เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เอชทีเอ็มแอล5

ดัชนี เอชทีเอ็มแอล5

อชทีเอ็มแอล5 (HTML5; อ่านว่า เอชทีเอ็มแอลไฟฟ์ หรือ เอชทีเอ็มแอลห้า) เป็นมาตรฐานตัวต่อไปของ HTML ที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา โดยมีลักษณะเหมือนมาตรฐานตัวก่อนหน้าทั้ง HTML 4.01 และ XHTML 1.1 ที่ใช้ในการจัดโครงสร้างและการแสดงผลของเนื้อหาสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บ มาตรฐานใหม่จะมีคุณลักษณะเด่นที่สำคัญได้แก.

สารบัญ

  1. 11 ความสัมพันธ์: กูเกิลภาษามาร์กอัปวิดีโออะโดบี แฟลชไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลท์เวิลด์ไวด์เว็บเว็บไซต์เว็บเชิงความหมายเอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอชทีเอ็มแอลCSS

  2. ซอฟต์แวร์ในปี พ.ศ. 2557
  3. มาตรฐานที่พัฒนาจากเอกซ์เอ็มแอล

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และกูเกิล

ภาษามาร์กอัป

ษามาร์กอัป (markup language) คือประเภทภาษาคอมพิวเตอร์ที่แสดงทั้งข้อมูล และข้อมูลรูปแบบเข้าด้วยกัน โดยข้อมูลรูปแบบอธิบายถึงโครงสร้างหรือการแสดงผลซึ่งส่วนนี้เรียกว่า มาร์กอัป โดยจะอยู่รวมกับข้อมูลปกติ ภาษามาร์กอัปที่รู้จักกันดีที่สุดคือ HTML ตามความเป็นมาแล้ว ภาษารูปแบบนี้ได้มีการใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ในการติดต่อสื่อสารงานพิมพ์ระหว่างผู้เขียน บรรณาธิการ และเครื่องพิม.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และภาษามาร์กอัป

วิดีโอ

ระบบวิดีโอแบบที่นิยมทั่วโลก สีเขียวแสดงถึงประเทศที่ใช้ระบบ NTSC สีเหลือง PAL และสีส้ม SECAM วิดีโอ (video) หรือ วีดิทัศน์ หรือมักสะกดผิดว่า วีดีโอ เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความบันเทิงในบ้าน ใช้ต่อพ่วงกับโทรทัศน์ มีระบบหลักๆ คือ NTSC PAL และ SECAM.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และวิดีโอ

อะโดบี แฟลช

อะโดบี แฟลช (Adobe Flash) (ในชื่อเดิม ช็อกเวฟแฟลช - Shockwave Flash และ แมโครมีเดียแฟลช - Macromedia Flash) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash ซึ่งตัว Flash Player พัฒนาและเผยแพร่โดย อะโดบีซิสเต็มส์ (เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็น แมโครมีเดีย ซึ่งภายหลังถูกควบรวมกิจการเข้ากับ อะโดบี) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำให้ เว็บเบราว์เซอร์ สามารถแสดงตัวมันได้ ซึ่งมันมีความสามารถในการรองรับ ภาพแบบเวกเตอร์ และ ภาพแบบแรสเตอร์ และมีภาษาสคริปต์ที่เอาไว้ใช้เขียนโดยเฉพาะเรียกว่า แอ็กชันสคริปต์ (ActionScript) และยังสามารถเล่นเสียงและวิดีโอ แบบสเตริโอได้ แต่ในความหมายจริงๆ แล้ว แฟลช คือโปรแกรมแบบ integrated development environment (IDE) และ Flash Player คือ virtual machine ที่ใช้ในการทำงานงานของไฟล์ แฟลชซึ่งในภาษาพูดเราจะเรียกทั้งสองคำนี้ในความหมายเดียวกัน: "แฟลช" ยังสามารถความความถึงโปรแกรมเครื่องมือต่างๆตัวแสดงไฟล์หรือ ไฟล์โปรแกรม แฟลชเริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี ค.ศ.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และอะโดบี แฟลช

ไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลท์

มโครซอฟท์ซิลเวอร์ไลท์ (Microsoft Silverlight) เป็นโปรแกรมเสริมสำหรับโปรแกรมค้นดูเว็บ เบื้องต้นถูกออกเผยแพร่เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมเว็บที่อาจมีส่วนประกอบอย่าง แอนิเมชัน ภาพกราฟิกส์เวกเตอร์ การใส่ภาพยนตร์และเสียง เป็นต้น ต่อมาได้ถูกปรับปรุงให้ใช้ได้กับชุดเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม ไมโครซอฟท์ วิชวลสตูดิโอ และสนับสนุนบางส่วนของ ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก เพื่อให้สามารถไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเว็บที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับโปรแกรมที่ถูกใช้งานบนคอมพิวเตอร์ (Rich Internet application) หรือโปรแกรมทางธุรกิจทั่วไป (Line of business Application) เป็นคู่แข่งของผลิตภัณฑ์อย่าง Adobe Flash, JavaFX และ Apple QuickTime เดิมนั้น Silverlight ถูกพัฒนาใต้รหัส Windows Presentation Foundation/Everywhere (WPF/E) ปัจจุบันออกรุ่น 1.0 เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 โดยทำงานได้บนไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ Mac OS X ส่วนลินุกซ์นั้นมีโครงการโอเพนซอร์สอย่าง Moonlight กำลังพัฒนาอยู่ ในรุ่นถัดไป Silverlight 2.0 (ถูกแนะนำต่อสาธารณชนเมือ 19 ตุลาคม 2008) สนับสนุนบางส่วนของ ดอตเน็ตเฟรมเวิร์ก นักพัฒนาสามารถใช้ภาษาบนดอตเน็ตในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้นอกเหนือไปจากจาวาสคริปต์ที่ใช้ใน Silverlight 1.0 Silverlight 3.0 ถูกแนะนำต่อสาธารณชนในงาน MIX09 ได้เพิ่มเติมส่วนสำคัญเช่น Navigation เฟรมเวิร์ก, Controls สำคัญๆเช่น DataGrid, ความสามารถในการใช้งานข้างนอก โปรแกรมค้นดูเว็บ เพื่อให้เหมาะสมในการนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมทางธุรกิจทั่วไป Silverlight 4.0 ถูกแนะนำต่อสาธารณชนในงานเปิดตัว Visual Studio 2010 นอกจาก Controls ใหม่ๆที่ถูกเพิ่มเติมแล้วยังถูกปรับปรุงเพื่อให้ใช้งานร่วมกับ เครื่องพิมพ์ คลิปบอร์ด เว็บแคมและไมโครโฟน.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และไมโครซอฟท์ ซิลเวอร์ไลท์

เวิลด์ไวด์เว็บ

แสดงตัวอย่างของเวิลด์ไวด์เว็บ ที่เชื่อมโยงกับวิกิพีเดีย เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web, WWW, W3; หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า เว็บ) คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนดยูอาร์แอล คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต จริง ๆ แล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และเวิลด์ไวด์เว็บ

เว็บไซต์

หน้าหนึ่งในเว็บไซต์วิกิพีเดีย เว็บไซต์ (website, web site หรือ site) หมายถึง หน้าเว็บเพจหลายหน้า ซึ่งเชื่อมโยงกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์ ส่วนใหญ่จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ โดยถูกจัดเก็บไว้ในเวิลด์ไวด์เว็บ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่เก็บไว้ที่ชื่อหลักจะเรียกว่า โฮมเพจ เว็บไซต์โดยทั่วไปจะให้บริการต่อผู้ใช้ฟรี แต่ในขณะเดียวกันบางเว็บไซต์จำเป็นต้องมีการสมัครสมาชิกและเสียค่าบริการเพื่อที่จะดูข้อมูล ในเว็บไซต์นั้น ซึ่งได้แก่ข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ หรือข้อมูลสื่อต่างๆ ผู้ทำเว็บไซต์มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่สร้างเว็บไซต์ส่วนตัว จนถึงระดับเว็บไซต์สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ การเรียกดูเว็บไซต์โดยทั่วไปนิยมเรียกดูผ่านซอฟต์แวร์ในลักษณะของ เว็บเบราว์เซอร์ เว็บไซต์แห่งแรกของโลกถูกสร้างขึ้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และเว็บไซต์

เว็บเชิงความหมาย

ว็บเชิงความหมาย หรือ ซีแมนติกเว็บ (Semantic Web) คือพัฒนาการของเวิลด์ไวด์เว็บซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลและการบริการบนเว็บไซต์ โดยสร้างความเป็นไปได้ที่เว็บไซต์จะสามารถเข้าใจถึงความต้องการของผู้ใช้และเครื่องมือที่ใช้บรรจุลงในสารบัญเว็บไซต์ ซึ่งมีที่มาจากเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เซอร์ ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี มีทัศนคติเกี่ยวกับเว็บว่าเป็นแหล่งรวมการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ เว็บเชิงความหมายโดยแก่นแท้จะบรรจุไปด้วยเซ็ตของหลักของการออกแบบ การทำงานร่วมกัน และความหลากหลายของเทคโนโลยี พื้นฐานบางส่วนของเว็บเชิงความหมายแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะรองรับกับเทคโนโลยีหรือสามารถนำมาใช้ได้จริงในภายภาคหน้า ส่วนอื่นของเว็บเชิงความหมายแสดงถึงลักษณะพิเศษ ซึ่งจะประกอบด้วย Resource Description Framework (RDF) ความหลากหลายของการสับเปลี่ยนของข้อมูล (เช่น RDF/XML, N3, Turtle, N-Triples) และเครื่องหมาย เช่น RDF Schema (RDFS) และ Web Ontology Language (OWL) ซึ่งสิ่งเหล่านี้มุ่งหมายเพื่อเตรียมการถึงส่วนประกอบของการจำกัดความ กำหนดการ และความรู้ที่ได้รั.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และเว็บเชิงความหมาย

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และเอชทีเอ็มแอล

เอกซ์เอชทีเอ็มแอล

อกซ์เอชทีเอ็มแอล (XHTML: Extensible Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปที่มีลักษณะการใช้งานเหมือน HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา โดยมีวากยสัมพันธ์สอดคล้องกับ XML เนื่องจาก HTML นั้นใช้โครงสร้างของ SGML ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ในขณะที่ XHTML นั้นพัฒนาจาก XML ซึ่งเป็นภาษาที่คล้ายกับ SGML แต่เข้มงวดมากกว่า เราสามารถมองว่า XHTML เป็นการแปลง HTML เดิมให้มาอยู่ในโครงสร้างของ XML ก็ได้ XHTML 1.0 ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ World Wide Web Consortium (W3C) ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และเอกซ์เอชทีเอ็มแอล

CSS

CSS อาจหมายถึง; ในทางคอมพิวเตอร.

ดู เอชทีเอ็มแอล5และCSS

ดูเพิ่มเติม

ซอฟต์แวร์ในปี พ.ศ. 2557

มาตรฐานที่พัฒนาจากเอกซ์เอ็มแอล

หรือที่รู้จักกันในชื่อ HTML 5HTML5