โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาดังแดงและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ปลาดังแดงและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน

ปลาดังแดง vs. วงศ์ปลาเนื้ออ่อน

ปลาดังแดง ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemisilurus mekongensis อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) มีส่วนหัวแบนข้างเล็กน้อย จะงอยปากสั้นและงุ้มเล็กน้อย ปากเล็ก ขากรรไกรมีหนังนิ่ม ๆ หุ้ม มีหนวดหนึ่งคู่ ตาเล็ก ครีบหลังเล็กมากเป็นเพียงเส้นสั้น ๆ ครีบท้องเล็ก ครีบหางเว้าลึกแฉกมนป้าน ตัวผู้มีหนวดเรียวสั้น ตัวเมียมีหนวดเส้นใหญ่ปลายแบนและยาวถึงบริเวณหลัง สีลำตัวมีสีเทาอ่อนอมฟ้า หนังบางค่อนข้างใส ครีบสีจางขอบครีบหางสีคล้ำ ส่วนหัวมีสีแดงเรื่อโดยเฉพาะบริเวณจะงอยปาก จึงเป็นที่มาของชื่อ (ดัง เป็นภาษาอีสานแปลว่า จมูก) มีขนาดประมาณ 30–40 เซนติเมตร อาหารได้แก่ หอย, ไส้เดือนน้ำ, กุ้งขนาดเล็ก มีพฤติกรรมขณะว่ายน้ำจะยื่นหนวดและกระดิกถี่ ๆ เพื่อเป็นการสัมผัส พบเฉพาะแม่น้ำโขงเท่านั้น ถูกจับขึ้นมาขายครั้งละมาก ๆ ในบางฤดูกาลของจังหวัดริมแม่น้ำโขง ตั้งแต่จังหวัดเชียงรายถึงอุบลราชธานี เนื้อมีรสชาติดี มักบริโภคโดยการปรุงสด ปลาดังแดง มีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "เจ๊ก". วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (อังกฤษ: Sheatfish, ชื่อวิทยาศาสตร์: Siluridae) ในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) รูปร่างเพรียวยาว ลำตัวแบนข้างมาก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Siluridae (/ไซ-เลอร์-อิ-ดี้/) ส่วนหัวมักแบนราบหรือแบนข้างในบางชนิด ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กและแหลมขึ้นบนขากรรไกรและเป็นแผ่นบนเพดาน มีหนวด 2-3 คู่ ครีบก้นยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของความยาวลำตัว ไม่มีครีบไขมัน ครีบหลังเล็กมาก ไม่มีก้านครีบแข็งแหลมที่ครีบอกและครีบหลัง ครีบหางเว้าตื้นหรือเป็นแฉก ครีบอกมีขนาดใหญ่ ครีบท้องเล็ก เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร ได้แก่ แมลงขนาดเล็ก, ปลาขนาดเล็ก, กุ้งฝอย และสัตว์หน้าดินต่าง ๆ วางไข่แบบจมติดกับวัสดุใต้น้ำ กระจายพันธุ์ไกล พบตั้งแต่ยุโรป, เอเชียตอนบน, อินเดียไปจนถึงอินโดนีเชีย เป็นปลาเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย, กัมพูชา เฉพาะที่พบในประเทศไทยมีราว 30 ชนิด ชนิดที่มีขนาดเล็กสุด เช่น ปลาก้างพระร่วง (Krytopterus vitreolus) ที่มีความยาวราว 6.5-8 เซนติเมตร นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ใหญ่ที่สุดคือ ปลาเวลส์ (Silurus glanis) พบในยุโรป ที่สามารถยาวได้ถึง 3 เมตร และหนักกว่า 113 กิโลกรัม และชนิดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทยคือ ปลาค้าวขาว (Wallago attu) ใหญ่ได้ถึง 2 เมตร ตัวอย่างปลาในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน เช่น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ปลาดังแดงและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน

ปลาดังแดงและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังอันดับปลาหนังปลาสายยูปลาที่มีก้านครีบปลาดังเมตร

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ปลาดังแดงและสัตว์ · วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ปลาดังแดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ปลาดังแดงและอันดับปลาหนัง · วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสายยู

ปลาสายยู (Club-barbel sheatfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เป็นปลาไม่มีเกล็ด หัวเล็กมีสีแดงเรื่อ ๆ ปากเล็กอยู่ด้านล่าง มีหนวดสั้นเป็นติ่งขอใกล้จมูก คล้ายสายยูแม่กุญแจ อันเป็นที่มาของชื่อ ตาเล็กมาก ลำตัวแบนข้างมีสีชมพูหรือสีนวล ครีบมีขอบสีคล้ำ ครีบก้นยาวมาก มีลำตัวประมาณ 25 เซนติเมตร พบใหญ่สุด 40 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกระดิกหนวดอย่างรวดเร็วขณะว่ายน้ำ โดยภายในเวลา 1 นาที สามารถกระดิกหนวดได้ถึง 125 ครั้ง สันนิษฐานว่าเป็นการส่งสัญญาณหาอาหารตามท้องน้ำ โดยอาหารได้แก่ สัตว์หน้าดินต่าง ๆ กุ้ง, แมลงน้ำ เป็นต้น พบเพียงที่เดียวในโลกเท่านั้น คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำบางปะกง ปัจจุบันมีสถานะเป็นปลาใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตในธรรมชาติ แต่ก็เป็นที่เสาะแสวงหาของนักเลี้ยงปลาด้วย โดยเป็นปลาที่มีราคาสูงมาก มีชื่อเรียกอื่นว่า "เกด" อนึ่ง ชื่อสายยู นี้เป็นชื่อที่เรียกซ้ำซ้อนกับปลาในหลายชนิด หลายสกุล เช่น ปลาในสกุล (Pangasius spp.) ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) หรือปลาหวีเกศ (Platytropius siamensis) ในวงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbedae) เป็นต้น.

ปลาดังแดงและปลาสายยู · ปลาสายยูและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ปลาดังแดงและปลาที่มีก้านครีบ · ปลาที่มีก้านครีบและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน · ดูเพิ่มเติม »

ปลาดัง

ปลาดัง ชื่อสกุลของปลากระดูกแข็งในอันดับปลาหนังจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) ใช้ชื่อสกุลว่า Hemisilurus (/เฮม-อิ-ซิ-ลู-รัส/) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Ceratoglanis ซึ่งเคยถูกจัดให้อยู่ในสกุลเดียวกันมาก่อน แต่ทว่าปลาในสกุลปลาดังนั้น จะมีความลาดที่ส่วนหลังหลังจากหัวสูงกว่า หนวดมีขนาดยาวกว่าและมีพฤติกรรมกระดิกหนวดเพื่อช่วยในการหาอาหารได้เร็วน้อยกว่าปลาสกุล Ceratoglanis มีความยาวตั้งแต่ 50–80 เซนติเมตร โดยที่คำว่า Hemisilurus นั้นมาจากภาษากรีก ที่หมายถึง "ครึ่ง" (ημι) ของ "ปลาเนื้ออ่อน" (silurus) พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก.

ปลาดังและปลาดังแดง · ปลาดังและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ปลาดังแดงและเมตร · วงศ์ปลาเนื้ออ่อนและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ปลาดังแดงและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน

ปลาดังแดง มี 19 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ปลาเนื้ออ่อน มี 39 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 12.07% = 7 / (19 + 39)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาดังแดงและวงศ์ปลาเนื้ออ่อน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »