โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ไอโอเอส

ดัชนี ไอโอเอส

อโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 10 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 13 มิถุนายน..

31 ความสัมพันธ์: กูเกิลภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีภาษาซีภาษาซีพลัสพลัสมัลติทัชยูนิกซ์วอยซ์โอเวอร์ไอพีวินโดวส์โฟนสมาร์ตโฟนส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้จาวาสคริปต์ดับเบิลยูดับเบิลยูดีซีซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ซีรีแมคโอเอสแอปเปิล (บริษัท)แอปเปิลทีวีแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟท์ไอพอดไอพอดทัชไอแพดไอแพด มินิไอโฟนไอโฟน 3จีไอโฟน 4ไอโฟน 4เอสไอโฟน 5ไอโอเอส

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: ไอโอเอสและกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี

ษาอ็อบเจกทีฟ-ซี (Objective-C หรือ ObjC) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุและมีสมบัติการสะท้อน โดยแรกเริ่ม ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี พัฒนาขึ้นจากภาษาซีโดยยังคงคุณลักษณะของภาษาซีไว้ครบทุกประการเพียงแต่เพิ่มระบบส่งข้อความ (messaging) แบบเดียวกับภาษาสมอลล์ทอล์กเข้าไปเท่านั้น (Objective-C runtime) ปัจจุบันภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีมีคุณสมบัติอื่นๆเพิ่มเติมจากการพัฒนาภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี 2.0 โดยบริษัทแอปเปิล ปัจจุบันภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีถูกใช้มากใน Cocoa (API) ใน Mac OS X, GNUstep (API) และ Cocotron (API) เป็นต้น ซึ่งระบบเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยมีพื้นฐานจากมาตรฐาน OpenStep (API) ใน Nextstep (Operating system) โดยมีภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเป็นภาษาหลัก ปัจจุบัน Mac OS Xใช้ Cocoa เป็นเฟรมเวิร์กสำหรับสร้างโปรแกรมประยุกต์ โดย ไลบรารีและ/หรือ API เหล่านี้เป็นเพียงส่วนเพิ่มขยาย (Software extension) เท่านั้น โปรแกรมที่ใช้ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ส่วนเพิ่มขยายเหล่านี้ก็ยังสามารถคอมไพล์ได้ เช่นอาจใช้แต่ gcc ซึ่งรองรับภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี.

ใหม่!!: ไอโอเอสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซี

ษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีเป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมและมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอน ภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์) และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี (K&R C) ต่อม..

ใหม่!!: ไอโอเอสและภาษาซี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาซีพลัสพลัส

ษาซีพลัสพลัส (C++) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก (statically typed) และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย (multi-paradigm language) ได้แก่ การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่ง, การนิยามข้อมูล, การโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก (generic programming) ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) จากเบลล์แล็บส์ (Bell Labs) เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส (เดิมใช้ชื่อ "C with classes") ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสได้รับการรับรองในปี ค.ศ. 1998 เป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:1998 เวอร์ชันล่าสุดคือเวอร์ชันในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 14882:2014 (รู้จักกันในชื่อ C++14).

ใหม่!!: ไอโอเอสและภาษาซีพลัสพลัส · ดูเพิ่มเติม »

มัลติทัช

มัลติทัช เป็นการต่อยอดมากจากหน้าจอสัมผัสทั่วไป ซึ่งโดยปรกติถ้าเป็นทัชสกรีนธรรมดาจะเป็นการรับคำสั่งได้ทีละจุดทีละคำสั่ง คล้ายๆกับเวลาเราเล่นเกมส์จับผิดภาพ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือหรือPDAนั่นเอง แต่ว่ามัลติทัชจะต่างออกไปเพราะสามารถรองรับการสัมผัสได้ทีละหลายๆจุดทำให้เกิดรูปแบบการสั่งงานที่คล่องตัวมากขึ้นและก็มีการควบคุมที่สะดวกกว่า ให้ความรู้สึกที่แตกต่างออกไปจากการควบคุมคอมพิวเตอร์แบบเดิมๆ ก่อนหน้านี้บิลเกตได้เคยออกมาประกาศว่าเม้าส์และคีย์บอร์ดจะกลายเป็นของที่ล้าสมัยไปในที่สุด ซึ่งหนึ่งในรูปแบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์แบบใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ก็คือมัลติทัช(Multi-touch) ฉะนั้นจังไม่น่าแปลกใจที่Windows7จะนำเทคโนโลยีมัลติทัชเข้ามาใช้ เพราะฉะนั้นในอนาคตเราก็มีโอกาสจะได้ใช้มัลติทัชกันอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับเทคโนโลยีมัลติทัชก็จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ หลักๆอย่างแรกก็คือ หน้าสัมผัสซึ่งตัวนี้ไม่จำเป็นจะต้องเป็นหน้าจอแสดงภาพอย่างเดียว อาจจะเป็นโต๊ะ กำแพง เป็นTouch Pad บนโน้ตบุ๊คก็ได้ ส่วนนี้เป็นได้หลายรูปแบบในลักษณะการรับค่าสัมผัสจากหน้าจอหรือว่าตัวinterface ซึ่งทำได้ทั้งการผ่านความร้อน แรงกดของนิ้ว ใช้แสงอินฟาเหรด คลื่นอัลตราโซนิค คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแม้แต่การควบคุมผ่านทางแสงเงาก็มีการพัฒนาขึ้นมาแล้ว แต่ส่วนที่คิดว่าสำคัญที่สุดในระบบมัลติทัชก็คือเรื่องของSoftwereในการควบคุม ถ้าดูจาก I-Phone จะเห็นว่าตัว Softwere สามารถที่จะเข้ามาผสานการทำงานกับรบบมัลติทัชได้อย่างลงตัว และทำให้รูปแบบการทำงานดูน่าใช้มากขึ้น สร้างสรรค์การปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ ถูกยกระดับขึ้นเป็นอีก1มิติใหม่ ถึงแม้เราจะเห็นมัลติทัชในช่าง2-3ปีที่ผ่านมาอย่างแพร่หลาย แต่จริงๆแล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นและพัฒนาระบบมัลติทัชมาไม่ต่ำกว่า25ปีแล้ว แต่มาเห็นเป็นรูปเป็นร่างตั้งแต่ปี 2542 มีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยDelawere 2คน ได้สร้างบริษัทขึ้นมาที่ชื่อว่าFinger Works และพัฒนาอุปกรณืที่มีชื่อว่า Igester Padและ Touchstream keyboard ก่อนที่จะถูกซื้อกิจการไปในที่สุด โดยบริษัทที่มีชื่อว่าApple Appleได้เข้าไปซื้อบริษัท Finger Works ไปเมื่อประมาณปี2548 จึงไม่น่าแปลกว่าAppleเป็นบริษัทแรกๆที่จุดกระแสด้านระบบมัลติทัช และมีการนำมาใช้กันอย่างเป็นรูปอธรรม เป็นที่ประทับใจของคนทั่วไป เป็นSoftwereที่ผสานกันอย่างลงตัว หน้าจอของI-Phoneเป็นแบบ Capacitive Touchscreen ซึ่งต้องอาศัยสื่อนำไฟฟ้าอย่างผิวหนัง ทำให้ปากกาพลาสติกทั่วไปไม่สามารถใช้งานกับหน้าจอI-Phoneได้ ลูกเล่นด้านมัลติทัชของI-Phoneถูกสอดแทรกเข้าไปกับการทำงานได้อย่างลงตัว ทำให้ผู้ใช้งานจำนวนมากเห็นถึงความสะดวกสบายในการใช้งานผ่านระบบมัลติทัช เช่นการใช้นิ้มมือลากเพื่อเลื่อนคำสั่งต่างๆในจอ หรือใช้นิ้วมือสองนิ้วเพื่อย่อหรือขยายรูปภาพบนหน้าจอได้อย่างสะดวก นอกจากนี้I-Phoneยังได้ผสานAccelerometerหรืออุปกรณืวัดความแร่งแบบ3แกน ทำให้พลิกหน้าจอแสดงผลได้โดยรอบเพื่อปรับเปลี่ยนมุมมองของการเล่นภาพได้ตามต้องการ ทั้งตามแนวตั้งและแนวนอน นอกจากนี้Appleยังได้นำมัลติทัชไปไว้ใน I-Pod Touch,Mac Book AirและMac Book Proอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นการทำให้การใช้งานสะดวกยิ่งขึ้น ด้านMicrosoftแม้จะได้เริ่มการวิจัยมาก่อนAppleแต่กลับออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดได้ช้ากว่า และก็ยังเป็นผลิตภัณฑ์แบบเฉพาะกลุ่มและราคาแพง แต่ถ้าพูดถึงในด้านการทำงาน ทางด้านMicrosoft Serface ถือว่าเป็นโต๊ะอัจฉริยะที่ผสานมัลติทัชและการทำงานไร้สายได้อย่างลงตัว Microsoft Serface ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Vista มีProcesserเป็นInTel Core 2 Duo หน่วยความจำ2Gb มีการออกแบบinterface การควบคุมแบบใหม่ที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และมีการนำมัลติทัชใส่ไว้ในคอมพิวเตอร์ทรงกลมที่มีชื่อว่าSphere นอกจากMicrosoft และAppleแล้ว ยังมีอีกหลายบริษัทที่ให้ความสนใจกับมัลติทัชอีกมากมายเช่นPerceptive Pixel โดยผลิตมัลติทัชไว้สำหรับองค์กรณ์ใหญ่ๆเพื่อความสะดวก เช่น Active Board เป็นกระดานแบบมัลติทัชใช้ในการเรียนการสอน ในปัจจุบัน เทคโนโลยีมัลติทัชมีราคาถูกลงเรื่อยๆ และมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆ เช่น แท็บเล็ตพีซี โทรศัพท์มือถือ ได้นำระบบมัลติทัชมาใช้เพื่อความสะดวกในการใช้งานแทนระบบเมาส์ และแป้นพิมพ์ ทำให้อุปกรณ์มีขนาดเล็กลง พกพาสะดวก และระบบปฏิบัติการต่างๆ เช่น ซิมเบียน, วินโดวส์ 8, ไอโอเอส, แอนดรอยด์, อุบุนตู(ลินุกซ์เดกส์ทอป) ได้เพิ่มซอฟต์แวร์มัลติทัชเข้าไปในระบบ หมวดหมู่:เทคโนโลยี.

ใหม่!!: ไอโอเอสและมัลติทัช · ดูเพิ่มเติม »

ยูนิกซ์

ูนิกซ์ (Unix แต่ชื่อตามเครื่องหมายการค้าคือ UNIX) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์แบบหลายงาน หลายผู้ใช้ ที่เริ่มพัฒนาโดยกลุ่มพนักงานของห้องปฏิบัติการ AT&T Bell Labs โดยกลุ่มนักพัฒนาที่เป็นที่รู้จัก คือ Ken Thompson, Dennis Ritchie และ Douglas McIlroy.

ใหม่!!: ไอโอเอสและยูนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วอยซ์โอเวอร์ไอพี

ลักษณะการเชื่อมต่อ Avaya 1140E วอยซ์โอเวอร์ไอพี โทรศัพท์ วอยซ์โอเวอร์ไอพี (Voice over IP: VoIP) (หรือชื่ออื่น IP Telephony, Internet telephony, หรือ Digital Phone) เป็นการสื่อสารทางเสียงผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือโครงข่ายอื่นๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล สัญญาณเสียงจะถูกตัดแบ่งเป็นแพ็คเก็ตวิ่งผ่านไปบนโครงข่ายที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลทั่วไป แทนการใช้วงจรเฉพาะตามวิธีการสื่อสารในระบบโทรศัพท์แบบดั้งเดิม เปรียบได้กับการให้รถยนต์วิ่งแทรกกันได้ตามช่องว่างที่มีอยู่ของถนน แทนการให้รถยนต์คันเดียวจองถนนวิ่งแบบผูกขาด ข้อดีของวอยซ์โอเวอร์ไอพีก็คือการสามารถใช้โครงข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถให้บริการได้ในอัตราค่าบริการที่ถูกลงมาก.

ใหม่!!: ไอโอเอสและวอยซ์โอเวอร์ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

วินโดวส์โฟน

วินโดวส์โฟน เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมบาย แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม..

ใหม่!!: ไอโอเอสและวินโดวส์โฟน · ดูเพิ่มเติม »

สมาร์ตโฟน

มาร์ทโฟน ไอบีเอ็มไซมอน สมาร์ทโฟนเครื่องแรกของโลก สมาร์ตโฟน หรือ สมาร์ตโฟน (smartphone, smart phone) เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีความสามารถเพิ่มเติมเหนือจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป สมาร์ตโฟนถูกมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่สามารถเชื่อมต่อความสามารถหลักของโทรศัพท์มือถือเข้ากับโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถติดตั้งโปรแกรมเสริมสำหรับเพิ่มความสามารถของโทรศัพท์ตัวเอง โดยรูปแบบนั้นขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มของโทรศัพท์และระบบปฏิบัติการ.

ใหม่!!: ไอโอเอสและสมาร์ตโฟน · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้

วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface, GUI อ่านว่า จียูไอ หรือ กูอี้) เป็นวิธีการใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านทางสัญลักษณ์หรือภาพนอกเหนือจากทางตัวอักษร จียูไอมีส่วนประกอบต่างๆ เช่น ไอคอน หน้าต่างการใช้งาน เมนู ปุ่มเลือก และการใช้เมาส์ หรือแม้แต่ในระบบทัชสกรีน จียูไอพัฒนาพัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยที่สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ดนำโดย ดัก เอนเกลบาร์ต (Doug Engelbart) โดยการใช้งานร่วมกับไฮเปอร์ลิงก์และเมาส์ ซึ่งภายหลังได้นำมาวิจัยต่อที่ศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค (Xerox PARC) โดยใช้งานระบบกราฟิกแทนที่ระบบตัวอักษร โดยบางคนจะเรียกระบบนี้ว่า PARC User Interface หรือ PUI ปลายคริสต์ทศวรรษที่ 1970 แอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้นำมาใช้ครั้งกับเครื่องแมคอินทอช ซึ่งภายหลังsteve job ได้เป็นosk121ทางไมโครซอฟท์ได้เลียนแบบความคิดมาใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ในปัจจุบันจียูไอเป็นที่นิยมโดยสามารถเห็นได้จากระบบปฏิบัติการ แมคอินทอช และ วินโดวส์ และล่าสุดในลินุกซ.

ใหม่!!: ไอโอเอสและส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ · ดูเพิ่มเติม »

ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้

วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface, UI) หมายถึง สิ่งที่มีไว้ให้ผู้ใช้ใช้ในการกระทำกับระบบหรือสิ่งของต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครื่องจักร เครื่องกล อุปกรณ์ใช้ไฟฟ้าใดๆ หรือระบบที่มีความซับซ้อนอื่นๆ เพื่อให้สิ่งๆนั้นทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้สามารถจัดได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: ไอโอเอสและส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ · ดูเพิ่มเติม »

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ใหม่!!: ไอโอเอสและจาวาสคริปต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูดับเบิลยูดีซี

รรยากาศงาน WWDC ปี 2005 การประชุมนักพัฒนาระดับโลก หรือเรียกโดยย่อว่า "ดับเบิลยูดับเบิลยูดีซี" (Worldwide Developers Conference หรือคำย่อ WWDC) เป็น การประชุมประจำปีของบริษัทแอปเปิล เพื่อแสดงสินค้าซอฟต์แวร์ และ ผลิตภัณฑ์ใหม่ของแอปเปิล โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปแล้วมีผู้เข้าร่วมงานปีละ 2,000-4,000 คน แต่ใน พ.ศ. 2550 นายสตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ประธานบริหารบริษัทแอปเปิลให้ข้อมูลว่ามีมากกว่า 5,000 คน การประชุมนี้จัดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2526 ที่เมืองมอนเตอเรย์ ในรัฐแคลิฟอร์เนี.

ใหม่!!: ไอโอเอสและดับเบิลยูดับเบิลยูดีซี · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์

ซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ หรือ ซอฟต์แวร์กรรมสิทธิ์ (proprietary software) คือ ซอฟต์แวร์ที่สิทธิ์ในการใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ถูกจำกัดหรือสงวนสิทธิ์ไว้โดยเจ้าของซอฟต์แวร์หรือผู้จัดทำ ผู้อื่นไม่สามารถนำมาใช้งาน ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือ เผยแพร่ ได้นอกจากได้รับอนุญาตในสิทธิ์นั้นจากเจ้าของ.

ใหม่!!: ไอโอเอสและซอฟต์แวร์จำกัดสิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีรี

ซีรี (Siri) เป็นซอฟต์แวร์ผู้ช่วยอัจฉริยะ (intelligent software assistant) และผู้นำร่องความรู้ (knowledge navigator) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนแอปพลิเคชันช่วยส่วนบุคคลสำหรับอุปกรณ์iOS แอปพลิเคชันนี้ใช้อินเตอร์เฟซผู้ใช้ภาษาธรรมชาติในการตอบคำถาม เสนอคำแนะนำ และดำเนินการปฏิบัติตามคำขอซึ่งได้รับมอบหมายไปยังชุดบริการเว็บ แอปเปิลอ้างว่าซอฟต์แวร์นี้ปรับให้เข้ากับความพึงใจส่วนตัวของผู้ใช้เมื่อเวลาผ่านไป และให้ผลเป็นของตัว เช่นเดียวกับการบรรลุภารกิจ เช่น การหาคำแนะนำร้านอาหารละแวกใกล้เคียง หรือถามทาง ซีรีเดิมเริ่มแรกเป็นแอปพลิเคชัน iOS ที่สามารถหาได้ใน App Store ซีรีตกเป็นกรรมสิทธิของบริษัทแอปเปิลเมื่อวันที่ 28 เมษายน..

ใหม่!!: ไอโอเอสและซีรี · ดูเพิ่มเติม »

แมคโอเอส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: ไอโอเอสและแมคโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

แอปเปิล (บริษัท)

ริษัทแอปเปิล (Apple Inc.) หรือในชื่อเดิม บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer Inc.) เป็นบริษัทในซิลิคอนแวลลีย์ ทำธุรกิจเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แอปเปิลปฏิวัติคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะในยุค 70 ด้วยเครื่องแอปเปิล I และแอปเปิล II และแมคอินทอช ในยุค 80 ปัจจุบันแอปเปิลมีชื่อเสียงด้านฮาร์ดแวร์ เช่น ไอแมค ไอพอด ไอโฟน ไอแพด และร้านขายเพลงออนไลน์ไอทูน.

ใหม่!!: ไอโอเอสและแอปเปิล (บริษัท) · ดูเพิ่มเติม »

แอปเปิลทีวี

แอปเปิลทีวี (Apple TV) คือเครื่องเล่นสื่อดิจิตอล (digital media player) ที่ถูกพัฒนาและขายโดย Apple Inc. เป็นการรวมอุปกรณ์เครือข่ายขนาดเล็ก (small network appliance) และเครื่องสร้างความบันเทิงที่สามารถในรับข้อมูลแบบดิจิตอลได้หลายรูปแบบรวมถึงข้อมูลแบบสตรีม (stream)ให้สามารถแสดงผลผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ได้.

ใหม่!!: ไอโอเอสและแอปเปิลทีวี · ดูเพิ่มเติม »

แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)

ซัมซุง กาแลคซี โน้ต แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ในอดีตถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันได้แพร่ไปยังอุปกรณ์หลายชนิดเพราะเป็นมาตรฐานเปิด เช่น Nikon S800C กล้องดิจิตอลระบบแอนดรอยด์ หม้อหุงข้าว Panasonic ระบบแอนดรอยด์ และ Smart TV ระบบแอนดรอยด์ รวมถึงกล่องเสียบต่อ TV ทำให้สามารถใช้ระบบแอนดรอยด์ได้ด้วย Android Wear นาฬิกาข้อมือระบบแอนดรอด์ เป็นต้น ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี..

ใหม่!!: ไอโอเอสและแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ) · ดูเพิ่มเติม »

แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์

แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (tablet computer) เรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ตพีซี หรือ แท็บเล็ต เป็นคอมพิวเตอร์ที่รวมการทำงานทุกอย่างไว้ในจอสัมผัสโดยใช้ปากกาสไตลัส ปากกาดิจิทัล หรือปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน แทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ แต่มีอยู่หรือไม่มีก็ได้มีอุปกรณ์ไร้สายสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและระบบเครือข่ายภายใน.

ใหม่!!: ไอโอเอสและแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ใหม่!!: ไอโอเอสและไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

ไอพอด

รุ่นต่างๆของไอพอด สัญลักษณ์ของอุปกรณ์ที่ทำขึ้นสำหรับไอพอด ไอพอด (iPod) เป็นชื่อของเครื่องฟังเพลงพกพาของบริษัทแอปเปิล คอมพิวเตอร์ ไอพอดใช้ฮาร์ดดิสก์ในการเก็บข้อมูล แต่ในรุ่นไอพอดชัฟเฟิล ไอพอดนาโน และ ไอพอดทัช จะใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ไอพอดสามารถใช้เก็บข้อมูลสำหรับแลกเปลี่ยนระหว่างคอมพิวเตอร์ได้ (ขึ้นอยู่กับขนาดของหน่วยความจำในแต่ละรุ่น) แนวคิดของเครื่องฟังเพลงพกพาคิดค้นขึ้นโดยนายเคน แครมเมอร์ เมื่อเขาอายุ 23 ปี เครื่องฟังเพลงพกพาเครื่องแรกที่เขาประดิษฐ์ใช้ชื่อว่า ไอเอกซ์ไอ มีขนาดประมาณบัตรเครดิต สามารถบันทึกเพลงในหน่วยความจำได้ประมาณ 3 นาที 30 วินาที เมื่อพ.ศ. 2531 ลิขสิทธิ์ของไอเอกซ์ไอหมดลง ต้องใช้เงินจำนวน 3.6 ล้านบาทเพื่อต่อสิขสิทธิ์ใน 120 ประเทศ แต่เขาไม่สามารถหาเงินจำนวนนั้นได้ สิขสิทธิ์ไอเอกซ์ไอจึงขาด ทำให้ไอเอกซ์ไอกลายเป็นสาธารณสมบัติในที่สุด ไอพอดรุ่นแรกได้รับการตั้งชื่อใหม่ว่า ไอพอดคลาสสิก (iPod classic) เพื่อแบ่งแยกกับไอพอดรุ่นใหม.

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอพอด · ดูเพิ่มเติม »

ไอพอดทัช

อพอดทัช (iPod touch) เป็นเครื่องเล่นดนตรีแบบพกพาในสายการผลิตไอพอด ผลิตโดยบริษัทแอปเปิล โดยประกาศในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550 และจะวางจำหน่ายในช่วงสิ้นเดือนกันยายน ไอพอดทัชเป็นไอพอดที่ได้รับการคัดลอกในส่วนของโครงสร้างให้คล้ายกับไอโฟนโดยตัดคุณสมบัติการโทรและการเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายเซลูลาร์แต่ไอพอดทัชสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทางระบบวาย-ฟาย (802.11b/g) ด้วยเว็บเบราว์เซอร์ซาฟารี นอกจากนี้ไอพอดทัชยังสามารถดาวน์โหลดเพลงได้จากไอทูนส์และจากการซิ้งส์จากเคือคอมพิวเตอร์โดยใช้โปรแกรมไอทูนส์ ไอพอดทัชมีสี่รุ่นความจุคือรุ่น 8,16,32,64 และ 128 จิกะไบต์ (128 จิกะไบต์ มีเฉพาะ iPod touch รุ่นที่ 6).

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอพอดทัช · ดูเพิ่มเติม »

ไอแพด

อแพด (iPad) คือแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบและพัฒนาโดยบริษัทแอปเปิล โดยมีหน้าที่หลักในด้านมัลติมีเดียในด้าน ภาพยนตร์ เพลง เกม อีบุ๊ก และท่องเว็บไซต์ ขนาดและน้ำหนักของไอแพดมีขนาดเบากว่าแล็ปท็อป โดยมีน้ำหนัก 680 กรัม และ 601 กรัม สำหรับไอแพดรุ่นแรกและไอแพดรุ่นสองตามลำดับ ไอแพดเริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 (รุ่น Wi-fi) และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 (รุ่น Wi-fi พร้อมกับ 3G) โดยไอแพดสามารถทำยอดขายได้ถึง 3 ล้านเครื่องในช่วงเวลาเพียง 80 วัน ส่วนการวางจำหน่าย ผ่านตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย เพิ่งเริ่มเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 ไอแพดมาพร้อมกับเทคโนโลยี Multi Touch สามารถเล่นวิดีโอ, ฟังเพลง, ดูรูปภาพและเล่นอินเทอร์เน็ตได้ ไอแพดมีหน้าจอขนาด 9.7 นิ้ว มีความละเอียด 768 x 1024 พิกเซล หนา 0.5 นิ้ว ใช้ซีพียู Apple A4 ที่พัฒนาขึ้นเองโดยบริษัทแอปเปิล และในปัจจุบันไอแพดรุ่นล่าสุดมีชื่อว่า iPad Air 2 ซึ่งมีความเร็วมากกว่า iPad Air ถึง 2.5 เท่า ซึ่งมีความคมชัดกว่า HD ทีวีมาก มีน้ำหนักเพียง 469 กรัม (เดิม 652) มีกล้องแบบใหม่คือ iSight มีความละเอียด 8 MegaPixel มีจอ Multitouch ขนาด 9.7 นิ้ว ใช้ซีพียู Apple A8X สามารถใช้เครือข่าย 4G LTE (Long term Evolution) ได้ มีสองรุ่นให้เลือกคือ Wifi กับ Wifi+4G ในปัจจุบันใช้ระบบปฏิบัติการล่าสุดคือ iOS 8.1.1.

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอแพด · ดูเพิ่มเติม »

ไอแพด มินิ

อแพด มินิ (อังกฤษ: iPad mini) เป็นอุปกรณ์ประเภทแท็บเล็ต รุ่นที่ 5 ของบริษัท แอปเปิล เปิดตัวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม..

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอแพด มินิ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโฟน

อโฟน (iPhone) เป็นโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและมัลติมีเดีย ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทแอปเปิล โดยการทำงานของไอโฟนสามารถใช้งานส่งอีเมล ใช้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่งเอสเอ็มเอส ท่องอินเทอร์เน็ตผ่านทางซอฟต์แวร์ซาฟารี ค้นหาแผนที่ ฟังเพลง และความสามารถอื่น โดยมีอุปกรณ์หลักประกอบด้วย Wi-Fi (802.11b/g) บลูทูธ 2.0 และกล้องถ่ายภาพ 2.0-megapixel ไอโฟนรุ่นแรกมีลักษณะ 2.5G quad band GSM และ EDGE และรุ่นที่สองใช้ UMTS และ HSDPA แอปเปิลได้เปิดเผยไอโฟนรุ่นแรกโดย สตีฟ จอบส์ ในงานแม็คเวิลด์ วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และวางจำหน่ายครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ไอโฟนได้ชื่อว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ยอดเยี่ยมประจำปีจากนิตยสารไทม์ ประจำปี 2550 โดยมีรุ่นถัดมาคือ ไอโฟน 3G ไอโฟน 3GS ไอโฟน 4 ไอโฟน 4S ไอโฟน 5 ไอโฟน 5C ไอโฟน 5S ไอโฟน 6 ไอโฟน 6พลัส ไอโฟน 6S ไอโฟน 6Sพลัส และ ไอโฟนSE โดยApple.Inc ได้เปิดตัวไอโฟนSE ซึ่งเปิดตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559 ที่กลับไปใช้ขนาดหน้าจอเดียวกับไอโฟน 5S เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งไม่ชอบขนาดหน้าจอของไอโฟน 6, 6S, 6พลัสและ 6Sพลัส ซึ่งมีขนาดใหญ่เกินไป โดยไอโฟน SE มีสเปคเครื่องที่ดีกว่า iPhone 5S เช่น ในเรื่องของความเร็ว ที่เร็วกว่าสองถึงสามเท่า รวมทั้งปรับส่วนต่าง ๆ ให้เกือบเทียบเท่าไอโฟน 6S ต่อมาได้พัฒนาไอโฟนรุ่นต่อไปคือไอโฟน7 และไอโฟน7 พลัส ไอโฟนรุ่นล่าสุดคือ ไอโฟน8 ไอโฟน8 พลัส ไอโฟนเอ็กซ.

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอโฟน · ดูเพิ่มเติม »

ไอโฟน 3จี

อโฟน 3จี (iPhone 3G) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัสที่พัฒนาโดย บริษัทแอปเปิล ซึ่งเป็นรุ่นที่สองของ ไอโฟน ต่อมาจากรุ่น ไอโฟน รุ่นแรกถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอโฟน 3จี · ดูเพิ่มเติม »

ไอโฟน 4

อโฟน 4 (iPhone 4) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัส ที่พัฒนาโดย บริษัทแอปเปิล ซึ่งเป็นรุ่นที่สี่ของ ไอโฟน ต่อมาจากรุ่น ไอโฟน 3จีเอส ถูกออกแบบเฉพาะสำหรับการใช้งานด้านการโทรศัพท์ โดยมีสัญญาณภาพ (ในชื่อ เฟซไทม์) การอ่านหนังสืออีบุค, การดูวิดีโอ, ฟังเพลง, เล่นเกม และ อินเทอร์เน็ต ถูกประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอโฟน 4 · ดูเพิ่มเติม »

ไอโฟน 4เอส

อโฟน 4เอส (iPhone 4S) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัสที่พัฒนาโดย บริษัทแอปเปิล ซึ่งเป็นรุ่นที่ห้าของ ไอโฟน ต่อมาจากรุ่น ไอโฟน 4 โดยเปิดตัวเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ในงาน Let's talk iPhone ณ สำนักงานใหญ่แอปเปิล เมืองคูเปอร์ทิโน่ เป็นรุ่นที่พัฒนาต่อยอดมาจาก iPhone 4 ซึ่งภายนอกมีลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก โดยรุ่นนี้มีการแก้ไขปัญหาสัญญาณตกที่เกิดกับ ไอโฟน 4 ในส่วนของระบบประมวลผลได้เปลี่ยนไปใช้ชิพ Apple A5 แบบเดียวกับ ไอแพด 2 และมีการเพิ่มความจุในรุ่น 64GB เข้าม.

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอโฟน 4เอส · ดูเพิ่มเติม »

ไอโฟน 5

อโฟน 5 (iPhone 5) คือสมาร์ตโฟนระบบจอสัมผัสที่พัฒนาโดย บริษัทแอปเปิล ซึ่งเป็นรุ่นที่หกของ ไอโฟน ต่อมาจากรุ่น ไอโฟน 4เอส โดยมีงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 กันยายน..

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอโฟน 5 · ดูเพิ่มเติม »

ไอโอเอส

อโอเอส (ก่อนหน้านี้ใช้ชื่อ ไอโฟนโอเอส) คือระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพา (สมาร์ตโฟน,แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์) พัฒนาและจำหน่ายโดยแอปเปิล (บริษัท) เปิดตัวครั้งแรกในปี 2007 เพื่อใช้บนไอโฟน และได้มีการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อใช้บนอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ของแอปเปิล เช่น ไอพอดทัช (ในเดือนกันยายน 2007), ไอแพด (ในเดือนมกราคม 2010), ไอแพด มินิ (พฤศจิกายน 2012) และ แอปเปิลทีวี รุ่นที่ 2 (ในเดือนกันยายน 2010) ไอโอเอสแตกต่างจากวินโดวส์โฟนของไมโครซอฟท์และแอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการ)ของกูเกิล ตรงที่แอปเปิลไม่อนุญาตให้นำไอโอเอสไปติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ของแอปเปิล ในเดือนสิงหาคม 2013 แอปสโตร์ของแอปเปิลมีแอปพลิเคชันมากกว่า 900,000 แอปพลิเคชัน และ 375,000 ที่ออกแบบมาเพื่อ ไอแพด แอปพลิเคชันเหล่านี้มียอดดาวโหลดน์รวมกันมากกว่า 5 หมื่นล้านครั้ง ไอโอเอสมีส่วนแบ่ง 21% ของส่วนแบ่งระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาในไตรมาสที่ 4 ของปี 2012 ซึ่งเป็นรองจากแอนดรอยของกูเกิลเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2012 ไอโอเอสมีส่วนแบ่งคิดเป็น 65% ของการบริโภคข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (ซึ่งรวม ไอพอดทัช และ ไอแพด) ในกลางปี 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอสมากกว่า 410 ล้านเครื่องที่เปิดใช้งาน จากการอ้างอิงจากงานแถลงเปิดตัวต่อสื่อโดยแอปเปิลใน วันที่ 12 กันยายน 2012 มีอุปกรณ์ไอโอเอส 400 ล้านตัวที่จำหน่ายไปแล้วในเดือนมิถุนายน 2012 ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (user interface) ของไอโอเอสมีพื้นฐานแนวคิดมาจาก "การควบคุมโดยตรง" (direct manipulation) ด้วยการใช้มัลติทัช องค์ประกอบของการควบคุมก็คือการใช้นิ้วเลื่อน, สวิทช์ และปุ่ม เพื่อเป็นการควบคุมอุปกรณ์รวมถึงท่าทางอย่างอื่น เช่น การนำนิ้วมือ (มากกว่าสองนิ้ว) บีบเข้าหาศูนย์กลาง (swipe), แตะเบาๆ (tap), การนำนิ้วสองนิ้วบีบเขาหาศูนย์กลาง (pinch), การนำนิ้วสองนิ้วกางออกจากศูนย์กลาง (reverse pinch) ซึ่งทั้งหมดนี้มีความหมายที่เจาะจงในบริบทต่างๆ ของไอโอเอสและถือเป็นการใช้งานแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้แบบมัลติทัช ภายในอุปกรณ์ที่ติดตั้งไอโอเอสจะมีเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวเพื่อใช้กับบางแอปพลิเคชันเพื่อตอบสนองการสั่นของอุปกรณ์ หรือการหมุนอุปกรณ์ที่คำนวณในรูปแบบสามมิติ ไอโอเอสมีต้นกำเนิดมาจากแมคโอเอสเท็นซึ่งได้รากฐานมาจากดาร์วินและแอปพลิเคชันเฟรมเวริค์ต่างๆ ไอโอเอสคือรุ่นพกพาของแมคโอเอสเท็นที่ใช้บนคอมพิวเตอร์ของแอปเปิล รุ่นหลักของไอโอเอสจะมีการเปิดตัวทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปล่อยตัว iOS 10 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุดในวันที่ 13 มิถุนายน..

ใหม่!!: ไอโอเอสและไอโอเอส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

IOSIOS (Apple)IPhone OSIosIos5ไอโอเอส (ระบบปฏิบัติการ)ไอโอเอส (แอปเปิล)ไอโฟนโอเอส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »