โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ชาวเปอร์เซีย

ดัชนี ชาวเปอร์เซีย

วเปอร์เซีย (Persian people) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ในกลุ่มชนอิหร่านที่พูดภาษาเปอร์เซียและส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิหร่าน.

13 ความสัมพันธ์: พระเจ้าไซรัสมหาราชกลุ่มชนอิหร่านภาษาเปอร์เซียศาสนาอิสลามสารานุกรมบริตานิกาอัลเฆาะซาลีอิบน์ ซีนาฮาฟิซดาไรอัสมหาราชประเทศอิหร่านปิแอร์ โอมิดดียาร์โอมาร์ คัยยามเฟอร์โดว์ซี

พระเจ้าไซรัสมหาราช

พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (Cyrus II of Persia, کوروش, คูรูฌ) หรือพระคริสตธรรมเรียก ไซรัสกษัตริย์ของเปอร์เซีย (Cyrus king of Persia) หรือมักเรียกกันว่า พระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus the Great; ประสูติราวปีที่ 600 หรือ 576 ก่อนคริสตกาล, สวรรคตเมื่อ 4 ธันวาคม ปีที่ 530 ก่อนคริสตกาล) เป็นปฐมกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอาคีเมนิด (Achaemenid Empire) ซึ่งพระองค์ทรงผนวกขึ้นจากอารยรัฐแถบตะวันออกใกล้แต่เดิม และทรงขยายจนเจริญกว้างขวางกระทั่งทรงมีชัยเหนือเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลางส่วนใหญ่ ยุโรปบางส่วน และคอเคซัส (Caucasus) ด้วย พระองค์จึงเฉลิมนามรัชกาลว่า "พระมหาราชผู้เป็นพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย พระเจ้ากรุงอันชัน พระเจ้ากรุงมีเดีย พระเจ้ากรุงแบบาลอน พระเจ้ากรุงซูเมอร์กับแอแกด พระเจ้าแว่นแคว้นทั้งสี่แห่งแผ่นดินโลก" ในราวปีที่ 539 ถึง 530 ก่อนคริสตกาล พระองค์ยังได้ตราจารึกทรงกระบอก เรียก "กระบอกพระเจ้าไซรัส" (Cyrus Cylinder) มีเนื้อหาซึ่งถือกันว่าเป็นประกาศสิทธิมนุษยชนฉบับต้น ๆ ของโลกด้วย หมวดหมู่:บุคคลในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์อาร์เคเมนิด หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์เปอร์เซีย.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและพระเจ้าไซรัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มชนอิหร่าน

ูมิศาสตร์การกระจายของภาษากลุ่มอิหร่าน กลุ่มชนอิหร่าน (Iranian peoples) เป็นกลุ่มชาติพันธ์ของตระกูลอินโด-ยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน โดยผู้พูดภาษาอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มอิหร่านและชาติพันธุ์ของสังคมที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันเช่นชาวเปอร์เซีย, ชาวออสเซเตีย, ชาวเคิร์ด, ชาวปาทาน, ชาวทาจิก, ชาวบาโลช, และZaza People Lurs.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและกลุ่มชนอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเปอร์เซีย

ษาเปอร์เซีย หรือ ฟาร์ซี (فارسی Farsi, ฟอร์ซี ชื่อท้องถิ่นใน ประเทศอิหร่าน และประเทศอัฟกานิสถาน), ทาจิก (Tajik, ภาษาย่อยในเอเชียกลาง) หรือ ดารี (Dari ชื่อท้องถิ่นในประเทศอัฟกานิสถาน) เป็นภาษาที่พูดใน ประเทศอิหร่าน ประเทศอัฟกานิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศบาห์เรน และประเทศอุซเบกิสถาน เป็นภาษาทางการใน 3 ประเทศแรกที่กล่าวไว้ คนที่พูดเป็นภาษาแม่มีอยู่ประมาณ 75 ล้านคน เป็นสมาชิกของภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เป็นชนิดประธาน กรรม กร.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและภาษาเปอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมบริตานิกา

รานุกรมบริตานิกา (Encyclopædia Britannica) เป็นสารานุกรมภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์โดยบริษัท Encyclopædia Britannica, Inc.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและสารานุกรมบริตานิกา · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฆาะซาลี

อะบู ฮามิด มุฮัมมัด อิบน์ มุฮัมมัด อัลเฆาะซาลี (ابو حامد محمد ابن محمد الغزالي Abū Ḥāmid Muḥammad ibn Muḥammad al-Ghazālī) เป็นนักเทววิทยาศาสนาอิสลาม นักนิติศาสตร์ นักปรัชญา และรหัสยิก ชาวเปอร์เซียLudwig W. Adamec (2009), Historical Dictionary of Islam, p.109.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและอัลเฆาะซาลี · ดูเพิ่มเติม »

อิบน์ ซีนา

อะบูอาลี อัลฮูซัยน์ บินอับดิลลาฮ์ อิบนุซีนา หรือ แอวิเซนนา (Avicenna; ค.ศ. 980-1037) เป็นนักปราชญ์ชาวเปอร์เซีย ที่มีบทบาทด้านสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แผ่ระบาดโรคในอาณาจักร เขายังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของเจ้าชายต่าง ๆ ในช่วงบั้นท้ายชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ เขายังเขียนหนังสือปทานุกรมคำศัพท์, สารานุกรมศัพท์ ในหัวข้อต่างๆ เช่นการแพทย์ ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ดนตรี เศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นกวีที่มีผลงานได้รับความนิยมในโลกอาหรับ ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ ชุด Canon of Medicine ที่นำรากฐานมาจากฮิปโปเครติส อริสโตเติล ไดออสคอริดีส กาเลน และบุคคลสำคัญวงการแพทย์อื่น โดยแทรกทฤษฏีและการสังเกตของเขาเองลงไปด้วย หนังสืออีกชุดของเขามีเนื้อหาทางด้านเภสัชวิทยาต้นไม้สมุนไพร ถือเป็นตำราพื้นฐานแพทย์ที่สำคัญของโลกมุสลิมและคริสเตียน แต่ทฤษฎีของเขาก็ดูด้อยความเชื่อถือลงเมื่อลีโอนาร์โด ดา วินชี ปฏิเสธตำรากายวิภาคของเขา แพราเซลซัส เผาสำเนาตำรา Canon of Medicine ที่ใช้สอนกันในสวิสเซอร์แลนด์ และวิลเลียม ฮาร์วีย์ แพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ล้มทฤษฎีของเขาในเรื่องการค้นพบระบบหมุนเวียนโลหิตในร่างกายคน.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและอิบน์ ซีนา · ดูเพิ่มเติม »

ฮาฟิซ

วาจา ชามซู ดิน มูฮัมหมัด ฮาฟิซ ชิราซิ (خواجه شمس‌ دین محمد حافظ شیرازی),เจ้าของนามปากกา ฮาฟิซ (1325/26–1389/1390), เป็นกวีชาวอิหร่าน ผลงานของเขาประกอบด้วยวรรณกรรมชุดของเปอร์เซีย (Diwan) ซึ่งจะพบในบ้านของคนส่วนใหญ่ในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และทาจิกิสถาน เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในโลกที่เรียนรู้บทกวีของเขาเพื่อศึกษาใจความและใช้เป็นสุภาษิตและคำพูดมาจนถึงทุกวันนี้ ชีวิตและบทกวีของเขาได้รับการวิเคราะห์ และตีความคำที่มีอิทธิพลในยุคหลังศตวรรษที่สิบสี่อย่างแพร่หลาย เขาเป็นกวีที่เขียนเกี่ยวกับเปอร์เซียมากกว่านักเขียนอื่นๆ ในรูปแบบของกาซาลส์ บทกวีของเขาเป็นความศรัทธาที่เผยให้เห็นความเจ้าเล่ห์ อิทธิพลของเขาในชีวิตของชาวอิหร่านสามารถพบได้ใน "การอ่านฮาฟิซ" (e-FAL Hafez, เปอร์เซีย: فالحافظ) บทกวีของเขาถูกนำมาใช้บ่อยครั้งในเพลงดั้งเดิมเปอร์เซีย ภาพศิลปะและการเขียนตัวอักษรภาษาเปอร์เซีย บทกวีมักจะถูกดัดแปลง และเลียนแบบการแปลบทกวีของฮาฟิซอยู่ในทุกภาษาหลัก.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและฮาฟิซ · ดูเพิ่มเติม »

ดาไรอัสมหาราช

ระเจ้าดาไรอัสที่ 1 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ดาไรอัสมหาราช ทรงเป็นกษัตริย์เปอร์เซียองค์ที่ 2 ต่อจาก พระเจ้าไซรัสมหาราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายองค์หนึ่งใน ราชวงศ์อคีเมนียะห์ โดยทรงครองราชย์เมื่อ 522 ปี ก่อน..

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและดาไรอัสมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ปิแอร์ โอมิดดียาร์

ปิแอร์ โอมิดดียาร์ ปิแอร์ โอมิดดียาร์ (Pierre Omidyar, อาหรับ: پیر امیدی) เกิดเมื่อ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) นักธุรกิจชาวอเมริกัน และนักสังคมสงเคราะห์ (philanthropist) ผู้ก่อตั้งธุรกิจออนไลน์อีเบย์ ธุรกิจออนไลน์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและปิแอร์ โอมิดดียาร์ · ดูเพิ่มเติม »

โอมาร์ คัยยาม

อมาร์ คัยยาม หลุมศพของโอมาร์ คัยยาม ในเมืองเนชาปูร ประเทศอิหร่าน โอมาร์ คัยยาม (18 พฤษภาคม ค.ศ. 1048 - 4 ธันวาคม ค.ศ. 1131; เปอร์เซีย عمر خیام) เกิดในเมืองเนชาปูร เมืองหลวงของเขตการปกครองคุรอซาน ในเปอร์เซีย (ประเทศอิหร่าน) โอมาร์ คัยยาม เป็นกวี นักปราชญ์ นักดาราศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ และแพทย์ชาวเปอร์เซียที่ได้รับอิทธิพลจากอะบู เรฮัน อัลบิรูนีและอวิเซนนา เขาเป็นผู้ประพันธ์รุไบยาตอันลือชื่อ โดยผลงานของเขาเป็นต้นแบบของผลงานของอัตตาร์แห่งเนชาปูร คัยยามมีชื่อในภาษาอาหรับว่า "ฆิยาษุดดีน อะบุลฟาติฮฺ อุมัร บิน อิบรอฮีม อัลคอยยาม" (غياث الدين ابو الفتح عمر بن ابراهيم خيام نيشابوري) คำว่า "คัยยาม" (خیام) เป็นคำยืมจากภาษาอาหรับ มีความหมายว่า "ผู้สร้างกระโจมพัก" มะลิกชาห์ ญะลาลุดดีน กษัตริย์ราชวงศ์สัลจูกได้มีรับสั่งให้คัยยามมาที่หอดูดาวแห่งใหม่ในเมืองเรย์ (Ray) ในราวปี 1074 เพื่อปฏิรูปแก้ไขปฏิทินสุริยคติที่ใช้ในอิหร่านเป็นเวลานาน คัยยามได้นำเสนอปฏิทินที่มีความถูกต้องแม่นยำและตั้งชื่อว่า อัตตารีค อัลญะลาลีย์ (เพื่อเป็นเกียรติแก่กษัตริย์ญะลาลุดดีน) ซึ่งมีความผิดพลาดเพียงวันเดียวในรอบ 3770 ปี และมีความถูกต้องเหนือกว่าปฏิทินเกรกอเรียนที่มีความผิดพลาด 1 วันใน 3330 ปี.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและโอมาร์ คัยยาม · ดูเพิ่มเติม »

เฟอร์โดว์ซี

ม อับดุล-กอซิม เฟอร์โดว์ซี ตูซี (حکیم ابوالقاسم فردوسی توسی‎)940 หรือ เฟอร์โดว์ซี (فردوسی; ค.ศ. 940–1020) เป็นกวีชาวเปอร์เซียที่ได้รับความเคารพอย่างสูง เขาเป็นผู้ประพันธ์ ชาห์นาเมฮ์ มหากาพย์ประจำชาติของอิหร่านและสังคมที่เกี่ยวเนื่อง มหากาพย์ ชาห์นาเมฮ์ เดิมประพันธ์ให้แก่เจ้าชายแห่งราชวงศ์ซามานิด (Samanid) ผู้ซึ่งรับผิดชอบต่อการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมของเปอร์เซียหลังการรุกรานของอาหรับในคริสต์ศตวรรษที่เจ็ด ชาห์นาเมฮ์ บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นตำนานพระมหากษัตริย์อิหร่านก่อนยุคอิสลามตั้งแต่พระเจ้าเคยูมาร์ส (Keyumars) ถึงพระเจ้ายาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) เฟอร์โดว์ซียังเขียนกวีต่อไปหลังราชวงศ์ซามานิดถูกพิชิตโดยราชวงศ์กาซานาวิด (Ghaznavid) ผู้ปกครองใหม่ พระเจ้ามาฮ์มุดแห่งกาซนี (Mahmud of Ghazni) เป็นชาวเติร์ก อาจขาดความสนพระทัยในผลงานของเฟอร์โดว์ซีซึ่งแสดงโดยราชวงศ์ซามานิด ส่งผลให้เขาขาดความนิยมในพระราชสำนัก เฟอร์โดว์ซีใช้เวลากว่าสามทศวรรษ (จาก ค.ศ. 977 ถึง 1010) ประพันธ์ ชาห์นาเมฮ์ ซึ่งได้กลายมาเป็นหนึ่งในผลงานที่ทรงอิทธิพลที่สุดในวรรณกรรมเปอร์เซี.

ใหม่!!: ชาวเปอร์เซียและเฟอร์โดว์ซี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »