โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตก.

18 ความสัมพันธ์: ฟรานซ์โจเซฟแลนด์มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรใต้ลองจิจูดออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีทวีปยุโรปทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทะเลอารัลทะเลคาราทะเลแบเร็นตส์ขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือเส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 61 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนแรก

ฟรานซ์โจเซฟแลนด์

ฟรานซ์โจเซฟแลนด์ (Franz Josef Land, Franz Joseph Land, หรือ Francis Joseph's Land) หรือ ซิมเลียฟรันต์ซาโยซีฟา (Земля Франца-Иосифа, Zemlya Frantsa-Iosifa) เป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก เป็นส่วนหนึ่งของอาร์คันเกลสค์โอบลาสต์ ในประเทศรัสเซียในส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือของเกาะโนวายาเซมเลีย ทางตะวันออกของหมู่เกาะสฟาลบาร์ ประกอบด้วยเกาะที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง 191 เกาะ มีพื้นที่รวม 16,134 กม2 (6,229 ตร.ไมล์) ตั้งอยู่ละติจูด 80.0° ถึง 81.9° เหนือ จูเลียส ฟอนปาเยอร์ และคาร์ล เวเปรชต์ นักสำรวจจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นผู้ค้นพบใน ค.ศ. 1873 และสหภาพโซเวียตได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือกลุ่มเกาะนี้ใน ค.ศ. 1926 หมวดหมู่:เกาะในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:กลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก หมวดหมู่:อาร์ฮันเกลสค์โอบลาสต์.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและฟรานซ์โจเซฟแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดีย ปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ. 1884 การประชุมเมอริเดียนนานาชาติ (International Meridian Conference) จึงได้กำหนดให้เส้นเวลากรีนนิช เป็นเส้นเวลาไพร์มเมอริเดียน และเป็นลองติจูด 0 องศา หมวดหมู่:การเดินเรือ หมวดหมู่:ภูมิมาตรศาสตร์ *.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและลองจิจูด · ดูเพิ่มเติม »

ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี

ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Australian Antarctic Territory, AAT) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศออสเตรเลียอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างโดยชาติใดชาติหนึ่ง ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะและดินแดนทางตอนใต้ของละติจูด 60° ใต้ และระหว่างลองจิจูด 45° ตะวันออกถึง 160° ตะวันออก ยกเว้นอาเดลีแลนด์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 136° ตะวันออกถึง 142° ตะวันออก) ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งออกจากกันเป็น2ส่วน คือ เวสเทิร์นเอเอที (ส่วนที่ใหญ่กว่า) และอีสเทิร์นเอเอที โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5,896,500 ตารางกิโลเมตร ดินแดนนี้เป็นที่อาศัยของผู้ที่ทำงานกับสถานีวิจัยขั้วโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอารัล

ทะเลอารัล (ภาษาคาซัค: Арал Теңізі, Aral Tengizi; ภาษาอุซเบก: Orol dengizi; ภาษารัสเซีย: Аральскοе мοре; ภาษาทาจิก/ภาษาเปอร์เซีย: Daryocha-i Khorazm, Lake Khwarazm) เป็นทะเลปิดที่อยู่ในเอเชียกลาง อยู่ระหว่างประเทศคาซัคสถานกับสาธารณรัฐคาราคัลปัคสถานซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศอุซเบกิสถาน ปัจจุบันปริมาณน้ำในทะเลลดลงมากจนทะเลถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทะเลอารัลเหนือ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันออกและทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันตก ครั้งหนึ่งทะเลอารัลมีพื้นที่ 68,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ประมาณปี..

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและทะเลอารัล · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลคารา

ที่ตั้งของทะเลคารา ทะเลคารา (Ка́рское мо́ре; Kara Sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของไซบีเรีย ทิศตะวันตกติดทะเลแบเร็นตส์ ทิศตะวันออกติดทะเลลัปเตฟ มีเกาะหลายเกาะ เช่น เกาะดิกสัน เกาะโอเลนี เป็นต้น เป็นพื้นที่ซึ่งมีการค้นพบปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้พัฒนามากนัก ทะเลคารามีความกว้าง 970 กิโลเมตร ยาว 1,450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 880,000 ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 110 เมตร แม่น้ำหลักที่ไหลลงสู่ทะเลคารา ได้แก่ แม่น้ำอ็อบและแม่น้ำเยนีเซย์ คารา หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและทะเลคารา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลแบเร็นตส์

ที่ตั้งของทะเลแบเร็นตส์ ทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea; Barentshavet; Баренцево море) เป็นทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติกที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์และประเทศรัสเซีย เป็นทะเลที่มีไหล่ทวีป (Continental shelf) ที่ค่อนข้างลึก (เฉลี่ยความลึกราว 230 เมตร และที่บริเวณที่ลึกที่สุดลึก 450 เมตร) โดยมีทะเลนอร์เวย์ทางตะวันตก เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเกาะฟรันซ์โจเซฟแลนด์ (Franz Josef Land) และเกาะโนวายาเซมเลีย (Novaya Zemlya) ของรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันออก เกาะโนวายาเซมเลียแยกทะเลคาราออกจากทะเลแบเร็นตส์ ในยุคกลาง ทะเลนี้มีชื่อเรียกว่า ทะเลมูร์มัน (murmansk Sea) ส่วนชื่อของทะเลในปัจจุบันมาจากชื่อนักเดินเรือชาวดัตช์ชื่อวิลเลิม บาเรินตส์ (Willem Barentsz) ทะเลแบเร็นตส์เป็นแหล่งที่มีน้ำมันจากซากสัตว์ดึกดำบรร.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและทะเลแบเร็นตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 120 องศา มีความหมายเป็นส่วนหนึ่งของเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐบริติชโคลัมเบีย และรัฐแอลเบอร์ตาในแคนาดา และใช้เป็นเส้นแบ่งเขตโดยประมาณระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเนวาดาในสหรัฐอเมริกา เส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปอเมริกาเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก ในแคนาดา เส้นเมริเดียนนี้ถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตระหว่างรัฐบริติชโคลัมเบียและรัฐแอลเบอร์ตา และในสหรัฐอเมริกา เส้นนี้มีความหมายเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนียและรัฐเนวาดา สำหรับเวลาสุริยเฉลี่ย เส้นนี้มีความหมายเป็นการกำหนดเขตเวลาแปซิฟิก (UTC−08:00) ในช่วงเวลามาตรฐานซึ่งถูกใช้เป็นส่วนมากในปี อย่างไรก็ตาม เส้นนี้ยังถูกใช้สำหรับเวลาออมแสงอลาสกา ซึ่งเป็นเวลาออมแสงที่ถูกใช้เป็นเวลาตามฤดูกาลเกือบ 2/3 ของปี.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจาก ขั้วโลกเหนือ ผ่าน มหาสมุทรอาร์กติก, ทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, มหาสมุทรอินเดีย, มหาสมุทรใต้, และ ทวีปแอนตาร์กติกาเข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 121 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนที่ 61 องศาตะวันออก

้นเมริเดียนที่ 61 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 61 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 119 องศาตะวันตก.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 61 องศาตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ใหม่!!: เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนแรก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »