สารบัญ
9 ความสัมพันธ์: ฟรีเมสันการปฏิวัติฝรั่งเศสกิโยตีนมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์วัคซีนสภากงว็องซียงแห่งชาติสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวแพทย์เอดเวิร์ด เจนเนอร์
- นักการเมืองฝรั่งเศส
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2281
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2357
ฟรีเมสัน
ัญลักษณ์ไม้ฉากและวงเวียนของ “องค์กรฟรีเมสัน” องค์กรฟรีเมสัน (Freemasonry) เป็นองค์กรภราดรภาพที่มีที่มาของเบื้องหลังอันลึกลับตั้งแต่ราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 องค์กรฟรีเมสันในปัจจุบันมีด้วยกันหลายรูปหลายแบบในประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยมีสมาชิกประมาณ 5 ล้านคนที่รวมทั้งเกือบ 2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา และราว 480,000 คนในอังกฤษ, สกอตแลนด์ และ ไอร์แลนด์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดองค์กรฟรีเมสันจะถือปรัชญาจริยธรรม และอภิปรัชญาเดียวกันที่ในเกือบทุกกรณีก็จะเป็นการประกาศธรรมนูญของความเชื่อใน “ผู้เหนือสิ่งทั้งปวง” (Supreme Being) องค์กรฟรีเมสันจัดระบบบริหารเป็นหน่วยที่เรียกว่า “แกรนด์ลอดจ์” (Grand Lodges) หรือ “แกรนด์โอเรียนท์” (Grand Orients) แต่ละหน่วยก็จะมีอำนาจบริหารเครือข่ายของตนเอง ที่ประกอบด้วยหน่วยย่อยหรือ “Constituent Lodges” แกรนด์ลอดจ์บ่งตนเองระหว่างกันได้โดยกระบวนการที่เรียกว่า “บัญญัติเมสัน” (Masonic Landmarks) และ “ระเบียบเมสัน” (Regular Masonic jurisdictions) นอกจากนั้นก็ยังมี “องค์กรเมสันย่อย” (Masonic bodies) ที่มีความสัมพันธ์กันองค์กรหลักแต่มีระบบการบริหารของตนเอง องค์กรฟรีเมสันใช้อุปลักษณ์ของเครื่องมือช่างหินและวัดโซโลมอนที่ทั้งสมาชิกขององค์กรและผู้วิพากษ์กล่าวว่าเป็น “ระบบของจริยธรรมที่พรางอยู่เบื้องหลังอุปมานิทัศน์ ที่ออกมาในรูปของสัญลักษณ์” องค์กรฟรีเมสัน เป็นองค์กรภราดรภาพ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานย้อนไปถึงต้นกำเนิดคือ องค์กรภราดรภาพของพวกช่างหินตามท้องถิ่นต่างๆ เมื่อปลายศตวรรษที่ 14 ที่มีหน้าที่คอยควบคุมดูแลมาตรฐานฝีมือการทำงานของพวกช่างหิน และเป็นองค์กรกลางที่คอยประสานงาน กับผู้ปกครอง และลูกค้า ของพวกเขา ระดับขั้นของฟรีเมสัน แบ่งออกเป็นสามระดับ ตามระดับการแบ่งฝีมือของช่างหินโดยสมาคมช่างหิน (mason guild) ในยุคกลางของยุโรป ดังนี้ ช่างฝึกหัด (Apprentice) ช่างฝีมือ (Journeyman or fellow (now called Fellowcraft)) เป็นช่างที่ผ่านการฝึก และได้รับการพิสูจน์ว่ามีฝีมือแล้วจะได้รับใบแสดงความสามารถที่จะเดินทางไปทำงานในที่อื่นๆได้) และ นายช่าง (Master Mason) เป็นผู้ที่มีฝีมือโดดเด่น และได้รับเลือกจากสมาชิกสมาคมให้เป็นผู้นำ ในปัจจุบันองค์กรฟรีเมสัน ที่เราเรียกว่า Blue Lodge ซึ่งเป็นองค์กรฐานรากของฟรีเมสัน เป็นผู้แต่งตั้งระดับเหล่านี้ให้กับสมาชิก นอกจากนี้ยังมี ระดับเพิ่มเติมไปอีกหลายระดับ แตกต่างกันไปตาม พื้นที่ปกครองของ Grand Lodge ต่างๆ โดยระดับเพิ่มเติมนี้มักจะตั้งองค์กรของตัวเองควบคุมขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยพื้นฐานแล้ว หน่วยที่เล็กที่สุดของฟรีเมสัน คือ สภาฟรีเมสันท้องถิ่น หรือเรียกว่าลอดจ์ (Lodge) โดยจะถูกกำกับดูแล โดย สภาฟรีเมสันระดับภาค หรือประเทศ หรือเรียกว่า แกรนด์ลอดจ์ หรือ แกรนด์ โอเรียนท์ (Grand Lodge or Grand Orient) โดยส่วนมาก แบ่งพื้นที่เป็น ประเทศ จังหวัด แคว้น หรือมลรัฐ เช่นใน สหรัฐอเมริกา แบ่งพื้นที่ออกเป็นมลรัฐ ฟรีเมสันไม่มีองค์กรกลางระดับนานาชาติที่เข้ามาควบคุมหรือเป็นตัวแทนของ ฟรีเมสันทั้งหมด โดยแต่ละแกรนด์ลอดจ์ มีอิสระที่จะกำหนดข้อกำหนดเอง และมีสิทธิ์ที่จะรับรู้รับรองการมีอยู่ของแกรนด์ลอดจ์ อื่นๆ โดยอิสระ ในปัจจุบัน องค์กรฟรีเมสัน มีอยู่สองแบบ ด้วยกัน คือ องค์กรฟรีเมสันแบบปกติ (Regular Freemason) เป็นองค์กรฟรีเมสันที่เมื่อมีการประกอบพิธีการประชุมของลอดจ์ ต้องเปิดคัมภีร์ทางศาสนา กลางห้องประชุมเสมอ อีกทั้งทุกคนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิก ต้องเชื่อในสิ่งที่ดำรงอยู่สูงสุด (นับถือศาสนา) ไม่รับสมาชิกผู้หญิง และการพูดคุยถกเถียงกันใน เรื่องการเมืองและศาสนา ในลอดจ์ เป็นเรื่องต้องห้าม อีกประเภทหนึ่งคือ ฟรีเมสันแบบภาคพื้น (Continental Freemason) หรือเรียกกันว่า ฟรีเมสันแบบเสรีนิยม โดยลอดจ์ที่เป็นฟรีเมสันแบบเสรีนิยมจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบ้างส่วน ที่เป็นหลักยึดถือของฟรีเมสันแบบปกติ เช่นการรับผู้หญิง หรือผู้ไม่นับถือศาสนาเป็นสมาชิก หรือสามารถพูดคุยเรื่อง ศาสนา และการเมืองในลอดจ์ได้ เป็นต้น โดยฟรีเมสันแบบนี้เกิดขึ้นในภาคพื้นยุโรป คือประเทศฝรั่งเศสเป็นสำคัญ .
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและฟรีเมสัน
การปฏิวัติฝรั่งเศส
การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและการปฏิวัติฝรั่งเศส
กิโยตีน
กีโยตีนในอังกฤษ โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง ผู้เสนอให้ประหารชีวิตโดยการตัดคอ แต่ตัวเขาไม่ใช่ผู้ประดิษฐ์กิโยตีน กิโยตีน (guillotine) เป็นชื่อเรียกของอุปกรณ์การประหารชีวิตของฝรั่งเศส ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อใช้ตัดคอนักโทษ กิโยตีนประกอบโครงโดยส่วนมากจะเป็นไม้ ไว้สำหรับแขวนใบมีดรูปสี่เหลี่ยมคางหมู น้ำหนักประมาณ 40 กก.
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและกิโยตีน
มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์
มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์
วัคซีน
็กกำลังรับวัคซีนโปลิโอชนิดหยอด วัคซีน (Vaccine) เป็นชีววัตถุที่เตรียมขึ้นจากเชื้อจุลินทรีย์หรือส่วนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งจะมีกลไกชักนำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อจุลินทรีย์ชนิดนั้น ๆ กล่าวคือมีฤทธิ์ชักนำการสร้างภูมิคุ้มกันอันจำเพาะกับโรค วัคซีนโดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค (แอนติเจน) ซึ่งถูกทำให้อ่อนฤทธิ์ลง, ตาย หรือการใช้ส่วนที่เป็นพิษที่อ่อนฤทธิ์ลง (toxoid) โดยวัคซีนจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและสามารถจดจำได้ว่าเป็นสารก่อโรคซึ่งจะมีกลไกการทำลายต่อไป คุณสมบัติการจดจำแอนติเจนของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้ร่างกายสามารถกำจัดแอนติเจนหากเมื่อได้รับอีกในภายหลังได้รวดเร็วยิ่งขึ้น วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสต์ทศวรรษที่ 1770 โดยเอดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วัคซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคราะห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox.
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและวัคซีน
สภากงว็องซียงแห่งชาติ
สภากงว็องซียงแห่งชาติ (Convention nationale) คือคณะการปกครองประเทศฝรั่งเศสในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส โดยเริ่มทำการปกครองตั้งแต่ 20 กันยายน ค.ศ.
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและสภากงว็องซียงแห่งชาติ
สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว
มัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (Reign of Terror; 5 กันยายน ค.ศ. 1793 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794) หรือที่เรียกว่า The Terror (la Terreur) เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ ฌีรงแด็ง (Girondins) และฌากอแบ็ง (Jacobins) ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดทั่วฝรั่งเศส กิโยตินกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น มารี อ็องตัวแน็ตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์) มาดามโรลองด์และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน อาทิ อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีบุกเบิก ที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน ระหว่าง..
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว
แพทย์
แพทย์ (physician, doctor) หรือภาษาพูดว่า "หมอ" ในบางพื้นที่ตามชนบท อาจเรียกแพทย์ว่า "หมอใหญ่" เพื่อกันสับสนกับพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่อื่นในทางด้านสาธารณสุข แพทย์มีหน้าที่ ซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย และส่งตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อสั่งการรักษาหรือให้การรักษาโรค ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพ ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมกับบุคลากรด้านสุขภาพอื่น.
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและแพทย์
เอดเวิร์ด เจนเนอร์
วาดของเอดเวิร์ด เจนเนอร์ เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner; 17 พฤษภาคม 2292 — 26 มกราคม 2366) เป็นแพทย์ชนบทชาวอังกฤษผู้ซึ่งศึกษาธรรมชาติและสภาพแวดล้อมในวัยเด็ก และได้รับการฝึกหัดทางการแพทย์ที่เมืองเบอร์คเลย์ มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในฐานะแพทย์คนแรกที่ศึกษาและค้นพบวัคซีน เพื่อใช้ป้องกันโรคไข้ทรพิษ.
ดู โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็งและเอดเวิร์ด เจนเนอร์
ดูเพิ่มเติม
นักการเมืองฝรั่งเศส
- โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง
บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2281
- จอห์น ซิงเกิลทัน โคพลีย์
- วิลเลียม คาเว็นดิช-เบ็นทิงค์ ดยุกที่ 3 แห่งพอร์ตแลนด์
- วิลเลียม เฮอร์เชล
- สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
- อาร์ชดัชเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย (ค.ศ. 1738–1789)
- อาร์เทอร์ ฟิลลิป
- เจ้าหญิงฮวาวาน
- โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง
บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2357
- จักรพรรดินีเถื่อ เทียน
- ฟิลิป แอสต์ลีย์
- มาร์กี เดอ ซาด
- อาร์เทอร์ ฟิลลิป
- เบนจามิน ทอมป์สัน
- โฌเซฟีน เดอ โบอาร์แน
- โฌแซ็ฟ-อีญัส กียอแต็ง
หรือที่รู้จักกันในชื่อ Joseph-Ignace Guillotin