โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โอเพินสตรีตแมป

ดัชนี โอเพินสตรีตแมป

อเพินสตรีตแมป (OpenStreetMap (ย่อ: OSM)) เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อสร้างแผนที่เสรีที่แก้ไขได้ของโลก แผนที่ต่าง ๆ ดังกล่าว ถูกสร้างโดยข้อมูลจากอุปกรณ์ GPS แบบพกพา ภาพถ่ายทางอากาศ และแหล่งข้อมูลเสรีอื่น ๆ หรือง่าย ๆ จากความรู้ท้องถิ่น ทั้งรูปที่ถูกสร้างและกราฟิกเวกเตอร์เปิดให้ดาวน์โหลดภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 2.0 OpenStreetMap ได้แรงบันดาลใจจากเว็บไซต์อย่างวิกิพีเดีย ที่แผนที่แสดงปุ่ม 'แก้ไข' ที่เห็นได้อย่างชัดเจนและประวัติการแก้ไขทั้งหมดถูกบันทึกไว้ ผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วสามารถส่งปูมเส้นทาง GPS และแก้ไขข้อมูลเวกเตอร์ โดยใช้เครื่องมือแก้ไขที่มีให้.

9 ความสัมพันธ์: ชุมชนเสมือนยาฮู!ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลกวิกิพีเดียวิกิแมเปียสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ครีเอทีฟคอมมอนส์เคมบริดจ์เนื้อหาเสรี

ชุมชนเสมือน

ชุมชนเสมือน หรือ ประชาคมเสมือน คือเครือข่ายสังคมประเภทหนึ่งสำหรับปัจเจกบุคคล ผู้ซึ่งโต้ตอบกันผ่านสื่อเฉพาะ โดยอาจสื่อสารข้ามพรมแดนทางภูมิประเทศหรือทางการเมือง เพื่อที่จะบรรลุความสำเร็จหรือสิ่งที่สนใจร่วมกัน ชุมชนเสมือนที่แพร่หลายที่สุดชนิดหนึ่งคือบริการเครือข่ายสังคม อันประกอบด้วยชุมชนออนไลน์ที่หลากหลาย ชุมชนเสมือนเป็นคำที่นำมาประกอบกับหนังสือของชื่อเดียวกันโดย Howard Rheingold, ตีพิมพ์ในปี 1993 หนังสือซึ่งจะได้รับการพิจารณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสังคม, วางการวิจัยทางสังคมศาสตร์, กล่าวถึงการผจญภัยของเขาในสบายและเป็นต้นลงในช่วงของการติดต่อสื่อสารคอมพิวเตอร์ - mediated และกลุ่มทางสังคม, การขยายออกไปยังวิทยาการสารสนเทศ เทคโนโลยีรวม Usenet, น้ำโคลนจาก (Multi - User Dungeon) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของพวกเขา MUSHes และ MOOs, Internet Relay Chat (IRC) ห้องสนทนาและรายชื่อผู้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เวิลด์ไวด์เว็บที่เรารู้ว่าวันนี้เป็นวันยังไม่ได้ใช้โดยคนจำนวนมาก ชุมชนเสมือนเป็นเครือข่ายทางสังคมของบุคคลที่มีปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อที่เฉพาะเจาะจงอาจเกิดขึ้นข้ามขอบเขตทางภูมิศาสตร์และการเมือง เพื่อที่จะติดตามผลประโยชน์หรือเป้าหมาย หนึ่งในประเภทที่แพร่หลายมากที่สุดของชุมชนเสมือนรวมบริการเครือข่ายทางสังคมซึ่งประกอบด้วยชุมชนออนไลน์ต่างๆ หมวดหมู่:วัฒนธรรมอินเทอร์เน็ต หมวดหมู่:ความเป็นจริงเสมือน หมวดหมู่:สังคมสารสนเทศ หมวดหมู่:การประมวลสารสนเทศทางสังคม.

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและชุมชนเสมือน · ดูเพิ่มเติม »

ยาฮู!

ู! (Yahoo! Inc.) คือบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสัญชาติอเมริกันซึ่งประกอบไปด้วยเว็บท่า, เสิร์ชเอนจิน, Yahoo! Directory, Yahoo! Mail, Yahoo! News, Yahoo! Photos (ซึ่งในวันที่ 20 กันยายน ปี 2550 ได้โอนไปรวมเข้ากับ Flickr), ฯลฯ ยาฮู! ก่อตั้งขึ้นโดยนักศึกษาปริญญาเอกสองคนจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เจอร์รี่ หยาง (Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล (David Filo) ในเดือนมกราคมปี 1994 และเริ่มดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทครั้งแรกในวันที่ 2 มีนาคม ปี 1995 ปัจจุบัน ยาฮู! มีบริษัทมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองซันนีเวล รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา อ้างอิงสถิติการเยี่ยมชมเว็บไซต์ (รวมถึงอเล็กซ่า และเน็ตคราฟต์) ยาฮู! ยังคงเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต ด้วยจำนวนผู้ใช้ 412 ล้านคน เครือข่ายของยาฮู! ทั่วโลกมีเพจวิวโดยเฉลี่ยกว่า 3.4 พันล้านหน้าต่อวัน (อัปเดตเมื่อเดือนตุลาคม 2005) ปัจจุบันยาฮู! เปิดให้บริการในประเทศไทยด้วยและเริ่มเปิดตัวในประเทศไทยด้วย หรือ Yahoo! Answers ในภาคภาษาไท.

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและยาฮู! · ดูเพิ่มเติม »

ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก

วาดแสดงดาวเทียม NAVSTAR ของสหรัฐ เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส KAMAZ NAAV450 เครื่องรับสัญญาณจีพีเอส แมเกลลัน เบลเซอร์ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก เรียกย่อว่า จีพีเอส (Global Positioning System: GPS) หรือรู้จักในชื่อ นาฟสตาร์ (Navstar) คือระบบดาวเทียมนำร่องโลก (์Global Navigation Satellite System: GNSS) เพื่อระบุข้อมูลของตำแหน่งและเวลาโดยอาศัยการคำนวณจากความถี่สัญญาณนาฬิกาที่ส่งมาจากตำแหน่งของดาวเทียมต่างๆ ที่โคจรอยู่รอบโลกทำให้สามารถระบุตำแหน่ง ณ จุดที่สามารถรับสัญญาณได้ทั่วโลกและในทุกสภาพอากาศ รวมถึงสามารถคำนวณความเร็วและทิศทางเพื่อนำมาใช้ร่วมกับแผนที่ในการนำทางได้.

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก · ดูเพิ่มเติม »

วิกิพีเดีย

วิกิพีเดีย (Wikipedia, หรือ) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 35 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.9 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน จนถึงเดือนเมษายน..

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและวิกิพีเดีย · ดูเพิ่มเติม »

วิกิแมเปีย

วิกิแมเปีย (WikiMapia) เป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้น เพื่อรวมการใช้งานแบบวิกิพีเดีย และ กูเกิลแมป เข้าด้วยกัน โดยใช้ เว็บ 2.0 เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Alexandre Koriakine และ Evgeniy Saveliev เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2006 โครงการวิกิแมเปีย ไม่เกี่ยวข้องกับ วิกิพีเดีย หรือ มูลนิธิวิกิมีเดีย แต่มีข้อความระบุไว้บนเว็บไซต์ว่า "ได้รับแรงบันดาลใจจากวิกิพีเดีย".

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและวิกิแมเปีย · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์

ัญลักษณ์ครีเอทีฟคอมมอนส์ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์จำนวนหนึ่ง ประกาศใช้เมื่อ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2002 โดยครีเอทีฟคอมมอนส์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 2001.

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ครีเอทีฟคอมมอนส์

รีเอทีฟคอมมอนส์ ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม ครีเอทีฟคอมมอนส์ก่อตั้งโดย ลอว์เรนซ์ เลสสิก ซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดย โจอิจิ อิโต (จอย อิโต).

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและครีเอทีฟคอมมอนส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคมบริดจ์

มบริดจ์ (Cambridge) เป็นเมืองมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ในอังกฤษ สหราชอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางการปกครองของเคมบริดจ์เชียร์ เมืองอยู่ห่างจากลอนดอนไปทางเหนือ-ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 80 กม. และห้อมล้อมไปด้วยเมืองและหมู่บ้านขนาดเล็กจำนวนหนึ่ง เมืองนี้ยังเป็นหัวใจของศูนย์เทคโนโลยีชั้นสูง ที่รู้จักกันในชื่อ ซิลิคอนเฟน (Silicon Fen) และเป็นส่วนสำคัญของเขตอุตสาหกรรมความรู้ ออกซ์ฟอร์ด-เคมบริดจ์อาร์ก (Oxford-Cambridge Arc) เมืองเคมบริดจ์เป็นที่รู้จักมากที่สุดจากการเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ จากการสำรวจสำมะโนประชากร เมื่อปี ค.ศ. 2001 มีประชากร 108,863 คน (รวมนักเรียน 22,153 คน).

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อหาเสรี

เนื้อหาเสรี หมายถึงผลงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ งานศิลปะ หรือผลงานสร้างสรรค์อื่นรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งเป็นไปตามคำจำกัดความของเนื้อหาเสรี หมายความว่าเนื้อหานั้นจะต้องไม่มีข้อจำกัดทางกฎหมายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการนำไปใช้ แจกจ่ายสำเนา ดัดแปลง และแจกจ่ายผลงานที่ได้รับการดัดแปลงแล้ว เนื้อหาเสรีแตกต่างจาก "เนื้อหาเปิด" ตรงที่ว่าเนื้อหาเสรีสามารถดัดแปลงได้ เนื้อหาเสรีครอบคลุมผลงานทั้งหมดที่เป็นสาธารณสมบัติและยังรวมไปถึงผลงานลิขสิทธิ์ซึ่งได้รับอนุญาตและสนับสนุนเสรีภาพดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น เนื้องจากกฎหมายลิขสิทธิ์ในหลายประเทศกำหนดให้ผู้ถือลิขสิทธิ์มีเอกสิทธิ์เหนือผลงานของตนโดยปริยาย ดังนั้นเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์จะต้องได้รับการประกาศอย่างชัดเจนว่าเป็นเนื้อหาเสรี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการอ้างอิงหรือการแทรกสัญญาอนุญาตจากภายในผลงานนั้น ถึงแม้ว่าผลงานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติเนื่องจากลิขสิทธิ์คุ้มครองหมดอายุไปจะถือว่าเป็นเนื้อหาเสรี แต่เนื้อหานั้นก็อาจกลับมาเป็น "ไม่เสรี" อีกครั้งหนึ่งหากกฎหมายลิขสิทธิ์มีการแก้ไข.

ใหม่!!: โอเพินสตรีตแมปและเนื้อหาเสรี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

OpenStreetMap

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »