โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โครโนสกรุป

ดัชนี โครโนสกรุป

รโนสกรุป (Khronos Group) เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นโดยใช้เงินสนับสนุนจากสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อเป็นตัวกลางในการรวมรวมจัดตั้งคณะทำงานเพื่อสร้างมาตรฐานเปิดสำหรับ API ต่าง.

7 ความสัมพันธ์: ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์หน่วยประมวลผลกราฟิกส์คอมพิวเตอร์กราฟิกส์คอลลาดาโอเพนจีแอลโอเพนซีแอลเอพีไอ

ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์

ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ (vector graphics) โดยทั่วไปคือคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ที่เกิดจากการกำหนดพิกัดและการคำนวณค่าบนระนาบสองมิติ รวมทั้งมุมและระยะทาง ตามทฤษฎีเวกเตอร์ในทางคณิตศาสตร์ ในการก่อให้เกิดเป็น เส้น หรือรูปภาพ ข้อดีคือ สามารถย่อขยายได้ โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง ข้อเสียคือภาพไม่เหมือนภาพจริงเป็นได้เพียงภาพวาด หรือใกล้เคียงภาพถ่ายเท่านั้น ข้อมูลภาพพวกนี้ได้แก่ไฟล์สกุล svg, ps, eps, ai (adobe illustrator) และฟอนต์แบบ TrueType ต่างๆเป็นต้น โปรแกรมที่ใช้สร้างข้อมูลภาพประเภทนี้เช่น Adobe Illustrator, InkScape ในบางครั้ง ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ยังอาจหมายถึงกราฟิกส์สามมิติอีกด้วย หมวดหมู่:รูปแบบไฟล์ภาพกราฟิกส์ หมวดหมู่:คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หมวดหมู่:การออกแบบกราฟิกส์ หมวดหมู่:ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์.

ใหม่!!: โครโนสกรุปและภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยประมวลผลกราฟิกส์

GeForce 6600GT (NV43) GPU หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GPU: graphics processing unit) หรือ หน่วยประมวลผลทางภาพ (VPU: visual processing unit) คือหน่วยประมวลผลพิเศษที่รับภาระการให้แสงและเงาคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สามมิติแทนหน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งหน่วยประมวลผลกราฟิกส์มีได้ทั้งที่เป็นการ์ดหรือเป็นส่วนหนึ่งของแผงวงจรหลักก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ในปัจจุบันอยู่ในรูปของการ์ดแสดงผล.

ใหม่!!: โครโนสกรุปและหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์กราฟิกส์

อมพิวเตอร์กราฟิกส์ (computer graphics) หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ (computing methodology) ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญานต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง ขั้นตอนแรกเริ่มต้นด้วยการสร้างแบบจำลอง (modeling) เพื่อแทนความสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นให้สามารถประมวลผลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ตามด้วย การแปรเป็นภาพสุดท้าย หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเร็นเดอร์ หรือการเร็นเดอร์ (rendering) เป็นการแปรหรือแสดงผลลัพธ์ทางอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ หรือ อุปกรณ์อื่น ๆ ออกมาเป็นภาพเชิงเรขาคณิตมองเห็น รูปทรง สีสัน ลวดลาย ลายผิว หรือ ลักษณะแสงเงา รวมถึง ข้อมูลอื่น ๆ ของภาพ เช่น ข้อมูลการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลง ลักษณะการเชื่อมต่อ และ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุหรือสิ่งของในภาพ วิชานี้ยังครอบคลุมถึงการศึกษาด้านระบบในการแสดงภาพ ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือ อุปกรณ์ในการนำเข้า และ แสดงผล ปัจจุบันมีการประยุกต์ วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น เช่น การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ แอนิเมชัน งานภาพยนตร์ เกม สื่อประสมภาพและเสียง ศึกษาบันเทิง หรือ ระบบสร้างภาพความจริงเสมือน เป็นต้น ระเบียบวิธีที่นิยมแบ่งเป็นสองวิธีหลัก คือ การใช้หลักการฉายและการใช้หลักการตามรอยละแสง สำหรับวิธีการสร้างภาพโดยใช้หลักการฉาย (projective method) ซึ่งใช้หลักการแปลงพิกัดข้อมูลตำแหน่งต่าง ๆ ในสามมิติ ให้เป็นข้อมูลที่มีพิกัดสองมิติแล้วแสดงผลบนอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอภาพ เป็นต้น โดยระหว่างการแปลงพิกัดจะมีการคำนวณย่อย เช่น การขริบ (clipping) การขจัดเส้นแฝงผิวแฝง (hidden line/surface removal) และ การทำให้เป็นจุดภาพ (rasterization) เป็นต้น อีกวิธีที่นิยมใช้คือ การตามรอยลำแสง (ray tracing) ซึ่งเป็นการคำนวณโดยอาศัยหลักไล่ตามรอยทางเดินของแสงที่มาจากแหล่งกำเนิดแสงมาตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้าตาหรือกล้อง โดยไล่ตรวจสอบย้อนรอยแสง ไปดูค่าความสว่างของวัตถุที่จะแสดงในแต่ละจุดภาพบนอุปกรณ์แสดงผล.

ใหม่!!: โครโนสกรุปและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

คอลลาดา

อลลาดา (collaborative design activity: COLLADA) เป็นมาตรฐานไฟล์เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์เพื่องานกราฟิกส์สามมิติและซอฟต์แวร์ที่มีการประมวลผลสามมิติเช่น Game engine พัฒนาขึ้นโดยบริษัทโซนี่คอมพิวเตอร์เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เพื่อใช้เป็นรูปแบบไฟล์อย่างเป็นทางการสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเพลย์สเตชัน 3 และ เพลย์สเตชันพอร์เทเบิล ปัจจุบันอยู่ใต้ความดูแลของ Khronos Group คอลลาดาเป็นมาตรฐานแบบเปิด นิยามด้วย XML schema แบบ W3C เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้แก่ข้อมูลคอมพิวเตอร์แอนิเมชันต่างๆเช่นการเคลื่อนไหวแบบใช้กระดูก โมเดลสามมิติ Key frame โดยไฟล์คอลลาดาจะเป็นไฟล์แบบ XML ซึ่งมักใช้นามสกุล.dae (digital asset exchange).

ใหม่!!: โครโนสกรุปและคอลลาดา · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนจีแอล

อเพนจีแอล (OpenGL: Open Graphics Library ไลบรารีกราฟิกส์แบบเปิด) คือส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (API) ด้านการเร็นเดอร์ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์สองมิติและสามมิติ ที่ทำงานได้หลายแพลตฟอร์มและหลายภาษา ส่วนต่อประสานนี้มักใช้ทำงานระหว่างหน่วยประมวลผลกราฟิกส์ (GPU) เพื่อให้บรรลุผลการเร็นเดอร์แบบเร่งฮาร์ดแวร์ โอเพนจีแอลพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซิลิคอนกราฟิกส์ (Silicon Graphics Inc.: SGI) ตั้งแต..

ใหม่!!: โครโนสกรุปและโอเพนจีแอล · ดูเพิ่มเติม »

โอเพนซีแอล

Very viw โอเพนซีแอล (OpenCL: Open Computing Language) เป็นภาษาโปรแกรมที่ใช้แยกงานจากการประมวลผลตามปรกติไปให้ หน่วยประมวลผลกราฟิกส์ และ CPU อื่นๆประมวลผลร่วมด้วยเพื่อใช้ GPU ในการประมวลผลอื่นๆนอกเหนือไปจากการประมวลผลคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ตามปรกติ พัฒนาขึ้นโดย Khronos Group ร่วมกับบริษัทอื่นๆ มี C99 เป็นพื้นฐาน โดยบริษัทแอปเปิลได้เสนอให้ Khronos Group เป็นตัวกลางเพื่อกำหนด OpenCL เป็นมาตรฐานเพื่อจะได้ใช้งานใน Mac OS 10.6.

ใหม่!!: โครโนสกรุปและโอเพนซีแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอพีไอ

อพีไอ หรือ ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (application programming interface: API) หมายถึงวิธีการที่ระบบปฏิบัติการ ไลบรารี หรือบริการอื่นๆ เปิดให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อเรียกใช้งานได้ เอพีไอ แบ่งเป็น.

ใหม่!!: โครโนสกรุปและเอพีไอ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Khronos Groupกลุ่มโครโนส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »