรัชญาจากนักปราชญ์ในการบริบาลผู้ป่วยสืบต่อมา สมัยจักรวรรดิโรมัน กาเลนนับเป็นบุคคลสำคัญในการบริบาลผู้ป่วย โดยกาเลนจะปรุงยาด้วยตนเองเสมอจนถือว่ากาเลนเป็น "บิดาแห่งเภสัชกรรม" ในสมัยกลาง เมื่อโรมันเสื่อมอำนาจลง วิทยาการด้านการแพทย์เสื่อมถอยลง แต่วิทยาการทางการแพทย์ตะวันตกยังคงได้รับการถ่ายทอดจากชาวอาหรับที่มาค้าขายด้วย ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงประกาศกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม (Magna Charta of the Profession of Pharmacy) เมื่อ ค.ศ. 1240 ห้ามมิให้ดำเนินการตั้งร้านยาหรือธุรกิจเกี่ยวกับการขายยา ยกเว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐ และให้แยกวิชาชีพเภสัชกรรมออกจากวิชาชีพเวชกรรมอย่างเด็ดขาดเป็นครั้งแรก การจำแนกเภสัชกรรมออกจากเวชกรรม เรียกข้อมูลวันที่ 8 สิงหาคม.. วาดเสินหนงทดสอบคุณสมบัติของสมุนไพร เสินหนง (Shennong;; สำเนียงแต้จิ๋ว: ซิ่งล้ง, สำเนียงฮกเกี้ยน: สินเหน่ง) กษัตริย์ในตำนานของจีน ในยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ มีอีกชื่อหนึ่งว่า เสินหนงสื่อ (จีนตัวเต็ม: 神農氏, จีนตัวย่อ: 神农氏, พินอิน: Shén nóng shì) โดยมีความหมายว่า "เทพเจ้าแห่งชาวนา" เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่าหัว (ฮั้ว) แซ่เจียง เมื่อ 5,000 ปี ก่อน ได้ร่วมทำไร่ไถนากับชาวบ้านสามัญชน และเป็นผู้คิดประดิษฐ์คันไถด้วยไม้และสอนให้ผู้คนรู้จักการปลูกข้าว ทำไร่ไถนา ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมาก ด้วยคุณงามความดีทางด้านการเพาะปลูก ผู้คนทั้งหลายจึงให้ความเคารพนับถือมาก สมัยเสินหนงเป็นระยะแรกเป็นไปเป็นแบบลูกชายสืบทอดเชื้อสายจากสายของพ่อ ประชาชนอยู่ด้วยกันอย่างปรองดองไม่มีการกดขี่ขูดรีด ตามบันทึกของจีนบันทึกไว้ว่า ในช่วงที่เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านั้น แบ่งหน้าที่ตามสถานะทางเพศชัดเจน ผู้ชายออกจากบ้านไปทำไร่ไถนา ผู้หญิงทอผ้าในบ้าน การปกครองประเทศไม่ต้องมีเรือนจำและการลงโทษ และก็ไม่ต้องมีการทหารและตำรวจ แต่คุณูปการที่สำคัญยิ่งของเสินหนงได้แก่ การเสาะหาสมุนไพรตาม ป่าเขา เพื่อใช้รักษาโรคของผู้คนทั้งหลายและในการทดสอบสรรพคุณ ของสมุนไพรว่า จะรักษาโรคเช่นไรได้ เสินหนงได้ใช้ตนเองเป็นเครื่องทดลอง ด้วยการลองกินสมุนไพรชนิดนั้น ๆ ดูว่า จะมีผลต่อร่างกายอย่างไร จึงถูกพิษเล่นงานบ่อยครั้งจนกระทั่งบางวันเป็นพิษถึง 70 กว่าครั้งภายในวันเดียว กล่าวกันว่าเสินหนงยังได้แต่งหนังสือชื่อ "เสินหนงไป๋ฉ่าว" แปลว่า "ยาสมุนไพรเสินหนง" โดยได้จดบันทึกใบสั่งยาสมุนไพรที่รักษาโรคแต่ละอย่างไว้ จึงอาจถือได้ว่าเป็นตำราทางการแพทย์เล่มแรกของโลกก็ว่าได้ นอกจากนี้แล้ว เสินหนงเป็นคนแรกที่รู้จักการดื่มน้ำชา เล่ากันว่า เสินหนงดื่มเฉพาะน้ำต้มสุก วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่ ปรากฏว่า ลมได้พัดโบกใบชาร่วง หล่นลงในน้ำที่ใกล้เดือดพอดีเมื่อลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก จึงเป็นที่ของวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนจนปัจจุบัน ในทางด้านวิทยาการ เสินหนง ยังเป็นนักปฏิทินดาราศาสตร์ ได้ปรับปรุงและขยาย "แผนภูมิปากั้ว" หรือ "แผนภูมิ 8" ที่ "ฝูซี" (伏羲) เป็นผู้คิดค้นขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงปรากฏการณ์ของธรรมชาติและปรากฏการณ์ของมนุษย์ต่าง ๆ มาเป็น "ลิ่วสือซื่อกั้ว" หรือ "แผนภูมิ 64" ตั้งชื่อว่า "กุยฉาง" ซึ่งนอกจากใช้บันทึกเหตุการณ์ แล้ว ยังนำมาใช้ในการเสี่ยงทายได้ด้วย (ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นอี้จิง หรือ โจวอี้) นอกจากนั้น เมื่อเสินหนงเห็นคนบางคนต้องการสิ่งของที่ตนเองผลิตไม่เป็น แต่บางคนกลับมีเกินความจำเป็น ทำให้การดำรงชีวิตไม่สะดวกสมดุล จึงเสนอให้ประชาชนนำสิ่งของของตนไปแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และให้มีการค้าขายกัน จึงถือได้ว่าระบบเศรษฐกิจของจีนถือกำเนิดมาในยุคนี้เอง เพื่อให้ประชาชนมีความสนุกสนานหลังใช้แรงงานแล้ว เสินหนง ได้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีชนิดหนึ่งเรียกว่า "อู่เสียนฉิน" หรือ พิณ 5 สาย ที่มีเสียงไพเราะน่าฟัง เสินหนงเป็นหัวหน้าเผ่านานถึง 140 ปี ภายหลังหวงตี้ได้เข้าครองตำแหน่งการปกครองต่อมา ส่วนสุสานของเสินหนงอยู่ที่เมืองฉางชาของมณฑลหูหนานในปัจจุบัน แต่คนทั่วไปเรียกว่า สุสานเหยียนตี้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สมุนไพรเทวดา

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและสมุนไพร · สมุนไพรและเสินหนง · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเทวดา · เทวดาและเสินหนง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง

ประวัติศาสตร์เภสัชกรรม มี 96 ความสัมพันธ์ขณะที่ เสินหนง มี 29 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.60% = 2 / (96 + 29)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ประวัติศาสตร์เภสัชกรรมและเสินหนง หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »