โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาเนื้ออ่อน

ดัชนี วงศ์ปลาเนื้ออ่อน

วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (อังกฤษ: Sheatfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Siluridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมาก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Siluridae (/ไซ-เลอร์-อิ-ดี้/) ส่วนหัวมักแบนราบหรือแบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กและแหลมขึ้นบนขากรรไกรและเป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ ครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังเล็กมาก ไม่มีก้านครีบแข็งแหลมที่ครีบอกและครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้นหรือเป็นแฉก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องเล็ก เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร ได้แก่ แมลงขนาดเล็ก, ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ วางไข่แบบจมติดกับวัสดุใต้น้ำ กระจายพันธุ์ไกล พบตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตอนบน, อินเดียไปจนถึงอินโดนีเชีย เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา เฉพาะที่พบในประเทศไทยมีราว 30 ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็กสุด เช่น ปลาก้างพระร่วง (Krytopterus vitreolus) ที่มีความยาวราว 6.5-8 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ใหญ่ที่สุดคือ ปลาเวลส์ (Silurus glanis) พบในยุโรป ที่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร และหนักกว่า 113 กิโลกรัม และชนิดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทยคือ ปลาค้าวขาว (Wallago attu) ใหญ่ได้ถึง 2 เมตร ตัวอย่างปลาในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน เช่น.

39 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2359การตั้งชื่อทวินามกิโลกรัมกุ้งฝอยภาษาอังกฤษสกุลไมโครนีมาสกุลไซเลอร์อัสสมัยไมโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาหนังทวีปยุโรปประเทศกัมพูชาประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศไทยปลาชะโอนปลาชะโอน (สกุล)ปลาชะโอนหินปลาก้างพระร่วงปลาสวยงามปลาสายยูปลาสายยู (สกุล)ปลาที่มีก้านครีบปลาขาไก่ปลาดังปลาดังแดงปลาคางเบือนปลาค้าวขาวปลาค้าวขาว (สกุล)ปลาน้ำเงินปลาแดงปลาเบี้ยวปลาเพียวปลาเวลส์ปลาเนื้ออ่อนเมตรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอเชียเหนือ

พ.ศ. 2359

ทธศักราช 2359 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและพ.ศ. 2359 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กุ้งฝอย

กุ้งเรดบีชนิด ''Caridina japonica'' หรือกุ้งยะมะโตะ จัดเป็นกุ้งฝอยน้ำจืดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Atyidae นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม กุ้งฝอย ชื่อสามัญของสัตว์น้ำขาปล้องจำพวกครัสเตเชียนจำพวกหนึ่ง เป็นกุ้งที่มีขนาดเล็กไม่มากนัก โดยมากอยู่ในอันดับย่อย Caridea และ Dendrobranchiata มีขาขนาดเล็กและเรียว พบได้ทั้งในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืด มีอายุโดยเฉลี่ย 7 ปี หลายชนิดมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีการเลี้ยงเป็นสัตว์น้ำสวยงาม กุ้งฝอยน้ำจืดชนิดที่พบมากในประเทศไทยคือชนิด Macrobrachium lanchesteri เป็นชนิดที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาเศรษฐกิจหรือปลาสวยงาม จึงมีการเพาะเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและกุ้งฝอย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไมโครนีมา

กุลไมโครนีมา (Sheatfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Micronema (/ไม-โคร-นี-มา/) นักมีนวิทยาบางท่าน เช่น ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ได้จัดให้สกุลนี้เป็นสกุลเดียวกับสกุล Kryptopterus แต่บางท่านได้แยกออกมา เนื่องจากเล็งเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้คือ มีหนวดที่สั้นมาก 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากบนยาวไม่ถึงช่องเปิดเหงือก หนวดที่คางสั้นและเล็กมาก ไม่มีครีบหลัง ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 9-10 ก้าน และครีบก้นมีก้านครีบแขนง 75-95 ก้าน เป็นปลาที่กระจายพันธุ์ทั่วไปในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ เป็นปลาที่ใช้ในการบริโภคกัน รู้จักกันดีในชื่อ "ปลาเนื้ออ่อน" แต่ปัจจุบันได้มีสมาชิกบางส่วนแยกออกไปเป็นสกุลต่างหาก คือ Phalacronotus.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสกุลไมโครนีมา · ดูเพิ่มเติม »

สกุลไซเลอร์อัส

กุลไซเลอร์อัส (Sheatfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Silurus (/ไซ-เลอร์-อัส/) โดยถือว่าเป็นปลาหนัง (Siluriformes) ที่มีขนาดใหญ่ อาจยาวได้ถึง 3 เมตร และหนักได้เป็นร้อยกิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปยุโรปและเอเชียตะวันออก เป็นปลาที่กินไม่เลือก และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมาก มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวยาวแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก นัยน์ตาอยู่เหนือมุมปาก มีหนวด 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ ครีบหลังเล็กอยู่หน้าล้ำครีบท้อง ครีบอกสั้น และยาวไม่ถึงฐานของครีบท้อง มีฟันที่กระดูกเพดานปากชิ้นกลางอยู่รวมกัน 1 กลุ่ม ครีบหางตัดตรงหรือเว้าเล็กน้อย ครีบก้นยาวแต่ไม่ต่อรวมถึงครีบหาง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสกุลไซเลอร์อัส · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสมัยไมโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอน

ปลาชะโอน เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ompok bimaculatus อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างหัวสั้นและแบนข้างเล็กน้อย ลำตัวแบนข้าง ส่วนหลังยกสูงเล็กน้อย ปากเล็ก ตาโตอยู่เหนือมุมปาก หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณท้อง หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ครีบหางเว้าตื้นมีปลายแฉกมน ตัวมีสีตามสภาพน้ำ ปลาที่อาศัยในแหล่งน้ำใส ตัวมักมีสีคล้ำและมีจุดประสีคล้ำ ที่เหนือครีบอกมีแต้มกลมสีคล้ำ ในบริเวณน้ำขุ่นมักมีตัวสีขุ่น ขาวซีด ครีบใส มีแต้มสีคล้ำบริเวณโคนหาง มีขนาดประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 40 เซนติเมตร อาศัยเป็นฝูงเล็ก ๆ ในแหล่งน้ำนิ่งและแม่น้ำของทุกภาค ตั้งแต่แม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำโขง บริโภคโดยปรุงสด โดยเฉพาะทอดกรอบ มีรสชาติดีมาก ปลารมควัน และปลาเค็ม เคยเป็นสินค้ามีชื่อของทะเลสาบเขมรด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะปลาที่เป็นสีเผือก ปลาชะโอน มีชื่อเรียกต่างออกไปตามถิ่นต่าง ๆ เช่น "ปลาสยุมพร", "ปลาเนื้ออ่อน" ในภาษาอีสานเรียก "ปลาเซือม" และเรียกสั้น ๆ ในภาษาใต้ว่า "ปลาโอน" เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาชะโอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอน (สกุล)

ปลาชะโอน หรือ ปลาสยุมพร เป็นชื่อสกุลของปลาน้ำจืดในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ompok (/ออม-พ็อก/) มีลักษณะสำคัญคือ นัยน์ตามีเยื่อใส ๆ คลุม โดยที่เยื่อนี้ติดกับขอบตา ปากแคบและเฉียงขึ้นด้านบน มุมปากยื่นไม่ถึงนัยน์ตา ครีบหลังมีก้านครีบแขนง 3-4 ก้าน มีหนวด 2 คู่ ที่ริมปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ ฟันที่กระดูกเพดาปากชิ้นล่างมีสองกลุ่มแยกจากกันเห็นได้ชัด ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7-8 ก้าน พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำของอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาชะโอน (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาชะโอนหิน

ปลาชะโอนหิน (Leaf catfish) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Silurichthys (/ไซ-เลอร์-อิค-ธีส/) มีลักษณะสำคัญ คือ นัยน์ตามีเยื่อเหมือนวุ้นคลุม ปลายของครีบหางแยกเป็นสองแฉกและยาวไม่เท่ากัน ครีบก้นยาวและติดต่อรวมกันกับครีบหาง ครีบหลังอยู่หน้าครีบท้อง ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 7 ก้าน ฟันที่เพดานปากชิ้นกลางมีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกลุ่มกลม มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ มีสีลำตัวคล้ำ มีขนาดยาวเต็มที่ประมาณ 14-15 เซนติเมตร พบในทวีปเอเชีย ในลำธารน้ำตกหรือพื้นที่ป่าพร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาชะโอนหิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาก้างพระร่วง

ปลาก้างพระร่วง (glass catfish, ghost catfish, phantom catfish, Thai glass catfish) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในสกุล Kryptopterus นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าจะนำมาบริโภค พบได้ทั่วไปในตลาดซื้อขายปลาน้ำจืดสวยงามโดยเป็นปลาส่งออกที่ขึ้นชื่อชนิดหนึ่ง แต่อนุกรมวิธานของปลาชนิดนี้เป็นที่สับสนกันมานานและเพิ่งได้รับการจำแนกอย่างชัดเจนในปี..

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาก้างพระร่วง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสายยู

ปลาสายยู (Club-barbel sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด หัวเล็กมีสีแดงเรื่อ ๆ ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก คล้ายสายยูแม่กุญแจ อันเป็นที่มาของชื่อ ตาเล็กมาก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง, แมลงน้ำ เป็นต้น พบเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันมีสถานะเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตในธรรมชาติ แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหาของนักเลี้ยงปลาด้วย โดยเป็นปลาที่มีราคาสูงมาก มีชื่อเรียกอื่นว่า "เกด" อนึ่ง ชื่อสายยู นี้เป็นชื่อที่เรียกซ้ำซ้อนกับปลาในหลายชนิด หลายสกุล เช่น ปลาในสกุล (Pangasius spp.) ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) หรือปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis) ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbedae) เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาสายยู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสายยู (สกุล)

ปลาสายยู (Barbel sheatfish) ชื่อสกุลของปลาหนัง 2 ชนิด ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Ceratoglanis (/ซี-รา-โต-กลาน-อิส/) มีรูปร่างโดยรวม คือ หัวมีขนาดเล็ก ตามีขนาดเล็ก ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีลักษณะสำคัญ คือ มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง, แมลงน้ำ เป็นต้น พบเพียง 2 ชนิด เท่านั้น คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาสายยู (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาขาไก่

ปลาขาไก่ (blue sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างเพรียว ลำตัวแบนข้าง ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก ตาโตอยู่ต่ำกว่ามุมปาก ส่วนหลังไม่ยกสูง มีหนวดยาว 2 คู่ หนวดที่ริมฝีปากยาวถึงบริเวณขอบฝาปิดเหงือก หนวดใต้คางสั้น ครีบหลังเล็กมากเห็นเป็นเส้นสั้น ๆ ครีบอกใหญ่มีก้านแข็งที่ยาวเกือบเท่าความยาวของครีบ ครีบก้นยาว มีหางเว้าตื้น ตัวมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียว ตัวค่อนข้างใส ครีบสีจาง ขอบครีบก้นมีสีคล้ำเช่นเดียวกับครีบหาง ครีบอกในตัวผู้ที่โตเต็มวัยมีสีคล้ำ มีความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 20 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงใหญ่ มักย้ายถิ่นขึ้นมาในบริเวณน้ำหลากในฤดูฝน โดยกินอาหารได้แก่ แมลงและสัตว์น้ำขนาดเล็ก พบในแม่น้ำของทุกภาค ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน บริโภคโดยการปรุงสด หรือนำมาทำเป็นปลาแห้ง ปลารมควัน นอกจากนี้ยังมีการรวบรวมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย แค่ค่อนข้างเลี้ยงยาก เนื่องจากเป็นปลาขี้ตกใจ ตายง่าย ปลาขาไก่ มีชื่อเรียกที่เรียกกันหลากหลายแตกต่างกันออกไป เช่น "ปลาเพียว" ที่ภาคอีสาน "ปลากะปิ๋ว" ที่ จังหวัดปราจีนบุรี "ปลาปีกไก่" หรือ "ปลานาง" หรือ "ปลาดอกบัว" ในแถบแม่น้ำโขงและแม่น้ำมูล หรือบางครั้งเรียก "ปลาหางไก่" หรือ "ปลาไส้ไก่" เป็นต้น ซึ่งนอกจากปลาชนิดนี้แล้ว ชื่อเหล่านี้ยังเป็นชื่อที่เรียกปลาชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันอีกด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาขาไก่ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดัง

ปลาดัง ชื่อสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemisilurus (/เฮม-อิ-ซิ-ลู-รัส/) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Ceratoglanis ซึ่งเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุลเดียวกันมาก่อน แต่ทว่าปลาในสกุลปลาดังนั้น จะมีความลาดที่ส่วนหลังหลังจากหัวสูงกว่า หนวดมีขนาดยาวกว่าและมีพฤติกรรมกระดิกหนวดเพื่อช่วยในการหาอาหารได้เร็วน้อยกว่าปลาสกุล Ceratoglanis มีความยาวตั้งแต่ 50–80 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Hemisilurus นั้นมาจากภาษากรีก ที่หมายถึง "ครึ่ง" (ημι) ของ "ปลาเนื้ออ่อน" (silurus) พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาดัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดังแดง

ปลาดังแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemisilurus mekongensis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากสั้นและงุ้มเล็กน้อย ปากเล็ก ขากรรไกรมีหนังนิ่ม ๆ หุ้ม มีหนวดหนึ่งคู่ ตาเล็ก ครีบหลังเล็กมากเป็นเพียงเส้นสั้น ๆ ครีบท้องเล็ก ครีบหางเว้าลึกแฉกมนป้าน ตัวผู้มีหนวดเรียวสั้น ตัวเมียมีหนวดเส้นใหญ่ปลายแบนและยาวถึงบริเวณหลัง สีลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้า หนังบางค่อนข้างใส ครีบสีจางขอบครีบหางสีคล้ำ ส่วนหัวมีสีแดงเรื่อโดยเฉพาะบริเวณจะงอยปาก จึงเป็นที่มาของชื่อ (ดัง เป็นภาษาอีสานแปลว่า จมูก) มีขนาดประมาณ 30–40 เซนติเมตร อาหารได้แก่ หอย, ไส้เดือนน้ำ, กุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมขณะว่ายน้ำจะยื่นหนวดและกระดิกถี่ ๆ เพื่อเป็นการสัมผัส พบเฉพาะแม่น้ำโขงเท่านั้น ถูกจับขึ้นมาขายครั้งละมาก ๆ ในบางฤดูกาลของจังหวัดริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี เนื้อมีรสชาติดี มักบริโภคโดยการปรุงสด ปลาดังแดง มีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "เจ๊ก".

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาดังแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาคางเบือน

ปลาคางเบือน (Twisted-jaw catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะส่วนหัวแบนข้างมากเช่นเดียวกับลำตัว รูปร่างเพรียวยาว ด้านท้ายเล็กหัวและจะงอยปากงอนขึ้นด้านบน ปากกว้างมาก คางเชิดขึ้น จึงได้ชื่อว่า "คางเบือน" มีฟันแหลมคมบนขากรรไกร ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบก้นและครีบหางมีขอบสีคล้ำ มีขนาดประมาณ 35-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำสายใหญ่ทั่วประเทศ ยกเว้นแม่น้ำสาละวินและภาคตะวันออก ในธรรมชาติมักอยู่ในแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำไหลเวียนดี โดยหันหน้าทวนกระแสน้ำเพื่อดักจับกินลูกปลาขนาดเล็ก ๆ ที่รวมฝูงกันตามตอม่อสะพาน หรือบริเวณประตูน้ำหน้าเขื่อน เนื้อมีรสชาติดีและราคาแพง สามารถปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ทอดกระเทียม ต้มยำ และยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย โดยปลาที่เลี้ยงกันจะเป็นปลาที่จับได้จากธรรมชาติ มักจะมีขายกันในช่วงปลายฤดูฝน ปลาคางเบือนยังมีชื่อเรียกในภาษาอีสานอีกว่า "เบี้ยว", "ขบ", "ปากวิบ" หรือ "แก็ก" เป็นปลาชนิดหนึ่งที่มีชื่อถูกกล่าวถึงกาพย์แห่ชมปลาของเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง) ที่ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาคางเบือน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้าวขาว

ปลาค้าวขาว หรือ ปลาเค้าขาว เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวและจะงอยปากปากยื่นแหลม ปากกว้างมาก มุมปากอยู่เลยด้านหลังของลูกตา มีฟันแหลมเล็กบนขากรรไกร ตาเล็ก มีหนวดที่ริมฝีปากยาวถึงครีบก้น หัวและลำตัวตอนหน้าแบนข้างเล็กน้อย แต่ตอนท้ายแบนข้างมาก ส่วนหลังป่องออก ครีบหลังอันเล็กมีปลายแหลม ครีบหางเว้า ตื้น ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ตัวมีสีเงินวาวอมเขียวอ่อนที่ด้านหลัง ในปลาบางตัวมีแถบยาวสีคล้ำที่ด้านข้างลำตัว ด้านท้องสีจาง บางตัวอาจมีครีบสีคล้ำอมเหลืองอ่อน มีขนาดโดยเฉลี่ย 70–80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร มักหากินในเวลากลางคืน อาหารได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เวลาล่าเหยื่อจะว่องไวและดุดันมาก ในบางครั้งที่ล่าเหยื่อบนผิวน้ำกระแทกตัวกับน้ำจนเกิดเสียงดังหนังสือสารานุกรมปลาไทย โดย สุรศักดิ์ วงศ์กิตติเวชสกุล (กรุงเทพ, พ.ศ. 2540) ISBN 9789748990026 พบในแม่น้ำสายใหญ่ ตั้งแต่ประเทศอินเดีย, ปากีสถาน, บังกลาเทศ, แม่น้ำสาละวินถึงแม่น้ำโขง พบน้อยในภาคใต้และคาบสมุทรมลายู เป็นปลาที่นิยมบริโภคโดยปรุงสด รมควัน มีราคาค่อนข้างสูง นอกจากนี้แล้วยังนิยมตกเป็นเกมกีฬาและเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้ โดยมีชื่อเรียกในภาคอีสานว่า "ค้าวคูน".

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาค้าวขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาค้าวขาว (สกุล)

ปลาค้าวขาว หรือ ปลาเค้าขาว เป็นสกุลปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่งในอันดับปลาหนังของวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลเป็นภาษาละตินว่า Wallago มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวยาว ลำตัวที่อยู่ค่อนไปทางหางมีลักษณะแบนข้างมาก ส่วนหัวมีขนาดใหญ่และแบน ปากกว้าง ภายในมีฟันซี่เล็ก ๆ อยู่ในขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง มีหนวด 2 คู่ โดยคู่ที่อยู่มุมปากมีลักษณะเรียวยาว ส่วนคู่ที่ใต้คางจะสั้นและเล็กมาก มีครีบทั้งหมด 7 ครีบ ครีบก้นใหญ่และยาวจรดครีบหาง ขอบปลายหางด้านบนจะใหญ่กว่าด้านล่าง พบกระจายพันธุ์โดยทั่วไปตั้งแต่อนุทวีปอินเดียจนถึงแหลมมลายู มีอุปนิสัยคือมักอยู่นิ่ง ๆ กับพื้นน้ำ กินอาหารจำพวกปลาขนาดเล็กกว่า และออกหากินในเวลากลางคืน ปลาค้าวขาวจัดเป็นปลาขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ที่พบได้ในทวีปเอเชีย และถือว่าใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสกุล Silurus ที่พบได้ในทวีปยุโรป โดยมีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร ปัจจุบันพบว่ามีปลาทั้งหมด 2 ชนิดในสกุลนี้ ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาค้าวขาว (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเงิน

ปลาน้ำเงิน (コモンシート) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus apogon อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างคล้ายปลาเนื้ออ่อนชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง ไม่มีเกล็ด พื้นลำตัวสีขาวเงิน ส่วนหลังมีสีดำอมเขียว หัวแบนสั้นและตาเล็ก ปากค่อนข้างกว้าง มีฟันแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง ครีบหูใหญ่ปลายมน ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นเป็นแผงยาว แต่ไม่มีครีบหลัง สันหลังบริเวณต้นคอสูงและลาดต่ำลงไปทางปลายหาง ครีบหางยาวเป็นแฉกเว้าลึก มีขนาดความยาวประมาณ 15-77 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 1.5 เมตร อาศัยตามแม่น้ำสายใหญ่ของภาคเหนือ, ภาคอีสาน และภาคกลาง เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำโขง เป็นต้น โดยมักอยู่รวมกันเป็นฝูงในระดับกลางน้ำ อาหารได้แก่ ปลา สัตว์น้ำขนาดเล็ก และแมลงต่าง ๆ และจะชอบอาหารกลิ่นแรง เช่น แมลงสาบ เป็นที่รู้จักกันดีของนักตกปลาที่ใช้เป็นเหยื่อ เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อยมาก สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลาย เช่น ทอดพริก, ทอดกระเทียม เป็นต้น ของจังหวัดตามริมแม่น้ำ และยังสามารถเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย จัดเป็นปลาที่เมื่ออยู่ในตู้แล้วจะมีความแวววาวสวยงามมากชนิดหนึ่ง เคยพบชุกชุมในธรรมชาติ ปัจจุบันพบน้อยลงเพราะการจับมากเกินไปและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไป แต่ปัจจุบันกรมประมง โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยนาทสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการผสมเทียม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาน้ำเงิน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแดง

ปลาแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phalacronotus bleekeri อยุ่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีรูปร่างลักษณะคล้ายปลาน้ำเงิน (P. apogon) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ปากล่างยื่นน้อยกว่า ตาโต ปากกว้าง แต่ส่วนคางไม่เชิดขึ้น มีหนวดสั้น ๆ 2 คู่ที่มุมปากและใต้คาง ส่วนหลังไม่ยกสูง และครีบหางเว้าตื้น ฟันบนเพดานเป็นแผ่นรูปโค้ง ตัวค่อนข้างใสและมีสีเงินวาวอมแดงเรื่อ หรือมีสีเหลืองอ่อนเหลือบเขียวที่ด้านบนลำตัว หรือสีขาวอมชมพู โดยสีเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละแหล่งน้ำ ครีบก้นสีจาง ไม่มีแถบสีคล้ำ มีขนาดลำตัวประมาณ 30 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 80 เซนติเมตร มีน้ำหนักได้ถึง 8.3 กิโลกรัม มีพฤติกรรมคล้ายคลึงกับปลาน้ำเงิน โดยมักอาศัยในแหล่งน้ำเดียวกันและอาจปะปนกันในฝูง แต่พบในภาคใต้มากกว่า ซึ่งในการตกปลาชนิดนี้ (รวมถึงปลาน้ำเงินด้วย) พรานเบ็ดมักใช้เหยื่อกลิ่นฉุนเช่น แมลงสาบ เป็นต้น เนื่องจากเป็นปลาที่ชอบกินอาหารกลิ่นแรง ทำให้ในบางคนไม่นิยมรับประทานโดยอ้างว่าเนื้อมีกลิ่นฉุน มีชื่อเรียกในภาคอีสานแถบแม่น้ำโขงว่า "เซือม", "นาง" หรือ "นางแดง" เป็นต้น ปลาแดง ถือเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายกันสูงโดยเฉพาะในพื้นที่บึงบอระเพ็ด โดยขายกันในราคากิโลกรัมละ 200 กว่าบาท ถือเป็นปลาที่มีราคาซื้อขายสูงที่สุดในพื้นที่นี้ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาแดง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเบี้ยว

ปลาเบี้ยว หรือ ปลาคางเบือน (Twisted-jaw catfish, Twisted-jaw sheatfish) ชื่อสกุลของปลาน้ำจืด 2 ชนิดในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ซึ่งอยู่ในอันดับปลาหนัง ใช้ชื่อสกุลว่า Belodontichthy (/เบล-โอ-ดอนท์-อิค-ธีส/; "Belo" เป็นภาษากรีกหมายถึง "ทุกทิศทาง", "odon" หมายถึง "ฟัน" และ "ichthyos" หมายถึง "ปลา" มีความหมายรวมหมายถึง "ปลาที่มีฟันทุกทิศทาง") มีรูปร่างโดยรวมคือ ปากกว้างและเชิดขึ้นอันเป็นที่มาของชื่อ ภายในมีฟันแหลมคม ตาโตอยู่ตอนกลางของหัว ใกล้มุมปากมีหนวด 1 คู่ยาวจนถึงครีบอก ครีบหลังเล็กมาก มีก้านครีบแขนง 3 หรือ 4 ก้าน ครีบอกใหญ่ปลายแหลม ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็กเว้าตื้น ตัวมีสีเงินวาวหรือเหลือบสีเขียวอ่อน ด้านท้องสีจาง นัยน์ตามีเยื่อไขมันบาง ๆ คลุม อาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ กินอาหาร จำพวก สัตว์น้ำขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์อยุ่เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น พบเพียง 2 ชนิด คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาเบี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเพียว

ปลาเพียว (Asian glassfishes, Asian glass catfishes) สกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่งในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) โดยที่ชื่อสกุล Kryptopterus นั้นมาจากภาษากรีกโบราณคำว่า kryptós (κρυπτός, "ซ่อน") กับ ptéryx (πτέρυξ, "ครีบ") อันเนื่องจากปลาในสกุลนี้มีครีบหลังที่เล็กมาก ซึ่งแตกต่างจากปลาสกุลอื่นในวงศ์เดียวกัน จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีลำตัวยาวแบนข้าง ลำตัวบางใสมีสีเดียวจนในบางชนิดสามารถมองทะลุเห็นกระดูกภายในได้เหมือนเอกซเรย์ มีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกบนขากรรไกรบน ส่วนคู่ที่ 2 อยู่บนขากรรไกรล่าง สั้นหรือยาวแล้วแต่ละชนิด โดยหนวดที่มุมปากยาวเลยช่องเหงือก หนวดที่คางเล็กและสั้น ปากแคบ มุมปากยื่นไม่ถึงนัยน์ตา มีก้านครีบ 1-2 ก้าน ครีบหลังเล็ก หรือบางชนิดก็ไม่มี ครีบท้องมีก้านครีบแขนง 4-8 ก้าน นิยมอยู่กันเป็นฝูง โดยมีพฤติกรรมรวมกัน คือ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงโดยหันหน้าไปทางเดียวกันในระดับกลางน้ำ เมื่อแตกตื่นตกใจมักจะแตกหนีไปคนละทิศละทาง จนหายตกใจแล้วค่อยกลับมารวมตัวกันอีก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาเพียว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเวลส์

ปลาเวลส์ (Wels catfish, Sheatfish) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) จัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่มาก โดยถือว่าเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และถือว่าเป็นปลาหนัง (Siluriformes) ชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะเหมือนปลาในสกุลเดียวกันชนิดอื่นทั่วไป มีลำตัวสีน้ำตาลและมีจุดสีดำเป็นกระ กระจายอยู่ทั่วลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ มีหนวดที่มุมปาก 2 คู่ยาว ปากกว้างมาก ตามีขนาดเล็ก มีความยาวได้ถึง 3 เมตร โดยสถิติโลกที่มีบันทึกไว้ คือ น้ำหนัก 250 ปอนด์ ความยาว 8.5 ฟุต ที่ตอนเหนือของอิตาลี มีถิ่นกำเนิดในยุโรปตอนกลาง ไปจนถึงเอเชียกลาง โดยเฉพาะในประเทศรัสเซีย แต่สามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง จึงมีการนำเข้าจากสหราชอาณาจักรไปปล่อยในแหล่งน้ำของสเปนจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ตั้งแต่ทศวรรษที่ 50 เป็นปลาที่หากินเพียงลำตัวตัวเดียว กินอาหารโดยไม่เลือกแม้กระทั่ง สัตว์ปีก หรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือแม้แต่กินพวกเดียวกันเอง จนทำให้มีคำเล่าลือกันในยุคกลางว่ากินกระทั่งมนุษย์ หรือมีการผ่าท้องแล้วเจอเศษซากชิ้นส่วนมนุษย์อยู่ภายใน แต่โดยปกติแล้ว อาหารคือ กุ้ง, ปู และปลา หากินในเวลากลางคืน มีพฤติกรรมการขยายพันธุ์ โดยตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลไข่จนฟักเป็นตัว ด้วยความที่เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ จึงนิยมตกกันเป็นเกมกีฬา โดยเฉพาะในทวีปยุโรป ซึ่งสามารถตกได้ด้วยมือเปล่าได้ ด้วยการสวมถุงมือที่ยาวถึงต้นแขน แล้วใช้มือล้วงเข้าไปในโพรงที่ปลาอาศัย แล้วดึงปลาออกมาด้วยการให้ปลางับที่มือ นิยมปรุงเป็นอาหาร และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงามและแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะในตัวที่เป็นสีขาวล้วน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเนื้ออ่อน

ปลาเนื้ออ่อน (Sheatfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดสกุลหนึ่ง ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Phalacronotus ปลาในสกุลนี้มีลักษณะเด่น คือ ไม่มีครีบหลัง จัดเป็นปลาขนาดกลางเมื่อเทียบกับสกุลอื่นในวงศ์นี้ เป็นปลาที่ใช้เพื่อการบริโภคกันมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในอาหารไทย เดิมเคยจัดให้อยู่ในสกุล Micronema แต่ปัจจุบันได้แยกออกม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและปลาเนื้ออ่อน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียเหนือ

อเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียเหนือ (North Asia หรือ Northern Asia) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ในเอเชียที่ประกอบด้วยประเทศรัสเซียทางฝั่งเอเชียเพียงอย่างเดียว คำ ๆ นี้มักไม่ค่อยได้ใช้กันอย่างกว้างขวาง ในบางครั้งเอเชียเหนือจะใช้เรียกส่วนของเอเชียตะวันออก หนังสือ Phillips Illustrated Atlas of the World 1988 แบ่งแยกเอเชียเหนือไว้ว่าเป็นส่วนมากของอดีตสหภาพโซเวียต ในส่วนตะวันออกของเทือกเขายูรัล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและเอเชียเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Siluridae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »