สารบัญ
6 ความสัมพันธ์: ยานพาหนะซากดึกดำบรรพ์ปิโตรเลียมแก๊สธรรมชาติแก๊สธรรมชาติเหลวแก๊สปิโตรเลียมเหลว
- การผลิตปิโตรเลียม
- เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ยานพาหนะ
ักรยานยนต์เป็นยานพาหนะชนิดหนึ่ง ยานลอยตัวเป็นพาหนะชนิดหนึ่ง ยานพาหนะ หมายถึงวัตถุหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ ยานพาหนะส่วนใหญ่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ อาทิ จักรยาน รถยนต์ จักรยานยนต์ รถไฟ เรือ และเครื่องบิน เป็นต้น หรือไม่ได้สร้างขึ้นโดยมนุษย์แต่สามารถเคลื่อนย้ายขนส่งไปได้ เช่น ภูเขาน้ำแข็งหรือท่อนซุงลอยน้ำ เป็นต้น ยานพาหนะสามารถชักจูงโดยสัตว์ เช่น รถม้าหรือเกวียนเทียมวัว อย่างไรก็ตามตัวสัตว์เองนั้นก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นยานพาหนะ ซึ่งรวมไปถึงมนุษย์ที่เคลื่อนย้ายขนส่งมนุษย์ด้วยกันเอง (คนอุ้มคน) ก็ไม่ได้เรียกว่าเป็นยานพาหนะ แต่สัตว์และมนุษย์เหล่านั้นจะเรียกว่าเป็น พาหนะ (ไม่มีคำว่ายาน) ยานพาหนะแบ่งตามการเคลื่อนย้ายได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ยานพาหนะส่วนใหญ่ที่เคลื่อนย้ายขนส่งบนพื้นจะมีล้อ เช่น เกวียน, จักรยาน,รถยนต์ และรถไฟ และส่วนยานพาหนะที่ไม่ได้เคลื่อนที่บนพื้นมักถูกเรียกว่า craft เช่น watercraft, sailcraft, aircraft (อากาศยาน), hovercraft (ยานสะเทินน้ำสะเทินบก) และ spacecraft (ยานอวกาศ).
ดู แก๊สปิโตรเลียมเหลวและยานพาหนะ
ซากดึกดำบรรพ์
ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.
ดู แก๊สปิโตรเลียมเหลวและซากดึกดำบรรพ์
ปิโตรเลียม
แหล่งน้ำมันสำรองทั่วโลกที่พิสูจน์แล้วใน ค.ศ. 2009 บ่อปิโตรเลียมแห่งหนึ่งในเท็กซัส ปิโตรเลียม (petroleum, petra (หิน) + oleum (น้ำมัน) รวมหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน") หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดเองตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อนระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่น ๆ ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต (มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอนและได้รับความร้อนและความดันมหาศาล การขุดเจาะน้ำมันเป็นวิธีการส่วนใหญ่ในการได้มาซึ่งปิโตรเลียม ซึ่งเป็นขั้นตอนหลังการศึกษาโครงสร้างธรณีวิทยา การวิเคราะห์แอ่งตะกอน และลักษณะหินกักเก็บปิโตรเลียม หลังขุดเจาะขึ้นมาแล้ว ปิโตรเลียมจะถูกกลั่นและแยกเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคหลายชนิด ตั้งแต่แก๊สโซลีนและน้ำมันก๊าด ไปจนถึงยางมะตอยและตัวทำปฏิกิริยาเคมีซึ่งใช้ในการทำพลาสติกและเภสัชภัณฑ์ นอกจากนี้ ปิโตรเลียมยังใช้ในการผลิตวัสดุอีกหลายชนิด ปิโตรเลียมมีธาตุองค์ประกอบหลัก 2 ชนิด คือ คาร์บอนและไฮโดรเจน และอาจมีธาตุอโลหะชนิดอื่นปนอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ออกซิเจน และไนโตรเจน ทั้งนี้ปิโตรเลียมเป็นได้ทั้ง 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ รวมถึงความร้อนและความดันของสภาพแวดล้อมในการเกิดและการกักเก็บปิโตรเลียม แบ่งตามสถานะได้เป็นสองชนิดหลัก คือ น้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ โดยแก๊สธรรมชาตินั้น ประกอบด้วยคาร์บอนตั้งแต่ 1-4 อะตอม.
ดู แก๊สปิโตรเลียมเหลวและปิโตรเลียม
แก๊สธรรมชาติ
ประเทศผู้ผลิตแก๊สธรรมชาติ แก๊สธรรมชาติ (Natural gas) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน 15.6 องศาเซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทนล้วนหรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังแก๊ส เรียกว่า แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ แก๊สหุงต้ม แก๊สธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและแก๊สหุงต้ม ด้วยเหตุนี้หลายประเทศจึงนิยมใช้แก๊สธรรมชาติ โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้ 1.
ดู แก๊สปิโตรเลียมเหลวและแก๊สธรรมชาติ
แก๊สธรรมชาติเหลว
ัญลักษณ์แก๊สธรรมชาติเหลวของจีน แก๊สธรรมชาติเหลว (Liquefied natural gas หรือ LNG) เป็นก๊าซธรรมชาติที่ถูกนำไปทำให้สถานะของก๊าซกลายเป็นของเหลวโดยทำให้อุณหภูมิลดลงส่งผลให้ปริมาตรลดลงเหลือประมาณ 1/600 เท่าของปริมาตรเดิม โดยการใช้ความเย็นที่ ลบ 162องศาเซลเชียส หรือที่ลบ260องศาฟาเรนท์ไฮต์ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและการขนส่ง เมื่อต้องการนำไปประโยชน์จะนำเข้าสู่กระบวนการเพิ่มอุณหภูมิซึ่งกลายเป็นเชื้อเพลิงในรูปของแก๊สธรรมชาติอัดสาระคดี เรียกข้อมูลล่าสุด 21 เมษายน 2555.
ดู แก๊สปิโตรเลียมเหลวและแก๊สธรรมชาติเหลว
แก๊สปิโตรเลียมเหลว
แก๊สปิโตรเลียมเหลว หรือ แอลพีจี (liquefied petroleum gas: LPG) จัดเป็นเชื้อเพลิงอีกชนิดหนึ่งที่มาจากซากดึกดำบรรพ์ (fossil fuel) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันหรือการแยกแก๊สธรรมชาติ ในโรงแยกแก๊สธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมของไฮโดรคาร์บอน 2 ชนิด คือ โพรเพนและบิวเทนไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ปราศจากพิษ หนักกว่าอากาศ ติดไฟได้ในช่วงของการติดไฟที่ 2–15 % ของปริมาณในอากาศ และอุณหภูมิที่ติดไฟได้เองคือ 400 องศาเซลเซียส ในประเทศไทยแก๊สหุงต้มส่วนใหญ่ได้จากการกลั่นน้ำมัน โดยใช้อัตราส่วนผสมของโพรเพน และบิวเทนประมาณ 70:30 ซึ่งจะให้ค่าความร้อนที่สูง.
ดู แก๊สปิโตรเลียมเหลวและแก๊สปิโตรเลียมเหลว
ดูเพิ่มเติม
การผลิตปิโตรเลียม
- การกลั่นน้ำมัน
- หัวหลุม
- แก๊สธรรมชาติเหลว
- แก๊สปิโตรเลียมเหลว
เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
- กระบวนการก่อตัวใหม่
- ถ่านหิน
- ปิโตรเลียม
- เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
- แก๊สธรรมชาติ
- แก๊สปิโตรเลียมเหลว
หรือที่รู้จักกันในชื่อ LPGก๊าซหุงต้มแอลพีจี