เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโย

ดัชนี เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโย

เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคีมโย เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1519 ตรงกับปีที่ 14 ในรัชกาล พระเจ้าจุงจง พระราชาองค์ที่ 11 แห่ง ราชวงศ์โชซอน เนื่องจากในขณะนั้น โชวกวางโจ เป็นขุนนางหนุ่มที่กำลังเรืองอำนาจเมื่อเขากราบทูลเรื่องใดพระเจ้าจุงจงก็ทรงเห็นชอบด้วยแต่เนื่องจากเขาเป็นคนพูดตรงและโผงผางทำให้เหล่าขุนนางเก่าอย่าง ฮงคยองจู, นัมคุน และซิมจอง ไม่พอใจจึงพยายามหาทางกำจัดเขาและขุนนางคนสนิทให้ออกจากราชสำนักในขณะเดียวกันก็มีบุคคลที่สนับสนุนโชวกวางโจคือ คิม อันโล, ยุนนิม และ พระมเหสีมุนจอง พวกขุนนางเก่าจึงกราบทูลให้ พระสนมฮีบิน ตระกูลฮง และพระสนมคยองพิน ร่วมมือด้วยโดยให้คนนำใบไม้ที่สลักคำว่า โชวชูเป็นใหญ่ ชุบน้ำผึ้งไปติดในพระราชอุทยานและให้พวกหนอนเล็มจนเหลือแต่คำๆนั้นเมื่อพระเจ้าจุงจงทอดพระเนตรเห็นก็ทรงพระพิโรธขุนนางเก่าจึงกราบทูลยุยงให้ทรงประหารชีวิตโชวกวางโจแต่เนื่องจากเป็นขุนนางที่ทำความดีความชอบจึงโปรดให้เนรเทศไปเท่านั้นส่วนคนสนิทถูกกวาดล้างจนหมดสิ้นแต่ในเวลาต่อมาพวกขุนนางเก่าเกรงว่าโชวกวางโจจะกลับมาจึงกราบทูลให้ประหารชีวิต ท้ายที่สุด โชวกวางโจก็ดื่มยาพิษพระราชทานจนเสียชีวิต หมวดหมู่:ราชวงศ์โชซ็อน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์เกาหลี.

สารบัญ

  1. 12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2062พระสนมฮีบิน ตระกูลฮงพระสนมคย็องบินพระนางมุนจ็องพระเจ้าจุงจงยุนอิมราชวงศ์โชซ็อนฮงคยองจูคิม อันโลซิมจองนัมคุนโช กวัง-โจ

พ.ศ. 2062

ทธศักราช 2062 ใกล้เคียงกั.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและพ.ศ. 2062

พระสนมฮีบิน ตระกูลฮง

ระสนมฮีบิน ตระกูลฮง (ค.ศ. 1494-1581) เป็นหนึ่งในสามพระสนมเอกของ พระเจ้าจุงจง ถูกขับออกจากวังเพราะความทะเยอทะยาน พระสนมฮีบิน มีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏประสูติเมื่อปี ค.ศ.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและพระสนมฮีบิน ตระกูลฮง

พระสนมคย็องบิน

พระสนมเอกคย็องบิน ตระกูลปาร์ค (2035-2076) เป็นพระสนมเอกในพระเจ้าจุงจง ทรงเป็นธิดาบุญธรรมของใต้เท้าพัก ว็อน-จง และเข้าวังมาในปีเพียวอิน หลังจากเข้าวังมาพระนางได้ให้การประสูติองค์ชายพกซอง ซึ่งเป็นโอรสองค์โตของพระเจ้าจุงจง หลังจากนั้นพระนางก็ทรงรวบรวมอำนาจจากบรรดาเหล่าขุนนาง ได้แก่ใต้เท้านัมคุนและใต้เท้าฮาชอง นับว่าพระนางทรงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลในวังเป็นอย่างมากในยุคนั้น ซ้ำยังเป็นสนมเอกที่กล้าท้าทายอำนาจของ พระมเหสีมุนจอง อย่างไม่เกรงกลัว ภายหลังใต้เท้านัมคุนได้ขึ้นเป็นมหาเสนาบดี พระนางก็ทรงมีอำนาจในวังมากขึ้น แต่สุดท้ายในปีที่ 22 ในรัชสมัยของพระเจ้าจุงจง พระนางถูกใส่ร้ายด้วยเรื่องคดีหนูตายที่สาปแช่งรัชทายาทในวันครบรอบวันประสูติจนเป็นเหตุให้ต้องถูกปลดเป็นสามัญชนรวมทั้งองค์ชายพกซองและถูกขับออกจากวังหลวง หลังจากนั้นก็มีคดีหน้ากากข่มขวัญขึ้นซึ่งมียุนนิมเป็นคนสนับสนุนให้พระสนมฮีพินนำหน้ากากไปแขวนไว้ในวังหลวง ผู้คนจึงเชื่อกันว่ายังมีผู้ที่จงรักภักดีต่อนางที่ทำเรื่องเช่นนี้ขึ้น เหล่าขุนนาง-พระมเหสี-พระพันปีและเหล่าสนมเอกจึงช่วยทูลขอให้พระเจ้าจุงจงทรงประหารพระสนมยองพินและองค์ชายพกซองถึง 19 ครั้งแต่ยังไม่ทรงประหาร แต่สุดท้ายก็ถูกประหารด้วยยาพิษ หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โชซ็อน หมวดหมู่:ตัวละครในบัลลังก์จอมนาง.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและพระสนมคย็องบิน

พระนางมุนจ็อง

ระนางมุนจ็อง (문정왕후, 文定王后) (2 ธันวาคม พ.ศ. 2044–5 พฤษภาคม พ.ศ. 2108) เป็นพระมเหสีองค์ที่ 3 ของพระเจ้าจุงจงแห่งราชวงศ์โชซ็อน พระนางมุนจ็องเป็นธิดา ของใต้เท้า ยุน จี เม แห่งตระกูล ยุน (ฝ่ายเล็ก) พระนางมุนจ็องเป็นผู้สำเร็จราชการแทน หรือ ว่าราชการหลังม่านให้กับโอรส คือพระเจ้ามย็องจงแห่งโชซ็อน เมื่อพระเจ้ามย็องจงยังทรงพระเยาว์ในการปกครองบ้านเมืองด้วยตนเองจนถึงปี..

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและพระนางมุนจ็อง

พระเจ้าจุงจง

ระเจ้าจุงจง (ค.ศ. 1488 - ค.ศ. 1544) เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 11 ของ อาณาจักรโชซ็อน (ค.ศ. 1506 - ค.ศ. 1544).

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและพระเจ้าจุงจง

ยุนอิม

นอิม (윤임; ค.ศ. 1487 — ค.ศ. 1545) เป็นขุนนางคนสำคัญในรัชสมัยพระเจ้าจุงจง และเป็นพี่ชายของพระนางพระชังกย็อง ซึ่งมาจากตระกูลยุนจึงมีศักดิ์เป็นพระมาตุลา (ลุง) ขององค์ชายรัชทายาทอีโฮ เมื่อพระนางชังกย็องสิ้นพระชนม์และพระเจ้าจุงจงได้แต่งตั้งพระนางมุนจ็องเป็นพระราชินีองค์ใหม่ ซึ่งมาจากตระกูลยุนเช่นกัน ยุนอิมกลัวว่าตัวเองจะหมดอำนาจลงเขาจึงไปร่วมมือกับคิม อัน-โลขุนนางชั้นผู้ใหญ่ผู้ทรงอิทธิพลเพื่อรักษาฐานอำนาจ ในยุคสมัยนี้แบ่งเป็นยุนใหญ่และยุนเล็กคือยุนอิมและคิม อัน-โลเป็นยุนใหญ่ส่วนยุน ว็อนฮังและยุน ว็อลโล พี่ชายของพระนางมุนจ็องเป็นยุนเล็ก ต่อมาเมื่อคิม อัน-โลถูกประหาร ยุนอิมจึงต้องต่อสู้แบบโดดเดี่ยวเพื่อรักษาฐานอำนาจกับสองพี่น้องจากตระกูลยุนเล็กแต่แล้วยุนอิมก็ถูกประหารในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและยุนอิม

ราชวงศ์โชซ็อน

ราชวงศ์โชซอน (Joseon Dynasty) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซอนเป็นจักรวรรดิโชซอนตามพระบรมราชโองการของจักรพรรดิควังมูแห่งจักรวรรดิโชซอน (จักรพรรดิโคจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี..

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและราชวงศ์โชซ็อน

ฮงคยองจู

ฮงคยองจู (?-1521) เป็นบุตรชายของฮงนิม อดีตขุนนางผู้ใหญ่ในรัชกาลพระเจ้าซองจง เหตุการณ์คราวโค่นราชบัลลังก์พระเจ้ายอนซัน เมื่อปี 1505 ฮงคยองจูดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารต่อมาทำความดีความชอบจนได้เลื่อนเป็นขุนนางขั้น 1 มีฉายาว่า ใต้เท้านัมยาง ใต้เท้านัมยางเป็นพระบิดาของพระสนมฮีพินหนึ่งในสามพระสนมเอกของพระเจ้าจุงจง และเป็นพระอัยกาขององค์ชายกึมวอนและองค์ชายพงซอน แต่ต่อมาทำความผิดเพราะไปติดสินบนใต้เท้าปานึงกุนพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าจุงจงเรื่องบัญชีดำจึงถูกพระเจ้าจุงจงไล่ออกจากตำหนักโดยให้คลานอย่างสุนัขหลังจากนั้นใต้เท้านัมยางจึงมิกล้าเข้าเฝ้าอีกเลยแต่มีเหตุให้ใต้เท้านัมยางต้องเข้าเฝ้าแต่ยังมิทันขึ้นเสลี่ยงใต้เท้านัมยางก็ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชราเมื่อปี 1521 หมวดหมู่:ขุนนางเกาหลี หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โชซ็อน หมวดหมู่:ตัวละครในบัลลังก์จอมนาง.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและฮงคยองจู

คิม อันโล

มอันโล (1481-1537) เป็นขุนนางผู้ใหญ่ในรัชกาล พระเจ้าจุงจง เป็นแกนนำฝ่ายยุนใหญ่ที่ครองอำนาจในราชสำนักร่วมกับ ยุนนิม และเป็นพ่อพระสวามีของ องค์หญิงฮโยฮเย พระราชธิดาองค์ใหญ่ของพระเจ้าจุงจง.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและคิม อันโล

ซิมจอง

ซิมจอง (1471-1531) มีฉายาว่า ฮาชอง เป็นขุนนาง, กวีและนักคิดในสมัย ราชวงศ์โชซอน.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและซิมจอง

นัมคุน

นัมคุน (1471-1527) มีชื่อจริงว่า จียอง เป็นขุนนาง,กวีและนักคิดสมัย ราชวงศ์โชซอน เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1471.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและนัมคุน

โช กวัง-โจ

วาดของโช กวัง-โจ โช กวัง-โจ ขุนนางและนักปราชญ์หัวก้าวหน้าคนสำคัญในรัชสมัยพระเจ้าจุงจง ผู้เสนอให้พระเจ้าจุงจงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินแต่ไม่สำเร็จและยังถูกประหารชีวิต.

ดู เหตุการณ์สังหารหมู่ปราชญ์ปีคิมโยและโช กวัง-โจ