โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลน

ดัชนี แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลน

แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลน (Paul Allen's flower fly; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eristalis alleni Thompson) เป็นแมลงวันตอมดอกไม้ ซึ่งพบในเขตป่าคอสตาริกาบนที่ราบสูงภาคกลางเท่านั้น โดยได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของพอล อัลเลน ส่วนแมลงวันตอมดอกไม้อีกสปีชี่ส์ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตเดียวกันก็ได้รับการตั้งชื่อตามบิล เกตส์ ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของพอล อัลเลน โดยให้ชื่อแมลงวันตอมดอกไม้อีกสปีชี่ส์นี้ว่าแมลงวันตอมดอกไม้ บิล เกตส์ (Eristalis gatesi) มันเป็นพันธุ์เดียวกันกับแมลงวันตอมดอกไม้พันธุ์ใหญ่ซึ่งมีชื่อว่า Eristalis circe Williston, 1891 กับ Eristalis persa Williston, 1891 หากแต่มีสีตรงส่วนขาที่ต่างกัน.

9 ความสัมพันธ์: บิล เกตส์พอล อัลเลนการตั้งชื่อทวินามสัตว์สัตว์ขาปล้องแมลงแมลงวันแมลงวันดอกไม้แมลงวันตอมดอกไม้ บิล เกตส์

บิล เกตส์

วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวSomalia และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเรื่องเทคโนโลยี นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สามได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน (KBE) จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและบิล เกตส์ · ดูเพิ่มเติม »

พอล อัลเลน

อล การ์ดเนอร์ อัลเลน (Paul Gardner Allen) เกิดวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและพอล อัลเลน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงวัน

แมลงวัน (ภาษาไทยถิ่นเหนือ: แมงงุน) เป็น แมลง ใน อันดับ Diptera (di.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและแมลงวัน · ดูเพิ่มเติม »

แมลงวันดอกไม้

แมลงวันดอกไม้ (Flower fly) วงศ์ Syrphidae หรือที่รู้จักในชื่อ hoverfly เป็นวงศ์หนึ่งของแมลง.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและแมลงวันดอกไม้ · ดูเพิ่มเติม »

แมลงวันตอมดอกไม้ บิล เกตส์

แมลงวันตอมดอกไม้ บิล เกตส์ (Bill Gates' flower fly; ชื่อวิทยาศาสตร์: Eristalis gatesi) เป็นแมลงวันตอมดอกไม้ ซึ่งพบในเขตป่าเมฆ เขาป่าดิบสูง ในประเทศคอสตาริกาเท่านั้น โดยได้รับการตั้งชื่อตามชื่อของบิล เกตส์ ส่วนแมลงวันตอมดอกไม้อีกสปีชี่ส์ที่อยู่อาศัยอยู่ในเขตเดียวกันก็ได้รับการตั้งชื่อตามพอล อัลเลน ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานของบิล เกตส์ โดยให้ชื่อแมลงวันตอมดอกไม้อีกสปีชี่ส์นี้ว่าแมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลน (Eristalis alleni) โดยมีคริส ธอมสัน เป็นผู้ตั้งชื่อสปีชี่ส์เหล่านี้ ชื่อทั้งสองต่างเป็นที่รู้จักกันในวิชาวิทยาศาสตร์แขนงกีฏวิทยาด้านแมลงวัน.

ใหม่!!: แมลงวันตอมดอกไม้ พอล อัลเลนและแมลงวันตอมดอกไม้ บิล เกตส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Eristalis alleni

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »