โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยอุปซอลา

ดัชนี มหาวิทยาลัยอุปซอลา

อันเดอส์ เซลเซียส มหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala Universitetet) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยระดับนานาชาติ ตั้งอยู่ที่มณฑลอุปซอล่า ขึ้นไปทางตอนเหนือของกรุงสตอกโฮล์ม ประมาณ 60 กม.

8 ความสัมพันธ์: กลุ่มนอร์ดิกรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสต็อกโฮล์มจักรวรรดิสวีเดนคาโรลัส ลินเนียสประเทศสวีเดนแอนเดอร์ เซลเซียส

กลุ่มนอร์ดิก

แผนที่ภูมิศาสตร์การเมืองของกลุ่มนอร์ดิก กลุ่มประเทศนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic countries) หรือรวมเรียกเป็นภูมิภาคนอร์ดิก (อังกฤษ: Nordic region) หมายถึงภูมิภาคในยุโรปเหนือ ประกอบด้วย เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และสวีเดน และดินแดนปกครองตนเองในสังกัดประเทศเหล่านั้นสามแห่ง ได้แก่ กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก) หมู่เกาะแฟโร (เดนมาร์ก) และหมู่เกาะโอลันด์ (ฟินแลนด์) ประเทศในกลุ่มนอร์ดิกมีประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนาน และมีสิ่งต่างๆที่คล้ายคลึงกันในสังคม เช่น ระบบการเมืองการปกครอง กลุ่มนอร์ดิกมีประชากรรวมกันราว 24 ล้านคน คำว่านอร์ดิก มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า Pays Nordiques ซึ่งเทียบเท่ากับคำภาษาท้องถิ่นว่า Norden (ภาษากลุ่มสแกนดิเนเวีย – สวีเดน นอร์เวย์ เดนมาร์ก) Pohjola/Pohjoismaat (ภาษาฟินแลนด์) และ Norðurlönd (ภาษาไอซ์แลนด์และภาษาแฟโร) โดยมีความหมายว่า (ดินแดนทาง)ทิศเหนือ ปัจจุบัน มีการใช้คำว่าสแกนดิเนเวีย ในความหมายของกลุ่มนอร์ดิกในภาษาอังกฤษ ซึ่งส่งผลมาถึงการใช้ในภาษาไทยด้วยเช่นกัน กลุ่มนอร์ดิกมีความสัมพันธ์กันในทางการเมือง ในองค์กรที่เรียกว่าคณะมนตรีนอร์ดิก ในระยะหลัง ประเทศเอสโตเนียได้วางภาพตัวเองเป็นประเทศนอร์ดิก แต่โดยทั่วไปแล้วมักถือว่าเอสโตเนียเป็นรัฐบอลติก เอสโตเนียมีความใกล้ชิดทางด้านภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับฟินแลนด์ และมีความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนจำนวนมากกับกลุ่มประเทศนอร์ดิก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและกลุ่มนอร์ดิก · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน

แผนที่แสดงมหาวิทยาลัยในยุโรปยุคกลาง รายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน ในบทความนี้ต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณสมบัติตรงตามนิยามมหาวิทยาลัย ณ วันที่ก่อตั้ง และจะต้องก่อตั้งก่อน พ.ศ. 2043 (ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 หลังสถาปนากรุงศรีอยุธยามาแล้ว 150 ปี) และจะต้องมีการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้หยุดกิจกรรมอย่างสำคัญมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากการให้ปริญญาสำหรับการศึกษาขั้นสูงในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นในยุโรปและตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่ และนิยามมหาวิทยาลัยสมัยใหม่หมายถึงสถานศึกษาที่มีความสามารถในการให้ปริญญา มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีคุณสมบัติตรงนิยามสมัยใหม่ดังกล่าวจึงอยู่ในยุโรปหรือ ตะวันออกใกล้ แต่หากขยายนิยามให้กว้างขึ้นรวมไปถึงมหาวิทยาลัยโบราณที่เดิมไม่ได้มีการให้ปริญญาในขณะนั้นแต่ให้ในปัจจุบันด้วยแล้ว รายชื่อนี้อาจมีมากขึ้นโดยรวมไปถึงสถาบันอื่นๆ ทั้งในยุโรปและส่วนอื่นของโลกอีกหลายมหาวิทยาลัย สุดท้าย แม้ด้วยบทบัญญัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในยุโรปก็ยังมีข้อโต้เถียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับการกำหนดว่ามหาวิทยาลัยใดกันแน่ที่เป็นมหาวิทยาลัยของแผ่นดินใหญ่ยุโรป มหาวิทยาลัยโบโลญญาที่เกิดก่อน มหาวิทยาลัยปารีสเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งโดยนักศึกษาที่รวมตัวกันหาครูผู้สอน ในขณะที่มหาวิทยาลัยปารีสก่อตั้งโดยคณะผู้สอนแล้วจึงหานักศึกษามาเรียน บางแห่ง (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยปารีส) ก็ยังพยามยามอ้างว่าตนเองเริ่มต้นด้วยการเป็นมหาวิทยาลัยแท้มาแต่ต้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่ามหาวิทยาลัยโบโลนาตั้งขึ้นก่อนมหาวิทยาลัยปารีส การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่ามีกิจกรรมต่างๆ ในลักษณะของมหาวิทยาลัยได้มีมาแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 1621 (ก่อนสถาปนากรุงสุโขทัย 170 ปี) ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยแห่งแรกของยุโรปอาจเป็นมหาวิทยาลัยซาลามังกา (University of Salamanca) ซึ่งเก่าแก่มากกว่าทั้งสองมหาวิทยาลัยที่กล่าวมาแล้ว.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและรายชื่อมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอน · ดูเพิ่มเติม »

สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

้รับรางวัลโนเบลมาก แห่งหนึ่งในโลก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือ มหาวิทยาลัยรัฐ คือ สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอุดหนุนงบประมาณส่วนใหญ่จากรัฐ โดยผ่านรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น ในประเทศไทย หมายถึงสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (เดิมคือ ทบวงมหาวิทยาลัย) ประกอบด้วยทั้ง มหาวิทยาลัยจำกัดรับในระบบราชการ เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ฯลฯ มหาวิทยาลัยจำกัดรับนอกระบบราชการ (สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล) เช่น มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยไม่จำกัดรับ ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในสหรัฐอเมริกา วิธีการสมัครเข้าเรียนใน มหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน ไม่แตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดคือค่าเรียน ชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำในสหรัฐอเมริกาคือ พับลิกไอวี โดยเปรียบเทียบกับ ไอวีลีก ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ ในสหราชอาณาจักร สถาบันอุดมศึกษาเกือบทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ ยกเว้นเพียงแห่งเดียว คือมหาวิทยาลัยบัคกิ้งแฮม.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สต็อกโฮล์ม

ต็อกโฮล์ม (Stockholm) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศสวีเดน ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลทิศตะวันออกของประเทศสวีเดน มีประชากรในเขตเทศบาลสต็อกโฮล์ม 909,000 คน ถ้านับเขตที่อยู่อาศัยโดยรอบทั้งหมดจะมีประชากรประมาณ 2.2 ล้านคน สต็อกโฮล์มเป็นที่ตั้งของรัฐบาลสวีเดน และที่ประทับของสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันของสวีเดน.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและสต็อกโฮล์ม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสวีเดน

ักรวรรดิสวีเดน หรือ ราชอาณาจักรสวีเดน ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1561 (หลังจากสวีเดนยึดเอสโตเนีย) และในปีค.ศ. 1721 (เมื่อสวีเดนยกพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ต่อมหาอำนาจรัสเซีย) ระหว่างนั้น สวีเดนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ในสวีเดน สมัยก่อนจะเรียกว่า stormaktstiden ซึ่งหมายถึง มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มต้นในปี 1611 (เมื่อ กุสตาวัส อาดอลฟัส ขึ้นเป็นกษัตริย์) และจบลงในปีค.ศ. 1718 (การสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน และจุดจบของมหาสงครามเหนือ) โดยการเพิ่มอำนาจทางการเมือง จุดประเด็นสำคัญคือการกลายเป็นหนึ่งในสองอำนาจเพื่อค้ำประกันสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ซึ่งถูกเข้าร่วมเพื่อเพิ่มดินแดนที่อนุญาตให้อยู่ใกล้ได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวคิดทะเลบอลติก เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ยุโรป หลังจากการตายของกุสตาวัส อดอลฟัส ในปี 1632 จักรวรรดิที่ยืนยาวนี้ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางชั้นสูง โดยส่วนมากเป็นพวกของตระกูลออกเซนสเตียร์นาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ความน่าสนใจของขุนนางชั้นสูงตรงกันข้ามกับวิถีทางแห่งเท่าเทียมกัน เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมกันแบบดั้งเดิมในที่ดินภายในสวีเดนถูกเห็นชอบโดยพระมหากษัตริย์และชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับในช่วงระหว่างสมัยกฎตระกูลเดอ แฟคโต ระบบข้าแผ่นดินไม่ถูกยกเลิก และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในสวีเดนอย่างชอบธรรม แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1680 ผลักดันให้ความพยายามของชนชั้นสูงสิ้นสุดลง และเรียกร้องพวกเขาให้คืนนิคมอุตสาหกรรมที่พวกเขาได้รับจากมกุฎกษัตริย์ ระบบข้าแผ่นดินนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกบังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และชาวสวีดิชในเอสโตเนีย ที่ที่ใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของวิถีทางแห่งความเท่าเทียมกันถูกขัดขวางโดนสนธิสัญญาจากสิ่งที่พวกเขาได้รั.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและจักรวรรดิสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสวีเดน

วีเดน (Sweden; สฺแวรฺแย) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) เป็นประเทศกลุ่มนอร์ดิกตั้งอยู่บนคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในยุโรปเหนือ เขตแดนทางตะวันตกจรดประเทศนอร์เวย์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือจรดประเทศฟินแลนด์ และช่องแคบ สแกเกอร์แรก (Skagerrak) ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดช่องแคบแคทีแกต (Kattegat) และทางตะวันออกจรดทะเลบอลติก และอ่าวบอทเนีย มีกรุงสต็อกโฮล์มเป็นเมืองหลวง ประเทศสวีเดนมีประชากรที่เบาบาง เว้นแต่ในเขตเมืองใหญ่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศประกอบด้วยป่าไม้ และภูเขาสูง หลังจากสิ้นสุดยุคไวกิง สวีเดนกลายเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพคาลมาร์ ร่วมกับเดนมาร์กและนอร์เวย์ (ในช่วงเวลานี้ ฟินแลนด์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสวีเดน) สวีเดนได้ออกจากสหภาพในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 และได้รบสู้กับประเทศเพื่อนบ้านเป็นเวลาหลายปี โดยเฉพาะรัสเซีย และเดนมาร์กกับนอร์เวย์ที่ยังเป็นสหภาพอยู่ ซึ่งไม่ยอมรับการที่สวีเดนออกจากสหภาพ ในคริสศตวรรษที่ 17 สวีเดนได้ขยายเขตด้วยสงครามและกลายเป็นมหาอำนาจด้วยขนาด 2 เท่าของปัจจุบัน ถึง..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและประเทศสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

แอนเดอร์ เซลเซียส

แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้คิดแบ่งช่องหรือขีดเทอร์โมมิเตอร์ ของน้ำแข็งเท่ากับ 0 องศา และที่จุดเดือดของน้ำที่ 100 องศา แอนเดอร์ เซลเซียส (Anders Celsius, พ.ศ. 2244-2287) นักดาราศาสตร์ เกิดที่เมืองอุปซอลา ประเทศสวีเดน ได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยอัพซาราเมื่อ..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยอุปซอลาและแอนเดอร์ เซลเซียส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิทยาลัยอุพซอลามหาวิทยาลัยอุพซอล่ามหาวิทยาลัยอุปซาลา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »