โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อดัม สมิธ

ดัชนี อดัม สมิธ

อดัม สมิธ (Adam Smith) นักปรัชญาศีลธรรม และ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้บุกเบิกชาวสกอตแลนด์ อดัม สมิธ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิดเศรษฐศาสตร์แนวตลาดเสรี เป็นบุคคลสำคัญในขบวนการที่เป็นที่รู้จักในชื่อว่า "ยุคสว่างของสกอตแลนด์" (Scottish Enlightenment) โดยเป็นที่รู้จักในฐานะผู้แต่งศาสตรนิพนธ์2 เรื่องคือ ทฤษฎีว่าด้วยศีลธรรมเร้าอารมณ์ (พ.ศ. 2302).

52 ความสัมพันธ์: ชาลส์ ดาร์วินบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐฟรีดริช เองเงิลส์พ.ศ. 2244พ.ศ. 2266พ.ศ. 2283พ.ศ. 2289พ.ศ. 2291พ.ศ. 2293พ.ศ. 2302พ.ศ. 2319พ.ศ. 2321พ.ศ. 2326พ.ศ. 2330พ.ศ. 2332พ.ศ. 2338พ.ศ. 2343พ.ศ. 2519การเมืองมหาวิทยาลัยกลาสโกว์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมิลตัน ฟรีดแมนมงแต็สกีเยอศาสตราจารย์ศาสตรนิพนธ์ศาสนาศาสนจักรอาริสโตเติลอธิการบดีผู้ประกอบการจอห์น ล็อกจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ทวีปยุโรปความมั่งคั่งของประชาชาติคาร์ล มากซ์ประวัติศาสตร์ประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษปรัชญาปัญญาโทมัส ฮอบส์โนม ชอมสกีเศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมืองเสรีภาพเสรีภาพในการพูดเสรีนิยมเหตุผลเอดินบะระเดวิด ฮูม...16 มิถุนายน5 มิถุนายน ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

ชาลส์ ดาร์วิน

ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน (Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี..

ใหม่!!: อดัม สมิธและชาลส์ ดาร์วิน · ดูเพิ่มเติม »

บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ

การลงนามในรัฐธรรมนูญสหรัฐฉบับแรก บิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ (Founding Fathers of the United States) หมายถึง ผู้นำทางการเมืองที่ได้ลงนามในคำประกาศอิสรภาพในช่วงปี..

ใหม่!!: อดัม สมิธและบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ฟรีดริช เองเงิลส์

ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.

ใหม่!!: อดัม สมิธและฟรีดริช เองเงิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2244

ทธศักราช 2244 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2244 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2266

ทธศักราช 2266 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2266 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2283

ทธศักราช 2283 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2283 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2289

ทธศักราช 2299 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2289 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2291

ทธศักราช 2291 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2291 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2293

ทธศักราช 2293 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2293 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2302

ทธศักราช 2302 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2302 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2319

ทธศักราช 2319 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2319 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2321

ทธศักราช 2321 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2321 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2326

ทธศักราช 2326 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2326 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2330

ทธศักราช 2330 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2330 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2332

ทธศักราช 2332 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2332 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2338

ทธศักราช 2338 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2338 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2343

ทธศักราช 2343 ตรงกับคริสต์ศักราช 1800 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2343 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2519

ทธศักราช 2519 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1976 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: อดัม สมิธและพ.ศ. 2519 · ดูเพิ่มเติม »

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: อดัม สมิธและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์

มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (อังกฤษ: The University of Glasgow; ละติน: Universitatis Glasguensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1451 เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในสามมหาวิทยาลัยในเมืองกลาสโกว์ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสก็อตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ถูกก่อตั้งขึ้นอาณัติจากพระสันตปาปานิโคลัสที่ห้าโดยพระประสงค์ของพระเจ้าเจมส์ที่สอง เพื่อให้สก็อตแลนด์มีมหาวิทยาลัยสองแห่งเช่นเดียวกันกับอังกฤษที่มีอ็อกซฟอร์ดและเคมบริดจ์ ซึ่งทำให้กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดอันดับสี่ในสหราชอาณาจักร และยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากเป็นอันดับสี่ในบริเทนรองจากอ็อกซฟอร์ด เคมบริดจ์ และเอดินเบอระ อีกด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นมีสัดส่วนนักเรียนต่างชาติค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยประมาณครึ่งหนึ่งเป็นคนในกลาสโกว์เอง อีก 40% เป็นนักเรียนจากเมืองต่างๆภายใน UK มีเพียงประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ที่มาจากต่างชาติ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของ UK มาหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับเอดินเบอระและเซนต์แอนดรูส์ กลาสโกว์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกใน UK ที่ก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยนอกเขตลอนดอนที่มีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ใหญ่ที่สุดในสหราชอาณาจักร เมืองกลาสโกว์นั้นมีอัตราส่วนวิศวกรต่อประชากรสูงมากเป็นอันดับสามของโลก มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ได้ให้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นจำนวนมาก อาทิ ลอร์ดเคลวิน – หนึ่งในผู้พัฒนากฎข้อสองของเทอร์โมไดนามิคส์ และภายหลังได้รับเกียรติให้นำชื่อไปให้เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิเคลวิน เจมส์ วัตต์ – ผู้พัฒนากลจักรไอน้ำจนก่อให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร จอห์น โลกี แบรด – ผู้ประดิษฐ์โทรทัศน์ โจเซฟ ลิสเตอร์ – หนึ่งในผู้ริเริ่มการผ่าตัดแบบสมัยใหม่ และ โจเซฟ แบลค – นักเคมีที่มีผลงานมากมายรวมไปถึงการค้นพบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ยังมีชื่อเสียงทางด้านสังคมศาสตร์ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าด้านวิศวกรรมศาสตร์เลยแม้แต่น้อย กลาสโกว์นั้นถือได้ว่าเป็นจุดกำเนิดของยุคแสงสว่างอย่างแท้จริง ศาสตราจารย์ฟรานซิส ฮัทชิสัน แห่งมหาวิทยาลัยกลาสโกว์เป็นผู้ริเริ่มทฤษฎีอรรถประโยชน์ (Utilitarian principle) ซึ่งเป็นหนึ่งในทฤษฎีพื้นฐานภายใต้เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classical Economics) อดัม สมิธ ศิษย์เก่าที่โด่งดังที่สุดของมหาวิทยาลัยกลาสโกว์นั้นได้ผสมผสานทฤษฎีนี้ผนวกกับแนวคิดของเดวิด ฮูม (นักปรัชญาชาวเอดินเบอระ) ก่อให้เกิดทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่ เศรษฐศาสตร์การเมือง และทฤษฎีการค้าเสรี ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลกอย่างมหาศาลมาจนถึงยุคปัจจุบัน.

ใหม่!!: อดัม สมิธและมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: อดัม สมิธและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มิลตัน ฟรีดแมน

มิลตัน ฟรีดแมน มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman; 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2455-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549) เจ้าของประโยคที่โด่งดัง “โลกนี้ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ” (There's no such thing as a free lunch.) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมของมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี..

ใหม่!!: อดัม สมิธและมิลตัน ฟรีดแมน · ดูเพิ่มเติม »

มงแต็สกีเยอ

ร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หล.

ใหม่!!: อดัม สมิธและมงแต็สกีเยอ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตรนิพนธ์

ตรนิพนธ์ (Treatise) หมายถึงสัมพันธสาร (discourse) ว่าด้วยเรื่องต่างๆ ที่เขียนขึ้นอย่างเป็นระบบ ปกติจะมีความยาวค่อนข้างมาก.

ใหม่!!: อดัม สมิธและศาสตรนิพนธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: อดัม สมิธและศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนจักร

นจักร คือ อำนาจปกครองทางศาสนา เรียกคู่กับ "อาณาจักร" คืออำนาจปกครองทางบ้านเมือง.

ใหม่!!: อดัม สมิธและศาสนจักร · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: อดัม สมิธและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อธิการบดี

อธิการบดี เป็นตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบงานทั้งปวงของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: อดัม สมิธและอธิการบดี · ดูเพิ่มเติม »

ผู้ประกอบการ

ผู้ประกอบการ คือบุคคลที่จัดตั้งธุรกิจใหม่ โดยเผชิญกับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนทางธุรกิจ เพื่อแสวงหาผลกำไรและความเติบโต มุ่งหาความต้องการของตลาดเพื่อสนองความต้องการ ในทางเศรษฐศาสตร์ ผู้ประกอบการคือ ผู้รวบรวมปัจจัยการผลิต ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน และทุน มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ ผู้ประกอบการอาจจะเป็นหน่วยงาน บริษัท ห้างร้าน หรือเอกชนเพียงคนเดียวก็ได้ ทั้งนี้ผู้ประกอบการต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผลิต และบริหารจัดการในกระบวนการผลิต ผลตอบแทนที่ได้คือ กำไร หรือ ขาดทุน หมวดหมู่:ธุรกิจ.

ใหม่!!: อดัม สมิธและผู้ประกอบการ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อก

อห์น ล็อก จอห์น ล็อก (John Locke; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง.

ใหม่!!: อดัม สมิธและจอห์น ล็อก · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์

อห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บารอนแห่งเคนส์ ที่หนึ่ง (John Maynard Keynes, 1st Baron Keynes; 5 มิถุนายน พ.ศ. 2426 – 21 เมษายน พ.ศ. 2489) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิดที่ เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ, สหราชอาณาจักร ผู้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) แนวความคิดทางเศรษศาสตร์ของเคนส์มีอิทธิพลต่อทฤษฎีเศรษศาสตร์มหภาคสมัยใหม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้ในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เริ่มแรกเคนส์ศึกษาเรื่องสาเหตุของวัฏจักรธุรกิจ (business cycles) และเรียกร้องให้มีการใช้นโยบายทางการคลังและการเงินเพื่อผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำ เคนส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบิดาของเศรษฐศาสตร์มหภาคยุคใหม่และนับได้ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดของศตวรรษที่ยี่สิบ เคนส์ได้ทำงานที่หนังสือ อีโคโนมิคจอร์นัล เป็นที่แรก และได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์หลายฉบับ เช่น ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน, ดอกเบี้ย และเงินตรา (The General Theory of Employment, Interest and Money) เขาเป็นผู้ที่สร้างผลงาน ซึ่งพลิกวงการเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(คือ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ในสมัยนั้น) ก็คือ การให้รัฐเข้าไปแทรกแซงและสนับสนุนให้ใช้นโยบายของรัฐ อันได้แก่ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (Monetary Policy & Fiscal Policy) อันจะกระตุ้นให้เกิด อุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (Effective Demand) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กลไกตลาด ที่เป็นแนวความคิดของ อดัม สมิธ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวได้ ประโยคสำคัญซึ่งท้าทายเศรษฐศาสตร์แบบเดิม คือประโยค "In the long run, we are all dead" (ในระยะยาว พวกเราก็ตายกันหมดแล้ว) ซึ่งสะท้อนเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการปรับตัวในระยะยาว เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างยกให้ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของสาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics).

ใหม่!!: อดัม สมิธและจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: อดัม สมิธและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ความมั่งคั่งของประชาชาติ

การสอบสวนธรรมชาติและสาเหตุแห่งความมั่งคั่งของประชาชาติ (An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations) หรือมักเรียกชื่อเรื่องสั้นว่า ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations) เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของนักเศรษฐศาสตร์และนักจริยปรัชญาชาวสกอต อดัม สมิธ พิมพ์ครั้งแรกใน..

ใหม่!!: อดัม สมิธและความมั่งคั่งของประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: อดัม สมิธและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: อดัม สมิธและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: อดัม สมิธและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: อดัม สมิธและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: อดัม สมิธและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปัญญา

ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่ว คือรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน, รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ, รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย ในสังคีติสูตร พระสารีบุตรกล่าวว่า ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ.

ใหม่!!: อดัม สมิธและปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส ฮอบส์

ทมัส ฮอบส์ วาดโดย John Michael Wright โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (5 เมษายน พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679)) เป็นนักปรัชญาการเมือง ชาวอังกฤษ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากผลงานที่สำคัญคือหนังสือชื่อ Leviathan ที่เขียนขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: อดัม สมิธและโทมัส ฮอบส์ · ดูเพิ่มเติม »

โนม ชอมสกี

นม ชอมสกี ดร.

ใหม่!!: อดัม สมิธและโนม ชอมสกี · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์การเมือง

Jean-Jacques Rousseau, ''Discours sur l'oeconomie politique'', 1758 เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political economy) มีความหมายกว้างขวางมาก คำจำกัดความจึงเป็นได้หลากหลายทาง ในทางหนึ่ง อาจหมายถึง ความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่คิดรวมเอาปัจจัยด้านอื่นเข้าไปรวมด้วย เช่น สังคม วัฒนธรรม ประเพณี พฤติกรรมของคน กฎหมาย การเมือง(ความเกี่ยวข้องกับรัฐ) และพิจารณาถึงปูมหลังของแต่ละทฤษฎีด้วย อีกทั้งเป็นการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างของระบบ มากกว่า ที่จะพิจารณาแต่ในเชิงคณิตศาสตร์และตรรกะบนการตั้งสมมติฐาน.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเศรษฐศาสตร์การเมือง · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพ

รีภาพ, อิสรภาพ หรือเสรีธรรม ในทางปรัชญา หมายถึง เจตจำนงเสรี ซึ่งตรงข้ามกับนิยัตินิยม ในทางการเมือง เสรีภาพประกอบด้วยเสรีภาพทางสังคมและการเมืองที่รับประกันแก่พลเมืองทุกคน ในทางเทววิทยา เสรีภาพ คือ อิสรภาพจากพันธะบาป.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเสรีภาพ · ดูเพิ่มเติม »

เสรีภาพในการพูด

รีภาพในการพูด (freedom of speech) หรือเสรีภาพในการแสดงออก (freedom of expression) เป็นสิทธิการเมืองในการสื่อสารความคิดของบุคคลผ่านการพูด คำวา เสรีภาพในการแสดงออก บางครั้งใช้เป็นคำไวพจน์ แต่ยังรวมไปถึงพฤติการณ์ใด ๆ ในการแสวงหา ทั้งด้วยการพูด การแสดงท่าทาง หรือการสื่อสารด้วยตัวหนังสือ ไม่ว่าจะบนหน้ากระดาษหรือในโลกออนไลน์ ตลอดจนในรูปแบบอื่นๆ เช่น เสียงเพลง ภาพถ่าย ภาพกราฟิกหรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิในการค้นคว้า หา เข้าถึงหรือได้รับข้อมูล ความรู้สึกนึกคิด ความเห็นที่มีการสื่อสารและเผยแพร่และนำข้อสนเทศหรือความคิดโดยไม่คำนึงถึงสื่อที่ใช้ ในทางปฏิบัติ สิทธิในเสรีภาพการพูดมิได้มีสมบูรณ์ในทุกประเทศ และสิทธินี้โดยทั่วไปมักถูกจำกัด เช่นเดียวกับการหมิ่นประมาท การดูหมิ่นซึ่งหน้า ความลามก และการยุยงให้ก่ออาชญากรรม สิทธิในเสรีภาพการพูดได้รับการยอมรับเป็นสิทธิมนุษยชนภายใต้ข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และได้รับการยอมรับในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 19 แห่งกติกาฯ บัญญัติว่า "ทุกคนจักมีสิทธิออกความเห็นโดยไม่ถูกแทรกแซง" และ "ทุกคนจักมีสิทธิในเสรีภาพการพูด สิทธินี้จักรวมไปถึงเสรีภาพในการแสวงหา ได้รับและส่งต่อข้อสนเทศและความคิดในทุกรูปแบบ โดยไม่คำนึงถึงขอบเขต ไม่ว่าจะโดยการพูด การเขียนหรือการพิมพ์ ในรูปของศิลปะ หรือผ่านสื่ออื่นใดที่เป็นทางเลือกของเขา" หากข้อ 19 ยังบัญญัติต่อไปว่าการใช้สิทธิเหล่านี้มี "หน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ" และอาจ "ดังนั้น ต้องถูกจำกัดบ้าง" เมื่อจำเป็น "เพื่อความเคารพถึงสิทธิหรือชื่อเสียงของคนอื่น" หรือ "เพื่อคุ้มครองความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือศีลธรรม" สิทธิในเสรีภาพในการแสดงออกถูกตีความรวมถึงสิทธิในการถ่ายรูปและเผยแพร่ภาพถ่ายบุคคลแปลกหน้าในพื้นที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการรับรู้จากพวกเขา อย่างไรก็ตามในคดีตามกฎหมายในประเทศเนเธอร์แลนด์สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกไม่รวมถึงสิทธิในการใช้รูปถ่ายในลักษณะเหยียดสีผิวเพื่อปลุกระดมความเกลียดชังทางเชื้อชาติหรือการเลือกปฏิบัติชาติพัน.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเสรีภาพในการพูด · ดูเพิ่มเติม »

เสรีนิยม

เสรีนิยม (liberalism) เป็นปรัชญาการเมืองหรือมุมมองทางโลกซึ่งตั้งอยู่บนความคิดเสรีภาพและความเสมอภาค นักเสรีนิยมยอมรับมุมมองหลากหลายขึ้นอยู่กับความเข้าใจหลักการเหล่านั้น แต่โดยทั่วไปสนับสนุนความคิดอย่างเสรีภาพในการพูด เสรีภาพสื่อ เสรีภาพทางศาสนา ตลาดเสรี สิทธิพลเมือง สังคมประชาธิปไตย รัฐบาลฆราวาส ความเสมอภาคทางเพศและการร่วมมือระหว่างประเทศ ทีแรก เสรีนิยมเป็นขบวนการทางการเมืองต่างหากระหว่างยุคเรืองปัญญา เมื่อได้รับความนิยมในหมู่นักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์ในโลกตะวันตก เสรีนิยมปฏิเสธความคิดซึ่งสามัญในเวลานั้น เช่น เอกสิทธิ์แบบสืบเชื้อสาย ศาสนาประจำชาติ สมบูรณาญาสิทธิราชและเทวสิทธิ์ของกษัตริย์ มักยกย่องจอห์น ล็อก นักปรัชญาสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ว่าเป็นผู้ก่อตั้งเสรีนิยมเป็นประเพณีปรัชญาต่างหาก ล็อกแย้งว่ามนุษย์มีสิทธิธรรมชาติในชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สิน และตามสัญญาสังคม รัฐบาลต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้ นักเสรีนิยมคัดค้านอนุรักษนิยมประเพณีและมุ่งเปลี่ยนสมบูรณาญาสิทธิ์ในการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและหลักนิติธรรม นักปฏิวัติผู้โด่งดังในการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ การปฏิวัติอเมริกา และการปฏิวัติฝรั่งเศสใช้ปรัชญาเสรีนิยมเพื่ออ้างความชอบธรรมการโค่นสิ่งที่มองว่าเป็นการปกครองทรราชด้วยอาวุธ เสรีนิยมเริ่มลามอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการตั้งรัฐบาลเสรีนิยมในประเทศต่าง ๆ ทั้งในทวีปยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ ในช่วงนี้คู่แข่งอุดมการณ์หลัก คือ อนุรักษนิยม แต่ภายหลังเสรีนิยมรอดการท้าทายทางอุดมการณ์วสำคัญจากคู่แข่งใหม่อย่างฟาสซิสต์และลัทธิคอมมิวนิสต์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความคิดเสรีนิยมยิ่งลามอีกเมื่อประชาธิปไตยเสรีนิยมเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกทั้งสองครั้ง ในทวีปยุโรปและอเมริกา การสถาปนาเสรีนิยมสังคม (social liberalism) เป็นองค์ประกอบสำคัญของการขยายรัฐสวัสดิการ ปัจจุบัน พรรคการเมืองเสรีนิยมยังครองอำนาจและอิทธิพลทั่วโลก หมวดหมู่:ขบวนการทางปรัชญา หมวดหมู่:ปรัชญาการเมือง หมวดหมู่:อุดมการณ์ทางการเมือง หมวดหมู่:วัฒนธรรมทางการเมือง หมวดหมู่:ทฤษฎีสังคม หมวดหมู่:ปัจเจกนิยม.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเสรีนิยม · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผล

เหตุผล เป็นพฤติกรรมที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้นและจะเกิดมากในมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีสมองและประสาทที่เจริญมากกว่าสัตว์อื่นๆ จึงเกิดการเรียนรู้แบบนี้ได้ดีกว่าสัตว์อื่น การใช้เหตุผลคือการใช้ความสามารถของสัตว์ตอบโต้ต่อสิ่งเร้า หรือสิ่ หมวดหมู่:ญาณวิทยา หมวดหมู่:ความเชื่อ หมวดหมู่:ความคิด หมวดหมู่:ตรรกศาสตร์ หมวดหมู่:การให้เหตุผล หมวดหมู่:เหตุผล.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเหตุผล · ดูเพิ่มเติม »

เอดินบะระ

อดินบะระ (Edinburgh เอดินเบอระ; Dùn Èideann; บางคนอ่าน/เขียนผิดเป็น: เอดินเบิร์ก) เป็นเมืองหลวงของประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของสกอตแลนด์ เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยกลาง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงอยู่กลางเมือง เป็นที่ตั้งของปราสาทเอดินบะระอันเป็นทำเลที่ได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ในสมัยก่อน โดยรอบภูเขาถูกปรับพื้นที่เป็นคูเมืองเพื่อประโยชน์ในเชิงการทหาร รอบนอกเป็นที่ราบลดหลั่นเป็นขั้น ๆ กระจายออกโดยรอบ เอดินบะระเป็นที่ตั้งของรัฐสภาแห่งใหม่ของสกอตแลนด์ (เพิ่งแยกออกมาจากรัฐสภาของสหราชอาณาจักร) ตั้งอยู่บนถนนสายหลักของเอดินบะระคือ รอยัลไมล์ (The Royal Mile) ซึ่งสร้างตามแนวสันเขาเชื่อมโยงพื้นที่ประวัติศาสตร์ระหว่างปราสาทเอดินบะระและพระราชวัง สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณรอยัลไมล์ ปราสาทเอดินบะระ และสวนพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะปราสาทเอดินบะระเป็นปราสาทที่เป็นสถานที่เปิดตัวของหนังสือเรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ เนื่องจากมีลักษณะใกล้เคียงฉากเมืองแม่มดในท้องเรื่อง เอดินบะระเป็นเมืองที่เจริญมากที่สุดเมืองหนึ่งในสหราชอาณาจักร มีศูนย์กลางเมืองตั้งอยู่รอบ ๆ ปราสาทเอดินบะระ เมืองเอดินบะระนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งเทศกาลต่าง ๆ ตัวอย่างงานสำคัญที่ถูกจัดขึ้นในเมืองเอดินบะระ ได้แก่ เทศกาลศิลปะนานาชาติ Fringe ภาพยนตร์ วิทยาศาสตร์ งานหนังสือเด็ก เพลงแจ๊ส และเพลงพื้นบ้าน ในช่วงเทศกาลเหล่านี้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมหรือช่วงหน้าร้อนของสหราชอาณาจักร ที่เมืองเอดินบะระจะมีจัดงานเทศกาลประจำปีที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาที่เมืองนี้เป็นจำนวนมาก จนทำให้เมืองเอดินบะระติดอันดับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน นอกจากนั้น เมืองเอดินบะระยังเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองที่เป็นมิตรกับเด็ก" (The Child Friendly City) เนื่องจากภายในเมืองมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เหมาะสำหรับเด็กมากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์วัยเด็กและเรื่องเล่าของผู้คน (Museum of Childhood and People’s Story) สวนสัตว์ที่มีศูนย์การศึกษาที่เคลื่อนไหวได้จริง (Dynamic Education Centre) โลกแห่งผีเสื้อและแมลง (Butterfly & Insect World) และโลกทะเลลึก (Deep Sea World) เป็นต้น ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ เมืองเอดินบะระเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอนและใหญ่เป็นอันดับห้าของยุโรป โดยมีมหาวิทยาลัยตั้งอยู่ถึงสามแห่งด้วยกันคือ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ มหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ และมหาวิทยาลัยเนเปียร์ ภาพ:Edinburgh1.JPG|ปราสาทเอดินบะระ ตั้งอยู่บนยอดเขากลางเมือง ภาพ:Edinburgh2.JPG|อาคารรัฐสภาของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ในเมืองเอดินบะร.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเอดินบะระ · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ฮูม

วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.

ใหม่!!: อดัม สมิธและเดวิด ฮูม · ดูเพิ่มเติม »

16 มิถุนายน

วันที่ 16 มิถุนายน เป็นวันที่ 167 ของปี (วันที่ 168 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 198 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อดัม สมิธและ16 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

5 มิถุนายน

วันที่ 5 มิถุนายน เป็นวันที่ 156 ของปี (วันที่ 157 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 209 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: อดัม สมิธและ5 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Adam Smithอาดัม สมิธอาดัม สมิทอดัม สมิทอดัม สมิทธแอดัม สมิธแอดัม สมิทแอดัม สมิทธ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »