โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อิบน์ ซีนา

ดัชนี อิบน์ ซีนา

อะบูอาลี อัลฮูซัยน์ บินอับดิลลาฮ์ อิบนุซีนา หรือ แอวิเซนนา (Avicenna; ค.ศ. 980-1037) เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักร เขายังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของเจ้าชายต่าง ๆ ในช่วงบั้นท้ายชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ เขายังเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, สารานุกรมศัพท์ ในหัวข้อต่างๆ เช่นการแพทย์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ดนตรี เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกวีที่มีผลงานได้รับความนิยมในโลกอาหรับ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ ชุด Canon of Medicine ที่นำรากฐานมาจากฮิปโปเครติส อริสโตเติล ไดออสคอริดีส กาเลน และบุคคลสำคัญวงการแพทย์อื่น โดยแทรกทฤษฏีและการสังเกตของเขาเองลงไปด้วย หนังสืออีกชุดของเขามีเนื้อหาทางด้านเภสัชวิทยาต้นไม้สมุนไพร ถือเป็นตำราพื้นฐานแพทย์ที่สำคัญของโลกมุสลิมและคริสเตียน แต่ทฤษฎีของเขาก็ดูด้อยความเชื่อถือลงเมื่อลีโอนาร์โด ดา วินชี ปฏิเสธตำรากายวิภาคของเขา แพราเซลซัส เผาสำเนาตำรา Canon of Medicine ที่ใช้สอนกันในสวิสเซอร์แลนด์ และวิลเลียม ฮาร์วีย์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ล้มทฤษฎีของเขาในเรื่องการค้นพบระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายคน.

18 ความสัมพันธ์: ชาวเปอร์เซียพจนานุกรมพีดาเนียส ไดออสคอริดีสกวีกายวิภาคศาสตร์ระบบไหลเวียนรัฐศาสตร์วิลเลียม ฮาร์วีย์สาธารณสุขอาริสโตเติลฮิปพอคราทีสประเทศสวิตเซอร์แลนด์แพราเซลซัสแพทยศาสตร์เกเลนเภสัชวิทยาเลโอนาร์โด ดา วินชีเศรษฐศาสตร์

ชาวเปอร์เซีย

วเปอร์เซีย (Persian people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ในกลุ่มชนอิหร่านที่พูดภาษาเปอร์เซียและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและชาวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม

นานุกรม พจนานุกรม เป็นหนังสืออ้างอิงประเภทหนึ่ง โดยทั่วไป หมายถึง หนังสือที่รวบรวบคำศัพท์ในวงศัพท์ที่กำหนด และนิยามความหมายเอาไว้ เพื่อใช้เป็นที่ค้นหาความหมายของคำ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ขณะที่หนังสือรวบรวมและอธิบายคำศัพท์ในวงแคบและมีจำนวนจำกัด มักจะเรียกว่า ปทานุกรม อย่างไรก็ตาม คำว่าปทานุกรมและพจนานุกรมอาจใช้สลับกันได้ คำว่า พจนานุกรม เป็นการคิดคำขึ้น จาก พจน (คำพูด) และ อนุกรม (ลำดับ ระเบียบ ชั้น) รวมกันด้วยวิธีสมาส เป็น “พจนานุกรม” หมายถึง หนังสือที่รวบรวมและเรียงลำดับคำ(พูด) เอาไว้ อย่างไรก็ตาม คำว่า “พจนานุกรม” เป็นการสร้างขึ้นมาเพื่อแปลศัพท์ dictionary ในภาษาอังกฤษนั่นเอง.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและพจนานุกรม · ดูเพิ่มเติม »

พีดาเนียส ไดออสคอริดีส

ประกอบแบล็กเบอร์รีในต้นฉบับ ''Vienna Dioscurides'' สมัยศตวรรษที่ 6 พีดาเนียส ไดออสคอริดีส (Pedanius Dioscorides; Πεδάνιος Διοσκουρίδης; ประมาณ ค.ศ. 40 – ค.ศ. 90) เป็นแพทย์ นักเภสัชวิทยาและนักพฤกษศาสตร์ เกิดที่เมืองอนาซาร์บัสในอานาโตเลีย (ตุรกีในปัจจุบัน) ไดออสคอริดีสศึกษาวิชาแพทย์ที่กรุงโรมในรัชสมัยจักรพรรดินีโรและภายหลังทำงานเป็นศัลยแพทย์ในกองทัพ ทำให้เขาได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาสมุนไพรต่าง ๆ ทั่วทั้งจักรวรรดิ ประมาณปี..

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและพีดาเนียส ไดออสคอริดีส · ดูเพิ่มเติม »

กวี

กวี หมายถึง ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทร้อยกรองในรูปฉันทลักษณ์อันหมายถึงแบบข้อบังคับสัมผัส วรรคตอน และถ้อยคำให้เรียงร้อยรับกันอย่างเหมาะเจาะไพเราะด้วยจังหวะและน้ำหนักของคำที่กำหนดไว้ โดยทั่วไป อาจจำแนกแบบฉันทลักษณ์ออกเป็น 7 ชนิดด้วยกันคือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต และกลบท มักใช้คำนี้ในภาษาแบบแผนหรือภาษาการประพันธ์ในวรรณคดีโบราณ และอาจรวมถึงปัจจุบัน โดยปร..หมายถึง ผู้ชำนาญในการประพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นบทร้อยกรอง หรือวรรณกรรมในรูปแบบอื่นๆ โดยมีความหมายในเชิงยกย่อง.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและกวี · ดูเพิ่มเติม »

กายวิภาคศาสตร์

หัวใจและปอดของมนุษย์ ภาพจากหนังสือ ''Gray's Anatomy'' กายวิภาคศาสตร์ (anatomia, มาจาก ἀνατέμνειν ana: การแยก และ temnein: การตัดเปิด) เป็นแขนงหนึ่งของวิชาชีววิทยา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต คำนี้หมายรวมถึงกายวิภาคศาสตร์มนุษย์ (human anatomy), กายวิภาคศาสตร์สัตว์ (animal anatomy หรือ zootomy) และกายวิภาคศาสตร์พืช (plant anatomy หรือ phytotomy) ในบางแง่มุมกายวิภาคศาสตร์ก็มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวิชาคัพภวิทยา (embryology), กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative anatomy) และคัพภวิทยาเปรียบเทียบ (phylogenetics หรือ comparative embryology) โดยมีรากฐานเดียวกันคือวิวัฒนาการ (evolution) กายวิภาคศาสตร์สามารถแบ่งออกได้เป็นมหกายวิภาคศาสตร์ (gross anatomy หรือ macroscopic anatomy) และจุลกายวิภาคศาสตร์ (microscopic anatomy) มหกายวิภาคศาสตร์ เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จุลกายวิภาคศาสตร์เป็นการศึกษาโครงสร้างทางกายวิภาคขนาดเล็กซึ่งต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ มิญชวิทยา (histology) ซึ่งเป็นการศึกษาโครงสร้างของเนื้อเยื่อ และวิทยาเซลล์ (cytology) ซึ่งเป็นการศึกษาเซลล์ กายวิภาคศาสตร์มีประวัติศาสตร์เป็นเวลายาวนาน มีการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของอวัยวะและโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับวิธีการศึกษาที่พัฒนาอย่างรวดเร็วตั้งแต่การศึกษาจากสัตว์ไปจนถึงการชำแหละ (dissect) ศพมนุษย์ จนกระทั่งพัฒนาเทคนิคที่อาศัยเทคโนโลยีที่ซับซ้อนในศตวรรษที่ 20 วิชากายวิภาคศาสตร์นั้นต่างจากพยาธิกายวิภาค (anatomical pathology หรือ morbid anatomy) หรือจุลพยาธิวิทยา (histopathology) ซึ่งเป็นการศึกษาลักษณะทางมหภาคและจุลภาคของอวัยวะที่เป็นโร.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและกายวิภาคศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบบไหลเวียน

ระบบไหลเวียน หรือ ระบบหัวใจหลอดเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียนและขนส่งสารอาหาร (เช่น กรดอะมิโนและอิเล็กโทรไลต์) ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้าและออกเซลล์ในร่างกายเพื่อหล่อเลี้ยงและช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิและ pH ของร่างกาย และรักษาภาวะธำรงดุล มักมองว่าระบบไหลเวียนประกอบด้วยทั้งระบบหัวใจหลอดเลือด ซึ่งกระจายเลือด และระบบน้ำเหลือง ซึ่งไหลเวียนน้ำเหลือง ทั้งสองเป็นระบบแยกกัน ตัวอย่างเช่น ทางเดินน้ำเหลืองยาวกว่าหลอดเลือดมาก เลือดเป็นของเหลวอันประกอบด้วยน้ำเลือด เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดซึ่งหัวใจทำหน้าที่ไหลเวียนผ่านระบบหลอดเลือดสัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยน้ำออกซิเจนและสารอาหารไปและของเสียกลับจากเนื้อเยื่อกาย น้ำเหลือง คือ น้ำเลือดส่วนเกินที่ถูกกรองจากของเหลวแทรก (interstitial fluid) และกลับเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ระบบหัวใจหลอดเลือดประกอบด้วยเลือด หัวใจและหลอดเลือด ส่วนระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ปุ่มน้ำเหลืองและหลอดน้ำเหลือง ซึ่งคืนน้ำเลือดที่กรองมาจากของเหลวแทรกในรูปน้ำเหลือง มนุษย์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบปิด คือ เลือดไม่ออกจากเครือข่ายหลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำและหลอดเลือดฝอย แต่กลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางกลุ่มมีระบบหัวใจหลอดเลือดแบบเปิด ในทางตรงข้าม ระบบน้ำเหลืองเป็นระบบเปิดซึ่งให้ทางที่จำเป็นแก่ของเหลวระหว่างเซลล์ส่วนเกินกลับเข้าสู่หลอดเลือดได้ ไฟลัมสัตว์ไดโพลบลาสติก (diploblastic) บางไฟลัมไม่มีระบบไหลเวียน.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและระบบไหลเวียน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและรัฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม ฮาร์วีย์

วิลเลี่ยม ฮาร์วี่ ('''William Harvey'''.; 1 เมษายน ค.ศ. 1578 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1657) เป็นแพทย์ชาวอังกฤษผู้ลบความเชื่อเก่าๆของแพทย์ในยุคศตวรรษที่ 17 ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับระบบโลหิตในร่างกาย เขาเป็นผู้ค้นพบการไหลเวียนโลหิตหากทว่ากว่าจะได้รับการยอมรับเขาเสียชีวิตไปเสียแล้ว.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและวิลเลียม ฮาร์วีย์ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสุข

รณสุข คือศาสตร์และศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลและจัดการสุขภาพทั้งปวงของชุมชนโดยอิงตามการวิเคราะห์ด้านสุขภาพของประชากร คำว่าสุขภาพนั้นมีนิยามและจัดการในลักษณะต่างๆ กันจากหน่วยงานต่างๆ สำหรับองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานและเฝ้าระวังโรคทั่วโลก ได้นิยามคำว่า สุขภาพ ไว้ว่า "สภาพของการมีชีวิตทางกายภาพ ทางจิตใจ และทางสังคมที่สมบูรณ์ ไม่ใช้เพียงไม่มีโรคภัยหรือความแข็งแรงทางกายเท่านั้น" ประชากรที่กล่าวไว้ข้างต้นอาจมีเพียงน้อยนิด หรือปริมาณมหาศาลในระดับทวีปก็ได้ สาธารณสุขมีด้วยกันหลายสาขาย่อย แต่โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นหมวดต่างๆ ได้แก่ ระบาดวิทยา (epidemiology), ชีวสถิติ (biostatistics) และบริการสุขภาพ (health services) นอกจากนี้แล้ว สุขภาพเชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม และเชิงพฤติกรรม รวมทั้งสุขภาพเชิงอาชีพ ก็เป็นสาขาที่สำคัญของสาธารณสุขด้ว.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและสาธารณสุข · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

ฮิปพอคราทีส

ปพอคราทีส บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates; Ἱπποκράτης; Hippokrátēs; ประมาณ พ.ศ. 83-166) เป็นแพทย์ชาวกรีกโบราณ ได้ชื่อว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก" และต้นตอของ "คำสัตย์สาบานฮิปพอคราทีส (Hippocrates oath) ในจรรยาบรรณแพทย์ เกิดที่เกาะโคส ประเทศกรีซ ฮิปพอคราทีสได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงในวงการแพทย์รุ่นโบราณว่าเป็นผู้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวิชาการแพทย์ไว้มากกว่า 70 ชิ้นงาน โดยเฉพาะเรื่อง "ฮิปพอคราทีสคอร์ปัส" (Hippogrates corpus) แต่ในภายหลังก็เป็นที่ทราบกันว่าใน 70 เรื่องนี้มีไม่กี่ชิ้นที่เขียนโดยฮิปพอคราทีสเอง แต่เชื่อว่าชิ้นงานทั้งหลายดังกล่าวเกิดจากการสะสมตำราและเอกสารในห้องสมุดของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในสมัยนั้นซึ่งได้มาจากหลายแหล่ง เขียนโดยหลายคนที่มีความเห็นต่าง ๆ กัน แต่นำมารวมผิด ๆ ถูก ๆ ภายใต้ชื่อฮิปพอคราทีส ฮิปพอคราทีสได้ทำคุณประโยชน์ทางการแพทย์ไว้อย่างใหญ่หลวงโดยการรักษาคนไข้อย่างมีแบบแผน ผิดกับแพทย์ทั่วไปในสมัยนั้นที่ตั้งตนเป็นผู้มีคาถาอาคมเป็นผู้วิเศษที่เชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นการถูกลงโทษโดยพระเจ้าต้องรักษาด้วยพิธีกรรม แต่ฮิปพอคราทีสกลับเห็นว่าเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ ฮิปพอคราทีสเป็นคนแรกที่ทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์วิธีการปฏิบัติตนของแพทย์กับคนไข้ ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ดีความสำเร็จของผู้เขียนรวมนิพนธ์ฮิปพอคราทีส ผู้ปฏิบัติวิชาแพทย์แบบฮิปพอคราทีส และผลงานของฮิปพอคราทีสเองถูกหลอมรวมกันไปอย่างแยกไม่ออก ทำให้มีข้อมูลตกทอดมาถึงปัจจุบันน้อยมากว่าสิ่งใดกันแน่ที่ฮิปพอคราทีสเป็นผู้คิด เขียน และทำจริงๆ แม้กระนั้นฮิปพอคราทีสก็ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการแพทย์ในยุคโบราณ โดยเฉพาะการเป็นผู้ทำให้เกิดความก้าวหน้าอย่างมากในการศึกษาวิชาแพทย์ทางคลินิกอย่างเป็นระบบ รวบรวมวิชาแพทย์ของคำสอนการแพทย์ในอดีตเอาไว้ และสั่งสอนเวชปฏิบัติแก่แพทย์ผ่านคำปฏิญาณฮิปพอคราทีส รวมนิพนธ์ และงานชิ้นอื่น.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและฮิปพอคราทีส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

วิตเซอร์แลนด์ (Switzerland; die Schweiz; la Suisse; Svizzera; Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (Swiss Confederation; Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในทวีปยุโรปตะวันตก โดยมีพรมแดนติดกับ ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลิกเตนสไตน์ นอกจากจะมีความเป็นกลางทางการเมืองแล้ว สวิตเซอร์แลนด์นับว่ามีการร่วมมือกันระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นที่ตั้งขององค์กรนานาชาติหลายแห่ง นอกจากนี้ลักษณะของประเทศยังคล้ายกับประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

แพราเซลซัส

วาดแพราเซลซัส โดยเควนติน แมตซิส แพราเซลซัส (Paracelsus; 11 พฤศจิกายน หรือ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1493 - 24 กันยายน ค.ศ. 1541) เป็นชาวเยอรมันในประเทศสวิตเซอร์แลนด์, นักฟิสิกส์, นักพฤกษศาสตร์, นักเล่นแร่แปรธาตุ, นักดาราศาสตร์ และผู้ใช้เวทมนตร์ทั่วไปแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เขาเป็นผู้กำหนดกฎแห่งพิษวิทยา (The Discipline of Toxicology) อีกทั้งยังเป็นนักปฏิวัติผู้ยืนหยัดในเรื่องของการสังเกตความเป็นไปของธรรมชาติ แทนที่จะมัวดูแค่ตำราเก่า ๆ โบราณ เขายังเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับธาตุสังกะสี (Zinc) โดยให้ชื่อว่า zincum นักจิตวิทยาสมัยใหม่มักจะให้การยอมรับว่าเขาเป็นผู้บันทึกคนแรกเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า โรคบางโรคมีสาเหตุมาจากภาวะการป่วยทางจิต เขาเป็นคนหัวแข็งและรักอิสระ เติบโตขึ้นด้วยความผิดหวังและชีวิตที่ขมขื่น ซึ่งนั่นเองคงเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมเขาถึงได้กลายเป็นนักปฏิรูป คำว่า "แพราเซลซัส" หมายถึง "เทียบเท่าหรือยิ่งใหญ่กว่าเซลซัส" ซึ่งในที่นี้คือผู้เขียนสารานุกรมชาวโรมันชื่อ อูลัส คอลเนลเลียส เซลซัส เป็นที่รู้จักกันในเรื่องตำราเวชศาสตร์ของ.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและแพราเซลซัส · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เกเลน

วาดเกเลนในศตวรรษที่ 18 โดยเกออร์ก เพาล์ บัสช์ เกเลน (Galen; Γαληνός, Galēnos; Claudius Galenus; ค.ศ. 129 - ประมาณ ค.ศ. 200 หรือ 216) แห่งเพอร์กามอน เป็นแพทย์ชาวกรีกซึ่งมีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ของตะวันตกมาเป็นเวลานานกว่าพันปี ชื่อหน้า "Claudius" ซึ่งไม่ได้ระบุเอาไว้ในเอกสารภาษากรีก ปรากฏอยู่ในเอกสารในยุคฟื้นฟูศิลปวิท.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและเกเลน · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชวิทยา

ัชวิทยา (Pharmacology) เป็นศาสตร์สาขาของชีววิทยา ซึ่งมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของยา, การได้มาของยา ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากการสังเคราะห์โดยมนุษย์ ธรรมชาติ หรือแม้แต่โมเลกุลภายในร่างกายมนุษย์เอง ซึ่งส่งผลชีวเคมีหรือสรีรวิทยาต่อเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ หรือจุลชีพ (ในบางครั้ง คำว่า ฟาร์มาคอน ก็ถูกนำมาใช้แทนที่เพื่อให้มีนิยามครอบคลุมสารภายในและภายนอกร่างกายที่ทำให้ผลทางชีวภาพเหมือนกับยา) แต่ถ้ากล่าวให้จำเพาะมากขึ้นแล้ว เภสัชวิทยานั้นเป็นศาสตร์ที่ศึกษาปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตและสารคเมีที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติและปรับสมดุลการทำงานทางชีวเคมีของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ซึ่งหากสารเคมีใดที่มีคุณสมบัติในการบำบัดรักษาโรค อาจถือได้ว่าสารเคมีนั้นจัดเป็นยา การศึกษาด้านเภสัชวิทยานั้นครอบคลุมองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างๆของยา การสังเคราะห์และการออกแบบยา กลไกการออกฤทธิ์ของยาทั้งในระดับโมเลกุลและระดับเซลล์ ผลของยาต่ออวัยวะและระบบต่างๆของร่างกาย ระบบการรับส่งสัญญาณการสื่อสารระดับเซลล์ การวินิจฉัยระดับโมเลกุล อันตรกิริยา พิษวิทยา ชีววิทยาของเซลล์ การบำบัดรักษา การประยุกต์ใช้ยาทางการแพทย์ และความสามารถในการต้านทานการเกิดโรคของยา ทั้งนี้ การศึกษาด้านเภสัชวิทยามุ่งเน้นไปที่ 2 ประเด็นหลัก คือ เภสัชพลศาสตร์ และเภสัชจลนศาสตร์ โดยเภสัชพลศาสตร์จะเป็นการศึกษาถึงผลของยาต่อระบบชีวภาพต่างๆของสิ่งมีชีวิต ส่วนเภสัชจลนศาสตร์ จะศึกษากระบวนการการตอบสนองหรือการจัดการของระบบภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อยา หากกล่าวสรุปแล้ว เภสัชพลศาสตร์จะอภิปรายได้ถึงผลของยาต่อร่างกาย และเภสัชจลนศาสตร์จะกล่าวถึงการดูดซึมยา การกระจาย การเปลี่ยนแปลงยา และการกำจัดยาของร่างกาย (ADME) ทั้งนี้ บ่อยครั้งที่เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่า เภสัชวิทยา และเภสัชศาสตร์ เป็นคำพ้องซึ่งกันและกัน แต่โดยรายละเอียดของศาสตร์ที่งสองแล้ว มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เภสัชวิทยาจั้นจัดเป็นชีวเวชศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวิจัย การค้นคว้า และการจำแนกสารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ การศึกษาการทำงานของเซลล์และจุลชีพที่เกี่ยวเนื่องกับสารเคมีเหล่านั้น ในทางตรงกันข้าม เภสัชศาสตร์ เป็นการศึกษาทางวิชาชีพบริการทางสุขภาพที่มุ่งเน้นการปรับประยุกตฺใช้หลักการและองค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากการศึกษาทางเภสัชวิทยามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค ดังนั้น ความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองศาสตร์ คือ ความแตกต่างระหว่างการดูแลผู้ป่วยโดยตรงโดยการปฏิบัติด้านเภสัชกรรม และสาขาการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ที่ขับเคลื่อนโดยเภสัชวิทยา ต้นกำเนิดของการศึกษาทางเภสัชวิทยาคลินิกเกิดขึ้นในยุคกลาง ตามที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์ The Canon of Medicine ของอิบน์ ซีนา, Commentary on Isaac ของปีเตอร์ ออฟ สเปน, และ Commentary on the Antedotary of Nicholas ของจอห์น ออฟ เซนต์ แอมานด์ โดยเป็นศาสตร์ที่มีฐานรากมาจากการศึกษาค้นคว้าทางการแพทย์ของวิลเลียม วิเธอริง แต่เภสัชวิทยาในฐานะศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์ไม่ได้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นเท่าใดนักจนกระทั่งในช่วงกลางของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคที่มีการฟื้นตัวของศาสตร์ชีวการแพทย์แขนงต่างๆ เป็นอย่างมาก โดยในช่วงต้นคริสต์สตวรรษที่ 19 นั้น ความเข้าใจในกลไกการออกฤทธิ์ที่จำเพาะและความแรงของยาต่างๆ เช่น มอร์ฟีน, ควินีน และดิจิทาลลิส นั้นยังมีความคลุมเครือเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีการกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและสัมพรรคภาพของสารเคมีบางชนิดต่อร่างกายและเนื้อเยื่อที่ผิดแผกไปจากความเป็นจริงในปัจจุบัน ความเจริญก้าวหน้าทางเภสัชวิทยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นี่ทำให้มีการจัดตั้งแผนกเภสัชวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและเภสัชวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: อิบน์ ซีนาและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Avicennaอวิเซนนาอวิเซ็นน่าอิบน์ซีนาแอวิเซนนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »