โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอดีร์เน

ดัชนี เอดีร์เน

อดีร์เน (Ανδριανούπολις, Adrianoupolis, Одрин, Adrianopol, Drinápoly, Sultan Murad's city, Edirne) เป็นเมืองในประเทศตุรกี ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ ใกล้ชายแดนประเทศกรีซและบัลกาเรีย เอดีร์เนเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิออตโตมัน ในปี..

9 ความสัมพันธ์: มัสยิดเซลีมีเยรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวงจักรวรรดิออตโตมันคอนสแตนติโนเปิลซินานประเทศกรีซประเทศตุรกีเวลายุโรปตะวันออกเวลาออมแสงยุโรปตะวันออก

มัสยิดเซลีมีเย

มัสยิดเซลีมีเย (Selimiye Camii, Selimiye Mosque) เป็นมัสยิดออตโตมันตั้งอยู่ที่เอดีร์เนในตุรกี เป็นมัสยิดที่สร้างโดยสุลต่านเซลิมที่ 2 ที่สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1574 เป็นสถาปัตยกรรมแบบอิสลามโดยมีมิมาร์ ซินานเป็นสถาปนิก มัสยิดเซลิมถือว่าเป็นงานชิ้นเอกของซินานและของสถาปัตยกรรมอิสลาม มัสยิดเซลีมีเยตั้งอยู่ท่ามกลางกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่รวมทั้งสถานพยาบาล โรงเรียน และหอสมุดที่รวมกันเป็นสถานศึกษาที่เรียกว่า “สถานศึกษามาดราซาห์” (Madrasah) ซึ่งเป็นสถานศึกษาของอิสลามที่สอนทั้งศาสนาและวิทยาศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์สาธารณสุขเบเยซิดที่ 2.

ใหม่!!: เอดีร์เนและมัสยิดเซลีมีเย · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง

ปัจจุบันทั่วโลกมีรัฐเอกราชซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ่ 196 รัฐ (ทั้งหมดเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ยกเว้นนครรัฐวาติกัน ปาเลสไตน์ และคอซอวอ) และมีรัฐอีก 8 แห่งที่ยังไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติส่วนใหญ.

ใหม่!!: เอดีร์เนและรายชื่อประเทศ ดินแดน และเมืองหลวง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: เอดีร์เนและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

คอนสแตนติโนเปิล

แผนที่คอนสแตนติโนเปิล คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople, (กรีก: Κωνσταντινούπολις (Konstantinoúpolis) หรือ ἡ Πόλις (hē Pólis), ภาษาละติน: CONSTANTINOPOLIS, ภาษาออตโตมันตุรกี (ทางการ): قسطنطينيه Konstantiniyye) คอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวง (กรีก: Βασιλεύουσα (Basileúousa)) ของจักรวรรดิโรมัน ระหว่างปี ค.ศ. 330 ถึง ค.ศ. 395; ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ระหว่างปี ค.ศ. 395 ถึง ค.ศ. 1204 และระหว่างปี ค.ศ. 1261 ถึง ค.ศ. 1453; ของจักรวรรดิละติน ระหว่างปี ค.ศ. 1204 ถึง ค.ศ. 1261); และของจักรวรรดิออตโตมัน ระหว่างปี..

ใหม่!!: เอดีร์เนและคอนสแตนติโนเปิล · ดูเพิ่มเติม »

ซินาน

ซินาน หรือมีชื่อเต็มว่า โคกา มิมาร์ ซินาน อากา (Koca Mimar Sinan Agha - Ḳoca Mi‘mār Sinān Āġā (Ottoman Turkish: قوجه معمار سنان آغا) อีกชื่อที่เรียกกันคือ มิมาร์ ซินาน (15 เมษายน, ค.ศ. 1489 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1588) เป็น สถาปนิกหลวง (Chief architect) แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ในสมัยสุลต่านเซลิมที่ 1, สุลต่านเซลิมที่ 2 และสุลต่านมูราดที่สาม ผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาคือ มัสยิดเซลิมที่เมืองเอเดอร์เน แต่งานที่ทำให้เขามีชื่อเสียงที่สุดคือ คือ มัสยิดสุไลมานในเมืองอิสตันบูล ซินานยังนับได้ว่าเป็น วิศวกรแผ่นดินไหวคนแรกของโลกอีกด้วย มัสยิด เซลิมี (Selimiye Mosque) สร้างโดย ซินาน ในปี ค.ศ. 1575 ที่เมืองเออร์ดี ประเทศ ตุรกี ภาพ ซินาน ใน ธนบัตรแบบเก่าของตุรกี มิมาร์เป็นชาวคริสต์โดยกำเนิด มาจากครอบครัวในอานาโตเลียที่เมืองเล็กๆ ชื่อ อากีร์นา(Ağırnas) ใกล้กับเมือง กีเซอรี (Kayseri) สันนิษฐานว่าครอบครัวมีสายเลือดกรีก หรืออาร์มีเนีย ในปี ค.ศ.1511 เขาได้ถูกครอบครัวส่งตัวมาตามธรรมเนียมการส่งลูกชายคนหัวปีเพื่อให้ไป รับใช้ในอาณาจักรผู้ปกครอง ให้มาใช้แรงงานใน อาณาจักรอ๊อตโตมาน ที่เมืองอิสตันบูล โดย ณ ที่นี้ เขาได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม มิมาร์ได้มีโอกาสรับใช้ขุนนางผู้ใหญ่ปาร์กาลิ อิบราฮิม ปาชาผู้เป็นมหาเสนาบดี (Grand Vizier İbrahim Paşa) และได้ถูกสนับสนันให้เล่าเรียนในสังกัดของขุนนางผู้นี้ และได้รับการตั้งชืออิสลามว่า "ซินาน" หลังจากนั้นเขาก็ได้รับการเล่าเรียนเกี่ยวกับการก่อสร้าง สามปีผ่านไปก็มีฝีมือแกร่งกล้าขึ้น จนได้เข้าร่วมกับกองทัพของสุลต่าน เซลิม ที่หนึ่ง ในช่วงแผนขยายดินแดนของอาณาจักร ซินานได้รับราชการทหารทำงานในกองวิศวกรรม (engineering corps) เมื่อครั้งอาณาจักรออตโตมัน เข้ายึดกรุงไคโรได้เป็นผลสำเร็จ ซินานได้รับการเลื่อนขั้นให้เป็นสถาปนิกเอก โดยรับหน้าที่รื้อถอนอาคารที่ไม่ตรงกับผังเมือง เขายังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการกองพันทหารราบ (commander of an infantry division) แต่เขาก็ขอย้ายตัวเองไปอยู่กองสรรพาวุธแทน ในครั้งที่มีการทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ในปี 1535 ซินานรับผิดชอบในการสร้างกองเรือ ข้ามทะเลสาบ แวน เนื่องด้วยความชอบดังกล่าว ทำให้เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชองครักษ์ (Haseki'i หรือ Sergeant-at-Arms) ในองค์สุลต่าน ซึ่งเป็น ยศที่สูงมาก งานสถาปัตยกรรมชิ้นแรกของ ซินาน คือ มัสยิด เซเซด (Şehzade Mosque) สร้างในปี ค.ศ.1548 เขาได้ทำการก่อสร้าง มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในปี ค.ศ.1550 สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1557. ก่อนหน้านี้ ไม่มีอาคารมัสยิดแห่งใด้ที่สร้างด้วยหลังคา Dome on Pendentives โดยใช้หลักการเดียวกับ มัสยิด เฮเจีย โซเฟีย (Hagia Sophia)มาก่อน ซินานได้เขียน ประวัติชีวิตของตัวเอง ชื่อ “Tezkiretü’l Bünyan”, โดยได้กล่าวถึงงาน ส่วนตัว เกี่ยวกับ มัสยิดเซลิมี โดยมีส่วนหนึ่งในหนังสือ บันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งหนึ่ง ซินานได้มีโอกาสพบปะกับสถาปนิกชาวคริสเตียน สถาปนิกคนนี้ได้กล่าวเยาะเย้ยซินานว่า "ท่านไม่มีทางที่จะสร้างโดมที่ใหญ่กว่าโดมของเฮเจีย โซเฟียได้ โดยเฉพาะในฐานะที่ท่านเป็นมุสลิม" คำพูดประโยคนั้น เป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจให้ซินานสร้างมัสยิด เซลิมี ขึ้นมา และเมื่อโครงการสำเร็จลง ซินานได้บันทึกไว้ว่า มัสยิดเซลิมี มีโดมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทิ้ง เฮเจีย โซเฟียไปมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ความสูงจากระดับพื้นของ มัสยิดเซลิมี นั้นไม่ได้สูงเท่า เฮเจีย โซเฟีย และ เส้นผ่าศูนย์กลางของโดมก็ใหญ่กว่าเพียงครึ่งเมตร (เทียบกับโดมที่อายุเก่าแก่กว่าถึงพันปีอย่าง เฮเจีย โซเฟีย) อย่างไรก็ตาม หากนับจากฐานของมัสยิดแล้ว เซลิมี ก็มีความสูงมากกว่า และมีคุณสมบัติของความเสถียรมากกว่า และมีการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่มีความเรียบง่ายมากกว่า ในขณะที่ มัสยิดเซลิมี เสร็จลงนั้น ซินานมีอายุ 80 ปี ซินาน เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1588 ศพของเขาได้รับการฝังไว้ใน หลุมศพนอกกำแพงของ มัสยิดสุไลมาน (Süleymaniye Mosque) ในส่วนพื้นที่ทางเหนือ ตรงข้ามกับถนนชื่อ มิมาร์ ซินาน คาเดซิ (Mimar Sinan Caddesi) ซึ่งได้รับการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับเขา นอกจากนี้ชื่อของเขายังได้รับการนำไปตั้งกับแอ่งบนดาวพุธ (crater on Mercury) อีกด้วย หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2032 หมวดหมู่:สถาปนิกชาวตุรกี หมวดหมู่:สถาปนิกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หมวดหมู่:วิศวกรชาวตุรกี หมวดหมู่:ชาวตุรกี.

ใหม่!!: เอดีร์เนและซินาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกรีซ

กรีซ (Greece; Ελλάδα, Elládha เอลาฑา หรือ Ελλάς, Ellás) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเฮลเลนิก (Hellenic Republic; Ελληνική Δημοκρατία, Ellinikí Dhimokratía) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ตอนใต้สุดของคาบสมุทรบอลข่าน มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศบัลแกเรีย มาซิโดเนีย และแอลเบเนีย มีพรมแดนทางตะวันออกติดกับประเทศตุรกี อยู่ติดทะเลอีเจียนทางด้านตะวันออก ติดทะเลไอโอเนียนและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางด้านตะวันตกและใต้ กรีซนับว่าเป็นแหล่งอารยธรรมตะวันตกอันยิ่งใหญ่ และมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งกรีซได้แผ่อิทธิพลไปยัง 3 ทวีป ชาวกรีกเรียกประเทศตัวเองว่า Hellas ซึ่งภาษากรีกในปัจจุบันออกเสียง ว่า Ellas โดยในการพูดทั่วไปจะใช้คำว่า Ellada และมักจะเรียกตัวเองว่า Hellenes แม้กระทั่งในภาษาอังกฤษ ซึ่งคำภาษาอังกฤษ "Greece" มาจากชื่อละตินว่า Graecia หมายถึงพื้นที่ทางเหนือของกรีซในปัจจุบัน ซึ่งมีกลุ่มคนที่เรียกว่า Graikos อาศัยอยู.

ใหม่!!: เอดีร์เนและประเทศกรีซ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศตุรกี

ประเทศตุรกี (Turkey; Türkiye ทือรคีเย) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐตุรกี (Republic of Turkey; Türkiye Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภาในยูเรเซีย พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตก โดยมีส่วนน้อยในอีสเทรซในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศตุรกีมีพรมแดนติดต่อกับ 8 ประเทศ ได้แก่ ประเทศซีเรียและอิรักทางใต้ ประเทศอิหร่าน อาร์มีเนียและดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันของอาเซอร์ไบจานทางตะวันออก ประเทศจอร์เจียทางตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศบัลแกเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือ และประเทศกรีซทางตะวันตก ทะเลดำอยู่ทางเหนือ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางใต้ และทะเลอีเจียนทางตะวันตก ช่องแคบบอสฟอรัส ทะเลมาร์มะราและดาร์ดะเนลส์ (รวมกันเป็นช่องแคบตุรกี) แบ่งเขตแดนระหว่างเทรซและอานาโตเลีย และยังแยกทวีปยุโรปกับทวีปเอเชีย ที่ตั้งของตุรกี ณ ทางแพร่งของยุโรปและเอเชียทำให้ตุรกีมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์อย่างยิ่ง ประเทศตุรกีมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคหินเก่า มีอารยธรรมอานาโตเลียโบราณต่าง ๆ เอโอเลีย โดเรียและกรีกไอโอเนีย เทรซ อาร์มีเนียและเปอร์เซีย หลังการพิชิตของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ดินแดนนี้ถูกทำให้เป็นกรีก เป็นกระบวนการซึ่งสืบต่อมาภายใต้จักรวรรดิโรมันและการเปลี่ยนผ่านสู่จักรวรรดิไบแซนไทน์ เติร์กเซลจุคเริ่มย้ายถิ่นเข้ามาในพื้นที่ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 เริ่มต้นกระบวนการทำให้เป็นเติร์ก ซึ่งเร่งขึ้นมากหลังเซลจุคชนะไบแซนไทน์ที่ยุทธการที่มันซิเคิร์ต..

ใหม่!!: เอดีร์เนและประเทศตุรกี · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปตะวันออก

วลายุโรปตะวันออก (Eastern European Time - EET) เป็นชื่อเขตเวลา UTC+2 อันหนึ่ง ใช้ในบางประเทศในทวีปยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ประเทศส่วนใหญ่จะใช้เวลาฤดูร้อนยุโรปตะวันออก เป็นเวลาออมแสงด้ว.

ใหม่!!: เอดีร์เนและเวลายุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปตะวันออก

วลาออมแสงยุโรปตะวันออก (Eastern European Summer Time - EEST) เป็นชื่อเขตเวลาออมแสงของเขตเวลา UTC+3 เป็นเวลาสามชั่วโมงก่อนหน้าเวลาสากลเชิงพิกัด เป็นเวลาที่กำหนดใช้ระหว่างช่วงฤดูร้อนในบางประเทศในทวีปยุโรป แอฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง ในระหว่างฤดูหนาวประเทศเหล่านี้จะกลับไปใช้เวลายุโรปตะวันออก (UTC+2).

ใหม่!!: เอดีร์เนและเวลาออมแสงยุโรปตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Edirne

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »