โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แม่น้ำดิยาลา

ดัชนี แม่น้ำดิยาลา

แม่น้ำดิยาลา (Diyala River; نهر ديالى; سیروان) เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำไทกริส มีความยาวรวม 445 กิโลเมตร (277 ไมล์) มีต้นน้ำอยู่ที่เมืองฮามาดานในเทือกเขาซากรอส ทางตะวันตกของประเทศอิหร่าน ไหลผ่านเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศอิรักและอิหร่านเป็นระยะทาง 32 กิโลเมตร (19.8 ไมล์) ก่อนจะรวมกับแม่น้ำไทกริสที่ทางใต้ของกรุงแบกแดด แม่น้ำดิยาลาปรากฏอยู่ในบันทึก "ฮิสทอรี" (Histories) ที่เขียนโดยเฮอรอโดทัส โดยเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "กินเดส" (Gyndes) เขาบันทึกว่าพระเจ้าไซรัสมหาราชทรงมีพระบัญชาให้กั้นแม่น้ำสายนี้ด้วยการสร้างพนังกั้นน้ำ 360 แห่ง เพื่อเป็นการลงโทษที่ทำให้ม้าศักดิ์สิทธิ์สีขาวของพระองค์จมน้ำที่นี่ ภายหลังแม่น้ำสายนี้ไหลผ่านได้อีกครั้งหลังพนังกั้นน้ำถูกทรายทับถม ในปีที่ 693 ก่อนคริสต์ศักราช แม่น้ำดิยาลาเป็นสนามรบในยุทธการที่แม่น้ำดิยาลา (Battle of Diyala River) ระหว่างชาวอัสซีเรียกับชาวเอลาม ชาวเคิร์ดและชาวเปอร์เซียเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า "ซีร์วาน" (Sirwan) ซึ่งมีความหมายว่า "แม่น้ำที่ส่งเสียงดังกึกก้อง" ปัจจุบัน ประเทศอิหร่านมีโครงการสร้างเขื่อนดาร์ยัน (Daryan Dam) ใกล้เมืองดาร์ยันในจังหวัดเคอร์มันชาห์ (Kermanshah Province) โดยมีจุดประสงค์เพื่อการชลประทานพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้และผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนประเทศอิรักใช้เขื่อนดาร์บันดิคัน (Darbandikhan Dam) ในการชลประทานและผลิตกระแสไฟฟ้าจากช่วงต้นแม่น้ำ ส่วนใช้เขื่อนเฮมริน (Hemrin Dam) ในช่วงปลายแม่น้ำด้วยจุดประสงค์เดียวกัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างทำนบดิยาลา (Diyala Weir) เพื่อใช้ในการชลประทานพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงแบกแ.

12 ความสัมพันธ์: ชลประทานชาวเคิร์ดชาวเปอร์เซียพระเจ้าไซรัสมหาราชอัสซีเรียประเทศอิรักประเทศอิหร่านแบกแดดแม่น้ำแม่น้ำไทกริสเอลามเฮอรอโดทัส

ชลประทาน

ลประทานเป็นการทดน้ำและระบายน้ำ ใช้เพื่อช่วยให้พืชผลการเกษตรเติบโต บำรุงรักษาภูมิประเทศ และปลูกพืชคืนสภาพดินเปลี่ยนสภาพในพื้นที่แห้งแล้งระหว่างช่วงฝนตกไม่เพียงพอ นอกเหนือจากนี้ ชลประทานยังมีประโยชน์อื่นในการผลิตพืชผล ซึ่งรวมถึงการปกป้องพืชจากความเย็น การยับยั้งการเติบโตของวัชพืชในไร่ธัญพืช และการช่วยป้องกันดินอัดตัวคายน้ำ ระบบชลประทานยังใช้ยับยั้งฝุ่น การกำจัดสิ่งปฏิกูลและในการเหมืองแร่ ชลประทานมักจะศึกษาร่วมกับการระบายน้ำซึ่งเป็นการน้ำผิวดินหรือใต้ออกตามธรรมชาติหรือโดยการประดิษฐ์ของมนุษย์จากบริเวณที่กำหนด ชลประทานเป็นสิ่งสำคัญของการเกษตรมานานกว่า 5000 ปีและเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมหลายวัฒนธรรม ในทางประวัติศาสตร์ชลประทานเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจและสังคัมทั่วโลกจากเอเชียจนถึงสหรัฐอเมริกาตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและชลประทาน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคิร์ด

วเคิร์ด (کورد Kurd คูร์ด, Kurdish people) เป็นชนในกลุ่มชนอิหร่านที่เป็นกลุ่มภาษาชาติพันธุ์ (ethnolinguistic) ที่ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่เป็นเคอร์ดิสถาน ที่รวมทั้งบางส่วนบริเวณที่ใกล้เคียงกันที่รวมทั้งอิหร่าน อิรัก, ซีเรีย และ ตุรกี นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มชนเคิร์ดขนาดใหญ่พอสมควรทางตะวันตกของตุรกี และในเลบานอน, อาร์มีเนีย, อาเซอร์ไบจาน และเมื่อไม่นานมานี้ในประเทศในยุโรป และ สหรัฐอเมริกา (ดูชาวเคิร์ดพลัดถิ่น) ชาวเคิร์ดพูดภาษาเคิร์ดซึ่งเป็นภาษาในภาษากลุ่มอิหร่าน เมือง Piranshahr เป็นเมืองหลวงของอำเภอ Mukerian.

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและชาวเคิร์ด · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเปอร์เซีย

วเปอร์เซีย (Persian people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ในกลุ่มชนอิหร่านที่พูดภาษาเปอร์เซียและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและชาวเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าไซรัสมหาราช

พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia, کوروش, คูรูฌ) หรือพระคริสตธรรมเรียก ไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย (Cyrus king of Persia) หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great; ประสูติราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล, สวรรคตเมื่อ 4 ธันวาคม ปีที่ 530 ก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอเคซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อาร์เคเมนิด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เปอร์เซีย.

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและพระเจ้าไซรัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

แบกแดด

แผนที่แสดงที่ตั้งแบกแดดในอิรัก แบกแดด ประเทศอิรัก แบกแดด (Baghdad, Bagdad; بغداد‎ บัฆดาด; بەغدا) เป็นเมืองหลวงของประเทศอิรัก มีประชากรในเขตนครประมาณ 7,000,000 คน เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในอิรักการประมาณการจำนวนประชากรทั้งหมดแต่ละชิ้นนั้นแตกต่างอย่างสำคัญ Encyclopædia Britannica ระบุจำนวนในปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและแบกแดด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำไทกริส

ไทกริส (Tigris) เป็นแม่น้ำที่มีต้นน้ำอยู่ในเทือกเขาทางตะวันออกของประเทศตุรกี ยาวประมาณ 1,900 กิโลเมตร ไหลผ่านชายแดนประเทศซีเรีย เข้าดินแดนอารยธรรมเมโสโปเตเมียเดิมหรือประเทศอิรักในปัจจุบัน แล้วมารวมกับแม่น้ำยูเฟรทีสใกล้เมืองบัสรา เกิดเป็นแม่น้ำใหม่คือ ชัฏฏุลอะร็อบ มีความยาวประมาณ 200 กิโลเมตร ก่อนไหลลงสู่อ่าวเปอร์เซีย ท ท ท หมวดหมู่:แม่น้ำนานาชาติในทวีปเอเชีย.

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและแม่น้ำไทกริส · ดูเพิ่มเติม »

เอลาม

อลาม หรือ จักรวรรดิเอลาไมท์ (Elam หรือ Elamite Empire) เป็นอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบัน เอลามเป็นศูนย์กลางทางตะวันตกสุดและทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบันที่ครอบคลุมตั้งแต่ที่ลุ่มคูเซสสถาน (Khuzestan) และ จังหวัดอิลาม (Ilam Province) ที่เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “เอลาม” ไปจนถึงจิรอฟท์ในจังหวัดเคอร์มาน (Kerman province) และเบอร์เนดในซาโบล (Zabol) และรวมทั้งบางส่วนเล็กน้อยของทางใต้ของอิรัก จักรวรรดิเอลาไมท์รุ่งเรืองอยู่ระหว่าง 2800 ปีจนถึง 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมโสโปเตเมียเอลามเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในตะวันออกโบราณระหว่างยุคทองแดง (Chalcolithic) การเริ่มใช้บันทึกโดยตัวอักษรจากตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราชประจวบกับประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย ในสมัยเอลาไมท์โบราณ (ยุคสัมริดตอนกลาง) เอลามประกอบด้วยกลุ่มราชอาณาจักรบนที่ราบสูงอิหร่านที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อันชาน และจากราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชศูนย์กลางก็ย้ายไปอยู่ที่ซูซา (Susa) บนที่ราบต่ำคูเซสสถาน วัฒนธรรมของเอลามมีบทบาทสำคัญในหมู่ชนกูเทียน (Gutian people) โดยเฉพาะในสมัยที่จักรวรรดิอคีเมนียะห์เข้ามาแทนที่และภาษาเอลาไมท์ยังคงใช้เป็นภาษาราชการ ภาษาเอลาไมท์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาใดๆ และดูเหมือนจะเป็นภาษาอิสระเช่นภาษาสุเมเรียน แต่นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน (Elamo-Dravidian).

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและเอลาม · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: แม่น้ำดิยาลาและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »