โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แบงท์ เอ็ดเลียน

ดัชนี แบงท์ เอ็ดเลียน

แบงท์ เอ็ดเลียน (ขวา) กับสมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน แบงท์ เอ็ดเลียน (Bengt Edlén; 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1906 — 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1993) เป็นทั้งศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ชาวสวีเดนผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านสเปกโทรสโกปี เขาได้เข้าร่วมในการแก้ ปริศนาโคโรนา ซึ่งเป็นเส้นเงาที่ไม่สามารถระบุได้ในสเปกตรัมของดวงอาทิตย์ โดยเชื่อกันอย่างคร่าวๆว่าน่าจะมาจากธาตุไม่ปรากฏชื่อมาจนบัดนี้โดยเรียกว่าโคโรเนียม ในภายหลัง แบงท์ เอ็ดเลียน ได้แสดงให้เห็นว่าเส้นเหล่านั้นมาจากการแตกตัวของเหล็กที่แตกตัวเป็นไอออน (Fe-XIV) การค้นพบของเขาไม่ได้รับการยอมรับในทันที ตั้งแต่ไอออนไนซ์ได้รับการอ้างอิงว่าต้องมีอุณหภูมิที่ล้านองศา หลังจากนั้นอุณภูมิของโคโรนาดวงอาทิตย์ก็ได้รับการตรวจสอบ นอกจากนี้ เขายังมีผลงานสำคัญในการวิเคราะห์สเปกตรัมของดาววูล์ฟ-ราเยท์ แบงท์ เอ็ดเลียน ได้เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยลุนด์ใน..

14 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2449พ.ศ. 2536มหาวิทยาลัยลุนด์มหาวิทยาลัยอุปซอลาสเปกตรัมสเปกโทรสโกปีธาตุดวงอาทิตย์ดาววูล์ฟ-ราเยท์นอร์เชอปิงโคโรนาเหล็ก10 กุมภาพันธ์2 พฤศจิกายน

พ.ศ. 2449

ทธศักราช 2449 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1906 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและพ.ศ. 2449 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลุนด์

มหาวิทยาลัยลุนด์ (Lunds universitet) เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงของยุโรป เป็นสถาบันเกี่ยวกับการศึกษาและวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในสแกนดิเนเวีย, Euro Scholars Website, The Solander Program Website และมักจะถูกจัดอันดับอยู่ในมหาวิทยาลัยดีเด่น 100 ลำดับแรกของโลกเสมอ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ที่เมืองลุนด์ มณฑลสแกนเนีย ทางตอนใต้ของประเทศสวีเดน การก่อตั้งมหาวิทยาลัยย้อนกลับไปในยุโรปสมัยกลาง ปีคริสต์ศักราช 1425 ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่เมืองลุนด์เป็นแห่งแรก และถือว่าเป็นสถาบันการศีกษาระดับมหาวิทยาลัยแห่งแรกในแถบสแกนดิเนเวีย หลังจากนั้น 52 ปีต่อมา ได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยอีก 2 แห่ง คือมหาวิทยาลัยอุปซอลา ที่เมืองอุปซอลา ประเทศสวีเดน ในปี..1477 และมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กในปี..1479 ในปี..1536 มหาวิทยาลัยลุนด์ได้ถูกยกเลิก เนื่องจากมณทลทางใต้ของสวีเดนได้ตกเป็นของเดนมาร์ก มหาวิทยาลัยลุนด์ได้รับการสถาปนาขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี..1666 หลังจากที่สวีเดนได้รับดินแดนส่วนนั้นคืนและได้ทำสัญญาสันติภาพต่อกันในปี..1658 มหาวิทยาลัยลุนด์ เปิดสอนใน 8 คณะ และมีอีก 2 วิทยาเขตย่อยในเมืองมัลเมอร์ และ เฮลซิงบอร์ย มีจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 47,266 คน (ปี 2011) มีหลักสูตรทั้งหมด 274 หลักสูตร มหาวิทยาลัยลุนด์เป็นสมาชิกสหพันธ์มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ 21 แห่งของยุโรป อาคารที่ทำการมหาวิทยาลัย สร้างเมื่อปี ค.ศ.1882.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและมหาวิทยาลัยลุนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอุปซอลา

อันเดอส์ เซลเซียส มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala Universitetet) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับนานาชาติ ตั้งอยู่ที่มณฑลอุปซอล่า ขึ้นไปทางตอนเหนือของกรุงสตอกโฮล์ม ประมาณ 60 กม.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและมหาวิทยาลัยอุปซอลา · ดูเพิ่มเติม »

สเปกตรัม

ีต่อเนื่องของรุ้งกินน้ำ สเปกตรัม (ละติน spectrum ภาพ, การปรากฏ) หมายถึง เงื่อนไขอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะกลุ่มของค่าหนึ่งๆ แต่สามารถแปรผันได้อย่างไม่สิ้นสุดภายใต้ความต่อเนื่อง (continuum) คำนี้มีการใช้เป็นครั้งแรกในเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับทัศนศาสตร์ (optics) โดยเฉพาะแถบสีรุ้งที่ปรากฏจากการแยกแสงขาวด้วยปริซึม นอกจากนั้นแล้วสามารถใช้ในความหมายอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ เช่น สเปกตรัมของความคิดเห็นทางการเมือง สเปกตรัมของการออกฤทธิ์ของยา ซึ่งค่าต่างๆ ในสเปกตรัมไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนที่นิยามไว้อย่างแม่นยำเหมือนในทัศนศาสตร์ แต่เป็นค่าบางค่าที่อยู่ภายในช่วงของสเปกตรัม สเปกตรัมที่มองเห็นได้ แสงเป็นคลื่นของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า  " แสงสีขาว"       เป็นส่วนผสมชองแสงสีต่างๆ  แต่ละแสงสีมีความถี่และความยาวคลื่นเฉพาะ  ตัวสีเหล่านี้รวมตัวเป็นสเปกตรัมที่มองเห็นได้  ตาและสมองของเรารับรู้สิ่งต่างๆ  จากความแตกต่างของความยาวคลื่นของสีที่เรามองเห็นได้  แสงสีที่ปล่อยออกมา             ลำแสงขาวที่ถูกหักเหขณะที่มันผ่านเข้าและออกจากปริซึม  ปริซึมหักเหแสงที่มีความยาวคลื่นต่างๆกันด้วยปริมาณต่างกัน  แล้วปล่อยให้ลำแสงขาวออกมาเป็นสเปกตรัมที่มองเห็นได้  แสงสี  และความร้อน            อะตอมของวัตถุร้อนจะให้รังสีอินฟราเรด  และแสงสีแดงบางส่วนออกมา  ขณะทีวัตถุร้อนขึ้น  อะตอมของวัตถุจะให้แสงสีที่มีความยาวคลื่นสั้นลง  ได้แก่  แสงสีส้มแล้วเป็นแสงสีเหลือง  วัตถุที่ร้อนมากจะให้แสงสีทั้งสเปกตรัมทำให้เห็นเป็นแสงสีขาว สีดิฟแฟรกชั่น             พลังงานคลื่นทุกรูปจะ  "ดิฟแฟรก"  หรือกระจายออกจาเมื่อผ่านช่องว่าง   หรือรอบๆวัตถุ  แผ่นดิฟแฟรกชันเกรตติ้ง  เป็นแผ่นแก้วที่สลักเป็นช่องแคบๆ  รังสีแสงจะกระจายออก  ขณะที่ผ่านช่องแคบนั้นและมีสอดแทรกระหว่างรังสีโค้งเหล่านั้นเกิดเป็นทางของสีต่างๆกัน   สีท้องฟ้า  ท้องฟ้าสีฟ้า             ดวงอาทิตย์ให้แสงสีขาวบริสุทธิ์  ซึ่งจะกระเจิงโดยโมเลกุลของอากาศ  ขณะที่ส่องเข้ามาในบรรยากาศของโลก  แสงสีฟ้าจะกระเจิงได้ดีกว่าแสงสีอื่น จึงทำให้ท้องฟ้าเป็นสีฟ้า  ท้องฟ้าสีแดง             เมื่อดวงอาทิตย์ใกล้จะลับขอบฟ้า  แสงสีฟ้าทางปลายอีกด้านหนึ่งของสเปกตรัมจะกระเจิง  เราจะเห็นดวงอาทิตย์เป็นแสงสีแดง-ส้ม  เพราะแสงสีจากปลายสเปกตรัมด้านนี้ผ่านมายังตาเรา  แต่แสงสีฟ้าหายไป รุ้งปฐมภูมิ             จะเห็นรุ้งในขณะทีฝนตก  เมื่อดวงอาทิตย์  อยู่ช้างหลังเรา  รังสีแสงอาทิตย์ส่องผ่านหยดน้ำฝน  ในท้องฟ้า  หยดน้ำฝนนั้นคล้ายปริซึมเล็กๆ  แสงขาวจะหักเหเป็นสเปกตรัมภายในหยดน้ำฝน  และจะสะท้อนกลับออกมาสู่อากาศเป็นแนวโค้งสีต่างๆ อ้างอิง.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและสเปกตรัม · ดูเพิ่มเติม »

สเปกโทรสโกปี

ลื่อนไหวแสดงการกระเจิงของแสง เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านปริซึม สเปกโทรสโกปี (spectroscopy) แต่เดิมหมายถึงการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างการแผ่รังสีกับสสารในรูปของฟังก์ชันความยาวคลื่น (λ) สเปกโทรสโกปีจะอ้างถึงการกระเจิงของแสงที่ตามองเห็นตามขนาดความยาวคลื่นของมัน เช่น การกระเจิงของแสงผ่านปริซึม ต่อมาหลักการนี้ได้ขยายออกไปครอบคลุมการวัดปริมาณใดๆ ที่อยู่ในรูปฟังก์ชันของทั้งความยาวคลื่นและความถี่ ดังนั้นมันจึงเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสนามหรือความถี่ (ν) ด้วย ขอบเขตการศึกษายังขยายไปครอบคลุมเรื่องของพลังงาน (E) ในฐานะตัวแปร ทั้งนี้เนื่องมาจากความสัมพันธ์กันระหว่างพลังงานและความถี่ ตามสมการ E.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและสเปกโทรสโกปี · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาววูล์ฟ-ราเยท์

นบิวลา M1-67 รอบดาวโวล์ฟ-ราเย WR 124 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ดาวโวล์ฟ-ราเย (Wolf–Rayet stars หรือ ดาว WR) คือดาวฤกษ์มวลมาก (สูงกว่า 20 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) ที่วิวัฒนาการแล้ว และสูญเสียมวลอย่างรวดเร็วโดยกลายเป็นลมดาวฤกษ์ที่แรงมาก ความเร็วสูงกว่า 2000 กม./วินาที ดวงอาทิตย์ของเราสูญเสียมวลโดยประมาณ 10−14 มวลดวงอาทิตย์ต่อปี ขณะที่ดาวโวล์ฟ-ราเย สูญเสียมวลโดยเฉลี่ย 10−5 มวลดวงอาทิตย์ต่อปี ดาวโวล์ฟ-ราเย มีความร้อนสูงมาก อุณหภูมิที่พื้นผิวอยู่ระหว่าง 25,000 K ถึง 50,000 K.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและดาววูล์ฟ-ราเยท์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์เชอปิง

นอร์เชอปิง (Norrköping) เป็นเมืองในเขตเอิสเตร์เยิตลันด์ ทางตะวันออกของประเทศสวีเดน มีประชากร 87,247 คน ในปี..

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและนอร์เชอปิง · ดูเพิ่มเติม »

โคโรนา

ราสามารถสังเกตเห็นโคโรนาของดวงอาทิตย์ได้ด้วยตาเปล่า ในเวลาที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง โคโรนา (Corona) คือพลาสมาชนิดหนึ่งในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นๆ ที่แผ่พุ่งออกไปในอวกาศเป็นระยะทางหลายล้านกิโลเมตร สามารถมองเห็นได้ง่ายในเวลาที่เกิดสุริยุปราคา นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตการได้จากกราฟโคโรนา มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาละติน ซึ่งมีความหมายว่า "มงกุฎ" (crown).

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและโคโรนา · ดูเพิ่มเติม »

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

10 กุมภาพันธ์

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 41 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 324 วันในปีนั้น (325 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและ10 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

2 พฤศจิกายน

วันที่ 2 พฤศจิกายน เป็นวันที่ 306 ของปี (วันที่ 307 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 59 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แบงท์ เอ็ดเลียนและ2 พฤศจิกายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »