โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์

ดัชนี กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์

กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ เป็นนักสำรวจ นักกฎหมาย และนักเลี้ยงปลาสวยงามที่มีชื่อเสียงชาวไทย เกิดที่อำเภอดุสิต กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2501 จบการศึกษาจากโรงเรียนปานะพันธุ์วิทยา และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เริ่มเข้าสู่แวดวงปลาและสัตว์น้ำจากการเป็นผู้แนะนำให้บ่อตกปลาต่าง ๆ หาปลาชนิดใหม่ ๆ มาลงเพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้แก่ผู้ตก อาทิ ปลาตะพัด (Scleropages formosus), ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) เป็นต้น และเขียนบทความลงนิตยสารตกปลาและเดินป่าฉบับต่างๆ จากนั้นได้ลงพื้นที่สำรวจปลาน้ำจืดและสัตว์น้ำของไทยอย่างจริง ๆ จัง ๆ เมื่อปี พ.ศ. 2528 โดยเริ่มจากใต้สะพานพระราม 6 นอกจากนี้แล้ว ยังลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศกับทางคณะ เป็นประจำ ราวปีละ 3-4 ครั้ง เช่น ลุ่มแม่น้ำสาละวิน และป่าพรุทางภาคใต้ เป็นต้น กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ ทำงานร่วมกับนักมีนวิทยาหลายคน และได้ค้นพบปลาชนิดใหม่ ๆ ของโลกหลายชนิดที่ได้ถูกตั้งชื่อชนิดเป็นนามสกุลของตัวเอง เช่น ปลากระเบนกิตติพงษ์ (Himantura kittipongi), ปลาค้อถ้ำจารุธาณินทร์ (Schistura jaruthanini) เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังเป็นผู้ที่ส่งตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) ของปลากระเบนราหูเจ้าพระยา (H. chaophraya) ปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกให้แก่ ดร.

36 ความสัมพันธ์: ชื่อพ้องพ.ศ. 2501พ.ศ. 2528พ.ศ. 2545พ.ศ. 2553พ.ศ. 2554พรุพฤษภาคมกรุงเทพมหานครการตั้งชื่อทวินามการประมงภาคใต้ (ประเทศไทย)มีนวิทยาสะพานพระราม 6สัตว์น้ำสิงหาคมสถาบันสมิธโซเนียนสปีชีส์อนุกรมวิธานคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงตะพาบม่านลายพม่าตัวอย่างต้นแบบแรกประเทศไทยปลากระโห้ปลากระเบนกิตติพงษ์ปลากระเบนราหูน้ำจืดปลาสวยงามปลาตะพัดปลาน้ำจืดนามสกุลนิตยสารแม่น้ำสาละวินโลมาไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์เอเอสทีวีผู้จัดการเขตดุสิต

ชื่อพ้อง

ในระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ชื่อพ้องคือชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันสำหรับสิ่งมีชีวิตสิ่งเดียวในทางอนุกรมวิธาน ชื่อให้ใช้ชื่อตั้งขึ้นก่อนหรือที่ถูกต้องได้รับการยอมรับจะเป็นชื่อที่ถูกต้อง ส่วนชื่ออื่น ๆให้เป็นชื่อพ้อง การใช้และคำศัพท์ก็จะต่างกันไปในสัตววิทยาและพฤกษศาสตร.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และชื่อพ้อง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2528

ทธศักราช 2528 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1985 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพ.ศ. 2528 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2554

ทธศักราช 2554 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2011 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

พรุ

รุ Lütt-Witt Moor ในเยอรมนี พรุ หรือ ที่ลุ่มสนุ่น (Bog หรือ quagmire หรือ mire) เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำประเภทหนึ่งที่เป็นที่สะสมของพีตซึ่งเป็นซากสะสมของพืชที่ตายแล้วที่มักจะเป็นมอสส์ แต่ก็อาจจะเป็นไลเคนก็ได้ในบริเวณอากาศอาร์กติก พรุเกิดขึ้นเมื่อน้ำบนผิวดินเป็นกรดที่อาจจะเป็นเพราะน้ำบาดาลเป็นกรด หรือในบริเวณที่เป็นน้ำที่มาจากฝน น้ำที่ไหลออกจากพรุจะมีสีน้ำตาลที่เกิดจากการละลายแทนนินของพีต พรุมีความสำคัญต่อความหลากหลายทางชีว.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพรุ · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

การประมง

การจับปลาของคนไทยที่แม่น้ำน่าน การประมง หมายถึงการจัดการของมนุษย์ด้านการจับปลาหรือสัตว์น้ำอื่นๆ การดูแลรักษาปลาสวยงามและการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประมงเช่น น้ำมันปลา กิจกรรมการทำประมงจัดแบ่งได้ทั้งตามชนิดสัตว์น้ำและตามเขตเศรษฐกิจ เช่น การทำประมงปลาแซลมอนในอลาสก้า การทำประมงปลาคอดในเกาะลอโฟเทน ประเทศนอร์เวย์หรือการทำประมงปลาทูน่าในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก และยังรวมถึงการเพาะปลูกในน้ำ (Aquaculture) ซึ่งหมายถึงการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์บางชนิดในน้ำ เพื่อใช้เป็นอาหารคนหรือสัตว์ เช่นเดียวกับเกษตรกรรมที่ทำบนพื้นดิน การทำฟาร์มในน้ำ เช่นฟาร์มปลา ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มหอย ฟาร์มหอยมุก การเพาะปลูกในน้ำในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมไว้ การเพาะปลูกในน้ำจืด น้ำกร่อย ในทะเล การเพาะปลูกสาหร่าย ต่อมาได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประมงเป็นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาหนึ่งเรียกว่าวิทยาศาสตร์การประมง มีพื้นฐานจากวิชาชีววิทยา นิเวศวิทยา สมุทรศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ มีการจัดศึกษาด้านการประมงในแง่มุมต่างๆ ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก และการประมงมีบทบาทสำคัญในเชิงธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ จึงมีคำอื่นๆที่เกี่ยวข้องเช่น “ธุรกิจการประมง” อุตสาหกรรมประมง” เกิดขึ้น ซึ้นเราสามารถเรียนรู้ได้ต่อนี้.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และการประมง · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มีนวิทยา

มีนวิทยา (Ichthyology) เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปลา ลักษณะรูปร่างภายนอกของปลา ระบบภายในตัวปลา รวมถึงอนุกรมวิธานของปลา ออกเป็นกลุ่มหรือประเภท ปลาในที่นี้ประกอบด้วยปลากระดูกแข็ง ปลากระดูกอ่อน ได้แก่ ฉลามและกระเบน และปลาไม่มีขากรรไกร โดยไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์น้ำจำพวกอื่น เช่น หมึก, กบ, กุ้ง, ปู, วาฬ หรือโลมา ซึ่งไม่จัดว่าเป็นปลา การศึกษาทางด้านมีนวิทยามีความสัมพันธ์อย่างมากกับสาขาวิชาชีววิทยาทางทะเล ชลธีวิทยา และสมุทรศาสตร์ และเรียกนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและศึกษาศาสตร์ทางด้านนี้ว่า "นักมีนวิทยา" มีนวิทยา ถือได้ว่าเป็นแขนงย่อยของสัตววิทยา โดยคำว่า "Ichthyology" ที่ใช้เป็นชื่อภาษาอังกฤษนั้น มาจากภาษากรีกคำว่า "Ichthys" (ἰχθύς) แปลว่า ปลา, "logy" หรือ "logos" (λόγος) แปลว่า วิชา หรือ เรื่องราว, "มีน" มาจากภาษาบาลีสันสกฤต แปลว่า ปลา และ "วิทยา" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ความรู้ โดยบุคคลแรกที่ถือได้ว่าศึกษาศาสตร์มีนวิทยาเป็นคนแรกของโลก คือ อริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชื่อเสียง เพราะเป็นผู้ริเริ่มจำแนกสิ่งมีชีวิต บันทึกของอริสโตเติลได้กล่าวถึงโครงสร้าง อุปนิสัย การอพยพย้ายถิ่น ฤดูกาลสืบพันธุ์ และความรู้อื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับปลามากชนิด แต่ความจริงมนุษย์รู้จักปลามานานกว่า 50,000 ปีแล้ว จากหลักฐานที่มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้วาดภาพปลาไว้ที่ผนังถ้ำ เช่น รูปปลาบึกที่อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นต้น การศึกษาเกี่ยวกับปลาในระยะต่อมาโดยมากยังอ้างอิงผลงานของอริสโตเติล จะมีเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องปลีกย่อย จนกระทั่งในศตวรรษที่ 18 การศึกษาเกี่ยวกับปลาตื่นตัวมากขึ้น มีการเขียนตำราวิชาทางวิชาการ ซึ่งใช้อ้างอิงมาจนถึงทุกวันนี้ มีการจำแนกหมวดหมู่ปลากระดูกอ่อน ปลากระดูกแข็ง ศึกษากายวิภาค สรีรวิทยา วิวัฒนาการของปลาจากซากดึกดำบรรพ์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาศาสตร์ด้านมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงหลายคน อาทิ อัลเบิร์ต กึนเธอร์, จอร์จส์ คูเวียร์, อเล็กซานเดอร์ เอ็มมานูเอล อกาซซี, หลุยส์ อกาซซี (บุตรของอกาซซี) รวมถึง คาโรลัส ลินเนียส ผู้ให้กำเนิดหลักการอนุกรมวิธานที่ใช้มาถึงปัจจุบันด้วย สำหรับในประเทศไทย ศาสตร์แขนงนี้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ดร.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และมีนวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 6

นขนานสะพานพระราม 6 สะพานพระราม 6 (Rama VI Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมระหว่างแขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กับแขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และสะพานพระราม 6 · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สิงหาคม

งหาคม เป็นเดือนที่ 8 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนสิงหาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีสิงห์ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกันย์ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนสิงหาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวปูและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต เดือนสิงหาคมเดิมใช้ชื่อในภาษาละตินว่า ซิกซ์ตีลิส (Sextilis) เนื่องจากเป็นเดือนที่ 6 ในปฏิทินโรมันดั้งเดิมที่เริ่มต้นปีในเดือนมีนาคม ต่อมาเปลี่ยนเป็น August เพื่อเป็นเกียรติแด่ ออกัสตัส ซีซาร์ เพราะเป็นเดือนที่พระองค์เข้าไปโรมในชัยชนะของเจ้าทั้งตะวันออกและตะวันตก ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนสิงหาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และสิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันสมิธโซเนียน

อาคารสถาบันวิจัยสมิธโซเนียน หรือ "The Castle" เป็นอาคารสำนักงานใหญ่ของสถาบัน สถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) เป็นสถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และพิพิธภัณฑ์ ที่บริหารจัดการและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและจากผู้บริจาคต่างๆ รวมถึงรายได้การจำหน่ายออกร้านและค่าสมาชิกนิตยสาร หน่วยงานส่วนใหญ่ของสถาบันตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. แต่ยังมีพิพิธภัณฑ์อีกกว่า 19 แห่ง สวนสัตว์ ศูนย์วิจัย และหน่วยงานสนามอีกมากมายอยู่ในเมืองนิวยอร์ก เวอร์จิเนีย ปานามา และที่อื่นๆ มีวัตถุสิ่งของต่างๆ ในความดูแลของพิพิธภัณฑ์มากกว่า 136 ล้านชิ้น สถาบันสมิธโซเนียนก่อตั้งขึ้นตามความประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เจมส์ สมิธสัน (James Smithson; ค.ศ. 1765-1829) ซึ่งระบุพินัยกรรมว่า หากหลานชายของเขา เฮนรี เจมส์ ฮังเกอร์ฟอร์ด ไม่มีทายาท ก็ให้ยกมรดกทั้งหมดให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพื่อก่อตั้งองค์กรที่สามารถ "เพิ่มพูนและเผยแพร่ความรู้" ให้แก่มนุษยชาติ ปี..

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และสถาบันสมิธโซเนียน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อนุกรมวิธาน

อนุกรมวิธานวิทยา (อังกฤษ: Taxonomy) เป็นการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ตามสายวิวัฒนาการ อนุกรมวิธานเป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ ในการศึกษาอนุกรมวิธานจะมีศัพท์ที่ใช้เรียกแตกต่างกันออกไป ถ้าหากการศึกษาเป็นไปในทางรวบรวมตัวอย่าง (specimen) บิดาแห่งอนุกรมวิธานวิทยา คือ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และอนุกรมวิธาน · ดูเพิ่มเติม »

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหง กระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดตั้งขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยรามคำแหงอาศัยข้อบังคับและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการเมืองการปกครองของประเทศไทยในอดีตและต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ได้ตอบสนองความต้องการของคนในสังคมด้วยการเปิดโอกาสทางการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้อย่างมีคุณธรรมเพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ปัจจุบันคงเปิดดำเนินการและมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลตอบรับที่ดีและการปรับตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบม่านลายพม่า

ตะพาบม่านลายพม่า (Burmese narrow-headed softshell) เป็นตะพาบในสกุล Chitra จัดเป็นตะพาบชนิดใหม่ที่เพิ่งอนุกรมวิธานเมื่อปี ค.ศ. 2003 มีลักษณะคล้ายกับตะพาบม่านลายชนิดอื่น ๆ แต่ว่ามีลวดลายที่กระดองเป็นระเบียบกว่า โดยจะเป็นลายบั้ง ๆ และมีสีที่อ่อนกว่า กล่าวคือ จะมีกระดองเป็นสีเขียว อีกทั้งขนาดเมื่อโตเต็มที่ก็มีขนาดเล็กกว่าด้วย พบกระจายพันธุ์ในประเทศพม่า ที่แม่น้ำชินด์วิน และชายแดนที่ติดกับประเทศไทย มีการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง โดยสามารถเพาะได้แล้วในสถานที่เลี้ยง และเก็บรวบรวมไข่จากธรรมชาต.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และตะพาบม่านลายพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ตัวอย่างต้นแบบแรก

ตัวอย่างต้นแบบแรก ''Marocaster coronatus'' ตัวอย่างต้นแบบแรก (Holotype) เป็นตัวแทนตัวอย่าง (หรือ ภาพวาด) ของสิ่งมีชีวิตเพียงตัวอย่างเดียว คัดเลือกมาจากตัวอย่างหลายๆตัวอย่าง โดยเลือกตัวอย่างที่มีลักษณะมาตรฐานของชนิดนั้นๆ อย่างชัดเจน ถือเป็นตัวอย่างต้นแบบที่มีความสำคัญที่สุด เช่น ตัวอย่างต้นแบบแรกของผีเสื้อ Lycaeides idas longinus ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หมวดหมู่:ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และตัวอย่างต้นแบบแรก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระโห้

ปลากระโห้ (Siamese giant carp, Giant barb) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นปลาในวงศ์ปลาตะเพียนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดอีกด้วย โดยเฉลี่ยมักมีขนาดประมาณ 1.5 เมตร แต่พบใหญ่สุดได้ถึง 3 เมตร หนักได้ถึง 150 กิโลกรัม ในอดีต เกล็ดปลากระโห้สามารถนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ปลากระโห้ จัดเป็นปลาประจำกรุงเทพมหานครของกรมประมง.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระโห้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนกิตติพงษ์

ปลากระเบนกิตติพงษ์ หรือ ปลากระเบนแม่กลอง (Kittipong's whipray) ปลากระเบนน้ำจืดชนิดใหม่ของโลก อยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) มีรูปร่างเหมือนปลากระเบนในวงศ์นี้ทั่วไป ต่างกันที่ด้านหลังจะมีสีน้ำตาลเข้มอมเหลือง รอบวงของลำตัว หาง ช่องหายใจ ช่องเหงือกและขอบด้านล่างของตัวเป็นสีคล้ำ และจำนวนของฟันซึ่งมีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ บริเวณขากรรไกรล่างมีจำนวนมากถึง 14-15 แถว ส่วนลำตัวมีขนาดใหญ่สุดประมาณ 60 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 50-80 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ปลากระเบนกิตติพงษ์ ได้ถูกจำแนกออกจากปลากระเบนขาว (H. signifer) ซึ่งเป็นปลากระเบนลักษณะคล้ายคลึงกัน จากการสังเกตของเจ้าของร้านขายปลาสวยงามแห่งหนึ่งในตลาดกลางปลาสวยงาม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จากนั้น กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจปลาน้ำจืดชาวไทยที่มีชื่อเสียงได้ส่งตัวอย่างต้นแบบแรกให้แก่ ดร.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระเบนกิตติพงษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากระเบนราหูน้ำจืด

ปลากระเบนราหูน้ำจืด (Giant freshwater whipray) เป็นปลากระเบนน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จัดอยู่ในวงศ์ปลากระเบนธง (Dasyatidae) จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากปลากระเบนแมนตา (Manta spp.) ที่พบได้ในทะเล โดยมีน้ำหนักได้ถึง 600 กิโลกรัม ความกว้างได้ถึง 2.5–3 เมตร หรือมากกว่านั้น รวมถึงมีความยาวตั้งแต่ปลายส่วนหัวจรดปลายหางที่บันทึกไว้ได้ใหญ่ที่สุด คือ 5 เมตร ถือเป็นหนึ่งในปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มีส่วนหางเรียวยาวเหมือนแส้ มีลักษณะส่วนปลายหัวแหลม ขอบด้านหน้ามนกลมคล้ายใบโพ ลักษณะตัวเกือบเป็นรูปกลม ส่วนหางยาวไม่มีริ้วหนัง มีเงี่ยงแหลมที่โคนหาง 2 ชิ้น ซึ่งในปลาขนาดใหญ่อาจยาวได้ถึง 8–10 นิ้ว เมื่อหักไปแล้วสามารถงอกขึ้นได้ ในเงี่ยงมีสารเคมีที่มีลักษณะคล้ายเมือกลื่น มีสภาพเป็นสารโปรตีนมีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ สำหรับปลาขนาดใหญ่ พิษนี้จะมีความรุนแรงเทียบเท่ากับพิษของงูกะปะ ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้เมื่อถูกแทงเข้ากลางหลังมีเกล็ดเป็นตุ่มหยาบ ๆ ด้านบนของปีกและตัวเป็นสีเทาหรือน้ำตาลนวล หางสีคล้ำ ด้านล่างของตัวมีสีขาวนวล ที่ขอบปีกด้านล่างเป็นด่างสีดำ อาศัยในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ จนถึงบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ และยังพบในแม่น้ำสายใหญ่ต่าง ๆ เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำบางปะกง, แม่น้ำโขง, บอร์เนียว, นิวกินี โดยสถานที่ ๆ มักพบตัวขนาดใหญ่ คือ แม่น้ำแม่กลอง บริเวณ 20 กิโลเมตรก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย ในเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยปลาตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ และอาจมีน้ำหนักที่มากกว่าได้ถึง 80 เท่า เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาที่ออกมาใหม่นั้นจะมีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร และมีปลอกหุ้มเงี่ยงหางเอาไว้ เพื่อมิให้ทำอันตรายต่อแม่ปลา ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว สันนิษฐานว่าที่ต้องมีขนาดตัวใหญ่เช่นนี้ เพื่อมิให้ตกเป็นอาหารของนักล่าชนิดต่าง ๆ ในแม่น้ำ ได้ชื่อว่า "ราหู" เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เหมือนราหูอมจันทร์ตามคติของคนโบราณ อีกทั้งยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า หากใครพบเห็นหรือจับปลากระเบนราหูน้ำจืดได้ จะพบกับความโชคร้าย ตัวอย่างสตัฟฟ์ในสวนสัตว์พาต้า ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าพาต้า ปิ่นเกล้า เดิมปลากระเบนราหูน้ำจืด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Himantura fluviatilis (ปัจจุบันใช้เป็นชื่อพ้องของ ปลากระเบนธง) โดยข้อมูลที่มีอยู่ระบุว่าพบในแม่น้ำสายใหญ่และทะเลสาบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมา เมื่อการระบุชนิดพันธุ์ปลาถูกศึกษาให้ลงรายละเอียดยิ่งขึ้น ปลากระเบนราหูน้ำจืดจึงถูกอนุกรมวิธานในปี ค.ศ. 1990 โดย ศ.ดร.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลากระเบนราหูน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตะพัด

ปลาตะพัด หรือที่นิยมเรียกว่า ปลาอาโรวาน่า (Malayan bonytongue fish, Arowana, Asian arowana, Arawana) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae) ซึ่งถือได้ว่าเป็นปลาที่สืบเผ่าพันธุ์มาตั้งแต่ปลาในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จัดได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง นับว่าเป็นปลาที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาติ เนื่องจากเป็นปลาที่สืบพันธุ์ยาก ประกอบกับแหล่งที่อยู่ถูกทำลายไป ได้รับความนิยมอย่างสูงของนักเลี้ยงปลาสวยงาม ในฐานะของปลาสวยงาม ราคาแพง และถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาตะพัด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

นามสกุล

ื่อสกุล หรือ นามสกุล คือ ชื่อบอกตระกูล (หรือสกุล) เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด ธรรมเนียมการใช้นามสกุลปรากฏอยู่ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศและวัฒนธรรม ซึ่งในแต่ละที่ก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป ในหลาย ๆ วัฒนธรรม (เช่น ทางตะวันตก ตะวันออกกลาง และในทวีปแอฟริกา) นามสกุลจะอยู่ในลำดับหลังสุดของชื่อบุคคล แต่ในบางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม) นามสกุลจะอยู่ในลำดับแรก ส่วนนามสกุลของไทยจะอยู่เป็นลำดับสุดท้ายเหมือนทางตะวันตก ในบางวัฒนธรรม จะใช้นามสกุลในการเรียกขานในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น บารัก โอบามา (Barack Obama) จะถูกเรียกว่า คุณโอบามา (Mr. Obama) ไม่ใช่ คุณบารัก เป็นต้น.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และนามสกุล · ดูเพิ่มเติม »

นิตยสาร

นิตยสาร (magazine) คือสิ่งพิมพ์รายคาบที่ออกเป็นระยะสำหรับผู้อ่านทั่วไป มีเนื้อหาหลากหลาย มุ่งทั้งให้ความรู้และความบันเทิง ความรู้มักเป็นไปในลักษณะที่ให้ความรอบรู้ มีการหารายได้จากการโฆษณาและวางขายทั่วไป ผู้อ่านสามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้ คำว่า "นิตยสาร" มาจากรากศัพท์ คือ นิตย (สม่ำเสมอ) และสาร (เนื้อหา) คำว่า "นิตยสาร" โดยทั่วไปอาจมีความหมายคาบเกี่ยวกับคำว่า วารสาร ซึ่งออกตามกำหนดเวลาที่แน่นอนเช่นกัน แต่ในทางบรรณารักษศาสตร์ ปัจจุบัน เมื่อมีการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้มีนิตยสารในอินเทอร์เน็ต ซึ่งมิใช่สิ่งพิมพ์ แต่ก็ยังเรียกกันว่า "นิตยสาร" เป็นที่น่าสังเกตว่า นิตยสารบางชื่อ ไม่ได้ใช้คำว่า นิตยสาร แต่ก็น่าจะจัดเป็นนิตยสารได้ เช่น "อนุสาร อ..ท." ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขณะที่สิ่งพิมพ์บางชนิด มีความก่ำกึ่ง ระหว่างหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ และนิตยสารรายสัปดาห์ เช่น มติชนรายสัปดาห์ สยามรัฐรายสัปดาห์ เนชั่นรายสัปดาห์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพราะเนื้อหาในเล่ม มีทั้งข่าว วิเคราะห์ข่าว และบันเทิง ในสัดส่วนที่พอๆ กัน โดยทั่วไปนิตยสารมักจะมีลักษณะผ่อนคลาย เล่าเรื่อง ไม่นิยมเขียนในลักษณะตำรา เว้นแต่ละแทรกอยู่เป็นบางส่วนของเล่ม นิตยสารสำหรับคนอ่านเฉพาะกลุ่มฉบับแรกของโลกตีพิมพ์ในกรุงลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2274 (สมัยพระเจ้าท้ายสระ) ชื่อ "นิตยสารสุภาพบุรุษ" (The Gentleman's Magazine) เลิกกิจการไปเมื่อ พ.ศ. 2450 นิตยสารสำหรับผู้บริโภคฉบับแรกของโลกคือ "นิตยสารสกอต" (The Scots Magazine) ตีพิมพ์ในสกอตแลนด์เมื่อปี พ.ศ. 2282 ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และยังคงตีพิมพ์อยู่จนถึงในปัจจุบัน.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และนิตยสาร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำสาละวิน

แม่น้ำสาละวิน (Salween River; သံလွင်မြစ်; 40px; กะเหรี่ยงสะกอ: โคโหล่โกล) เป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 26 ของโลก ยาว 2,800 กิโลเมตร และเป็นแม่น้ำที่มีความยาวเป็นอันดับสองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ รองมาจากแม่น้ำโขง จากไทยพีบีเอส มีต้นกำเนิดจากการละลายของหิมะเหนือเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่านมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ที่ซึ่งเรียกแม่น้ำนี้ว่า นู่เจียง (怒江) หมายถึง "แม่น้ำพิโรธ" และผ่านประเทศพม่าผ่านรัฐฉาน รัฐกะยา รัฐกะเหรี่ยง ซึ่งเป็นแม่น้ำกั้นพรมแดน ระหว่างพม่ากับไทยที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำเมย หลังจากนั้นแม่น้ำสาละวินจึงไหลวกกลับเข้าประเทศพม่า และไหลลงสู่มหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ แม่น้ำสาละวินมีต้นกำเนิดที่เดียวกับแม่น้ำโขง และแม่น้ำแยงซี โดยแบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจนจากต้นกำเนิด และเนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากการละลายของหิมะ อุณหภูมิของน้ำในแม่น้ำสาละวินจึงมีความเย็นกว่าน้ำในแม่น้ำอื่น ๆ ในประเทศไทย บางช่วงมีความลึกมากและน้ำไหลแรง นอกจากนี้ ในประเทศ จีน แม่น้ำสาละวิน เป็น 1 ในแม่น้ำ 3 สาย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น "มรดกโลก" ร่วมกับ แม่น้ำโขง และ แม่น้ำแยงซี ในเขตพื้นที่มณฑลยูนนาน ภายใต้ชื่อ พื้นที่คุ้มครองแม่น้ำขนานสามสายแห่งยูนนาน โดยพื้นที่ดังกล่าว นับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งบนโลกที่มีความอุดมสมบูรณ์และความหลายหลายทางชีวภาพสูง.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และแม่น้ำสาละวิน · ดูเพิ่มเติม »

โลมา

ลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง อาศัยอยู่ทั้งในทะเล, น้ำจืด มีรูปร่างคล้ายปลา คือ มีครีบ มีหาง แต่โลมามิใช่ปลา เพราะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีรก จัดอยู่ในอันดับวาฬและโลมา (Cetacea) ซึ่งประกอบไปด้วย วาฬและโลมา ซึ่งโลมาจะมีขนาดเล็กกว่าวาฬมาก และจัดอยู่ในกลุ่มวาฬมีฟัน (Odontoceti) เท่านั้น โลมา เป็นสัตว์ที่รับรู้กันเป็นอย่างดีว่าเฉลียวฉลาด มีความเป็นมิตรกับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยชีวิตมนุษย์เมื่อยามเรือแตก จนกลายเป็นตำนานหรือเรื่องเล่าขานทั่วไป มีอุปนิสัยอยู่รวมกันเป็นฝูง บางฝูงอาจมีจำนวนมากถึงหลักพันถึงหลายพันตัว ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว รวมถึงสามารถกระโดดหมุนตัวขึ้นเหนือน้ำได้ ชอบว่ายน้ำขนาบข้างหรือว่ายแข่งไปกับเรือวาฬและโลมา หน้า 37-42, "สัตว์สวยป่างาม" (ชมรมนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล, สิงหาคม 2518).

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และโลมา · ดูเพิ่มเติม »

ไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์

ทสัน อาร.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และไทสัน อาร์. โรเบิร์ตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เขตดุสิต

ตดุสิต เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้า แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เขตทหาร แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ที่ตั้งรัฐสภา กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวัง จึงทำให้เขตนี้มีลักษณะราวกับว่าเป็นเขตการปกครองส่วนกลางของประเทศไทย อนึ่ง ที่ทำการสำนักงานส่วนภูมิภาคและสำนักงานประจำประเทศไทย ขององค์การสหประชาชาติ และขององค์การระหว่างประเทศหลายองค์การ ก็อยู่ในพื้นที่เขตนี้.

ใหม่!!: กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์และเขตดุสิต · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kittipong Jaruthanin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »