เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออก

ดัชนี เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออก

้นเมริเดียน 138 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ออสตราเลเซีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 42 องศาตะวันตก.

สารบัญ

  1. 30 ความสัมพันธ์: มหาสมุทรอาร์กติกมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกมหาสมุทรใต้รัฐควีนส์แลนด์รัฐเซาท์ออสเตรเลียลองจิจูดสาธารณรัฐซาฮาหมู่เกาะนิวไซบีเรียออสตราเลเซียอาเดลีแลนด์อ่าวคาร์เพนแทเรียจังหวัดชิซูโอกะจังหวัดนางาโนะจังหวัดนีงาตะทวีปแอนตาร์กติกาทวีปเอเชียทะเลญี่ปุ่นทะเลลัปเตฟทะเลโอค็อตสค์ขั้วโลกใต้ขั้วโลกเหนือนอร์เทิร์นเทร์ริทอรีแยปเกาะฮนชูเกาะนิวกินีเส้นเมริเดียนที่ 137 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 139 องศาตะวันออกเส้นเมริเดียนที่ 42 องศาตะวันตกเส้นเมริเดียนแรก

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและมหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและมหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรใต้

มหาสมุทรใต้(2002). มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและมหาสมุทรใต้

รัฐควีนส์แลนด์

รัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแผ่นดินทวีป ติดกับนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทางตะวันตก ติดกับรัฐเซาท์ออสเตรเลียทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทางทิศใต้ ทางตะวันตกของรัฐควีนส์แลนด์ เป็นทะเลปะการังและมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐควีนส์แลนด์มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและเป็นรัฐที่มีประชากรมาที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย พื้นที่แต่เดิมมีคนพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวเกาะทอร์เรสสเตรทอาศัยอยู่ ที่มาอยู่ราว 40,000 ถึง 65,000 ปีก่อน ต่อมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษและแยกจากนิวเซาท์เวลส์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและรัฐควีนส์แลนด์

รัฐเซาท์ออสเตรเลีย

รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (South Australia) เป็นรัฐของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่แห้งแล้งโดยส่วนใหญ่ของทวีป มีพื้นที่ 983,482 ตร.กม.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและรัฐเซาท์ออสเตรเลีย

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและลองจิจูด

สาธารณรัฐซาฮา

250px สาธารณรัฐซาฮา (The Sakha (Yakutia) Republic; Респу́блика Саха́ (Яку́тия)) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย กินพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเขตสหพันธ์ตะวันออกไกล มีพื้นที่ 3,100,000 ตร.กม.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและสาธารณรัฐซาฮา

หมู่เกาะนิวไซบีเรีย

หมู่เกาะนิวไซบีเรีย หรือ โนโวซีบีร์สกีเยออสโตรวา (Новосиби́рские острова, Novosibirskiye Ostrova; New Siberian Islands) เป็นกลุ่มเกาะในประเทศรัสเซีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของชายฝั่งอีสต์ไซบีเรียน ระหว่างทะเลแลปทิฟกับทะเลอีสต์ไซบีเรีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของสาธารณรัฐซาคา มีเกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโคเตลนี หมู่เกาะนี้พบเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีสถานีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ตั้งอยู่อย่างถาวรตั้งแต..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและหมู่เกาะนิวไซบีเรีย

ออสตราเลเซีย

แผนที่ออสตราเลเซีย ออสตราเลเซีย (Australasia) คือชื่อที่ใช้เรียกภูมิภาคโอเชียเนีย กล่าวคือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะใกล้เคียงในมหาสมุทรแปซิฟิก ผู้คิดคำนี้ขึ้น คือ ชาร์ล เดอ บรอส (Charles de Brosses) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือประวัติการสำรวจซีกโลกใต้ (Histoire des navigations aux terres australes) เมื่อ..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและออสตราเลเซีย

อาเดลีแลนด์

อาเดลีแลนด์ (Adélie Land) หรือ แตร์อาเดลี (Terre Adélie) เป็นส่วนหนึ่งของฝั่งทวีปแอนตาร์กติการะหว่าง 136° E (ไม่ไกลจากแหลมปูร์กัวปาที่พิกัด) และ 142° E (ไม่ไกลจากแหลมแอลเดนที่พิกัด) ที่มีชายฝั่งทะเลยาว 350 กิโลเมตรและลึกเข้าอีก 2,600 กิโลเมตรยังศูนย์กลางที่ขั้วโลกใต้ อาเดลีเป็นหนึ่งในห้าเขตของดินแดนตอนใต้และแอนตาร์กติกาของฝรั่งเศส พื้นที่ 432,000 ตารางกิโลเมตรของอาเดลีแลนด์ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและอาเดลีแลนด์

อ่าวคาร์เพนแทเรีย

อ่าวคาร์เพนแทเรีย (Gulf of Carpentaria) ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย ระหว่างนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี คาบสมุทรยอร์กในรัฐควีนส์แลนด์ และทางใต้ของประเทศปาปัวนิวกินี หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในประเทศออสเตรเลีย คาร์เพนแทเรีย.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและอ่าวคาร์เพนแทเรีย

จังหวัดชิซูโอกะ

ังหวัดชิซูโอกะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในภูมิภาคชูบุ บนเกาะฮนชู เมืองหลักใช้ชื่อเดียวกันคือเมืองชิซูโอกะ (静岡市 Shizuoka-shi) จังหวัดนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาฟูจิ (富士山 Fuji-san) และมีชื่อเสียงของการปลูกชาเขียวที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและจังหวัดชิซูโอกะ

จังหวัดนางาโนะ

ังหวัดนางาโนะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ในเขตจูบุ บนเกาะฮนชู มีเมืองเอกจังหวัดในชื่อเดียวกันคือ นางาโน.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและจังหวัดนางาโนะ

จังหวัดนีงาตะ

ังหวัดนีงาตะ หรือ นีกาตะ เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่บริเวณภาคชูบุของญี่ปุ่น มีเมืองเอกในชื่อเดียวกัน นีงาต.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและจังหวัดนีงาตะ

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและทวีปแอนตาร์กติกา

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและทวีปเอเชีย

ทะเลญี่ปุ่น

ทะเลญี่ปุ่น เป็นทะเลชายอาณาเขตทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างแผ่นดินใหญ่เอเชีย หมู่เกาะญี่ปุ่น และเกาะซาฮาลิน ล้อมรอบด้วยประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ และรัสเซีย เป็นผืนน้ำที่ถูกปิดกั้นจากมหาสมุทรแปซิฟิกเกือบสมบูรณ์ ทำให้แทบไม่มีปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง ซึ่งคล้ายกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และความโดดเดี่ยวเช่นนี้ยังทำให้จำนวนชนิดพันธุ์สัตว์และความเค็มของน้ำมีน้อยกว่าในมหาสมุทร ภายในพื้นที่ไม่มีเกาะ อ่าว หรือแหลมขนาดใหญ่ สมดุลของน้ำได้รับอิทธิพลอย่างมากจากกระแสน้ำที่ไหลเข้าและออกผ่านช่องแคบต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับทะเลรอบข้างและมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะที่แม่น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้มีจำนวนน้อย จึงมีผลต่อปริมาตรน้ำในทะเลเพียงไม่เกินร้อยละ 1 น้ำในทะเลญี่ปุ่นมีความเข้มข้นของออกซิเจนละลายอยู่สูง ส่งผลให้ความอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพ การประมงจึงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และการขนส่งทางเรือในทะเลญี่ปุนกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก แม้ว่าในอดีตจะไม่คับคั่งนักเนื่องด้วยประเด็นปัญหาทางการเมือง ขณะที่ชื่อของผืนน้ำแห่งนี้ยังคงเป็นประเด็นขัดแย้ง เนื่องจากเกาหลีใต้พยายามเรียกร้องให้ใช้ชื่อว่า ทะเลตะวันออก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและทะเลญี่ปุ่น

ทะเลลัปเตฟ

ทะเลลัปเตฟเทียบกับไซบีเรียและทะเลที่อยู่ใกล้เคียง ทะเลลัปเตฟ (мо́ре Ла́птевых; Laptev Sea) เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของภูมิภาคไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย โดยทิศตะวันตกติดกับทะเลคารา ทิศตะวันออกติดทะเลไซบีเรียตะวันออก มีพื้นที่ 672,000 ตารางกิโลเมตร และสามารถใช้เดินเรือได้ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน แม่น้ำสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเลลัปเตฟ คือ แม่น้ำเลียนา ทะเลแห่งนี้เป็นทะเลลึก มีความลึกโดยเฉลี่ย 540 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 3,385 เมตร ทะเลนี้ถูกตั้งชื่อตามดมีตรี ลัปเตฟ และคารีตอน ลัปเตฟ นักสำรวจชาวรัสเซีย ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวรัสเซียเคยเรียกว่า ทะเลนอร์เดนชอลด์ (мо́ре Норденшельда) ตามชื่อของอะดอล์ฟ เอริก นูร์เดนเชิลด์ นักสำรวจคนก่อนซึ่งเป็นชาวสวีเดน Laptev sea sunset.JPG|ทะเลลัปเตฟ.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและทะเลลัปเตฟ

ทะเลโอค็อตสค์

แผนที่ของทะเลโอคอตสค์ ทะเลโอคอตสค์ (Охотское море; Sea of Okhotsk) เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อยู่ระหว่างคาบสมุทรคัมชัตคาที่อยู่ทางตะวันออก, หมู่เกาะคูริลทางตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฮกไกโดทางใต้, เกาะซาฮาลินทางตะวันตก รวมไปถึงแนวยาวของชายฝั่งไซบีเรียตะวันออก (รวมถึงเกาะชานตาร์) ตั้งอยู่ทางตะวันตกและเหนือ ส่วนมุมตะวันออกเฉียงเหนือคืออ่าวเชลีคอฟ ชื่อตั้งตามโอคอตสค์ เมืองรัสเซียแห่งแรกที่ตะวันออกไกล อโอคอตสค์.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและทะเลโอค็อตสค์

ขั้วโลกใต้

ั้วโลกใต้ (South Pole) เป็นจุดที่อยู่ทางทิศใต้สุดของโลก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและขั้วโลกใต้

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและขั้วโลกเหนือ

นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี

นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี (Northern Territory) เป็นดินแดนหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย กินเนื้อที่ทางตอนเหนือและตอนกลางของทวีป มีเมืองดาร์วิน เป็นเมืองหลวง เนื้อที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง มีพื้นที่เกษตรกรรมเพียงร้อยละ 10 ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม สภาพอากาศ มี 2 ฤดูคือฤดูฝนกับฤดูร้อน มีอากาศแบบเมดิเตอริเนียน.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี

แยป

แยป หรือ ยาป (Yap) หรือ วาอับ (แยป: Waqab) เป็นหมู่เกาะในหมู่เกาะแคโรไลน์ ทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ในรัฐแยปของประเทศไมโครนีเซีย หมู่เกาะนี้ประกอบด้วยเกาะ 4 เกาะซึ่งอยู่ติด ๆ กัน มีเกาะแยปเป็นเกาะใหญ่ที่สุด จากข้อมูลปี..

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและแยป

เกาะฮนชู

นชู (สำเนียงญี่ปุ่นอ่านว่า) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นพื้นที่กว่าร้อยละ 60 ของประเทศญี่ปุ่น มีพื้นที่ 227,962.59 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าเกาะอังกฤษเล็กน้อย มีความยาวประมาณ 1,300 กิโลเมตร ความกว้างตั้งแต่ 50-250 กิโลเมตร มีชายฝั่งติดทะเลยาวกว่า 5,450 กิโลเมตรรอบเกาะGeography of the World.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและเกาะฮนชู

เกาะนิวกินี

นิวกินี (New Guinea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งถูกแบ่งแยกออกจากแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลีย เมื่อบริเวณที่ที่ปัจจุบันคือช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait) จมลงในช่วง 5000 ปีก่อนคริสตกาล โดยพื้นที่ส่วนตะวันตกของตัวเกาะเป็นดินแดนจังหวัดปาปัวและจังหวัดปาปัวตะวันตก (อดีตอีเรียนจายาตะวันตก) ของประเทศอินโดนีเซีย ส่วนพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะมีฐานะเป็นแผ่นดินใหญ่ของรัฐเอกราชปาปัวนิวกินี ด้วยความสูง 4,884 เมตร ยอดเขาปุนจะก์จายา (Puncak Jaya) ซึ่งบางครั้งเรียกว่ายอดเขาการ์สเตินส์ (Carstensz) ทำให้เกาะนิวกินีได้รับการจัดให้เป็นพื้นแผ่นดินขนาดใหญ่ที่สูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก นิวกินี เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:เกาะนิวกินี หมวดหมู่:เกาะนานาชาติ หมวดหมู่:เกาะในประเทศปาปัวนิวกินี.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและเกาะนิวกินี

เส้นเมริเดียนที่ 137 องศาตะวันออก

้นเมริเดียน 137 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ออสตราเลเซีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 137 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 43 องศาตะวันตก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 137 องศาตะวันออก

เส้นเมริเดียนที่ 139 องศาตะวันออก

้นเมริเดียน 139 องศาตะวันออกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก ทวีปเอเชีย มหาสมุทรแปซิฟิก ออสตราเลเซีย มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 139 องศาตะวันออก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 41 องศาตะวันตก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 139 องศาตะวันออก

เส้นเมริเดียนที่ 42 องศาตะวันตก

้นเมริเดียนที่ 42 องศาตะวันตกของกรีนิช คือ เส้นลองจิจูดที่ลากจากขั้วโลกเหนือผ่านมหาสมุทรอาร์กติก กรีนแลนด์ มหาสมุทรแอตแลนติก ทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรใต้ และแอนตาร์กติกา เข้าสู่ขั้วโลกใต้ เส้นเมริเดียนที่ 42 องศาตะวันตก เป็นรูปแบบเส้นวงกลมใหญ่ของเส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออก.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนที่ 42 องศาตะวันตก

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ดู เส้นเมริเดียนที่ 138 องศาตะวันออกและเส้นเมริเดียนแรก