เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

โทโคฟีรอล

ดัชนี โทโคฟีรอล

ทโคฟีรอล (tocopherol; ย่อ TCP) เป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารฟีนอลหมู่เมทิล หลายชนิดเกี่ยวข้องกับวิตามินอี แอลฟา-โทโคฟีรอล (α-tocopherol) พบมากในอาหารยุโรป โดยเฉพาะในน้ำมันมะกอกและน้ำมันดอกทานตะวัน ในขณะที่แกมมา-โทโคฟีรอล (γ-tocopherol) พบมากในอาหารอเมริกัน โดยเฉพาะในน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันข้าว.

สารบัญ

  1. 22 ความสัมพันธ์: มะพร้าวมะเขือเทศวอลนัตวิตามินอีสารประกอบอินทรีย์อัลมอนด์อนุมูลอิสระถั่วลิสงข้าวโพดข้าวโอ๊ตน้ำมันมะกอกน้ำมันวอลนัตน้ำมันดอกทานตะวันแพะแอลกอฮอล์โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลังโลหิตจางไฮดรอกซิลไฮโดรโฟบิกเกาลัดเลขอีเฮเซลนัต

  2. สารต้านอนุมูลอิสระในอาหาร
  3. สารเคมีในเครื่องสำอาง

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ดู โทโคฟีรอลและมะพร้าว

มะเขือเทศ

มะเขือเทศ (Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชน.

ดู โทโคฟีรอลและมะเขือเทศ

วอลนัต

มล็ดวอลนัต วอลนัต (walnut) เป็นพืชในตละกูล Juglandaceae ขนาดของต้นมีหลายขนาดสูงตั้งแต่ 10-40 และใบมีขนาดยาวตั้งแต่ 200-900 มม.

ดู โทโคฟีรอลและวอลนัต

วิตามินอี

วิตามินอี เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายหลายระบบ และเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยให้เซลล์ต่างๆ รอดอันตรายจากท็อกซิน ช่วยชะลอความแก่ได้.

ดู โทโคฟีรอลและวิตามินอี

สารประกอบอินทรีย์

มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด สารประกอบอินทรีย์ หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอน ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบคาร์ไบน์, คาร์บอเนต, ออกไซด์ของคาร์บอนและไซยาไนด์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอน อย่างเช่น เพชรและแกรไฟต์ ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชาเคมีอย่างกว้างขวาง...

ดู โทโคฟีรอลและสารประกอบอินทรีย์

อัลมอนด์

อัลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ ในภาษาอังกฤษ almond อ่านว่า อามึนด์ หรือ แอมึนด์ โดยไม่ออกเสียง l แต่ในภาษาไทยนิยมสะกดว่า อัลมอนด์ หรือ แอลมอนด์ (almond) เป็นพืชชนิดหนึ่งในสกุล Prunus เมล็ดรับประทานได้ เป็นพืชพื้นเมืองในตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ผลของอัลมอนด์เป็นผลแบบมีเมล็ดเดียว มีเปลือกชั้นนอกและและเปลือกแข็งหุ้มเมล็ดโดยที่ไม่จัดเป็นผลแบบนัท อัลมอนด์จะขายทั้งแบบที่เอาเปลือกออกแล้วหรือขายทั้งเปลือก หรือนำไปผ่านน้ำร้อนเพื่อทำให้เปลือกอ่อนลง และเอ็มบริโอยังคงเป็นสีขาว ไฟล์:Green almonds.jpg|อัลมอนด์เขียว ไฟล์:Mandel Gr 99.jpg| อัลมอนด์มีเปลือก (ซ้าย) และไม่มีเปลือก (ขวา) ไฟล์:Blanched_almonds.jpg|อัลมอนด์ที่ผ่านน้ำร้อน.

ดู โทโคฟีรอลและอัลมอนด์

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (radical หรือมักใช้ว่า free radical) คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือการจัดเรียงเป็นเชลล์เปิด (open shell) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน หน่วยพันธุกรรม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น.

ดู โทโคฟีรอลและอนุมูลอิสระ

ถั่วลิสง

ั่วลิสง หรือ ถั่วดิน จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว.

ดู โทโคฟีรอลและถั่วลิสง

ข้าวโพด

ลักษณะของข้าวโพด ''Zea mays "fraise"'' ''Zea mays "Oaxacan Green"'' ''Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”'' ข้าวโพด (Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว.

ดู โทโคฟีรอลและข้าวโพด

ข้าวโอ๊ต

้าวโอ๊ต เป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว.

ดู โทโคฟีรอลและข้าวโอ๊ต

น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก (olive oil) เป็นไขมันที่ได้มาจากมะกอกออลิฟ พืชต้นไม้แบบดั้งเดิมของทะเลลุ่มน้ำเมดิเตอร์เรเนียน น้ำมันที่ผลิตโดยการบดมะกอกทั้งหมดและการสกัดน้ำมันโดยใช้เครื่องกลหรือสารเคมี เป็นที่นิยมใช้ในการปรุงอาหาร, เครื่องสำอาง, ยา และสบู่ และเป็นเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันโคมไฟแบบดั้งเดิม น้ำมันมะกอกใช้อยู่ทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน.

ดู โทโคฟีรอลและน้ำมันมะกอก

น้ำมันวอลนัต

วดน้ำมันวอลนัต น้ำมันวอลนัต (Walnut oil) น้ำมันวอลนัตคือน้ำมันที่กลั่นจากวอลนัตเปอร์เซีย (Juglans regia).

ดู โทโคฟีรอลและน้ำมันวอลนัต

น้ำมันดอกทานตะวัน

น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นน้ำมันไม่ระเหยที่สกัดจากเมล็ดดอกทานตะวัน น้ำมันดอกทานตะวันเป็นที่นิยมใช้ในอาหารอย่างน้ำมันทอด และในสูตรเครื่องสำอางที่ทำให้ผิวนวล น้ำมันดอกทานตะวันมีการผลิตเชิงอุตสาหกรรมครั้งแรกในปี ค.ศ.

ดู โทโคฟีรอลและน้ำมันดอกทานตะวัน

แพะ

แพะ เป็นชนิดย่อยของแพะซึ่งทำให้เชื่องจากแพะป่าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้และยุโรปตะวันออก แพะนี้อยู่ในสกุล Bovidae และสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแกะเพราะต่างอยู่ในวงศ์ย่อยแกะและแพะ (Caprinae) มีแพะกว่า 300 สายพันธุ์Hirst, K.

ดู โทโคฟีรอลและแพะ

แอลกอฮอล์

รงสร้างของแอลกอฮอล์ ในทางเคมี แอลกอฮอล์ (alcohol) คือสารประกอบอินทรีย์ ที่มีหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ต่อกับอะตอมคาร์บอนของหมู่แอลคิลหรือหมู่ที่แทนแอลคิล สูตรทั่วไปของแอลกอฮอล์แบบอะลิฟาติกไฮโดรคาร์บอน (สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่เป็นสายตรง) คือ CnH2n+1OH โดยทั่วไป แอลกอฮอล์ มักจะอ้างถึงเอทานอลเกือบจะเพียงอย่างเดียว หรือเรียกอีกอย่างว่า grain alcohol ซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และสามารถระเหยได้ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาล นอกจากนี้ยังสามารถใช้อ้างถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นที่มาของคำว่าโรคพิษสุรา (alcoholism) เอทานอลเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กดประสาท ที่ลดการตอบสนองของระบบประสาทส่วนกลาง แอลกอฮอล์ชนิดอื่น ๆ จะอธิบายด้วยคำวิเศษณ์เพิ่มเติม เช่น isopropyl alcohol (ไอโซโพรพิล แอลกอฮอล์) หรือด้วยคำอุปสรรคว่า -ol เช่น isopropanol (ไอโซโพรพานอล).

ดู โทโคฟีรอลและแอลกอฮอล์

โรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง

รคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (spinocerebellar ataxia; spinocerebellar degeneration) เป็นโรคทางพันธุกรรมโรคหนึ่งซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหนทางเยียวยา ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวทางกายภาพไปโดยช้าจนกระทั่งหมดสิ้น โรคนี้มีหลายชนิด ซึ่งในแต่ละชนิดอาการแสดง อายุของผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรค และลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับตำแหน่งของยีนบนโครโมโซมของผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบ Kumar V, Abbas AK, Fausto N.

ดู โทโคฟีรอลและโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง

โลหิตจาง

ลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง ปรับปรุงเมื่อ 6..

ดู โทโคฟีรอลและโลหิตจาง

ไฮดรอกซิล

ำว่า หมู่ไฮดรอกซิล(hydroxyl group) ใช้ในการกล่าวถึงหมู่ฟังก์ชัน -OH ในสารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) สารประกอบอินทรีย์ที่ประกอบด้วยหมู่ไฮดรอกซิลเราจะเรียกว่าสารประเภทแอลกอฮอล์ (สูตรเคมีอย่างง่ายของแอลกอฮอล์คือ CnH2n+1 -OH).

ดู โทโคฟีรอลและไฮดรอกซิล

ไฮโดรโฟบิก

หยดน้ำบนใบไม้ที่มีสมบัติไฮโดรโฟบิก ไฮโดรโฟบิก (hydrophobic) ซึ่งหมายถึง ไม่ชอบน้ำ สารเหล่านี้ไม่สามารถแตกตัวให้ไอออนได้หรือเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้วจึงไม่สามารถยึดติดกับโมเลกุลของน้ำได้ ไฮโดรโฟบิก มีที่มาจากคำว่า ไฮโดร แปลว่าน้ำ และ โฟบิก แปลว่า กลัว ฮไฮโดรโฟบิก.

ดู โทโคฟีรอลและไฮโดรโฟบิก

เกาลัด

กาลัด เป็นไม้ยืนต้นที่อยู่ในสกุล Castanea ที่พบได้ในเขตภูมิอากาศเย็น ซึ่งนิยมเพาะปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อจำหน่ายเมล็ดในการบริโภค เป็นพืชคนละวงศ์กับเกาลัดไทย (Sterculia monosperma).

ดู โทโคฟีรอลและเกาลัด

เลขอี

รละลายไรโบเฟลวิน (วิตามินบี2) (E101) ผลึกโมโนโซเดียมกลูตาเมต (E621) เลขอี (E number; E มาจากคำว่า "ยุโรป") เป็นรหัสที่ใช้บ่งชี้วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้ในสหภาพยุโรป และสวิตเซอร์แลนด์ โดยวัตถุเจือปนอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการรับรองจากหน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารแห่งสหภาพยุโรป (EFSA).

ดู โทโคฟีรอลและเลขอี

เฮเซลนัต

ผลเฮเซลนัตสุก เฮเซลนัต (hazelnut) เป็นผลไม้ที่ได้จากพืชในสกุล Corylus โดยเฉพาะชนิด Corylus avellana ซึ่งอยู่ในวงศ์กำลังเสือโคร่ง (Betulaceae) มีถิ่นกำเนิดในยุโรปและเอเชียตะวันตก พืชชนิดนี้เป็นไม้พุ่มผลัดใบ สูง 3-8 เมตร ใบเป็นรูปกลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีขนที่ผิวใบ ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น ออกเป็นช่อแบบหางกระรอก ดอกเพศผู้มีสีเหลืองอ่อน ยาว 5-12 เซนติเมตร ส่วนดอกเพศเมียมีสีแดงสด มีขนาดเล็กมาก ผลออกเป็นกลุ่มมีเปลือกแข็ง ทรงกลมถึงรี ยาว 15-20 มิลลิเมตร กว้าง 12-20 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเหลือง เมื่อสุกจะแตกออก ในเฮเซลนัตอุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันไม่อิ่มตัว มีโฟเลตสูงที่สุดในบรรดาผลไม้เปลือกแข็งทั้งหมด เป็นส่วนผสมหลักในขนมพราลีน (praline) นอกจากนี้ยังมีผสมในช็อคโกแลตและเครื่องดื่มต่าง ๆ น้ำมันเฮเซลนัตมีประโยชน์หลายอย่าง มีใช้ในงานสุคนธบำบัด ผสมในเครื่องสำอาง และใช้เป็นน้ำมันประกอบอาหาร ตุรกีเป็นประเทศผู้ส่งออกเฮเซลนัตมากที่สุดในโลก คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ของตลาดทั่วโลกWorld Hazelnut Situation and Outlook, USDA 2004 รองลงมาคืออิตาลี สหรัฐอเมริกา อาเซอร์ไบจาน และจอร์เจี.

ดู โทโคฟีรอลและเฮเซลนัต

ดูเพิ่มเติม

สารต้านอนุมูลอิสระในอาหาร

สารเคมีในเครื่องสำอาง