โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แยกเอส. เอ. บี.

ดัชนี แยกเอส. เอ. บี.

แยกเอ.

11 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกรุงเทพมหานครรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานครลัทธิคลาสสิกใหม่ห้างสรรพสินค้าถนนวรจักรถนนจักรวรรดิ์ถนนเจริญกรุงซิงเสียนเยอะเป้าประเทศเบลเยียมเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร

รายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร เฉพาะทางแยกสัญญาณไฟจราจร ทางแยกต่างระดับ รวมทั้งทางแยกบางแห่งที่ไม่มีสัญญาณไฟจราจรและไม่ใช่ทางแยกต่างระดับ แต่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และรายชื่อทางแยกในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคลาสสิกใหม่

"แจกันเมดีชี" แจกันกระเบื้อง ตกแต่งด้วยสีปอมเปอีดำและแดง, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ราว ค.ศ. 1830 ลัทธิคลาสสิกใหม่ (neoclassicism, neo-classicism) เป็นชื่อที่ใช้สำหรับขบวนการทางวัฒนธรรมของศิลปะการตกแต่ง ทัศนศิลป์ วรรณคดี การละคร ดนตรี และสถาปัตยกรรมที่มาจากศิลปะคลาสสิกและวัฒนธรรมซึ่งส่วนใหญ่มาจากกรีกโบราณหรือโรมันโบราณ) ขบวนการเหล่านี้มีความนิยมระหว่างกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 19.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และลัทธิคลาสสิกใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

ห้างสรรพสินค้า

ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในฮ่องกง ห้างสรรพสินค้า (Department store) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ห้าง คือร้านค้าขายปลีกขนาดใหญ่ซึ่งมีสินค้าหลากหลายประเภทแยกตามแผนก โดยไม่มีการขายผ่านตัวแทนจำหน่าย (ห้างเป็นผู้นำสินค้ามาขายเอง) ห้างสรรพสินค้ามักขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับเสื้อผ้า เครื่องเรือน เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมไปถึงสายผลิตภัณฑ์อื่นๆ อย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ สุขภัณฑ์ เครื่องสำอาง เครื่องเพชรพลอย เครื่องเขียน ของเล่น อุปกรณ์กีฬา เป็นต้น ห้างสรรพสินค้าบางแห่งอาจขายเฉพาะสินค้าลดราคา และมีพื้นที่ชำระเงินเป็นศูนย์กลาง ซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่บริเวณด้านหน้าของห้าง ซึ่งจะไม่มี ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ หรืออาหารสด ขายห้างสรรพสินค้ามักเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มของร้านค้าย่อยที่อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกันกับพื้นที่ใกล้เคียง ห้างสร้างสรรพสินค้าแห่งแรกของประเทศไทย มีชื่อว่า "ห้างไนติงเกล" หรือชื่อเต็มคือ "ไนติงเกล โอลิมปิค" เป็นห้างที่มีอายุยาวนานมาเกือบ 80 ปี และในทุกวันนี้ก็ยังให้บริการอยู่ เริ่มแรกห้างดังกล่าวได้ตั้งขึ้นอยู่บริเวณแยกพาหุรัด เริ่มเปิดกิจการเมื่อปี..

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และห้างสรรพสินค้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวรจักร

นนวรจักรบริเวณแยกเอส. เอ. บี. ถนนวรจักร (Thanon Worachak) ถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เป็นถนนสายสั้น ๆ มีจุดเริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (ทางแยกเอส. เอ. บี.) และตัดกับถนนหลวง (ทางแยกวรจักร) ก่อนจะสิ้นสุดลงที่ถนนบำรุงเมือง (ทางแยกแม้นศรี) โดยเป็นเส้นแบ่งพื้นที่การปกครองระหว่างแขวงบ้านบาตรกับแขวงป้อมปราบและแขวงวัดเทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถนนวรจักรเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ปรากฏในเอกสารของกระทรวงโยธาธิการใน พ.ศ. 2439 ว่า ทรงสอบถามเรื่องการตัดถนนวรจักรจากพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดาซึ่งได้กราบบังคมทูลว่า กรมโยธาธิการยังไม่ได้รับที่ดินที่ถนนจะตัดผ่านจากกระทรวงนครบาลและยังไม่ได้ประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนเพราะยังทำแผนที่และบัญชีบ้านเรือนที่จะต้องรื้อถอนยังไม่เสร็จ จนกระทั่ง พ.ศ. 2441 การเวนคืนที่ดินก็ยังไม่เรียบร้อย เช่น ยังติดขัดที่เรือนหม่อมเจ้าดำรงค์ หม่อมเจ้าอเนก และพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปรีดา พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ซึ่งกีดขวางแนวถนน รวมทั้งสะพานเฉลิมยศ 45 ก็อยู่ในแนวถนนวรจักรด้วยเช่นกัน ต่อมาจึงได้มีการประกาศให้ราษฎรรื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวถนนเพื่อให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนน ซึ่งพระราชทานนามไว้ว่าถนนวรจักร จนสำเร็จ นามถนนวรจักรมาจากพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ (พระองค์เจ้าปราโมช) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาอัมพา ในรัชกาลที่ 2 และเป็นต้นราชสกุลปราโมช ปัจจุบัน รอบ ๆ ถนนวรจักรเป็นแหล่งรวมร้านค้าขายอะไหล่รถยนต์ รวมถึงรถจักรยานยนต์ และจักรยาน โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลองถมด้ว.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และถนนวรจักร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรวรรดิ์

นนจักรวรรดิ์ช่วงแยกวัดตึก ถนนจักรวรรดิ์ (Thanon Chakkrawat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเอส. เอ. บี. (ตรงข้ามถนนวรจักรในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราชที่สี่แยกวัดตึก เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ สิ้นสุดที่ถนนจักรเพชร สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2436 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเป็นประโยชน์แก่ราษฎร จะได้ใช้เดินทางไปมาค้าขายและใช้รถม้าได้โดยสะดวก และพระราชทานชื่อถนนตามชื่อวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม) ซึ่งถนนนี้ตัดผ่าน ปรากฏในเอกสารการก่อสร้างถนนจักรวรรดิ์ว่า แต่เดิมนั้นกำหนดให้ตัดถนนจักรวรรดิ์ไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอนุชิตชาญไชย แต่ครั้งแรกพระอนุชิตชาญไชยไม่เต็มใจ และได้กราบบังคมทูลไม่ตกลงใจเด็ดขาด โดยขออย่าให้ถนนตัดผ่านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย กระทรวงนครบาลจึงแก้ไขแนวถนน ให้ตัดผ่านบ้านของหลวงไมตรีวานิชและบ้านของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ซึ่งทำให้แนวถนนต้องอ้อมมาก ต่อมาพระยาอนุชิตชาญไชยได้กราบบังคมทูลว่า ยินดีให้ตัดถนนผ่านที่ดินได้ แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์กราบบังคมทูลว่า การแก้แนวถนนจักรวรรดิ์ให้ไปลงในที่ดินของพระอินทราธิบดีนั้น เจ้าของเต็มใจออกเงินค่าทำถนน และยังซื้อที่ดินผู้อื่นที่ถนนต้องตัดผ่านทั้งหมดถวายด้วย รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินค่าทำถนนอีก นอกจากนี้ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระยาอนุชิตชาญไชยซึ่งไม่เต็มใจแต่แรกนั้นจะยอมเสียเงินค่าทำถนนด้วยหรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ให้สร้างถนนจักรวรรดิ์ตามแนวที่แก้ไขใหม่ เพราะเป็นทางที่รัฐบาลได้ประโยชน์ แนวถนนจักรวรรดิ์จึงไปสุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ดินที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และถนนจักรวรรดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และถนนเจริญกรุง · ดูเพิ่มเติม »

ซิงเสียนเยอะเป้า

ซิงเสียนเยอะเป้า (Sing Sian Yer Pao) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาจีนที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2493 ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ทั้งด้าน สังคม และลีลาชีวิต บริหารงานโดยบริษัท ซิงเสียนเยอะเป้า จำกัด สำนักงานตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง อาคารเก่าของห้างเอ.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และซิงเสียนเยอะเป้า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

มุมมองเขตป้อมปราบศัตรูพ่ายจากพระบรมบรรพต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร.

ใหม่!!: แยกเอส. เอ. บี.และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สี่แยกเอสเอบีแยกเอสเอบี

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »