สารบัญ
14 ความสัมพันธ์: ฟรานซ์โจเซฟแลนด์มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรใต้ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีอ่าวโอมานทวีปยุโรปทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทะเลคาราทะเลแบเร็นตส์ขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือเส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก
ฟรานซ์โจเซฟแลนด์
ฟรานซ์โจเซฟแลนด์ (Franz Josef Land, Franz Joseph Land, หรือ Francis Joseph's Land) หรือ ซิมเลียฟรันต์ซาโยซีฟา (Земля Франца-Иосифа, Zemlya Frantsa-Iosifa) เป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก เป็นส่วนหนึ่งของอาร์คันเกลสค์โอบลาสต์ ในประเทศรัสเซียในส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป ทางตอนเหนือของเกาะโนวายาเซมเลีย ทางตะวันออกของหมู่เกาะสฟาลบาร์ ประกอบด้วยเกาะที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็ง 191 เกาะ มีพื้นที่รวม 16,134 กม2 (6,229 ตร.ไมล์) ตั้งอยู่ละติจูด 80.0° ถึง 81.9° เหนือ จูเลียส ฟอนปาเยอร์ และคาร์ล เวเปรชต์ นักสำรวจจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นผู้ค้นพบใน ค.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและฟรานซ์โจเซฟแลนด์
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรใต้
มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้
ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Australian Antarctic Territory, AAT) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศออสเตรเลียอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างโดยชาติใดชาติหนึ่ง ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะและดินแดนทางตอนใต้ของละติจูด 60° ใต้ และระหว่างลองจิจูด 45° ตะวันออกถึง 160° ตะวันออก ยกเว้นอาเดลีแลนด์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 136° ตะวันออกถึง 142° ตะวันออก) ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งออกจากกันเป็น2ส่วน คือ เวสเทิร์นเอเอที (ส่วนที่ใหญ่กว่า) และอีสเทิร์นเอเอที โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5,896,500 ตารางกิโลเมตร ดินแดนนี้เป็นที่อาศัยของผู้ที่ทำงานกับสถานีวิจัยขั้วโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
อ่าวโอมาน
อ่าวโอมาน "ทะเลเปอร์เซีย" เป็นอีกชื่อหนึ่งของอ่าวโอมาน ดังแสดงในแผนที่ยุคศตวรรษที่ 18 โดยเอมานูเอล โบเวน อ่าวโอมาน (Gulf of Oman; خليج عُمان, Ḫalīdj ʾUmān), อ่าวมากราน (خليج مکران, Ḫalīdj Makrān), ทะเลอิหร่าน (دریای ایران, Daryā-e Īrān) หรือ ทะเลเปอร์เซีย (دریای فارس, Daryā-e Fārs) เป็นช่องแคบ (และไม่ใช่อ่าวอย่างแท้จริง) เชื่อมต่อทะเลอาหรับกับอ่าวเปอร์เซียบริเวณช่องแคบฮอร์มุซ อ่าวโอมานถือเป็นส่วนหนึ่งของอ่าวเปอร์เซีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทะเลอาหรับ ตั้งอยู่ระหว่างอิหร่าน (เปอร์เซีย) ปากีสถาน โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยชายฝั่งทางตอนเหนือติดกับปากีสถานและอิหร่าน ชายฝั่งทางใต้ติดกับโอมานและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อโอมาน หมวดหมู่:อ่าวเปอร์เซีย.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและอ่าวโอมาน
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและทวีปยุโรป
ทวีปแอนตาร์กติกา
วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา
ทวีปเอเชีย
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและทวีปเอเชีย
ทะเลคารา
ที่ตั้งของทะเลคารา ทะเลคารา (Ка́рское мо́ре; Kara Sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือของไซบีเรีย ทิศตะวันตกติดทะเลแบเร็นตส์ ทิศตะวันออกติดทะเลลัปเตฟ มีเกาะหลายเกาะ เช่น เกาะดิกสัน เกาะโอเลนี เป็นต้น เป็นพื้นที่ซึ่งมีการค้นพบปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ แต่ยังไม่ได้พัฒนามากนัก ทะเลคารามีความกว้าง 970 กิโลเมตร ยาว 1,450 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 880,000 ตารางกิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 110 เมตร แม่น้ำหลักที่ไหลลงสู่ทะเลคารา ได้แก่ แม่น้ำอ็อบและแม่น้ำเยนีเซย์ คารา หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและทะเลคารา
ทะเลแบเร็นตส์
ที่ตั้งของทะเลแบเร็นตส์ ทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea; Barentshavet; Баренцево море) เป็นทะเลที่เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติกที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศนอร์เวย์และประเทศรัสเซีย เป็นทะเลที่มีไหล่ทวีป (Continental shelf) ที่ค่อนข้างลึก (เฉลี่ยความลึกราว 230 เมตร และที่บริเวณที่ลึกที่สุดลึก 450 เมตร) โดยมีทะเลนอร์เวย์ทางตะวันตก เกาะสฟาลบาร์ของนอร์เวย์ทางตะวันตกเฉียงเหนือและเกาะฟรันซ์โจเซฟแลนด์ (Franz Josef Land) และเกาะโนวายาเซมเลีย (Novaya Zemlya) ของรัสเซียทางตะวันออกเฉียงเหนือและทางตะวันออก เกาะโนวายาเซมเลียแยกทะเลคาราออกจากทะเลแบเร็นตส์ ในยุคกลาง ทะเลนี้มีชื่อเรียกว่า ทะเลมูร์มัน (murmansk Sea) ส่วนชื่อของทะเลในปัจจุบันมาจากชื่อนักเดินเรือชาวดัตช์ชื่อวิลเลิม บาเรินตส์ (Willem Barentsz) ทะเลแบเร็นตส์เป็นแหล่งที่มีน้ำมันจากซากสัตว์ดึกดำบรร.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและทะเลแบเร็นตส์
ขั้วโลกใต้
ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้
ขั้วโลกเหนือ
ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ
เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก
้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 120 องศาตะวันตก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 59 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 60 องศาตะวันออก