โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สาวแว่น

ดัชนี สาวแว่น

right สาวแว่น ("glasses girl"; glasses-wearing girl) หมายถึง หญิงสาวที่สวมแว่นตาจนเป็นบุคลิกลักษณะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อหญิงนั้นน่ารักเหมือนตัวละครในอะนิเมะมังงะ คำนี้เดิมผู้คลั่งอะนิเมะมังงะใช้เรียกตัวละครหญิงสวมแว่น ต่อมาขยายไปหมายถึงหญิงสาวในโลกจริงหรือในอะนิเมะมังงะก็ได้ สาวแว่น ไม่ว่าที่เป็นมนุษย์จริง หรือตัวละคร อาจสวมแว่นเพราะมีปัญหาทางสายตาหรือไม่ก็ได้ ไม่เป็นข้อพิจารณาของคำว่า "สาวแว่น" อนึ่ง ไม่ถือกันด้วยว่า แว่นเป็นวัตถุเร้ากามารมณ์ (fetish) เหมือนอย่างเครื่องแบบนักเรียนของสาวในชุดนักเรียน (seifuku) หรือชุดของสาวใช้ (meido) ในอะนิเมะและมังงะ มักแสดงภาพสาวแว่นว่า เป็นพวกมีโลกส่วนตัวสูง โดยเฉพาะพวกหนอนหนังสือหรือบ้าคอมพิวเตอร์ในเรื่องวัฒนธรรมร่วมสมัย และมักไม่เข้าสังคมในโลกจริง ตัวอย่างของสาวแว่นทำนองนี้ คือ ฮาเซกาว่า จิซาเมะ (Hasegawa Chisame) จากมังงะเรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ! (Negima! Magister Negi Magi) ของเค็ง อะกะมะสึ (Ken Akamatsu) นอกจากนี้ ในญี่ปุ่น โดยเฉพาะในวรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่น มักมีทัศนคติโดยทั่วไปว่า สาวแว่นเป็นนักเรียนหญิง มีนิสัยเรียบร้อย มีเสน่ห์ แต่บางครั้งชอบเอาแต่ใจและชอบบงการ สาวแว่นทำนองนี้ปรากฏให้เห็นบ่อยเป็นตัวละครประเภท "หัวหน้าห้อง" (いいんちょう iinchō, อีนโช; class representative) ซึ่งมักเป็นที่เคารพเลื่อมใสของนักเรียนดี และมักถูกนักเรียนเหลวไหล (slacker) ล้อเลียนเสมอ ตัวอย่างเช่น ทาคาระ มิยูกิ (Takara Miyuki) จากมังงะเรื่อง ลัคกี้ สตาร์ (Lucky Star) ของคะงะมิ โยะชิมิซุ (Kagami Yoshimizu) และมิโดริคาวะ เลตัส (Midorikawa Letasu) จากมังงะเรื่อง โตเกียวเหมียวเหมียว (Tokyo Mew Mew) ของเรโกะ โยะชิดะ (Reiko Yoshida) สำหรับผู้ชายที่ใส่แว่นนั้นเรียก "หนุ่มแว่น" (メガネ男子 meganedanshi, เมะงะเนะดันชิ) ส่วนในทางวิชาการ เรียกการเกิดกามารมณ์ต่อบุคคลที่สวมแว่นว่า "การเกิดอารมณ์เพศจากแว่นสายตา" (glasses fetishism)友利昂介著「日本人はなぜ黒ブチ丸メガネなのか」 ごま書房 、2006年ISBN 4-34-101885-X.

14 ความสัมพันธ์: มังงะลักกีสตาร์หัวหน้าห้องอะนิเมะฮาเซกาว่า จิซาเมะคุณครูจอมเวท เนกิมะ!นักเลงคอมพิวเตอร์แว่นตาโมะเอะโตเกียวเหมียวเหมียวเครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่นเค็ง อากามัตสึเนิร์ดเน็ตไอดอล

มังงะ

หน้าหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนเรื่องมาร์มาเลดบอย ฉบับภาษาญี่ปุ่น เล่ม 1 มังงะ เป็นคำภาษาญี่ปุ่นสำหรับเรียกการ์ตูนช่อง สำหรับภายนอกประเทศญี่ปุ่น คำนี้ถูกใช้เรียกการ์ตูนช่องที่มาจากญี่ปุ่น มังงะพัฒนามาจากอุคิโยเอะและจิตรกรรมตะวันตก และเริ่มคงรูปแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มังงะที่ได้รับความนิยมสูงมักถูกนำไปสร้างเป็นอะนิเมะ เนื้อหาของมังงะเหล่านั้นมักถูกดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมต่อการแพร่ภาพทางโทรทัศน์และเพื่อให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทั่วไปมากขึ้น.

ใหม่!!: สาวแว่นและมังงะ · ดูเพิ่มเติม »

ลักกีสตาร์

ลักกีสตาร์ (Lucky Star รวมไปถึงการสะกดแบบอื่น, อาจมี เดอะ (The) นำหน้า, หรือในรูปพหูพจน์) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: สาวแว่นและลักกีสตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

หัวหน้าห้อง

หัวหน้าห้อง (class representative หรือ class president) เป็นตัวละครประเภทหนึ่ง พบมากในอะนิเมะและมังงะ หมวดหมู่:ศัพท์ในการ์ตูนญี่ปุ่น.

ใหม่!!: สาวแว่นและหัวหน้าห้อง · ดูเพิ่มเติม »

อะนิเมะ

รูปแบบอะนิเมะในปัจจุบัน อะนิเมะ (「アニメ」 anime) เป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่มาจากภาษาอังกฤษว่า แอนิเมชั่น (animation) ซึ่งมาจาก ภาษาฝรั่งเศส อานีเม่ (animé) และจากภาษาละติน แปลว่าเคลื่อนไหว หรือภาพเคลื่อนไหว แต่ความหมายกลายจนเป็นคำเฉพาะของภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ภาพยนตร์การ์ตูน ภายนอกประเทศญี่ปุ่น อะนิเมะหมายถึงภาพยนตร์การ์ตูนสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะทางศิลปะแตกต่างกับภาพยนตร์การ์ตูนจากแหล่งอื่น อะนิเมะส่วนใหญ่จะวาดขึ้นด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยสร้างอะนิเมะอย่างแพร่หลาย อะนิเมะส่วนใหญ่สร้างขึ้นเพื่อให้ความบันเทิงเหมือนภาพยนตร์ โดยมีแนวเรื่องหลากหลายและครอบคลุมแนววรรณกรรมเกือบทุกแนว อะนิเมะส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นเป็นตอน ๆ เพื่อฉายทางโทรทัศน์ ส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาวเพื่อฉายในโรงภาพยนตร์ และอีกส่วนหนึ่งถูกสร้างเป็นตอน ๆ เพื่อขายตรงในรูปแบบดีวีดี วีซีดี หรือวีดิโอ ดูมีการทำตอนเฉพาะที่เรียกว่า โอวีเอ อะนิเมะหลายเรื่องถูกดัดแปลงมาจากมังงะ นอกจากนี้ยังมีอะนิเมะที่ถูกนำไปดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์อีกด้ว.

ใหม่!!: สาวแว่นและอะนิเมะ · ดูเพิ่มเติม »

ฮาเซกาว่า จิซาเมะ

ซกาว่า จิซาเมะเค็ง อะกะมะสึ; 2551, 31 ตุลาคม: 168-169 (2 กุมภาพันธ์ 2532 —) เป็นตัวละครจากมังงะแนวตลก/ผจญภัย/กึ่งเร้ากามารมณ์ เรื่อง คุณครูจอมเวท เนกิมะ! (Negima! Magister Negi Magi) ของ เค็ง อะกะมะสึ (Ken Akamatsu) จิซาเมะเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้องเอ เลขที่ 25 โรงเรียนมัธยมมาโฮระ ซึ่งมี เนกิ สปริงฟิลด์ (Negi Springfield) เด็กชายวัยสิบขวบที่เป็นผู้ใช้เวทมนตร์ เป็นครูประจำชั้น เธอไม่ชอบสุงสิงกับใคร และขี้หงุดหงิด เพราะเห็นว่าเพื่อนร่วมห้องล้วน "ปัญญาอ่อน" และ "ติงต๊อง" แต่ความจริงแล้ว เธอบ้าคลั่งคอสเพลย์ (cosplay) และมักลงรูปตัวเองแต่งคอสเพลย์น่ารักในอินเทอร์เน็ต โดยใช้นามแฝงว่า ชิอุ (ちう, Chiu) ซึ่งเธอได้รับความนิยมเป็นอันมากในฐานะเน็ตไอดอล (net idol) และเธอยังเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ (hacker) มือฉกาจอีกด้วย ทว่า เธอปกปิดไม่ให้เพื่อนที่โรงเรียนทราบว่าตนเป็นเน็ตไอดอลชื่อดังChisame Hasegawa (Character Description); n.d.: Online.

ใหม่!!: สาวแว่นและฮาเซกาว่า จิซาเมะ · ดูเพิ่มเติม »

คุณครูจอมเวท เนกิมะ!

ณครูจอมเวท เนกิมะ! (Negima! Magister Negi Magi) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวผจญภัย แต่งเรื่องและวาดภาพโดยเคน อาคามัตสึ โดยเป็นเนื้อเรื่อวเกี่ยวกับตัวละครที่มีชื่อว่า เนกิ สปริงฟิลด์ ที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเวทมนตน์โดยมีคำสั่งให้ไปเป็นเป็นคุณครูสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนสตรีที่ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันกำลังถูกตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์ในประเทศญี่ปุ่น และในนิตยสาร KC WEEKLY ในประเทศไทย ภาพยนตร์การ์ตูนสำหรับแพร่ภาพทางโทรทัศน์ถูกสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: สาวแว่นและคุณครูจอมเวท เนกิมะ! · ดูเพิ่มเติม »

นักเลงคอมพิวเตอร์

นักเลงคอมพิวเตอร์ (hacker) หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาคอมพิวเตอร์ บางครั้งยังใช้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ในรายละเอียด หรือ ผู้ที่มีความเฉลียวในการแก้ปัญหาจากข้อจำกัด ความหมายที่ใช้ในบริบทของคอมพิวเตอร์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากความหมายดั้งเดิม โดยผู้ใช้คำในช่วงหลังนั้นได้ใช้ในความหมายที่กว้างออกไป รวมทั้งในบางครั้งยังใช้ในความหมายที่ขัดแย้งกัน ในปัจจุบัน "นักเลงคอมพิวเตอร์" นั้นใช้ใน 2 ความหมายหลัก ในทางที่ดี และ ไม่ค่อยดีนัก ความหมายที่เป็นที่นิยม และพบได้บ่อยในสื่อนั้น มักจะไม่ดี โดยจะหมายถึง อาชญากรคอมพิวเตอร์ ส่วนในทางที่ดีนั้น "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้ในลักษณะของคำติดปาก หมายถึง ความเป็นพวกพ้อง หรือ สมาชิกของกลุ่มคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากนี้ คำว่า "นักเลงคอมพิวเตอร์" ยังใช้หมายถึงกลุ่มของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถในระดับผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น "ลีนุส ทอร์วัลด์ส ผู้สร้างลินุกซ์ นั้นเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ" จากความหมายที่แตกต่างข้างต้น จะเห็นได้ถึงความขัดแย้งในการใช้คำ บางกลุ่มที่ใช้คำนักเลงคอมพิวเตอร์นี้เพื่อเรียกกลุ่มของตน ก็ไม่ชอบที่คำนี้ถูกใช้ในความหมายที่ไม่ดี และแนะนำให้ใช้คำอื่น เช่น แบล็กแฮต หรือ แคร็กเกอร์ เพื่อเรียกอาชญากรคอมพิวเตอร์แทน ส่วนผู้ที่ใช้คำนี้ในความหมายที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันนั้น ให้ความเห็นถึงความหมายในทางที่ดี นั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสนแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมอีกด้วย ส่วนความหมายกลางนั้น ได้สังเกตถึงจุดร่วมระหว่างความหมายในทางที่ดีและไม่ดี โดยพิจารณาการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้ความชำนาญ เพียงแต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันทั้งในทางดีและไม่ดี ตัวอย่างเช่น ช่างสะเดาะกุญแจ มีความชำนาญในการปลดกลอน (เปรียบเทียบการสะเดาะกุญแจกับการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์) ซึ่งความชำนาญนี้อาจถูกใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี การเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ สามารถหมายถึงวิธีการศึกษาหาคำตอบให้กับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่มีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลหรือความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเข้าใจต่อปัญหาเหล่านั้นได้มากขึ้น การได้ใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์จึงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ เพราะเปรียบได้กับเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ที่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น แต่ถ้าการเป็นนักเลงคอมพิวเตอร์ ที่อาศัยความรู้หรือความสามารถที่มีในทางที่ไม่ดี ก็จะเกิดความสับสนในการใช้คำว่านักเลงคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคำว่าแครกเกอร์จึงถูกนำมาใช้เรียกคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ใช้ความรู้นั้นในทางที่ไม่ดีและขัดกับจริยธรรมของนักเลงคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: สาวแว่นและนักเลงคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แว่นตา

แว่นตาสมัยใหม่ แว่นตาเป็น เลนส์ที่สวมอยู่ในกรอบ สำหรับใส่ข้างหน้าตา ปกติเพื่อปรับแก้การมองเห็น ป้องกันตา หรือเพื่อป้องกัน รังสีเหนือม่วง โดยแว่นตานี้ จะถูกใช้เนื่องจากหลายๆกรณี อาทิ เช่น คนที่มีปัญหาทางด้านสายตา ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว ผู้มีปัญหาทางตาเช่นโรคต้อบางชนิดที่จำเป็นต้องป้องกันนัยต์ตาไม่ให้โดนลมปะทะ หรือในบางครั้ง ยังสามารถใช้เป็นแว่นตาสำหรับใส่เล่น(แฟชั่น ได้อีกด้วย) และข้อดีอย่างนึงคือ สามารถกันรังสีต่างๆที่ออกมาจากคอมพิวเตอร์ ทำให้ช่วยในเรื่องของการถนอมสายตาได้อีกด้วย แว่นสมัยใหม่โดยทั่วไปทำจากโลหะหรือพลาสติก ซึ่งจะมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับกรอบแว่นสายตาที่มีกรอบเป็นพลาสติกมีคุณสมบัติเรื่องของความเบาของตัวแว่น ทำให้ผุ้ใช้รู้สึกสบายตา ไม่ปวดศีรษะ แต่มีข้อเสียในเรื่องของความทนทาน สำหรับกรอบแว่นสายตาที่มีกรอบเป็นโลหะนี้ จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก แต่มีข้อดีคือความทนทาน ในปัจจุบันมีแว่นตาหลากหลายรูปทรงให้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ทรงกลม ทรงรี ซึ่งแว่นตาแต่ละรูปทรง สามารถมีส่วนช่วยในเรื่องของการปรับรูปหน้าผู้ใส่ได้ ขึ้นอยู่กับการเลือกเฟ้นของผู้ใช้เอง อาทิเช่น กรอบแว่นตาทรงสี่เหลี่ยมจะเหมาะกับทั้งคนที่มีหน้ากลมและหน้ายาว เป็นต้น.

ใหม่!!: สาวแว่นและแว่นตา · ดูเพิ่มเติม »

โมะเอะ

มะเอะ เป็นศัพท์สแลงในภาษาญี่ปุ่น มีความหมายถึงความรักความชอบหรืออารมณ์ทางเพศที่มีต่อตัวละครในมังงะ อะนิเมะ หรือวิดีโอเกม ที่มาของคำว่า "โมะเอะ" ไม่แน่ชัด บางที่กล่าวว่ามาจากชื่อตัวละครในการ์ตูนญี่ปุ่น (เช่น โทโมเอะ โฮตารุ จากเรื่อง เซเลอร์มูน หรือ ซางิซาวะ โมเอะ จากเรื่อง Kyoryu Wakusei) ในขณะที่บางแห่งกล่าวว่า เกิดจากการเล่นคำจากคำว่า "โมะเอะรุ" ที่แปลว่า "เผาไหม้" กล่าวคือตัวละครที่เป็นโมะเอะทำให้เกิด "เพลิงพิศวาส" ขึ้นในใจของผู้ชมนั่นเอง ทะมะกิ ไซโต (Saitou Tamaki) นักจิตวิทยาผู้ศึกษาพฤติกรรมของโอะตะกุ (บุคคลที่คลั่งไคล้การ์ตูน) เห็นว่าโมะเอะมีความหมายตรงตัว แปลว่าการ "แตกหน่อ" หรือ "แรกงอก" ของพืช ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับคนจะหมายถึงตัวละครเด็กวัยกระเตาะ (มักเป็นผู้หญิง) ที่ยังไม่เติบโตเต็มที่ ต้องพึ่งพาคนอื่น ทำให้ผู้ชมการ์ตูนอยากปกป้องดูแล จนถึงขั้นหลงรักได้ในที.

ใหม่!!: สาวแว่นและโมะเอะ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียวเหมียวเหมียว

ตเกียวเหมียวเหมียว เป็นการ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชโจะและสาวน้อยเวทมนตร์ วาดโดย เรโกะ โยชิดะ และตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นโดยสำนักพิมพ์โคดันฉะ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - เมษายน พ.ศ. 2547 และยังได้มีการนำมาสร้างเป็นสื่ออื่น ๆ ได้แก่ ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ และเกม.

ใหม่!!: สาวแว่นและโตเกียวเหมียวเหมียว · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น

นักเรียนหญิงชั้นมัธยมของญี่ปุ่น เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น เป็นชุดเสื้อผ้าที่นักเรียนหรือนักศึกษาในประเทศญี่ปุ่นใช้สวมใส่ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "เซฟุกุ" หรือ "กะกุเซฟุกุ" ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้เครื่องแบบนักเรียนมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ปัจจุบัน โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนเกือบทุกโรงเรียนต่างให้นักเรียนแต่งกายในชุดเครื่องแบบนักเรียน รวมทั้งมหาวิทยาลัยผู้หญิงบางแห่งก็ยังคงใช้เครื่องแบบอยู่เช่นกัน.

ใหม่!!: สาวแว่นและเครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

เค็ง อากามัตสึ

็ง อากามัตสึ (เกิด 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2511) เป็นนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ผลงานของเค็งส่วนมากจะเน้นเนื้อเรื่องแนวตัวละครผู้ชายที่มีผู้หญิงมารุมล้อม ในช่วงวัยรุ่นเค็งสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวไม่สำเร็จจึงได้เปลี่ยนวิถีชีวิตมาศึกษาเกี่ยวกับการทำภาพยนตร์ ภายหลังประสบความสำเร็จในการวาดภาพการ์ตูน โดยใช้ชื่อนามปากกาว่า อาวะ มิซูโนะ (แปลว่า ยาจกที่เต็มไปด้วยความหวังและความฝัน) ในช่วงที่กำลังศึกษาในวิทยาลัย ผลงานของเค็งได้รับรางวัลจากนิตยสารโชเน็นแม็กกาซีนรายสัปดาห์ 2 ครั้ง เค็งเริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางหลังจากความสำเร็จอย่างสูงของเรื่องบ้านพักอลเวง.

ใหม่!!: สาวแว่นและเค็ง อากามัตสึ · ดูเพิ่มเติม »

เนิร์ด

นิร์ด หรือ เหนิด (Nerd) หมายถึง “​คนที่ทำ​อะ​ไร​ด้วย​ความ​ชอบ​เป็น​หลัก​” หรืออาจกล่าวได้ว่า ​คือ คนที่​ใช้​เหตุผล​และ​ตัดสินใจบนพื้นฐานของ​ความ​ชอบ​หรือ​ความ​หมกมุ่น ไม่​ใช่​เป้าหมาย​อื่น ๆ ​เช่น​ เรื่องของ​เงินทอง​​หรือ​การได้การยอมรับ​จาก​สังคม ​แนวคิดที่ว่า​​ความ​ชอบ​ส่วน​ตัวควร​เป็น​แรงบันดาลใจ​ใน​การตัดสินใจทุกอย่าง​ใน​ชีวิต​นับ​เป็น​ “​หลักการเบื้องต้น​” ของคนในกลุ่มนี้ ทำให้ลักษณะการใช้ชีวิตของคนกลุ่มนี้แตกต่างจากคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด​ เนิร์ดมักจะเป็นผู้ที่งุ่มง่าม ขี้อายและไม่มีเสน่ห์ดึงดูด เนิร์ด ในความหมายปัจจุบันนั้น หมายถึง คนที่มุ่งพัฒนา​ความ​สนใจเฉพาะด้าน​มากกว่า​จะ​สนใจทำ​ตัวตาม​ความ​คาดหวังของสังคม​ (conformity) ​คนกลุ่มนี้มักมีทักษะ ​(​โดย​เฉพาะด้านเทคนิค) และ​จินตนาการสูง และเห็นว่าเรื่องที่ตนเองสนใจ​ มีความสำ​คัญกว่าการได้รับความยอมรับ​จาก​สังคม​ นิยามนี้​ยัง​ใช้​เรียกคนที่คน​ส่วน​ใหญ่​มองว่าฉลาดหลักแหลมกว่าคนธรรมดามาก เนิร์ด มักจะชอบ​ความ​แปลก​ใหม่​และ​ของ​ใหม่ ๆ​ ใช้​คอมพิวเตอร์คล่อง ​(แม้อาจ​ไม่​ถึง​ขั้นเขียนโปรแกรม​เป็น)​ มักมีทักษะในโลกอินเทอร์เน็ตสูง ​ นอกจากนั้น เนิร์ด ยังหมายถึงคนที่ทุ่มเท​ความ​สนใจ​กับ​อะ​ไรสักอย่าง​ ​จน​ถึง​ระดับที่ทำ​ให้​อยู่​นอก​ “​กระ​แสหลัก​” ​ของสังคม​ ในสมัยนี้มีคำอีกคำที่พัฒนาขึ้นมาในความหมายเฉพาะ อีกคำ คือ Geek ​นิยามของ Geek นี้กว้างมาก​ ​เพราะเมื่อเรา​พูด​ถึง​หัวข้อ​ความ​สนใจ​เป็น​หลัก​แล้วมันจะครอบคลุมวิชาการแทบทุกเรื่อง ไปถึงความสนใจพิเศษในทุกเรื่องที่เกิดความชื่นชอบและสนใจ จึง​ครอบคลุมตั้งแต่​​คณิตศาสตร์​, เครื่องบิน​, ดนตรี​, คอมพิวเตอร์​, ​วิทยาศาสตร์​, ​ภาพยนตร์​, การ์ตูนญี่ปุ่น​ และแอนิเมชัน, ละคร​, ประวัติศาสตร์​, เกมคอมพิวเตอร์​, ภาษา​, การเมือง​​, เศรษฐศาสตร์​, กล้องถ่ายรูป ฯลฯ​ ​ เนิร์ด ในสมัยก่อน มักใช้​ใน​ความ​หมายเชิงลบ​ ใช้​เรียกคนที่​ไม่​มีทักษะ​ใน​การ​เข้า​สังคม​ ​ไม่​ว่า​จะ​ฉลาด​หรือ​ไม่​ ​ความ​หมายนี้​เหมือน​กับ​ศัพท์​แสลงอังกฤษอีกคำ​คือ​ “dork” ​แต่ตอนนี้​เมื่อ เนิร์ด และ geek “​เท่​” ​กว่าสมัยก่อนมาก​แล้ว​ ​คนที่​เข้า​สังคม​ไม่​เป็น​จึง​เรียกว่า​ dork ​อย่างเดียว​ ​ไม่​ใช่​ geek หรือ เนิร์ด อีกต่อไป เนิร์ด สำหรับคนสายหัวเก่า เดิมหมายถึง คนที่ปกติจะขลุกอยู่กับคอมพิวเตอร์ หรือเรื่องที่คนอื่นเห็นว่าไม่น่าสนใจ เนิร์ดจะหมายถึงกลุ่มบุคคลที่มีระดับสติปัญญาสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน สนใจในสิ่งที่สังคมทั่วไปไม่สนใจกัน (โดยมากจะเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์) คำนี้ใช้กันแพร่หลายที่สุดในสหรัฐอเมริกา แต่ก็มีใช้ไม่น้อยในประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990 เนิร์ดจำนวนมากบนโลกอินเทอร์เน็ต ถือเอาคำนี้เสมือนเหรียญตราแห่งความภูมิใจ และเริ่มใช้มันในความหมายแง่บวก เพื่ออธิบายถึงบุคคลที่มีความสามารถทางด้านเทคนิค ถึงแม้ว่าดั้งเดิมแล้วคำว่า "เนิร์ด" และ "กี๊ก" (geek) จะใช้เรียกผู้ชาย แต่ผู้หญิงจำนวนมากที่สนใจในเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสาขาวิชาอื่น ๆ ที่ปกติจะมีแต่ผู้ชาย ก็เริ่มรับเอาสองคำนี้ไปใช้เสมือนหนึ่งตราแห่งความสำเร็จด้วย ในภาษาไทย อาจใช้คำว่าหนอนหนังสือเพื่ออธิบายเนิร์ดได้ แต่ก็ไม่ได้ให้ความหมายที่ตรงเท่าไรนัก หรือจะใช้คำว่า "แฟนพันธุ์แท้" ก็น่าจะเห็นภาพได้ครอบคลุมกว่า ภาพลักษณ์ของเนิร์ดในสื่อมวลชนและการ์ตูน มักจะเป็นชายหนุ่มใส่แว่นหนากรอบดำ (ที่มักจะแตกและแปะด้วยเทปพันสายไฟ) มีไม้โปรเทกเตอร์ติดกระเป๋า สวมกางเกง "high-water pants" และเสื้อเชิ้ตหรือชุดที่มักจะเป็นทางการเกินไป และบางครั้งภาพที่ออกมาก็มักจะเป็นคนที่ไม่ดูแลความสะอาดของตัวเอง และถ้าไม่ผอมแห้งก็จะอ้วนฉุไปเลย ภาพของเนิร์ดมักจะเป็นคนที่เข้าสังคมไม่คล่อง ไม่สามารถสนทนาเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องเทคนิคกับคนอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสาวสว.

ใหม่!!: สาวแว่นและเนิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เน็ตไอดอล

เน็ตไอดอล (net idol; ネットアイドル) เป็นคำใช้เรียกบุคคลที่ได้รับชื่อเสียงหรือความนิยมมาทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะเมื่อบุคคลนั้นมีลักษณะพ้องกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นหรือทำนองนั้น หมวดหมู่:เน็ตไอดอล.

ใหม่!!: สาวแว่นและเน็ตไอดอล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Meganekkoメガネっ娘

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »