สารบัญ
39 ความสัมพันธ์: บอร์นโฮล์มมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกรัฐบริติชโคลัมเบียรัฐออนแทรีโอรัฐอะแลสการัฐควิเบกรัฐซัสแคตเชวันรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์รัฐแมนิโทบารัฐแอลเบอร์ตาลังก์เอลันด์วงกลมละติจูดองศา (มุม)อ่าวฮัดสันทวีปยุโรปทวีปอเมริกาเหนือทวีปเอเชียทะเลบอลติกทะเลโอค็อตสค์ทะเลเบริงทะเลเหนือดวงอาทิตย์ครีษมายันคาบสมุทรอะแลสกาคาบสมุทรจัตแลนด์คาบสมุทรคัมชัตคาประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษนิวคาสเซิลอะพอนไทน์แคว้นคาลินินกราดโลกโนโวซีบีสค์ไอร์แลนด์เหนือเกาะเชลลันด์เส้นศูนย์สูตรเส้นเมริเดียนแรกเหมายันเอลส์
บอร์นโฮล์ม
อร์นโฮล์ม (Bornholm) เป็นเกาะของประเทศเดนมาร์ก ตั้งอยู่ในทะเลบอลติก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเดนมาร์ก ทางทิศใต้ของสวีเดน และทางทิศเหนือของประเทศโปแลนด์ มีอุตสาหกรรมที่สำคัญคือการประมง ศิลปะและงานหัตถกรรม และการทำแก้วและเครื่องปั้นดินเผา และการท่องเที่ยวในฤดูร้อน ในสมัยโบราณเป็นที่พำนักของโจรสลัด ต่อมาในปี..
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและบอร์นโฮล์ม
มหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและมหาสมุทรแปซิฟิก
รัฐบริติชโคลัมเบีย
รัฐบริติชโคลัมเบีย (ภาษาอังกฤษ: British Columbia; ภาษาฝรั่งเศส: la Colombie-Britannique) คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกสุดของประเทศ รัฐบริติชโคลัมเบีย มีเมืองหลวงชื่อว่า "วิคตอเรีย" มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ โดยมีเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐคือเมือง "แวนคูเวอร์" ซึ่งเมืองแวนคูเวอร์นี้ เป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเท.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐบริติชโคลัมเบีย
รัฐออนแทรีโอ
รัฐออนแทรีโอ (Ontario) เป็นรัฐ ตอนกลางของประเทศแคนาดา มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบจากจำนวนประชากร และใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐควิเบก เมื่อเทียบจากพื้นที่ ออนแทรีโอมีเขตติดต่อกับรัฐแมนิโทบาทางตะวันตก และรัฐควิเบกทางตะวันออก และสหรัฐอเมริกา (ทางตะวันตกและทางตะวันออก) ของรัฐมินนิโซตา, รัฐมิชิแกน, รัฐโอไฮโอ, รัฐเพนซิลเวเนีย (ฝั่งตรงข้ามของทะเลสาบอีรี) และรัฐนิวยอร์กทางตอนใต้และตะวันออก พรมแดนระหว่างรัฐออนแทรีโอและสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่จะเป็นเขตแดนทางธรรมชาติ เริ่มจาก Lake of the Woods และต่อเนื่องกับเกรตเลกส์ ทั้ง 4: สุพีเรีย, ฮูรอน (รวมถึงอ่าวจอร์เจียน), อิรี และ ออนแทรีโอ จากนั้นก็แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์ ใกล้กับคอร์นวอลล์ รัฐออนแทรีโอถือเป็นรัฐเดียวที่ติดต่อกับเกรตเลกส์ เมืองหลวงของรัฐออนแทรีโอคือ เมืองโทรอนโต เป็นเมืองที่มีพลเมืองหนาแน่นที่สุดในแคนาดา และเป็นเขตเมืองใหญ่ เมืองออตตาวาซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศแคนาดา ก็ตั้งอยู่ในรัฐออนแทรีโอนี้ และจากการสำรวจจำนวนประชากรในปี 2006 พบว่ามีประชากร 12,960,282 ครัวเรือน ในรัฐออนแทรีโอ ซึ่งนับเป็น 38.5% ของพลเมืองทั้งหม.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐออนแทรีโอ
รัฐอะแลสกา
รัฐอะแลสกา (State of Alaska) รวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสหรัฐอเมริกา นับเป็นรัฐที่ 49 มีจำนวนประชากร 626,932 คน (พ.ศ. 2543) ชื่อ อะแลสกา นั้นน่าจะเพี้ยนมาจากคำในภาษาแอลิอุต ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นว่า "Alyeska" แปลว่า "ดินแดนที่ไม่ใช่เกาะ".
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐอะแลสกา
รัฐควิเบก
วิเบก (Québec, Quebec) หรือ เกแบ็ก (Québec) เป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของแคนาดาอยู่ทางตะวันออกของประเทศ และเป็นรัฐเดียวที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการในระดับรัฐ แต่ใช้ภาษาฝรั่งเศสแทน รัฐควิเบกมีเมืองหลวงในชื่อเดียวกันคือควิเบก และเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือมอนทรีออล.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐควิเบก
รัฐซัสแคตเชวัน
รัฐซัสแคตเชวัน คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ตอนกลางถัดไปทางตะวันตกของประเทศ เป็นหนึ่งในสองรัฐของประเทศที่ไม่มีส่วนที่ติดกับทะเล.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐซัสแคตเชวัน
รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์
รัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ (Newfoundland and Labrador) เป็นรัฐของแคนาดา ทางชายฝั่งแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ เป็นส่วนตะวันออกสุดของรัฐแคนาดา ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ เกาะนิวฟันด์แลนด์ทางตะวันออกของชายฝั่ง และแลบราดอร์บนแผ่นดินใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ จากข้อมูลเดือนมกราคม..
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์
รัฐแมนิโทบา
รัฐแมนิโทบา (Manitoba) เป็นรัฐบนที่ราบแพร์รีแคนาดา ของแคนาดามีพื้นที่ 649,950 ตร.กม.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐแมนิโทบา
รัฐแอลเบอร์ตา
รัฐแอลเบอร์ตา คือรัฐหนึ่งของประเทศแคนาดา ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศ เป็นหนึ่งในสองรัฐของประเทศที่ไม่มีส่วนที่ติดกับทะเล รัฐแอลเบอร์ตาจัดเป็นรัฐที่เจริญในด้านต่าง ๆ มากที่สุดใน 3 รัฐบนทุ่งหญ้าแพร์รีของแคนาดา รัฐแอลเบอร์ตาเป็นรัฐที่มีขนาดใหญ่คล้ายกับประเทศฝรั่งเศสและรัฐเทกซัสของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีประชากรอาศัยอยู่ราวๆ 3.7 ล้านคน ในปี..
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและรัฐแอลเบอร์ตา
ลังก์เอลันด์
ลังก์เอลันด์ (Langeland) เป็นเกาะในประเทศเดนมาร์ก ในทะเลบอลติก นอกฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะฟิน ระหว่างเกาะฟินกับเกาะลอลลันด์ เกาะมีเนื้อที่ 285 กม² จากข้อมูลวันที่ 1 มกราคม..
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและลังก์เอลันด์
วงกลมละติจูด
วงกลมละติจูด (Circle of Latitude) หรือ เส้นขนาน (Parallel) เป็นเส้นสมมติในแนวตะวันออก-ตะวันตกของโลก ลากเชื่อมจุดต่างๆ ที่มีพิกัดละติจูดเท่ากัน วงกลมละติจูดวัดจากการหมุนรอบตัวของโลก โดยจะตั้งฉากกับแกนหมุนเสมอ และมีวงกลมละติจูดพิเศษ 4 เส้นที่นำมาจากการโคจรรอบดวงอาทิตย์ วงกลมละติจูดที่สำคัญมี 5 เส้นคือ.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและวงกลมละติจูด
องศา (มุม)
องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและองศา (มุม)
อ่าวฮัดสัน
อ่าวฮัดสัน (Hudson Bay) เป็นทะเลภายในน้ำเค็มขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศแคนาดา มีเนื้อที่ 4,041,400 ตร.กม.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและอ่าวฮัดสัน
ทวีปยุโรป
ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทวีปยุโรป
ทวีปอเมริกาเหนือ
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปเอเชีย
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทวีปเอเชีย
ทะเลบอลติก
ทะเลบอลติก (Baltic Sea) ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปเหนือ ห้อมล้อมด้วยคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคยุโรปเหนือ ภูมิภาคยุโรปตะวันออก ภูมิภาคยุโรปกลาง และหมู่เกาะของประเทศเดนมาร์ก ทะเลนี้เชื่อมเข้าสู่ช่องแคบแคตทีแกต (Kattegat) ผ่านทางช่องแคบเออเรซุนด์ (Öresund) ช่องแคบเกรตเบลต์ (Great Belt) และช่องแคบลิตเทิลเบลต์ (Little Belt) ซึ่งหากผ่านช่องแคบแคทีแกตต่อไปก็จะพบช่องแคบสแกเกอร์แรก (Skagerrak) ที่จะเข้าสู่ทะเลเหนือและมหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลบอลติกยังเชื่อมต่อกับทะเลขาวด้วยคลองไวต์ซี (White Sea) และเชื่อมต่อกับทะเลเหนือโดยผ่านทางคลองคีล (Kiel).
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทะเลบอลติก
ทะเลโอค็อตสค์
แผนที่ของทะเลโอคอตสค์ ทะเลโอคอตสค์ (Охотское море; Sea of Okhotsk) เป็นส่วนหนึ่งหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก อยู่ระหว่างคาบสมุทรคัมชัตคาที่อยู่ทางตะวันออก, หมู่เกาะคูริลทางตะวันออกเฉียงใต้, เกาะฮกไกโดทางใต้, เกาะซาฮาลินทางตะวันตก รวมไปถึงแนวยาวของชายฝั่งไซบีเรียตะวันออก (รวมถึงเกาะชานตาร์) ตั้งอยู่ทางตะวันตกและเหนือ ส่วนมุมตะวันออกเฉียงเหนือคืออ่าวเชลีคอฟ ชื่อตั้งตามโอคอตสค์ เมืองรัสเซียแห่งแรกที่ตะวันออกไกล อโอคอตสค์.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทะเลโอค็อตสค์
ทะเลเบริง
ทะเลเบริง (Берингово мо́ре; Bering Sea) ตั้งอยู่ทางมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางใต้ช่องแคบแบริ่งที่กั้นระหว่างประเทศรัสเซียและสหรัฐอเมริกา ทางใต้มีหมู่เกาะคอมมานเดอร์กั้นระหว่างทะเลกับมหาสมุทรแปซิฟิค ทะเลแบริ่งมีความลึกมากเพราะใต้ทะเลมีหุบเหว ทะเลแห่งนี้มีความลึกโดยเฉลี่ย 1,600 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีความลึก 4,151 เมตร แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลลงสู่ทะเลแห่งนี้คือแม่น้ำอะนาดึร ที่ทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งการประมงหลากหลายชนิด เช่น ปลาในตระกูลปลาแซลมอน ปลาในตระกูลปลาซาดีน และปูอลาสก้า หมวดหมู่:ทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก หมวดหมู่:ทะเลในประเทศรัสเซีย หมวดหมู่:ธรณีสัณฐานในสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ทะเลเบริง หมวดหมู่:รัฐอะแลสกา หมวดหมู่:เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทะเลเบริง
ทะเลเหนือ
ภาพถ่ายทะเลเหนือและประเทศรอบ ๆ จากอวกาศ ทะเลเหนือ (North Sea) เป็นทะเลที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป ทางตะวันตกของนอร์เวย์และเดนมาร์ก ทางตะวันออกของเกาะบริเตนใหญ่ และทางตอนเหนือของเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศส เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก และติดกับทะเลบอลติกทางด้านตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 222,000 ตารางไมล์ หรือ 570,000 ตารางกิโลเมตร เหนือ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป เหนือ หมวดหมู่:ทะเลเหนือ.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและทะเลเหนือ
ดวงอาทิตย์
วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและดวงอาทิตย์
ครีษมายัน
แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกเหนือในวันครีษมายัน ครีษมายัน หรือ อุตตรายัน (summer solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์ โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางเหนือในราววันที่ 20 มิถุนายน หรือ 21 มิถุนายน เป็นจุดในหน้าร้อน มีกลางวันนานกว่ากลางคืน, ตรงข้ามกับ เหมายัน (winter solstice) (สันสกฤต: คฺรีษฺม + อายนฺ).
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและครีษมายัน
คาบสมุทรอะแลสกา
มุทรอะแลสกา คาบสมุทรอะแลสกา (Alaska Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่มีความยาวราว 800 กม.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและคาบสมุทรอะแลสกา
คาบสมุทรจัตแลนด์
คาบสมุทรจัตแลนด์ คาบสมุทรจัตแลนด์ (ภาษาเดนมาร์ก: Jylland; ภาษาเยอรมัน: Jütland) เป็นคาบสมุทรในทวีปยุโรป เป็นที่ตั้งของประเทศเดนมาร์ก (ภาคตะวันตกในส่วนที่ไม่ใช่เกาะ) และประเทศเยอรมนี (บริเวณจุดเหนือสุด) โดยมีทะเลบอลติกทางด้านตะวันออก และทะเลเหนือทางด้านตะวันตก จัตแลนด์ หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์ยุโรป.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและคาบสมุทรจัตแลนด์
คาบสมุทรคัมชัตคา
แผนที่แสดงลักษณะภูมิประเทศของคาบสมุทรคัมชัตคา คาบสมุทรคัมชัตคา (полуо́стров Камча́тка; Kamchatka Peninsula) เป็นคาบสมุทรทางภาคตะวันออกของประเทศรัสเซีย มีพื้นที่ประมาณ 472,300 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก (ทางทิศตะวันออก) และทะเลโอคอตสค์ (ทางทิศตะวันตก) คาบสมุทรมีความยาว 1,250 กิโลเมตรโดยประมาณ คาบสมุทรคัมชัตคาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนคัมชัตคา ซึ่งเป็นเขตการปกครองเขตหนึ่งของรัสเซีย โดยคาบสมุทรกินพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตการปกครองนั้น คัมชัตคา คัมชัตคา หมวดหมู่:คัมชัตคาไคร หมวดหมู่:คาบสมุทรคัมชัตคา.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและคาบสมุทรคัมชัตคา
ประเทศสกอตแลนด์
กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและประเทศสกอตแลนด์
ประเทศอังกฤษ
อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและประเทศอังกฤษ
นิวคาสเซิลอะพอนไทน์
นไทน์ข้ามแม่น้ำไทน์ในนิวคาสเซิล นิวคาสเซิลอะพอนไทน์ (Newcastle upon Tyne) มักจะนิยมเรียกย่อว่า นิวคาสเซิล (Newcastle) เป็นนครและเมืองในโบโรฮ์ของไทน์แอนด์แวร์ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ เมืองนิวคาสเซิลตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำไทน์ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ ถึงแม้ว่าในช่วงก่อตั้งนั้นได้ชื่อว่า ปอนส์แอรีอุส (Pons Aelius) ตามชื่อโรมัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็นนิวคาสเซิลในปีค.ศ.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและนิวคาสเซิลอะพอนไทน์
แคว้นคาลินินกราด
แคว้นคาลีนินกราด (Калинингра́дская о́бласть) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและแคว้นคาลินินกราด
โลก
"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและโลก
โนโวซีบีสค์
นโวซีบีรสค์ (p; Novosibirsk) เป็นเมืองที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศรัสเซีย รองจากกรุงมอสโกและเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของรัสเซียส่วนที่อยู่ในทวีปเอเชีย มีประชากร 1,473,754 คน (ค.ศ.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและโนโวซีบีสค์
ไอร์แลนด์เหนือ
อร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland; Tuaisceart Éireann ทวฌเชอรท์ เอรัน) คือ 1 ใน 4 ประเทศองค์ประกอบของสหราชอาณาจักรซึ่งประกอบด้วยอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ไอร์แลนด์เหนือตั้งอยู่บนเกาะไอร์แลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกและใต้ติดประเทศไอร์แลนด์ ทิศเหนือติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบเหนือ และทิศตะวันออกติดกับทะเลไอริช เมืองหลวงมีชื่อว่า เบลฟาสต์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 333,000 คน.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและไอร์แลนด์เหนือ
เกาะเชลลันด์
เกาะเชลลันด์ หรือ ซีแลนด์ (Sjælland; Zealand) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์ก (7,031 กม²) ใหญ่เป็นอันดับ 96 ของโลก และเป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 35 ของโลก เมืองหลวงของประเทศ กรุงโคเปนเฮเกน ตั้งอยู่บนเกาะนี้ส่วนหนึ่ง เมืองสำคัญอื่นที่ตั้งอยู่บนเกาะนี้ได้แก่เมือง รอสกิลด์ และเฮลซิงเงอร์ หมวดหมู่:เกาะในประเทศเดนมาร์ก หมวดหมู่:เกาะเชลลันด์.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและเกาะเชลลันด์
เส้นศูนย์สูตร
้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและเส้นศูนย์สูตร
เส้นเมริเดียนแรก
แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและเส้นเมริเดียนแรก
เหมายัน
แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกในส่วนครึ่งซีกโลกใต้ในวันเหมายัน เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไปถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววันที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลกเหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือนมิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้ามกับครีษมายัน (summer solstice).
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและเหมายัน
เอลส์
เป็นสัตว์ในเทพนิยาย ซึ่งในเรื่องแฮร์รี่ เปรียบเอลส์ เป็นทาสรับใช้ที่ซื่อสัตย์ของพ่อมด-แม่มด เอลส์ไม่สามรถแปรภักดิ์ไปหาเจ้าของอื่นได้ หมายความว่ามันต้องรับใช้ครอบครัวพ่อมดที่มัน อาศัยอยู่ตราบเท่าชีวิตมัน ยกเว้นจะมีผู่มอบเสื้อผ้าให้มัน อย่างในสื่อ:แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับตอนที่แฮร์รี่ ให้ถุงเท้าแก่สื่อ:ด๊อบบี้ทำให้มันเป็นอิสระ และเอลส์จะเต็มใจรับใช้กับคนที่ใจดีกับมัน เท่านั้น อย่างครีเชอร์ที่ไม่ตั้งใจทำหน้าที่ต่อหน้าเอลส์เพราะสื่อ:ซีเรียส มักพูดจาว่าสื่อ:ครีเชอร์.
ดู เส้นขนานที่ 55 องศาเหนือและเอลส์