โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เครือข่ายสังคม

ดัชนี เครือข่ายสังคม

รือข่ายสังคม หมายถึงโครงสร้างทางสังคมที่สร้างขึ้นจากกลุ่มของผู้กระทำ (เช่นปัจเจกบุคคลหรือองค์การ) และความสัมพันธ์ทวิภาคระหว่างผู้กระทำเหล่านี้ ทัศนมิติเครือข่ายสังคมช่วยให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างของหน่วยสังคมทั้งมวลได้อย่างกระจ่างแจ้ง การศึกษาโครงสร้างเหล่านี้ใช้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมเพื่อระบุแบบอย่างท้องถิ่นหรือทั่วโลก ค้นหาหน่วยสังคมที่มีอิทธิพล และตรวจวัดพลวัตของเครือข่าย เครือข่ายสังคมและการวิเคราะห์เป็นสาขาวิชาสหวิทยาการโดยแท้ อันปรากฏขึ้นจากจิตวิทยาสังคม สังคมวิทยา สถิติศาสตร์ และทฤษฎีกราฟ จอร์จ ซิมเมิล (Georg Simmel) ได้แต่งตำราเกี่ยวกับทฤษฎีเชิงโครงสร้างในสังคมวิทยา เพื่อเน้นให้เห็นถึงพลวัตของความสัมพันธ์ไตรภาคและ "ข่ายโยงใยของการเข้าร่วมกลุ่ม" จาค็อบ โมเรโน (Jacob Moreno) ก็มีชื่อเสียงในเรื่องการพัฒนาผังสังคมมิติ (sociogram) ขึ้นเป็นคนแรกในคริสต์ทศวรรษ 1930 เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แนวการศึกษาเหล่านี้ถูกทำให้เป็นระเบียบแบบแผนเชิงคณิตศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1950 จากนั้นทฤษฎีและวิธีการต่าง ๆ ของเครือข่ายสังคมก็เป็นที่แพร่หลายในสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ปัจจุบันนี้การวิเคราะห์เครือข่ายสังคมเป็นหนึ่งในกระบวนทัศน์หลักของสังคมวิทยาร่วมสมัย และถูกนำไปใช้ในศาสตร์เชิงสังคมและรูปนัยอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้เครือข่ายสังคมก่อร่างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสาขาวิชาวิทยาการเครือข่ายที่เพิ่งเริ่มต้น ควบคู่ไปกับเครือข่ายซับซ้อนอื่น.

4 ความสัมพันธ์: สังคมวิทยาสถิติศาสตร์จิตวิทยาสังคมทฤษฎีกราฟ

สังคมวิทยา

ังคมวิทยา (อังกฤษ: sociology) คือ วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับชีวิตทางสังคมของมนุษย์, กลุ่มคน, และสังคม สิ่งที่สาขาวิชานี้สนใจคือ กฎเกณฑ์ และกระบวนการทางสังคม ที่ยึดเหนี่ยวหรือแบ่งแยกผู้คน ทั้งในสภาวะที่เป็นปัจเจก และในฐานะของสมาชิกของสมาคม, กลุ่ม, หรือสถาบัน สังคมวิทยาสนใจพฤติกรรมมนุษย์ ในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิตทางสังคม ดังนั้นการศึกษาทางด้านนี้ จึงครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์การพบปะกันของคนที่ไม่รู้จักกันบนท้องถนน ไปจนถึงการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสังคมในระดับโลก.

ใหม่!!: เครือข่ายสังคมและสังคมวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ใหม่!!: เครือข่ายสังคมและสถิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยาสังคม

ตวิทยาสังคม คือกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาหาคำอธิบายว่าความคิด, ความรู้สึก และพฤติกรรมต่าง ๆ ของคน ได้รับผลกระทบหรืออิทธิพลจากการแสดงออก, จากการจินตนาการหรือการแสดงนัยของผู้อื่นอย่างไร นิยามของคำว่า ความคิด, ความรู้สึก, พฤติกรรม ใช้ในความหมายที่รวมถึงตัวแปรทางจิตวิทยาที่สามารถวัดปริมาณได้ การที่เราสามารถถูกจินตนาการหรือเป็นนัยที่ผู้อื่นแสดงออกมา แสดงให้เห็นว่าคนเรามีแนวโน้มที่จะได้รับอิทธิพลทางสังคม (หรืออาจเรียกว่าเป็นแรงกดดันทางสังคม) ซึ่งแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่อยู่ตัวคนเดียวก็ได้รับอิทธิพลเช่นกัน เช่นในเวลาที่เราดูโทรทัศน์, การใช้หรือโต้ตอบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เกมส์, อินเทอร์เน็ต) หรือการทำตามบรรทัดฐานหรือธรรมเนียมของสังคม การร่วมมือ คือเป็นสถานการณ์ที่สมาชิกในกลุ่มมีการทำงานร่วมกัน หรือช่วยกันทำงานให้บรรลุเป้าหมายของกลุ่ม ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการร่วมมือ มีหลายปัจจัยด้วยกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมของทีมงานนั้นๆแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วย 2 ปัจจัยคือ 1.เต็มใจที่จะทำงานนั้น ผู้ที่มีความเต็มใจทำงาน ถ้างานที่เราทำนั้นเราเต็มใจที่จะทำงานๆนั้นก็จะออกมา เต็มประสิทธิภาพของตัวเราแต่ในทางกลับกันถ้าเราถูกบังคับ ให้ทำงานนั้น ประสิทธิภาพในการทำงานของเราก็จะลดลง 2.ความชำนาญ ทักษะที่จะทำงานนั้นออกมาให้มีคุณภาพถ้าขาดข้อนี้ไปต่อให้มีความเต็มใจในการทำงานก็ไม่สามารถทำงานนั้นออกมาได้คุณภาพ การร่วมมือกับประสิทธิภาพในการทำงาน การร่วมมือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการแข่งขันเนื่องด้วยสาเหตุของสิ่งตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจถ้าสิ่งตอบแทนนั้นมีเพียงแค่ไม่กี่คนที่ได้รับคนอื่นที่คิดว่าตนไม่ได้รับสิ่งตอบแทนนั้นแน่นอนก็จะเกิดไม่อยากทำงานนั้นๆส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานในภาครวมลดลงแต่ถ้าเกิดคนทุกคนได้รับสิ่งตอบแทนจากการทำงานนั้นแน่นอนงานก็จะดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ.

ใหม่!!: เครือข่ายสังคมและจิตวิทยาสังคม · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีกราฟ

กราฟที่มีจุดยอด 6 จุด และเส้นเชื่อม 7 เส้น ทฤษฎีกราฟ (graph theory) เป็นหนึ่งในสาขาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ศึกษาถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของกราฟ.

ใหม่!!: เครือข่ายสังคมและทฤษฎีกราฟ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »