โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาแรดแดง

ดัชนี ปลาแรดแดง

ปลาแรดแดง หรือ ปลาแรดแดงอินโด (Giant red tail gourami; ชื่อวิทยาศาสตร์: Osphronemus laticlavius) เป็นปลาแรดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) มีรูปร่างโดยทั่วไปเหมือนปลาแรดชนิดอื่น ๆ แต่ทว่าปลาแรดแดงจะมีรูปร่างที่ยาวกว่า และพบได้เฉพาะในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเท่านั้น มีลำตัวสีแดงสด ยิ่งเมื่อปลาโตขึ้นเท่าไหร่ สีดังกล่าวจะยิ่งเข้มตามด้วย จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม แต่ปลาแรดแดงจะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปลาแรดชนิดอื่น ๆ และขนาดเมื่อโตเต็มที่จัดว่าเป็นปลาแรดชนิดที่เล็กที่สุดด้วย กล่าวคือมีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตรเท่านั้น และมีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวน้อยที่สุด ตัวผู้และตัวเมียมีจุดสีดำเหนือโคนครีบอกทั้งคู่ แตกต่างกันตรงที่ขนาดของลำตัว โดยแรกนั้น ปลาแรดแดง ได้ถูกนำมาสู่ประเทศไทยในฐานะปลาสวยงาม ราวปี..

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2535การตั้งชื่อทวินามกิตติพงษ์ จารุธาณินทร์วงศ์ย่อยปลาแรดวงศ์ปลากัด ปลากระดี่สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีแดงสปีชีส์อันดับปลากะพงอนุกรมวิธานตลาดนัดจตุจักรตัวอย่างต้นแบบแรกประเทศมาเลเซียประเทศอินโดนีเซียปลาที่มีก้านครีบปลาตะพัดปลาแรดหกขีดไสยศาสตร์ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์เมตร

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์

กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ เป็นนักสำรวจ นักกฎหมาย และนักเลี้ยงปลาสวยงามที่มีชื่อเสียงชาวไทย เกิดที่อำเภอดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2501 จบการศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มเข้าสู่แวดวงปลาและสัตว์น้ำจากการเป็นผู้แนะนำให้บ่อตกปลาต่าง ๆ หาปลาชนิดใหม่ ๆ มาลงเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้ตก อาทิ ปลาตะพัด (Scleropages formosus), ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) เป็นต้น และเขียนบทความลงนิตยสารตกปลาและเดินป่าฉบับต่างๆ จากนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทยอย่างจริง ๆ จัง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยเริ่มจากใต้สะพานพระราม 6 นอกจากนี้แล้ว ยังลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศกับทางคณะ เป็นประจำ ราวปีละ 3-4 ครั้ง เช่น ลุ่มแม่น้ำสาละวิน และป่าพรุทางภาคใต้ เป็นต้น กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ ทำงานร่วมกับนักมีนวิทยาหลายคน และได้ค้นพบปลาชนิดใหม่ ๆ ของโลกหลายชนิดที่ได้ถูกตั้งชื่อชนิดเป็นนามสกุลของตัวเอง เช่น ปลากระเบนกิตติพงษ์ (Himantura kittipongi), ปลาค้อถ้ำจารุธาณินทร์ (Schistura jaruthanini) เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้ที่ส่งตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) ของปลากระเบนราหูเจ้าพระยา (H. chaophraya) ปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกให้แก่ ดร.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและกิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาแรด

วงศ์ย่อยปลาแรด (Giant gouramis) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดจำพวกหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ Osphroneminae ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 1 สกุล 4 ชนิด (ดูในตาราง) มีลักษณะร่วมกันคือ ลำตัวป้อมและแบนข้าง เกล็ดสากมือเป็นรูปหยัก มีก้านครีบท้องคู่แรกเป็นเส้นเรียวยาวคล้ายหนวด ใช้สำหรับสัมผัส ปลายหางมนกลม ปากแหลม ริมฝีปากหนา ภายในปากมีฟันซี่เล็ก ๆ แหลมคมเรียงอยู่ภายใน ส่วนหัวเล็กและป้าน เมื่อโตขึ้นมาโดยเฉพาะในปลาตัวผู้จะมีโหนกนูนขึ้นมาเรื่อย ๆ จนดูคล้ายนอแรด อันเป็นที่มาของชื่อ โคนหางมีจุดสีดำคล้ำอยู่ทั้ง 2 ข้าง เมื่อโตขึ้นจุดดังกล่าวจะหายไป เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ แต่จะกินพืชเป็นอาหารหลัก นิสัยก้าวร้าวพอสมควร และเป็นปลาที่มีความสามารถพิเศษคือ สามารถฮุบอากาศจากผิวน้ำได้โดยตรง เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษที่อยู่ในช่องเหงือกช่วยในการหายใจ อีกทั้งยังสามารถเก็บความชื้นไว้ได้เมื่อถูกจับพ้นน้ำ มีขนาดโตเต็มที่ราว 90 เซนติเมตร ในชนิด Osphronemus goramy ซึ่งนับว่าเป็นปลาในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) ที่ใหญ่ที่สุด พบกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และที่เป็นหมู่เกาะ ชอบอาศัยในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหลเอื่อย ๆ มีพืชน้ำขึ้นรก มีทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและวงศ์ย่อยปลาแรด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่

วงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Labyrinth fishes, Gouramis, Gouramies) เป็นวงศ์ปลาน้ำจืดวงศ์ใหญ่ ใช้ชื่อวงศ์ว่า Osphronemidae (/ออฟ-โฟร-นิ-มิ-ดี้/) พบกระจายอย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงเกาหลี โดยมากปลาที่อยู่ในวงศ์นี้จะมีลักษณะเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวป้อมแบน เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ มีสีสันสวยงาม ตัวผู้มีขนาดใหญ่และสีสดสวยกว่าตัวเมีย ครีบอกคู่แรกเป็นเส้นยาวใช้สำหรับสัมผัส มีความสามารถพิเศษคือ มีอวัยวะช่วยในการหายใจอยู่ในเหงือก เรียกว่า "อวัยวะเขาวงกต" (Labyrinth organ) จึงทำให้สามารถฮุบอากาศจากบนผิวน้ำได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป จึงสามารถอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนต่ำได้ มักอยู่ในแหล่งน้ำนิ่งขนาดเล็ก เช่น ห้วย, หนอง, บึง, นาข้าว หรือ ร่องสวนมากกว่าแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น คลอง หรือ แม่น้ำ ในบางสกุล ตัวผู้จะใช้น้ำลายผสมกับอากาศเรียกว่า "หวอด" ก่อติดกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อวางไข่ และตัวผู้จะเป็นผู้ดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ในบางชนิดตัวผู้เมื่อพบกันจะกัดกันจนตายกันไปข้าง ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่มีขนาดไม่เกิน 10 เซนติเมตร และมีสีสันสวยงาม จึงนิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าบริโภค เป็นที่รู้จักกันดีเช่น ปลากัด (Betta spendens), ปลากระดี่นางฟ้า (Trichogaster trichopterus) ปลาพาราไดซ์ (Macropodus opercularis) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ปลาบางชนิดเป็นปลาเศรษฐกิจที่นำมาบริโภคได้ เช่น ปลาสลิด (Trichogaster pectoralis) และปลาแรด (Osphronemus goramy) สำหรับปลาแรดซึ่งมีขนาดใหญ่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ตลอดไปจนถึงมาเลเซียและอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีแดง

ีแดง คือสีมีความถี่ของแสงที่ต่ำที่สุด ที่ตามนุษย์สามารถแยกแยะได้ แสงสีแดงมีบริเวณช่วงคลื่นระหว่าง 630-760 นาโนเมตร สีแดงเป็นสีอย่างสีเลือดหรือสีชาด, ใช้ประกอบสิ่งต่าง ๆ บางอย่างโดยอนุโลมตามลักษณะสี เป็นชื่อเรียกเฉพาะ เช่น มดแดง ผ้าแดง จัดเป็น 1 ในแม่สี 3 สี ร่วมกับสีเขียว, สีน้ำเงิน.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและสีแดง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

ตลาดนัดจตุจักร

รรยากาศตลาดนัดจตุจักร บริเวณถนนหน้าโครงการ 11 - 13 คนหนาแน่นในช่วงเย็น บริเวณโครงการ 1 และ โครงการ 26 ตลาดนัดจตุจักร เป็นตลาดนัดในกรุงเทพมหานคร มีจำนวนแผงค้าทั้งหมดมากกว่า 8,000 แผงค้า แบ่งเป็น 27 โครงการ มีสินค้า 8 ประเภท ได้แก่ ผักและผลไม้ เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ อาหารปรุง อาหารสำเร็จรูป อาหารสด และเบ็ดเตล็.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและตลาดนัดจตุจักร · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอย่างต้นแบบแรก

ตัวอย่างต้นแบบแรก ''Marocaster coronatus'' ตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) เป็นตัวแทนตัวอย่าง (หรือ ภาพวาด) ของสิ่งมีชีวิตเพียงตัวอย่างเดียว คัดเลือกมาจากตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง โดยเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะมาตรฐานของชนิดนั้นๆ อย่างชัดเจน ถือเป็นตัวอย่างต้นแบบที่มีความสำคัญที่สุด เช่น ตัวอย่างต้นแบบแรกของผีเสื้อ Lycaeides idas longinus ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หมวดหมู่:ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและตัวอย่างต้นแบบแรก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพัด

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอาโรวาน่า (Malayan bonytongue fish, Arowana, Asian arowana, Arawana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแรดหกขีด

ปลาแรดหกขีด เป็นปลาแรดชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในวงศ์ปลากัด ปลากระดี่ (Osphronemidae) เป็นปลาแรดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาแรดแดง (O. laticlavius) โดยพบในอินโดนีเซียเช่นเดียวกัน และมีขนาดลำตัวเมื่อโตขึ้นมาก็เท่ากันด้วย นั่นคือ ประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ปลาแรดหกขีดนั้นจะพบได้เฉพาะในรัฐซาราวะก์ ในแถบลุ่มแม่น้ำกาปวซ, ลุ่มแม่น้ำมาฮากัม, กาลีมันตัน และติมอร์-เลสเตเท่านั้น ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้ คือ มีแถบข้างลำตัว 6-7 ขีด ซึ่งแถบนี้จะติดตัวไปตลอดชีวิตจึงเป็นที่มาของชื่อเรียกสามัญ แถบแต่ละแถบจะสมบูรณ์ในปลาวัยเยาว์หากเทียบกับ ปลาแรดแดงแล้วนั้น ปลาแรดแดงจะมีแถบแค่ 3-5 แถบเท่านั้นอีกทั้งแถบก็ไม่สมบูรณ์ เมื่อใหญ่ขึ้น แถบนี้จะยาวเหลือ 2 ใน 3 นอกจากนี้แล้วก้านครีบอ่อนของครีบหลังปลาแรดหกขีดจะมีทั้งหมด 11-12 ก้าน ในขณะที่ปลาแรดแดงจะมี 10 ก้าน จำนวนซี่กรองเหงือกของปลาแรดหกขีดจะมีทั้งหมด 11-13 ซี่ ในขณะที่ปลาแรดแดงจะมีราว 8-9 ซี่ นอกจากนั้นแล้วยังมีครีบอื่น ๆ เหลื่อมล้ำกันอีกด้ว.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและปลาแรดหกขีด · ดูเพิ่มเติม »

ไสยศาสตร์

ตร์ หมายถึง วิชาทางไสย อันเป็นลัทธิเกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาที่เชื่อว่ามาจากศาสนาพราหมณ์ โดยเฉพาะจากคัมภีร์อถรรพเวท ที่มีพิธีเพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันอันตรายต่อตนเองหรือทำอันตรายต่อผู้อื่น.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและไสยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ปลาแรดแดงและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

O. laticlaviusOsphronemus laticlaviusปลาแรดแดงอินโด

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »