โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เลียดก๊ก

ดัชนี เลียดก๊ก

ลียดก๊ก ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เลี่ยกั๋ว ตามสำเนียงกลาง แปลว่า กลุ่มเมือง หรือชื่อเต็มตามสำเนียงกลางว่า ตงโจวเลี่ยกั๋วจื้อ แปลว่า เรื่องกลุ่มเมืองโจวตะวันออก เป็นนิยายจีนซึ่ง เฝิง เมิ่งหลง (馮夢龍) ประพันธ์ขึ้นในราชวงศ์หมิง มีเนื้อหาเริ่มด้วยราชวงศ์โจวตะวันตกถึงแก่ความพินาศ ราชวงศ์โจวตะวันออกขึ้นแทนที่ แต่บ้านเมืองระส่ำระสายจนแตกแยกออกเป็นแว่นแคว้นน้อยใหญ่ต่าง ๆ ในยุควสันตสารทและยุครณรัฐ ไปจบที่จิ๋นซีฮ่องเต้รวมแผ่นดินเป็นผลสำเร็.

15 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธีพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานพงศาวดารยุครณรัฐยุควสันตสารทราชวงศ์หมิงราชวงศ์โจวตะวันออกราชวงศ์โจวตะวันตกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสามก๊กหลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล)ห้องสินจิ๋นซีฮ่องเต้เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์)

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: เลียดก๊กและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธี

ระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธี เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าทองอิน กรมพระราชวังบวรสถานพิมุขกับเจ้าครอกทองอยู่ ประสูติในสมัยกรุงธนบุรี เมื่อวันพุธ เดือน 3 แรม 11 ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ 31 มกราคม..

ใหม่!!: เลียดก๊กและพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบัว กรมหมื่นนเรศร์โยธี · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

ระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เป็นพระที่นั่งองค์ประธาน ของหมู่พระมหามณเฑียร มีความสำคัญเป็นพระราชพิธีมณฑล "พระราชพิธีขึ้นเฉลิมพระราชมณเฑียร" ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับที่พระที่นั่งองค์นี้เป็นการถาวร รัชกาลต่อๆมาประทับเป็นเวลาสั้นๆ ตามกำหนดพระราชพิธี ลักษณะพระที่นั่ง เป็นสถาปัตยกรรมไทย 3 หลังแฝด ชั้นเดียว ก่ออิฐปูน ยกฐานสูง เรียงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก องค์กลางใหญ่ องค์ขนาบสองข้างมีขนาดเท่ากัน แต่ละองค์มีพระทวารเชื่อม หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี ตกแต่ง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกสีทอง หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปสมเด็จพระอมรินทราราชในบุษบก พระทวารและพระบัญชรทำซุ้มบันแถลง เป็นลายนาคสามเศียรสองชั้น ประสมซุ้ม รูปไข่ลายดอกเบญจมาศ ระเบียงรอบมีชานตั้งเสานางเรียงรองรับชายคา พระที่นั่งองค์ตะวันออก เป็นที่พระบรรทมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ภายในกั้นด้วยพระฉากดาดทองบุตาด ด้านเหนือประดิษฐานพระแท่นบรรจถรณ์ ด้านใต้เป็นห้องทรงเครื่อง ตั้งพระแท่นราชอาสน์ทอดเครื่องสรงพระพักตร์ เครื่องพระสำอางค์ ทั้งสองส่วนกางกั้นด้วยพระนพปฎลมหาเศวตฉัตร พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่สวรรคตของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระแท่นราชบรรจถรณ์ พระที่นั่งองค์กลาง เป็นโถงมีพระทวาร และอัฒจันทร์ลงไปมุขกระสันด้านเหนือ เป็นท้องพระโรงหน้า เชื่อมต่อกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางลงสู่ท้องพระโรงหน้ามีเกยลา ซึ่งรัชกาลที่ 4 สร้างขึ้นสำหรับเสด็จออกแขกเมืองฝ่ายใน ด้านใต้เป็นอัฒจันทร์จากพระทวารไปท้องพระโรงใน ลักษณะเป็นห้องโถงยาว ขนาบด้วยพระปรัศว์ซ้ายขวา ที่รัชกาลที่ 6 ทรงยกขึ้นเป็นพระที่นั่งเทพสถานพิลาส พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล พระที่นั่งองค์ตะวันตก เป็นโถง สำหรับทรงพระบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ เมื่อปลายรัชกาลที่ 3 พระองค์ประชวร โปรดเกล้าฯให้ตั้งพระแท่นบรรทมสำหรับประทับ และเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งองค์นี้ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ และพระแสงนานาชน.

ใหม่!!: เลียดก๊กและพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน · ดูเพิ่มเติม »

พงศาวดาร

งศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับเถื่อน ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น.

ใหม่!!: เลียดก๊กและพงศาวดาร · ดูเพิ่มเติม »

ยุครณรัฐ

รณรัฐ (Warring States) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ ถัดจากยุควสันตสารท และสิ้นสุดลงเมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้รวมแผ่นดินในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นผลให้รัฐต่าง ๆ ที่รบรากันได้รวมเป็นหนึ่ง คือ จักรวรรดิฉิน ยุครณรัฐเริ่มขึ้นเมื่อใดนั้น นักวิชาการว่าไว้ต่างกัน ซึ่งมักตกในระหว่างปีที่ 481 ถึงปีที่ 403 ก่อนคริสตกาล แต่ซือหม่า เชียน นักประวัติศาสตร์ในราชวงศ์ฮั่น ว่า เริ่มเมื่อปีที่ 475 ก่อนคริสตกาล และข้อเขียนของซือหม่า เชียนนี้เป็นที่อ้างอิงกันมาก ส่วนชื่อ "รณรัฐ" นั้นเรียกตามชื่อหนังสือ "พิชัยสงครามรณรัฐ" (Zhàn Guó Cè; Strategies of the Warring States) หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน ราชวงศ์โจว.

ใหม่!!: เลียดก๊กและยุครณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ยุควสันตสารท

แผนที่แสดงที่ตั้งของนครรัฐต่าง ๆ ในยุควสันตสารท วสันตสารท หรือภาษาจีนว่า ชุนชิว (Spring and Autumn period) เป็นชื่อยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนโบราณ อยู่ระหว่าง ประมาณ 770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 453 ปีก่อนคริสต์ศักราช (บางข้อมูลถือ 365 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 482 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นยุคหนึ่งในราชวงศ์โจว ราชวงศ์ที่ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นับเป็นยุคสมัยที่ได้รับการกล่าวขานอย่างมากในแง่ต่าง ๆ เนื่องจากเป็นยุคที่นครรัฐแต่ละรัฐรบด้วยด้วยกลอุบายที่แยบยล ก่อให้เกิดเป็นตำนานและเรื่องเล่าขานมากมายจนปัจจุบัน และเป็นต้นเรื่องที่ทำให้เกิดวรรณคดีจีนเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ เลียดก๊ก ซึ่งถูกรวมไว้ด้วยกันกับยุคจ้านกว๋อ (หรือที่คุ้นเคยกันในชื่อเลียดก๊ก) การรบในยุคชุนชิวนั้นหลายเรื่องได้อ้างอิงในสามก๊กที่เกิดหลังจากนี้อีกนับพันปีต่อมา อีกแง่หนึ่ง เป็นยุคที่นักปราชญ์บัณฑิตแต่ละสาขาได้ถือกำเนิดและมีชีวิตอยู่ ซึ่งได้แต่งตำราหรือคำสอนต่าง ๆ ที่ตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ขงจื๊อ, เล่าจื๊อ, เม่งจื๊อ, ม่อจื๊อ เป็นต้น ในส่วนของปราชญ์แห่งสงคราม ก็คือ ซุนวู นั่นเอง.

ใหม่!!: เลียดก๊กและยุควสันตสารท · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: เลียดก๊กและราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจวตะวันออก

ราชวงศ์โจวตะวันออก(771-256 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองสืบต่อจากราชวงศ์โจวตะวันตกโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ลั่วหยาง ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองซีอาน เมืองหลวงเก่าของราชวงศ์โจวตะวันตกปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์นี้คือพระเจ้าโจวผิงหวัง ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แค่ในนามเพราะองค์กษัตริย์ทรงไร้พระราชอำนาจที่จะปกครองเหล่าอ๋องต่างๆ ได้ เนื่องจากอ๋องต่างๆ ได้แข็งเมืองและทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน ในสมัยราชวงศ์นี้การแย่งชิงอำนาจกันของเหล่าอ๋องแบ่งเป็น 2 ยุคโดยยุคแรกเรียกว่า ยุคชุนชิว หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: เลียดก๊กและราชวงศ์โจวตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจวตะวันตก

ราชวงศ์โจวตะวันตก(Western Zhou Dynasty, 1046 - 771 ปีก่อน ค.ศ.) สถาปนาโดย จี ฟา หรือ พระเจ้าโจวอู่หวัง เมื่อ 1046 ปีก่อน..หลังจากสามารถโค่น ราชวงศ์ซาง ลงได้สำเร็จ ราชวงศ์นี้ถือเป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มใช้ระบบ ศักดินา และเป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มแบ่งดินแดนออกเป็นแคว้นและแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์แซ่เดียวกันขึ้นเป็น อ๋อง พร้อมกับส่งอ๋องเหล่านั้นไป ปกครองแคว้นต่างๆ ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 12 พระองค์ก่อนที่จะสิ้นสุดราชวงศ์ในรัชสมัยของ พระเจ้าโจวอิวหวัง และได้ย้ายราชธานีไปอยู่ลั่วหยาง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกทำให้ราชวงศ์โจวตะวันตกสิ้นสุดลง หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ca:Zhou.

ใหม่!!: เลียดก๊กและราชวงศ์โจวตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: เลียดก๊กและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: เลียดก๊กและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล)

หลวงลิขิตปรีชา (พ.ศ. 23?? - พ.ศ. 2418) เดิมชื่อ ปลอบ เป็นข้าหลวงปลัดกรมกองรายงานหนังสือไปมา ตำแหน่งเจ้ากรมพระอาลักษณ์ ฝ่ายวังหน้า (เทียบเท่ากับออกญาศรีภูริยปรีชาราชเสนาบดีศรีสารลักษณ์ วังหลวง) และราชเลขานุการในพระองค์ และเป็นนักกวีในสมัยรัชกาลที่ 2 - รัชกาลที่ 3 ถือศักดินา 1,500 (บางตำราก็ว่าถือศักดินา 1,800) ปรากฏในทำเนียบตำแหน่งข้าราชการ ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็นทำเนียบในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว บิดาชื่อนายพันโท หลวงพิสณฑ์ยุทธการ (ปึก โรจนกุล) ถือศักดินา 2000 สืบสกุล "โรจนกุล" ต้นสกุลคือ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง).

ใหม่!!: เลียดก๊กและหลวงลิขิตปรีชา (ปลอบ โรจนกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ห้องสิน

มุดภาพโฮะกุไซ'' (北斎漫画; ''Hokusai Manga'') ของญี่ปุ่น ห้องสิน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เฟิงเฉิน ตามสำเนียงกลาง แปลว่า สถาปนาเทวดา (Investiture of Gods) เป็นนิยายจีนซึ่งประพันธ์ขึ้นในช่วงราชวงศ์หมิง เนื้อหาใช้ภาษาชาวบ้าน มีทั้งสิ้นหนึ่งร้อยตอน จัดพิมพ์ครั้งแรกราวทศวรรษที่ 1550 และจัดอยู่ในประเภทนิยายภูตผีปีศาจ (神魔小說; gods and demons fiction) ชื่อเต็มของนิยายเรื่องนี้ ห้องสินเอี้ยนหงี ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ เฟิงเฉินหยั่นอี้ ตามสำเนียงกลาง แปลว่า "วีรคติเรื่องสถาปนาเทวดา" (Romance of the Investiture of the Gods) วงวิชาการลงความเห็นว่า ผู้เขียนนิยายนี้ คือ สี่ว์ จ้งหลิน (許仲琳).

ใหม่!!: เลียดก๊กและห้องสิน · ดูเพิ่มเติม »

จิ๋นซีฮ่องเต้

ฉินฉื่อหฺวังตี้ ตามสำเนียงกลาง หรือ จิ๋นซีฮ่องเต้ ตามสำเนียงอื่น (260–210 ก่อนคริสตกาลWood, Frances. (2008). China's First Emperor and His Terracotta Warriors, pp. 2-33. Macmillan Publishing, 2008. ISBN 0-312-38112-3.) เป็นชื่อที่ปัจจุบันใช้เรียกพระเจ้าเจิ้ง (Zhèng) แห่งเมืองฉิน มีความหมายตรงตัวว่า "ปฐมจักรพรรดิฉิน" พระองค์ทรงสถาปนาราชวงศ์ฉินเมื่อปีที่ 220 ก่อนคริสตกาล และทรงผนวกดินแดนจีนสำเร็จในปีที่ 221 ก่อนคริสตกาล เป็นอันสิ้นสุดยุครณรัฐDuiker, William J. & al.

ใหม่!!: เลียดก๊กและจิ๋นซีฮ่องเต้ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์)

้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) ที่สมุหพระกลาโหม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต้นสกุล วงศาโรจน.

ใหม่!!: เลียดก๊กและเจ้าพระยาวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Romance of the States in Eastern Zhou Dynasty

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »