สารบัญ
27 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรใต้รัฐวิกทอเรียรัฐควีนส์แลนด์รัฐนิวเซาท์เวลส์ลองจิจูดสาธารณรัฐซาฮาหมู่เกาะคอรัลซีออสตราเลเซียออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรีออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรีจังหวัดฮกไกโดทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทะเลคอรัลทะเลโอค็อตสค์ทะเลไซบีเรียตะวันออกขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือนิวบริเตนแคนเบอร์ราเกาะนิวกินีเส้นเมริเดียนที่ 148 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 31 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนแรก
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรใต้
มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้
รัฐวิกทอเรีย
รัฐวิกตอเรีย ตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ เป็นรัฐที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของออสเตรเลีย ขนาด 227,600 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุด มีประชากรอาศัยอยู่ในรัฐนี้คิดเป็นร้อยละ 26 ของชาวออสเตรเลียทั้งหมด นครหลวงเมลเบิร์นเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐวิกตอเรีย และมีประชากรขอรัฐอาศัยอยู่มากที่สุดถึง 70% เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปวัฒนธรรม การเงิน และการคมนาคมเนื่องจากมีท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือโดยสารและขนส่ง และทางรถไฟเชื่อมระหว่างรัฐใกล้เคียง.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและรัฐวิกทอเรีย
รัฐควีนส์แลนด์
รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแผ่นดินทวีป ติดกับนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทางตะวันตก ติดกับรัฐเซาท์ออสเตรเลียทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทางทิศใต้ ทางตะวันตกของรัฐควีนส์แลนด์ เป็นทะเลปะการังและมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐควีนส์แลนด์มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและเป็นรัฐที่มีประชากรมาที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย พื้นที่แต่เดิมมีคนพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวเกาะทอร์เรสสเตรทอาศัยอยู่ ที่มาอยู่ราว 40,000 ถึง 65,000 ปีก่อน ต่อมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษและแยกจากนิวเซาท์เวลส์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและรัฐควีนส์แลนด์
รัฐนิวเซาท์เวลส์
นิวเซาท์เวลส์ (อังกฤษ: New South Wales) เป็นหนึ่งในหกรัฐของเครือรัฐออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ นิวเซาท์เวลส์เป็นอาณานิคมบริเตนแห่งแรกในออสเตรเลีย แรกเริ่มกินดินแดนกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ก่อนที่จะแยกไปเป็นรัฐอื่นๆภายหลัง เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือซิดนี.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและรัฐนิวเซาท์เวลส์
ลองจิจูด
ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและลองจิจูด
สาธารณรัฐซาฮา
250px สาธารณรัฐซาฮา (The Sakha (Yakutia) Republic; Респу́блика Саха́ (Яку́тия)) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย กินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล มีพื้นที่ 3,100,000 ตร.กม.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและสาธารณรัฐซาฮา
หมู่เกาะคอรัลซี
แผนที่ของหมู่เกาะคอรัลซี แผนที่ของดินแดนหมู่เกาะคอรัลซี หมู่เกาะคอรัลซี (Coral Sea Islands) เป็นหมู่เกาะซึ่งเป็นดินแดนของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของ รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย อาณาเขตดินแดนครอบคลุม 780,000 ตารางกิโลเมตรGeoscience Australia.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและหมู่เกาะคอรัลซี
ออสตราเลเซีย
แผนที่ออสตราเลเซีย ออสตราเลเซีย (Australasia) คือชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคโอเชียเนีย กล่าวคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้คิดคำนี้ขึ้น คือ ชาร์ล เดอ บรอส (Charles de Brosses) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือประวัติการสำรวจซีกโลกใต้ (Histoire des navigations aux terres australes) เมื่อ..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและออสตราเลเซีย
ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
ออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี (Australian Antarctic Territory, AAT) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ประเทศออสเตรเลียอ้างกรรมสิทธิ์ครอบครอง และเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่อ้างโดยชาติใดชาติหนึ่ง ที่ประกอบด้วยหมู่เกาะและดินแดนทางตอนใต้ของละติจูด 60° ใต้ และระหว่างลองจิจูด 45° ตะวันออกถึง 160° ตะวันออก ยกเว้นอาเดลีแลนด์ (ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองจิจูด 136° ตะวันออกถึง 142° ตะวันออก) ทำให้ดินแดนนี้ถูกแบ่งออกจากกันเป็น2ส่วน คือ เวสเทิร์นเอเอที (ส่วนที่ใหญ่กว่า) และอีสเทิร์นเอเอที โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 5,896,500 ตารางกิโลเมตร ดินแดนนี้เป็นที่อาศัยของผู้ที่ทำงานกับสถานีวิจัยขั้วโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและออสเตรเลียนแอนตาร์กติกเทร์ริทอรี
ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี (Australian Capital Territory) เป็นเขตเมืองหลวงของออสเตรเลียและถือเป็นดินแดน เขตการปกครองตนเองภายในที่เล็กที่สุด ตั้งอยู่ภายในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ดอกไม้ประจำดินแดนคือดอกรอแยลบลูเบล และสัตว์ประจำดินแดนคือ Gang-Gang cockatoo.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
จังหวัดฮกไกโด
กไกโด (ไอนุ: アィヌ・モシリ อัยนูโมซีร์) เดิมเรียก เอะโซะ เป็นชื่อจังหวัดและเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศญี่ปุ่น รองจากเกาะฮนชู แต่มีอุโมงค์เซกังเชื่อมถึงกัน นอกจากนี้ฮกไกโดยังเป็นเขตการปกครอง ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่เกาะ โดยมีเกาะฮกไกโดเป็นศูนย์กลาง และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเขต คือ ซัปโปโระ ฮกไกโดเป็นเขตที่มีคนอาศัยอยู่เบาบาง มีประชากรทั้งเกาะประมาณ 5 ล้านคน คนส่วนใหญ่ย้ายมาจากเกาะฮนชูเมื่อราว 100 กว่าปีก่อน โดยเป็นแหล่งที่ซามูไรแพ้สงครามจึงต้องหนีมาอยู่ที่เกาะนี้ ความจริงแล้วที่เกาะนี้มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่มานานแล้ว คือ ชาวไอนุ แต่โดนกลืนชนชาติไป ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อยมากและมีชีวิตเช่นชาวญี่ปุ่นทั่วไป ฮกไกโดเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็น โดยเฉลี่ยจะมีหิมะท่วมอยู่ทั่วไปประมาณ 4-6 เดือน ในถดูหนาวจะมีอุณหภูมิ -20 ถึง 5 องศาเซลเซียส ในหน้าร้อนจะมีอุณหภูมิ 15 ถึง 30 องศาเซลเซียส ในด้านภูมิประเทศเป็นภูเขาเป็นส่วนใหญ่ ในบริเวณที่ราบลุ่มก็จะเป็นเมืองที่คนอาศัย โดยจะหนาแน่นในบริเวณเมืองซัปโปโระ ซึ่งมีอากาศอุ่นกว่าบริเวณต่าง ๆ ของเกาะ แต่ก็ยังหนาวกว่าเมืองอื่น ๆ ในเกาะฮนชู ฮกไกโดเป็นเกาะที่มีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีทิวทัศน์ที่สวยงาม ชาวญี่ปุ่นจากส่วนอื่น ๆ ของประเทศจึงนิยมมาตากอากาศหรือย้ายมาอยู่อาศัยและทำงานเป็นจำนวนมาก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและจังหวัดฮกไกโด
ทวีปแอนตาร์กติกา
วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา
ทวีปเอเชีย
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและทวีปเอเชีย
ทะเลคอรัล
ทะเลคอรัล ทะเลคอรัล (Coral Sea) เป็นทะเลชายอาณาเขต ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย อยู่ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลียทางตะวันตก หมู่เกาะวานวาตูและเกาะนิวแคลิโดเนียทางตะวันออก ทิศเหนือติดต่อกับประเทศปาปัวนิวกีนีและหมู่เกาะโซโลมอน ส่วนทางตอนเหนือของทะเลเรียกอีกชื่อว่า ทะเลโซโลมอน จุดเด่นของทะเลคอรัลคือมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นและคงที่ มีฝนตกและพายุหมุนเขตร้อนบ่อยครั้ง มีเกาะและปะการังมากมาย รวมถึงเครือข่ายปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่เรียกว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและทะเลคอรัล
ทะเลโอค็อตสค์
แผนที่ของทะเลโอคอตสค์ ทะเลโอคอตสค์ (Охотское море; Sea of Okhotsk) เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อยู่ระหว่างคาบสมุทรคัมชัตคาที่อยู่ทางตะวันออก, หมู่เกาะคูริลทางตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฮกไกโดทางใต้, เกาะซาฮาลินทางตะวันตก รวมไปถึงแนวยาวของชายฝั่งไซบีเรียตะวันออก (รวมถึงเกาะชานตาร์) ตั้งอยู่ทางตะวันตกและเหนือ ส่วนมุมตะวันออกเฉียงเหนือคืออ่าวเชลีคอฟ ชื่อตั้งตามโอคอตสค์ เมืองรัสเซียแห่งแรกที่ตะวันออกไกล อโอคอตสค์.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและทะเลโอค็อตสค์
ทะเลไซบีเรียตะวันออก
แผนที่ทะเลไซบีเรียตะวันออก ทะเลไซบีเรียตะวันออก (Восто́чно-Сиби́рское мо́ре; East Siberian Sea) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของภูมิภาคไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย เป็นทะเลในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ระหว่างแหลมอาร์กติกทางเหนือ ชายฝั่งของไซบีเรียทางใต้ หมู่เกาะนิวไซบีเรียทางตะวันตก และแหลมบิลลิงส์ทางตะวันออก ทะเลไซบีเรียตะวันออกมีพื้นที่ 361,000 ตารางไมล์ ร้อยละ 70 ของพื้นที่มีความลึกไม่เกิน 50 เมตร ความลึกเฉลี่ย 66 เมตร และจุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 358 เมตร อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0-2 องศาเซลเซียส (4 องศาเซลเซียสทางตอนใต้) ในฤดูร้อน และ -30 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ทะเลแห่งนี้มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับทะเลลัปเตฟ แม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดที่ไหลลงทะเลแห่งนี้คือแม่น้ำคาลึยม.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและทะเลไซบีเรียตะวันออก
ขั้วโลกใต้
ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้
ขั้วโลกเหนือ
ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ
นิวบริเตน
เกาะนิวบริเตน (New Britain; Niu Briten) เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในกลุ่มเกาะบิสมาร์ก ของประเทศปาปัวนิวกินี แบ่งแยกออกจากนิวกีนีโดยช่องแคบแดมเปียร์และช่องแคบวีเตียซ และแบ่งแยกออกจากเกาะนิวไอร์แลนด์ โดยช่องแคบเซนต์จอร์จ มีเมืองสำคัญบนเกาะคือ ราเบา/โกโกโป และคิมเบ เกาะมีขนาดราวเกาะไต้หวัน ในขณะที่เกาะเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมัน มีชื่อว่า Neupommern (โพเมราเนียใหม่) หมวดหมู่:เกาะในประเทศปาปัวนิวกินี.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและนิวบริเตน
แคนเบอร์รา
แคนเบอร์รา (Canberra) เป็นเมืองหลวงของเครือรัฐออสเตรเลีย มีประชากรประมาณ 403,468 คน(ข้อมูลเมื่อมิถุนายน 2559) โดยแคนเบอร์ร่าเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของเครือรัฐออสเตรเลีย และนับว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียที่ไม่ติดต่อกับชายฝั่งทะเล แคนเบอร์ราตั้งอยู่ที่ตอนเหนือของออสเตรเลียน แคปิตอล เทอร์ริทอรี (Australian Capital Territory, มณฑลนครหลวงของออสเตรเลีย) มีระยะทางห่างจากเมืองซิดนีย์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 170 ไมล์(280 กิโลเมตร) และห่างจากเมืองเมลเบิร์น 410 ไมล์(660 กิโลเมตร) โดยคนท้องที่มักรู้จักกันในชื่อ "แคนเบอร์รัน"(อังกฤษ: Canberran) แม้ว่าคำว่าแคนเบอร์ร่าจะเป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการ และยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการหลายหน่วยงาน แคนเบอร์ราได้รับเลือกเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงประจำออสเตรเลียเมื่อ..
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและแคนเบอร์รา
เกาะนิวกินี
นิวกินี (New Guinea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย เมื่อบริเวณที่ที่ปัจจุบันคือช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) จมลงในช่วง 5000 ปีก่อนคริสตกาล โดยพื้นที่ส่วนตะวันตกของตัวเกาะเป็นดินแดนจังหวัดปาปัวและจังหวัดปาปัวตะวันตก (อดีตอีเรียนจายาตะวันตก) ของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะมีฐานะเป็นแผ่นดินใหญ่ของรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี ด้วยความสูง 4,884 เมตร ยอดเขาปุนจะก์จายา (Puncak Jaya) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ายอดเขาการ์สเตินส์ (Carstensz) ทำให้เกาะนิวกินีได้รับการจัดให้เป็นพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก นิวกินี เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะนานาชาติ หมวดหมู่:เกาะในประเทศปาปัวนิวกินี.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและเกาะนิวกินี
เส้นเมริเดียนที่ 148 องศาตะวันออก
้นเมริเดียน 148 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ออสตราเลเซีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 148 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 32 องศาตะวันตก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 148 องศาตะวันออก
เส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันออก
้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ออสตราเลเซีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 30 องศาตะวันตก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 150 องศาตะวันออก
เส้นเมริเดียนที่ 31 องศาตะวันตก
้นเมริเดียนที่ 31 องศาตะวันตก คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 31 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออก.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 31 องศาตะวันตก
เส้นเมริเดียนแรก
แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.
ดู เส้นเมริเดียนที่ 149 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนแรก