โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะเขือเทศ

ดัชนี มะเขือเทศ

มะเขือเทศ (Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชน.

23 ความสัมพันธ์: บีตา-แคโรทีนฟลาโวนอยด์ฟอสฟอรัสพืชพืชดอกพืชใบเลี้ยงคู่กรดอะมิโนวิตามินซีวิตามินเอวิตามินเควงศ์มะเขือสกุลมะเขือส้มโอหลอดเลือดอันดับมะเขือความดันโลหิตสูงคาโรลัส ลินเนียสซอสมะเขือเทศแมกนีเซียมโพแทสเซียมโรคลักปิดลักเปิดไรโบเฟลวินไทอามีน

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

ใหม่!!: มะเขือเทศและบีตา-แคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลาโวนอยด์

ฟลาโวนอยด์ หรือไบโอฟลาโวนอยด์ เป็นเมทาบอไลต์ที่สองของพืชกลุ่มหนึ่ง ฟลาโวนอยด์เคยถูกเรียกว่า วิตามินพี อาจเนื่องจากผลต่อสภาพให้ซึมผ่านได้ของหลอดเลือดฝอย) ระหว่างกลางคริสต์ทศวรรษ 1930 ถึง 1950 แต่หลังจากนั้นไม่ใช้แล้ว ในทางเคมี,มีโครงสร้างที่มี 15 คาร์บอนโดยประกอบด้วย 2 วงฟีนิล(A และ B) และ 1 Heterocyclic ring เขียนย่อได้ว่า C6-C3-C6 ตามการเขียนของ IUPAC หมวดหมู่:สารอาหาร หมวดหมู่:โภชนาการ.

ใหม่!!: มะเขือเทศและฟลาโวนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส (phosphorus) เป็นธาตุอโลหะ เลขอะตอม 15 สัญลักษณ์ P ฟอสฟอรัสอยู่ในกลุ่มไนโตรเจน มีวาเลนซ์ได้มาก ปรากฏในหลายอัลโลโทรป พบทั้งในหินฟอสเฟต และเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกเซลล์ (ในสารประกอบในดีเอ็นเอ) เนื่องจากสามารถทำปฏิกิริยาได้สูง จึงไม่ปรากฏในรูปอิสระในธรรมชาติ คำว่า ฟอสฟอรัส มาจากภาษากรีกแปลว่า 'ส่องแสง' และ 'นำพา' เพราะฟอสฟอรัสเรืองแสงอ่อน ๆ เมื่อมีออกซิเจน หรือมาจากภาษาละติน แปลว่า 'ดาวประกายพรึก' ค้นพบประมาณปี 1669 โดยนักเล่นแร่แปรธาตุชาวเยอรมัน เฮนนิก แบรนด์ ในขณะที่ภาษาไทยในสมัยก่อน เรียก ฟอสฟอรัส ว่า 'ฝาสุภเรศ' ฟอสฟอรัสเป็นอโลหะอยู่ในหมู่ที่ VA หมู่เดียวกับธาตุไนโตรเจนในธรรมชาติไม่พบฟอสฟอรัสในรูปของธาตุอิสระ แต่จะพบในรูปของสารประกอบฟอสเฟตที่สำคัญได้แก่หินฟอสเฟต หรือแคลเซียมฟอสเฟต (Ca2(PO4)2) ฟลูออไรอะปาไทต์ (Ca5F (PO4)3) นอกจากนี้ยังพบฟอสฟอรัสในไข่แดง กระดูก ฟัน สมอง เส้นประสาทของคนและสัตว์ ฟอสฟอรัสสามารถเตรียมได้จากแคลเซียมฟอสเฟต โดยใช้แคลเซียมฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับคาร์บอนในรูปถ่านโค๊ก และซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2) ในเตาไฟฟ้า ฟอสฟอรัสเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย ปกติแล้วธาตุฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ำได้ยากซึ่งจะทำให้พืชดูดเอาไปใช้ได้ยากด้วย แม้แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินโดยตรงก็ประมาณกันไว้ว่า 80-90 % ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดนั้นจะถูกดินยึดไว้โดยการทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของ สารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยังขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปในดินประมาณ 80-90% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็นประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืชปุ๋ย ฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสีย ความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็นใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่าง ๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดิน อย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น ฟอสฟอรัสช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง สร้างแป้งและน้ำตาล เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและโมลิบดีนัมได้ดีขึ้น ธาตุนี้มักพบในรูปที่พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในดิน ส่วนใหญ่พืชจะแสดงอาการขาดธาตุนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามถ้าขาดธาตุฟอสฟอรัสราก พืชจะไม่เจริญ มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่าปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็.

ใหม่!!: มะเขือเทศและฟอสฟอรัส · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: มะเขือเทศและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชดอก

ืชดอก ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliophyta เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Angiospermae หรือ Angiosperms เป็นกลุ่มของพืชกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่ง มีดอกไม้ และเมล็ดเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเมล็ดจะกลายเป็นผลไม้ พืชดอกแบ่งได้ออกเป็นกลุ่มใหญ่ 8 กลุ่มดังนี้ เรียงตามจำนวนสปีชี.

ใหม่!!: มะเขือเทศและพืชดอก · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: มะเขือเทศและพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

กรดอะมิโน

กรดอะมิโน (amino acid) คือ ชีวโมเลกุลที่มีทั้งหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ในวิชาชีวเคมี คำว่า "กรดอะมิโน" มักหมายความถึงกรดอะมิโนแบบแอลฟา (alpha amino acids) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ทั้งหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลติดอยู่กับคาร์บอนอะตอมเดียวกัน เรียกว่า \alpha-คาร์บอน เรซิดีวของกรดอะมิโน (amino acid residue) คือกรดอะมิโนที่ถูกดึงโมเลกุลของน้ำออกไปหนึ่งโมเลกุล (ไฮโดรเจนไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่อะมิโน และไฮดรอกไซด์ไอออนหนึ่งไอออนจากหมู่คาร์บอกซิล) เรซิดีวของกรดมักเกิดขึ้นในขณะสร้างพันธะเพปไท.

ใหม่!!: มะเขือเทศและกรดอะมิโน · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินซี

วิตามินซี (vitamin C) หรือ กรดแอล-แอสคอร์บิก (L-ascorbic acid) หรือ แอสคอร์เบต (ascorbate) ซึ่งเป็นแอนไอออนของกรดแอสคอร์บิก เป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับมนุษย์และสัตว์อื่นบางชนิด และเป็นวิตามินประเภทที่ละลายในน้ำ วิตามินซีหมายถึงหลายวิตาเมอร์ซึ่งมีกัมมันตภาพวิตามินซีในสัตว์ ซึ่งรวมกรดแอสคอร์บิกและเกลือของมัน บางรูปอ็อกซิไดซ์ของโมเลกุลอย่างกรดดีไฮโดรแอสคอร์บิก แอสคอร์เบตและกรดแอสคอร์บิกมีอยู่ธรรมชาติในร่างกายเมื่อตัวใดตัวหนึ่งถูกนำเข้าเซลล์ เนื่องจากรูปแปลงไปมาได้ตาม pH วิตามินซีเป็นโคแฟกเตอร์ในปฏิกิริยาเอ็นไซม์อย่างน้อยแปดปฏิกิริยา ซึ่งรวมหลายปฏิกิริยาของการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งหากทำงานผิดปกติจะทำให้เกิดกลุ่มอาการรุนแรงของโรคลักปิดลักเปิด ในสัตว์ ปฏิกิริยาเหล่านี้สำคัญมากในการสมานแผลและการป้องกันเลือดออกจากหลอดเลือดฝอย แอสคอร์เบตยังมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อความเครียดอ็อกซิเดชัน (oxidative stress) ข้อเท็จจริงที่ว่า อีเนนทิโอเมอร์ (enantiomer) ดี-แอสคอร์เบต (D-ascorbate) ซึ่งไม่พบในธรรมชาติมีกัมมันตภาพต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับแอล-แอสคอร์เบตแต่มีกัมมันตภาพวิตามินน้อยกว่ามาก เน้นข้อเท็จจริงที่ว่าการทำหน้าที่วิตามินส่วนใหญ่ของแอล-แอสคอร์บิกนั้นมิได้อาศัยคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของมัน แต่เป็นปฏิกิริยาเอ็นไซม์ซึ่งสเตอริโอเคมีจาเพาะ (stereospecific) "แอสคอร์บิก" ที่ไม่มีอักษรบอกรูปอีแนนทิโอเมอร์จะสันนิษฐานว่าหมายถึงสารเคมีแอล-แอสคอร์เบตเสมอ แอสคอร์เบตจำเป็นต่อหลายปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมจำเป็นหลายปฏิกิริยาในสัตว์และพืชทุกชนิด มีการสร้างภายในในสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิด ซึ่งทุกชนิดที่ไม่สังเคราะห์จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดแอสคอร์บิกมีการใช้เป็นสารปรุงแต่งอาหารอย่างกว้างขวางเพื่อป้องกันอ็อกซิเดชัน.

ใหม่!!: มะเขือเทศและวิตามินซี · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเอ

รงสร้างของเรตินอล วิตามินเอที่พบได้บ่อย วิตามินเอ เป็นวิตามินที่ละลายได้ในไขมัน มีส่วนประกอบสำคัญของคอร์เนีย และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง ค้นพบโดย ดร.

ใหม่!!: มะเขือเทศและวิตามินเอ · ดูเพิ่มเติม »

วิตามินเค

วิตามิน K1 (phylloquinone). วิตามิน K2 (menaquinone) วิตามินเค เป็นวิตามินในกลุ่มที่ละลายได้ดีในไขมัน รูปแบบที่พบในธรรมชาติ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ วิตามินเค I (Vitamin K I) หรือ ฟิลโลควิโนน (phylloquinone) เป็นรูปแบบที่พบในพืชและสัตว์ และ วิตามินเค II (Vitamin K II) หรือ เมนาควิโนน (menaquinone) เป็นรูปแบบที่พบในเนื้อเยื่อตับ และยังสามารถสร้างได้โดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในร่างกาย สำหรับวิตามินเค III (Vitamin K III) หรือ เมนาไดโอน (menadione) นั้น เป็นโมเลกุลที่สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น เมนาควิโนน โดยตั.

ใหม่!!: มะเขือเทศและวิตามินเค · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์มะเขือ

วงศ์มะเขือ (Solanaceae) เป็นวงศ์ของพืชดอกที่มีความสำคัญทางการเกษตร แม้ว่าบางชนิดเป็นพืชมีพิษ ชื่อของวงศ์นี้ตั้งตามชื่อสกุล Solanum วงศ์นี้ประกอบด้วยสกุล Datura, Mandragora (mandrake), Atropa belladonna (deadly nightshade), Lycium barbarum (wolfberry), Physalis philadelphica (tomatillo), Physalis peruviana (Cape gooseberry flower), Capsicum (พริก), Solanum (มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, มะเขือ), Nicotiana (ยาสูบ), และ Petunia พืชเศรษฐกิจในวงศ์นี้ยกเว้นยาสูบ (Nicotianoideae) และพิทูเนีย (Petunioideae) แล้ว สกุลอื่นๆอยู่ในวงศ์ย่อยSolanoideae.

ใหม่!!: มะเขือเทศและวงศ์มะเขือ · ดูเพิ่มเติม »

สกุลมะเขือ

กุลมะเขือ (Solanum) ประกอบด้วยพืชปีเดียวและพืชสองปีมากมายหลายชนิด ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 1,500-2,000 สปีชีส์ กลุ่มใบและผลมีเนื้อหลายเมล็ดของมันมีพิษ โดยสารหลักที่ออกฤทธิ์ คือ โซลานิน ซึ่งอาจทำให้ชักและเสียชีวิตได้หากรับประทานในปริมาณมาก.

ใหม่!!: มะเขือเทศและสกุลมะเขือ · ดูเพิ่มเติม »

ส้มโอ

้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู) มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pompelmoes ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง" นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน.

ใหม่!!: มะเขือเทศและส้มโอ · ดูเพิ่มเติม »

หลอดเลือด

ระบบหลอดเลือดแดง หลอดเลือด (Blood vessel) เป็นส่วนของระบบไหลเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการขนส่งเลือดไปยังส่วนต่างๆ ในร่างกาย แบ่งออกเป็น3 ประเภท ได้แก่ หลอดเลือดแดง (artery) ทำหน้าที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ และหลอดเลือดดำ (vein) ซึ่งขนส่งเลือดเข้าสู่หัวใจและหลอดเลือดฝอย (capillary).

ใหม่!!: มะเขือเทศและหลอดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับมะเขือ

อันดับมะเขือ (Solanales)เป็นอันดับของพืชมีดอกที่อยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่แท้ บางครั้งใช้ชื่ออันดับนี้ว่า Polemoniales ในเอกสารรุ่นเก่า ในระบบ Angiosperm Phylogeny Group (APG) ประกอบด้วยวงศ์ดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: มะเขือเทศและอันดับมะเขือ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: มะเขือเทศและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: มะเขือเทศและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ซอสมะเขือเทศ

ซอสมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ คือซอสที่ทำจากมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบหลัก ใช้สำหรับเติมรสเปรี้ยวอมหวานให้กับอาหาร ซอสมะเขือเทศปลอม คือ ซอสไม่ได้ทำมาจากมะเขือเทศจริง หรือมีมะเขือเทศเป็นเพียงส่วนประกอบรองเท่านั้น อีกทั้งยังแต่งกลิ่นเพิ่มเติม ซอสมะเขือเทศปลอมมักทำมาจากมะละกอเป็นส่วนหลัก มะละกอเป็นผลไม้ที่กินได้ไม่เป็นอันตราย ในประเทศไทยมีการใช้มะละกอในอุตสาหกรรมการทำซอสมะเขือเทศและซอสพริก ซอสมะเขือเทศโดยทั่วไปตามท้องตลาดในประเทศไทยไม่ระบุถึงมะละกอในส่วนประกอบสำคัญบนฉลาก แต่ยังไม่มีการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานของซอสมะเขือเทศเหมือนเช่นน้ำปลา ทำให้จำนวนมะเขือเทศที่ใช้มีจำนวนไม่เท่ากันในแต่ละยี่ห้อ ในสหรัฐอเมริกาได้บังคับใช้กฎหมายว่า ต้องมีส่วนประสมของมะเขือเทศอย่างน้อย 50 % และต้องเป็นส่วนประสมหลัก จึงจะใช้ชื่อว่าเป็นซอสมะเขือเทศได้ มิเช่นนั้นผู้ผลิตจะมีโทษที่กฎหมายระบุไว้ ถือว่าเป็นซอสปลอม เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเขือเทศและซอสมะเขือเทศ · ดูเพิ่มเติม »

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ใหม่!!: มะเขือเทศและแมกนีเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ใหม่!!: มะเขือเทศและโพแทสเซียม · ดูเพิ่มเติม »

โรคลักปิดลักเปิด

รคลักปิดลักเปิด (scurvy) เป็นโรคที่เกิดจากการขาดวิตามินซี ซึ่งจำเป็นต่อการสังเคราะห์คอลลาเจนในมนุษย์ ทั้งนี้ ชื่อเคมีของวิตามินซี กรดแอสคอร์บิก มาจากคำว่า scorbutus ในภาษาละติน หรือ scurvy ในภาษาอังกฤษ โรคลักปิดลักเปิดมักแสดงอาการความรู้สึกไม่สบายและภาวะง่วงงุนในระยะเริ่มแรก ตามมาด้วยการเกิดจุดบนผิวหนัง เหงือกยุ่ย และเลือดออกตามเยื่อเมือก จุดดังกล่าวพบมากที่สุดบนต้นขาและขา และบุคคลที่ป่วยเป็นโรคลักปิดลักเปิดจะดูซีด ซึมเศร้า และเคลื่อนไหวไม่ได้บางส่วน เมื่อโรคทวีความรุนแรงขึ้น อาจมีแผลกลัดหนองเปิด สูญเสียฟัน ดีซ่าน ไข้ โรคเส้นประสาท จนถึงเสียชีวิตได้ ครั้งหนึ่ง โรคลักปิดลักเปิดเคยพบมากในหมู่กะลาสี โจรสลัดและผู้ที่ล่องเรือในทะเลนานกว่าที่จะเก็บผักและผลไม้ได้ ซึ่งส่วนใหญ่คนเหล่านี้จะดำรงชีพด้วยเนื้อและธัญพืชที่ถนอมอาหารหรือเติมเกลือแทน และยังพบในหมู่ทหารที่ไม่ได้รับอาหารประเภทนี้เป็นเวลานาน ฮิปพอคราทีส (460-380 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นผู้อธิบายโรคนี้ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพรเป็นที่รู้จักกันในหลายวัฒนธรรมพื้นเมืองตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โรคลักปิดลักเปิดเป็นหนึ่งในปัจจัยจำกัดการท่องทะเล มักคร่าชีวิตผู้โดยสารและลูกเรือเป็นจำนวนมากในการเดินทางไกล ๆ และยาวนาน การรักษาโรคลักปิดลักเปิดด้วยการให้อาหารสด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลไม้จำพวกส้ม เป็นคราว ๆ ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เจมส์ ลินด์ ศัลแพทย์ชาวสก็อตในกองทัพเรืออังกฤษ เป็นคนแรกที่พิสูจน์ว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยผลไม้พวกส้มในการทดลองที่เขาอธิบายในหนังสือของเขา A Treatise of the Scurvy (ศาสตร์นิพนธ์โรคลักปิดลักเปิด) ที่เขียนเมื่อ..

ใหม่!!: มะเขือเทศและโรคลักปิดลักเปิด · ดูเพิ่มเติม »

ไรโบเฟลวิน

รโบเฟลวิน (riboflavin) หรือ วิตามินบี2 (vitamin B2) จัดอยู่ในชนิดวิตามินที่ละลายในน้ำได้ ใช้ในการเจริญเติบโต เมื่อขาดจะกลายเป็นคนแคระเกร็น จำเป็นต่อเอนไซม์และกระบวนการเมทาบอลิซึมของสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะไขมัน ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดแข็งตัว ขจัดไขมันชนิดอิ่มตัวในเส้นเลือด ช่วยระงับอาการตาแฉะได้ จึงใช้เป็นส่วนประกอบในยาหยอดต.

ใหม่!!: มะเขือเทศและไรโบเฟลวิน · ดูเพิ่มเติม »

ไทอามีน

ทอามีน หรือ ไทอามิน (thiamine, thiamin) หรือ วิตามินบี1 (vitamin B1) เป็นวิตามินที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้ มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่มีพิษตกค้าง ถ้ามีมากเกินไป ร่างกายจะขับออกมาทันที.

ใหม่!!: มะเขือเทศและไทอามีน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lycopersicon esculentumSolanum lycopersicumTomato🍅

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »