เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์

ดัชนี เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์

อร์ไมโอนี่ จีน เกรนเจอร์ (เกิด 19 กันยายน พ.ศ. 2522) เป็นตัวละครในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ. เค.

สารบัญ

  1. 23 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2522กองทัพดัมเบิลดอร์การพากย์ภาษาอังกฤษภาคีนกฟีนิกซ์มักเกิลรอน วีสลีย์วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์วิลเลียม เชกสเปียร์อัลบัส ดัมเบิลดอร์ฮอกวอตส์ผู้เสพความตายควิดดิชประเทศไทยนิทานของบีเดิลยอดกวีแฮร์รี่ พอตเตอร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีเอ็มมา วอตสันเฮอร์มีสเจ. เค. โรว์ลิง19 กันยายน

  2. ตัวละครชาวอังกฤษ
  3. ตัวละครที่เป็นทหารผ่านศึกสงคราม
  4. ตัวละครที่เป็นนักการเมือง
  5. ตัวละครที่เป็นนักเดินทางข้ามเวลา
  6. ตัวละครที่เป็นแม่มด
  7. ตัวละครวัยทีนในภาพยนตร์
  8. ตัวละครเด็กในภาพยนตร์
  9. ตัวละครในแฮร์รี่ พอตเตอร์

พ.ศ. 2522

ทธศักราช 2522 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1979 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และพ.ศ. 2522

กองทัพดัมเบิลดอร์

กองทัพดัมเบิลดอร์ (Dumbledore's Army - D.A.) ก่อตั้งขึ้นโดยแนวคิดของ เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์ ว่าอยากให้ แฮร์รี่ พอตเตอร์ เพื่อนซี้ของเธอเป็นครูสอนวิชา ป้องกันตัวจากศาสตร์มืด ภาคปฏิบัติ โดยโครงการนี้ก่อตั้งขึ้นในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ เพื่อให้สมาชิกที่เรียกตนเองว่า ก.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และกองทัพดัมเบิลดอร์

การพากย์

การพากย์ (dubbing) เป็นกระบวนการหลังการผลิตว่าด้วยการบันทึกและแทนเสียงลงในภาพยนตร์หรือวัสดุโทรทัศน์ภายหลังจากที่มีการสร้างสรรค์ส่วนดั้งเดิมขึ้นแล้ว ปรกติมักหมายถึงการแทนเสียงของนักแสดงที่ปรากฏอยู่ในวัสดุนั้นแล้วด้วยเสียงของนักแสดงคนอื่นซึ่งอาจพูดคนละภาษากัน กระบวนการทำนองเดียวกันนี้บางครั้งยังใช้ในละครเวทีเมื่อปรากฏว่านักแสดงร้องเพลงได้ไม่เป็นที่น่าพอใจหรือพูดคนละภาษากับผู้ชม ตลอดจนการบันทึกเสียงใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงเดิมหรือเปลี่ยนแปลงบทสนทนาเป็นต้น หมวดหมู่:ภาพยนตร์.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และการพากย์

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และภาษาอังกฤษ

ภาคีนกฟีนิกซ์

มาชิกภาคีบางส่วน ภาคีนกฟีนิกซ์ (Order of the Phoenix) เป็นองค์การลับในชุดหนังสือบันเทิงคดีแฮร์รี่ พอตเตอร์ เขียนโดย เจ. เค.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และภาคีนกฟีนิกซ์

มักเกิล

ในชุดหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ มักเกิล (muggle) คือ บุคคลที่ไม่มีความสามารถทางเวทมนตร์ทุกประเภทและมิได้เกิดในโลกเวทมนตร์ มักเกิลไม่มีเลือดวิเศษ คำนี้ต่างจากคำว่า "สควิบ" (squib) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่เกิดจากบิดามารดาที่เป็นผู้วิเศษอย่างน้อยหนึ่งคนแต่ไร้ซึ่งความสามารถทางเวทมนตร์ และคำว่า "ลูกมักเกิล" (Muggle-born) หรือคำหยามหมิ่นและน่ารังเกียจว่า "เลือดสีโคลน" (mudblood) ซึ่งหมายถึง บุคคลที่มีความสามารถทางเวทมนตร์แต่มิได้เกิดจากบิดามารดาผู้วิเศษ นอกจากนั้นในหนังสือสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ได้บรรยายว่าโลกเวทมนตร์ในอเมริกาได้เรียกคนไร้เวทมนตร์ว่า โน-แมจ (No-maj) หมวดหมู่:แฮร์รี่ พอตเตอร์.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และมักเกิล

รอน วีสลีย์

รนัลด์ "รอน" บิลิอัส วีสลีย์ (Ronald Bilius "Ron" Weasley) เป็นตัวละครสมมุติในหนังสือวรรณกรรมเยาวชนชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของเจ.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และรอน วีสลีย์

วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์

ต่อไปนี้เป็นรายการวัตถุเวทมนตร์ในนวนิยาย แฮร์รี่ พอตเตอร.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และวัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์

วิลเลียม เชกสเปียร์

วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี..

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และวิลเลียม เชกสเปียร์

อัลบัส ดัมเบิลดอร์

อัลบัส เพอร์ซิวาล วูลฟริก ไบรอัน ดัมเบิลดอร์ (Albus Percival Wulfric Brian Dumbledore) เป็นตัวละครในเรื่องแต่งชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และอัลบัส ดัมเบิลดอร์

ฮอกวอตส์

รงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ (Hogwarts School of Witchcraft and Wizardry) ย่อเป็น ฮอกวอตส์ เป็นโรงเรียนสอนเวทมนตร์สมมติของประเทศสก็อตแลนด์ซึ่งเปิดสอนนักเรียนอายุระหว่างสิบเอ็ดถึงสิบแปดปี และเป็นฉากท้องเรื่องหลักในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ของ เจ.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และฮอกวอตส์

ผู้เสพความตาย

ลอร์ดโวลเดอมอร์ (กลาง) เบลลาทริกซ์ เลสแตรงจ์ (ซ้าย) ลูเซียส มัลฟอย (ขวา) และผู้เสพความตายสวมหน้ากาก (หลัง) ผู้เสพความตาย (Death Eater) เป็นตัวละครสมมติในชุดนวนิยายและภาพยนตร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ พวกเขาเป็นกลุ่มพ่อมดแม่มด นำโดยลอร์ดโวลเดอมอร์ ที่แสวงการทำให้ชุมชนพ่อมดแม่มดบริสุทธิ์โดยการกำจัดผู้ที่เกิดจากมักเกิล (คือ พ่อมดแม่มดที่เกิดจากพ่อแม่ที่ไม่มีเวทมนตร์) พวกเขายังพยายามสร้างระเบียบใหม่ผ่านกระทรวงเวทมนตร์และทำให้เกิดความกลัวในหมู่ชุมชนพ่อมดแม่มดโดยการข่มขวัญและสังหารข้าราชการคนสำคัญและศัตรูอื่นของผู้เสพความตาย ซึ่งหมายถึง สมาชิกภาคีนกฟีนิกซ์เป็นหลัก ผู้เสพความตายระบุได้จากตรามารบนต้นแขนซ้าย สัญลักษณ์ที่โวลเดอมอร์สร้างขึ้นเพื่อเรียกตัวเขาไปยังผู้เสพความตายทันทีหรือกลับกัน เครื่องแต่งกายปกติของพวกเขารวมเสื้อคลุมมีหมวกคลุมสีดำ และหน้ากาก กลุ่มผู้เสพความตายปรากฏครั้งแรกในนวนิยาย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี แต่สมาชิกนั้นปรากฏตั้งแต่เล่มก่อน ๆ แล้ว เช่น ลูเซียส มัลฟอย และเซเวอร์รัส สเนป.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และผู้เสพความตาย

ควิดดิช

กีฬาควิดดิช เป็นเกมกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในโลกเวทมนตร์ มีการกล่าวถึงครั้งแรกในหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับ ศิลาอาถรรพ์ โดยถือว่าเป็นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างบ้านพักนักเรียนแต่ละหลัง ซึ่งบ้านที่มักได้รับแชมป์ในการแข่งขัน คือ กริฟฟินดอร์ ควิดดิช จะประกอบไปด้วยผู้เล่นแต่ละทีมจำนวน 7 คน 4 ตำแหน่ง ได้แต่ 3 เชสเซอร์, 2 บีตเตอร์, 1 คีปเปอร์ และ 1 ซีกเกอร์ มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่น คือ ลูกบอลจำนวน 4 ลูก ได้แก่ ควัฟเฟิล (ลูกสีแดง) จะใช้ในการทำแต้ม, บลัดเจอร์ (ลูกสีดำ) จะใช้เพิ่มอุปสรรคให้กับผู้เล่น โดยจะสามารถชนกระแทกผู้เล่นให้ตกจากไม้กวาดได้, และ โกลเด้นสนิช (ลูกสีทองมีปีก) จะใช้ในการทำคะแนนสูงสุดถึง 150 แต้ม และ เมื่อจับได้จะถือว่าสิ้นสุดเกม โดยที่ฮอกวอตส์จะมีการแข่งขันควิดดิชระหว่างบ้านเป็นประจำทุกๆปี นอกจากนี้กีฬาควิดดิชยังได้รับความนิชมแพร่หลายทั่วโลก ถือว่าเป็นกีฬาสุดฮิตของประชานชนผู้วิเศษ โดยมีการจัดการแข่งขัน Quidditch World Cup โดยแต่ละครั้งจะมีนักกีฬาจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมแข่งขัน (ปรากฏในหนังสือเล่ม 4) และ นักกีฬาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้คือ วิกเตอร์ ครัม นักกีฬาทีมชาติบัลแกเรี.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และควิดดิช

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และประเทศไทย

นิทานของบีเดิลยอดกวี

นิทานของบีเดิลยอดกวี (The Tales of Beedle the Bard) เป็นหนังสือนิทานเด็ก ที่แต่งโดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง เพื่อเป็นหนังสือประกอบสำหรับนิยายในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดยหนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือสมมติที่ถูกอ้างถึงใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ซึ่งเป็นนิยายเล่มสุดท้ายในชุดอีกด้วย เดิมที.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และนิทานของบีเดิลยอดกวี

แฮร์รี่ พอตเตอร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)

แฮร์รี่ เจมส์ พอตเตอร์เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 (วันเดือนเดียวกับผู้แต่ง เจ. เค. โรว์ลิ่งได้เขียนให้แฮร์รี่เกิดวันเดียวกันกับเธอและเกิดวันเดียวกับเนวิลล์ ลองบัตทอม แต่คนละปี) เป็นลูกชายคนเดียวของเจมส์ พอตเตอร์และลิลี่ พอตเตอร์ เป็นตัวละครเอกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ แฮร์รี่ พอตเตอร์ แสดงโดยแดเนียล แรดคลิฟฟ์ ในภาพยนตร์แฮร์รี่ พอตเตอร์ทุกภาคที่สร้างม.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร)

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) เป็นนวนิยายเล่มแรกในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และนวนิยายประเดิมของเจ.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี

เอ็มมา วอตสัน

อ็มมา ชาร์ล็อต ดูแอร์ วอตสัน (Emma Charlotte Duerre Watson; เกิด 15 เมษายน พ.ศ. 2533) เป็นนักแสดงหญิง นางแบบ และนักกิจกรรมหญิงชาวบริติช เกิดในปารีสและเติบโตในอ๊อกซฟอร์ดไชร์ วอตสันเข้าเรียนโรงเรียนดรากอนสกูลขณะเป็นเด็ก และเรียนการแสดงที่โรงเรียนสเตจโคชเธียเตอร์อาตส์ สาขาอ๊อกซฟอร์ด เธอเป็นที่จดจำจากบทบาทการแสดงในบทเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ในภาพยนตร์ชุด''แฮร์รี พอตเตอร์'' ปรากฏตัวในภาพยนตร์แฮร์รี พอตเตอร์แปดภาคตั้งแต่ปี..

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และเอ็มมา วอตสัน

เฮอร์มีส

อร์มีส (Hermes; Ἑρμῆς) เป็นพระเจ้าโอลิมปัสในศาสนาและเทพปกรณัมกรีก บุตรแห่งซูสและไลยาดีสเมอา พระองค์ทรงเป็นพระเจ้าโอลิมปัสที่มีพระชนมายุน้อยที่สุดเป็นอันดับสอง เฮอร์มีสทรงเป็นพระเจ้าแห่งการเปลี่ยนผ่านและเขตแดน พระองค์ทรงรวดเร็วและเจ้าเล่ห์ และสามารถเสด็จระหว่างโลกมนุษย์และพระเจ้าได้อย่างอิสระ ในฐานะทูตและผู้แจ้งข่าวแห่งพระเจ้า ผู้เจรจาระหว่างมนุษย์และพระเจ้า และผู้นำดวงวิญญาณสู่ปรโลก พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์และอุปถัมภ์นักเดินทาง คนเลี้ยงแกะ โจร นักพูดข้างถนนและคนมีปฏิภาณ วรรณกรรมและกวี นักกีฬาและกีฬา สิ่งประดิษฐ์และการค้า บางตำนานว่าพระองค์เป็นนักหลอกลวง และเอาชนะพระเจ้าองค์อื่นด้วยไหวพริบเพื่อความพอพระทัยส่วนพระองค์หรือเพราะทรงเห็นแก่มนุษยชาติ ลักษณะและสัญลักษณ์ประจำพระองค์มีประติมากรรมเฉพาะหัว ไก่เพศผู้และเต่าบก ถุงใส่เงิน รองเท้าแตะมีปีก หมวกมีปีก สัญลักษณ์หลักของพระองค์ คือ ไม้เท้าผู้แจ้งข่าว (kerykeion; caduceus) ซึ่งเป็นไม้เท้ามีปีกที่มีงูพันสองตัว พระองค์ทรงถูกระบุเป็นพระเจ้าเมอร์คิวรีของโรมัน ซึ่งแม้เป็นพระเจ้าที่รับมาจากพวกอีทรัสคัน แต่ได้รับคุณลักษณะคล้ายกับเฮอร์มีสมาหลายประการ เช่น ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์การค้.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และเฮอร์มีส

เจ. เค. โรว์ลิง

แอนน์ "โจ" โรว์ลิง (Joanne "Jo" Rowling, OBE FRSL) หรือนามปากก.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และเจ. เค. โรว์ลิง

19 กันยายน

วันที่ 19 กันยายน เป็นวันที่ 262 ของปี (วันที่ 263 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 103 วันในปีนั้น.

ดู เฮอร์ไมโอนี่ เกรนเจอร์และ19 กันยายน

ดูเพิ่มเติม

ตัวละครชาวอังกฤษ

ตัวละครที่เป็นทหารผ่านศึกสงคราม

ตัวละครที่เป็นนักการเมือง

ตัวละครที่เป็นนักเดินทางข้ามเวลา

ตัวละครที่เป็นแม่มด

ตัวละครวัยทีนในภาพยนตร์

ตัวละครเด็กในภาพยนตร์

ตัวละครในแฮร์รี่ พอตเตอร์

หรือที่รู้จักกันในชื่อ เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์